ReadyPlanet.com


ทำบุญแล้วอยากได้นั่น อยากได้นี่ ทำให้รู้สึกว่า เหมือนไม่ใช่บุญแท้ รู้สึกอึดอัด จะแก้ไขอย่างไร


หลายครั้งที่เพื่อนๆในเฟซบุ๊คเมตตาโพสข้อความบอกบุญไว้ ทำให้เมื่อได้อ่าน ก็ได้มีโอกาสไปร่วมงานบุญหรือโอนเงินทำบุญ ขออนุโมทนากับพี่ๆหลายคนที่เมตตาแท็กฟาง ให้ฟางเห็นด้วยค่ะ

แต่ที่จะเล่าเป็นอีกประเด็นหนึ่
ง คือฟางมีนิสัยเสียอยู่อย่าง เวลาที่คนมาโพสบอกบุญ แล้วกล่าวถึงอานิสงค์ของบุญไว้ด้วย เช่น ถวายจีวรจะได้มีเสื้อผ้าอาภรณ์งดงาม ถวายยาจะได้ไม่เป็นโรค ถวายที่ดินจะได้มีความสมบูรณ์มั่งคั่ง ถวายตะเกียงชีวิต...จะไม่พบอุปสรรค (ประมาณนี้นะคะ)

ฟางจะมีความรู้สึกอึดอัดใจ เพราะทั้งๆที่เรากำลังบริจาคทาน
แท้ๆ แต่ดันโลภไปหวังอานิสงค์ไว้ก่อนแล้ว ทำเพราะอยากได้มากบ้างล่ะ ทำเพราะกลัวไม่มีบ้างล่ะ เหมือนกับว่าทานของฟางยังไม่ได้สละความโลภจริงๆ

จึงอยากขอความคิดเห็น เผื่อจะมีใครช่วยฟางได้บ้าง ฟางจะแก้ตัวเองอย่างไรคะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ


ผู้ตั้งกระทู้ ฟาง :: วันที่ลงประกาศ 2014-03-25 14:51:40


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2997372)

เห็นโพสต์อันนี้แว่บเข้ามาในฟีดข่าวหน้าแรก คิดว่า เป็นเรื่องที่น่าสนใจ และมีประโยชน์กับทุกคนนะ ครั้นจะไปตอบในเพจของเขา ก็ดูไม่ค่อยจะงามนัก ก็ขออนุญาตก๊อปมาตอบในเพจเราจะดีกว่า คิดว่า เจ้าของก็จะได้อ่านด้วย ผู้อื่นๆก็จะได้อ่านด้วย เราเพียงแค่ต...อบไปตามความเห็นของเราเท่านั้น ส่วนมันจะถูกธรรมหรือไม่? มอบให้ทุกท่านตัดสินเอาเอง เราไม่ไปเกี่ยว เพราะเป็นเรื่องนานาจิตตัง

ต้องเข้าใจก่อน ว่า ศาสนาพุทธของเรานี้ มีทั้ง สะเก็ด เปลือก กะพี้ และ แก่น ปะปนอยู่ด้วยกัน อุปมาเหมือนต้นไม้ ลำพังมีแต่แก่นก็คงอยู่ไม่ได้ ต้องมี สะเก็ด เปลือก กะพี้ แก่นไม้ มีกิ่งไม้ ก้าน ใบ ดอก และมีผล เป็นที่สุด ทุกอย่างย่อมมีประโยชน์ต่อต้นไม้ทั้งนั้น จะขาดอันใดอันหนึ่งก็เป็นผลเสียต่อต้นไม้เอง

ดังเช่น สะเก็ดหรือเปลือกไม้ ถ้าไม่มีเสียเลย ก็จะไม่มีอะไรมาปกป้องคุ้มครองกะพี้ไม้ ถ้าไม่มีกะพี้ ก็ไม่มีอะไรมาปกป้องคุ้มครองแก่นไม้ ก็ส่งผลทำให้ต้นไม้นั้น ดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยยาก มีแต่แก่นโดดๆ ต้นไม้จะอยู่ได้อย่างไร คงไม่สามารถผลิดอกออกผล อำนวยประโยขน์แก่ผู้คนจนทุกวันนี้

ศาสนาก็เช่นเดียวกัน อะไรเล่าเป็นแก่นสารในพระพุทธศาสนา? ในธรรมท่านบอกว่า
๑. ลาภสักการะชื่อเสียง ท่านเปรียบเหมือน กิ่งไม้ใบไม้,
๒. ความสมบูรณ์ด้วยศีล เปรียบเหมือน สะเก็ดไม้,
๓. ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ เปรียบเหมือน เปลือกไม้,
๔. ญาณทัสสนะหรือปัญญา เปรียบเหมือน กะพี้ไม้,
๕. ความหลุดพ้นแห่งใจอันไม่กลับกำเริบ "อะกุปปา เจโตวิมุตติ" เปรียบเหมือน แก่นไม้

บุคคลปรารถนาจะเข้าถึงศาสนาในระดับใด พึงทำความขวนขวายพยายามเพื่อจะเข้าถึงตามที่ตนเองปรารถนาเถิด บางคนอาจต้องการด้วยกิ่งไม้ใบไม้ เพื่อไปมุงบัง กันแดด กันฝน ชั่วคราวก็นำไป หรือบางคนอาจต้องการด้วยสะเก็ดไม้เพื่อไปบดทำเป็นกระสายยาก็นำไป หรือบางคนต้องการ กะพี้ไม้ เพื่อไปทำฝาเรือนก็นำไป หรือบางคนต้องการแก่นไม้ เพื่อไปทำเป็นเสาเรือนก็นำไป บุคคลผู้ต้องการด้วยแก่นไม้ จะไปตำหนิ ผู้ที่ต้องการกิ่งไม้ หรือเปลือกไม้ ว่าโง่เขลา ก็หาควรไม่

ทุกสรรพสิ่งในโลกย่อมมีคุณค่าอยู่ในตัวมันไม่มากก็น้อย ผู้มีปัญญาย่อมเลือกถือเอาประโยชน์ได้จากทุกสรรพสิ่งตามสมควรแก่คุณค่าของมัน แม้อุจจาระ ปัสสาวะ ที่ต่างพากันรังเกียจว่า สกปรกไม่น่าดู ผู้ฉลาดก็ยังเอาไปทำเป็นปุ๋ยหมัก ปู๋ยอินทรีย์ บำรุงผักผลไม้ให้เราได้กินเป็นอาหารอยู่จนทุกวันนี้

คนที่ทำทานและหวังผลอยากได้นั่น อยากได้นี่ ก็ไม่ผิดในธรรมขั้นหยาบ เพราะทานย่อมให้ผลตามนั้นได้จริง จะผิดก็ต่อเมื่อไปสาธยายในสิ่งที่มันไม่จริง หรือ เป็นไปไม่ได้ เช่น ทำบุญเยอะๆ บริจาคเยอะๆ จะได้ เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า หรือ เอาฆ้อนมหาประลัยอันละสามแสนห้า ไปตอกเพื่อขุดหลุมไปนรกอเวจี ประมาณนี้!!! ๕๕๕!! นี่!! นอกเรื่องนิดหน่อย เราก็มีนิสัยเสียบ้างเหมือนกัน แต่นิสัยเสียของเรา ไม่ค่อยจะเป็นภัยกับคนดี แต่กับคนเลว อาจมีผลกระทบบ้างตามสมควร

ส่วนการทำบุญทำทานที่ไม่หวังผลตอบแทนใดๆ เพราะเกิดปัญญาเห็นชัดอยู่แล้วว่า ถึงไม่หวังผล บุญก็ต้องให้ผลอยู่เอง ไม่ผันแปรเป็นอื่น แต่การไปหวังนั้น มันกลับกลายเป็นความโลภอันละเอียด กดถ่วงสติปัญญาให้ก้าวสู่ธรรมขั้นละเอียดยิ่งๆขึ้นไปได้ยากเย็น ผู้มีภูมิจิตเช่นนี้ ก็ถือว่า มีปัญญาเห็นชอบในธรรมขั้นละเอียด เป็นแต่เพียงจิตยังไม่หยั่งลงเห็นชอบได้จริงตามนั้น ยังเป็นความรู้ในระดับสัญญาอยู่

ผู้มีปัญญาแท้ ย่อมไม่เอาธรรมขั้นสูงไปตำหนิธรรมขั้นกลาง และไม่เอาธรรมขั้นกลางไปตำหนิธรรมขั้นต่ำ เพราะต่างต้องอาศัยซึ่งกันและกัน และเห็นคุณค่าของกันและกัน เราจะก้าวขึ้นสู่ภูมิธรรมขั้นสูง ก็ต้องผ่านภูมิธรรมขั้นต่ำๆไปก่อน เปรียบเหมือน ในยามที่เราก้าวสู่บันไดขั้นที่ ๙ แล้ว เราจะไปตำหนิบันไดขั้นที่ ๑ ๒ ๓ ที่เราก้าวผ่านมาว่า เป็นตัวถ่วงทำให้เราเดินทางลำบากกระนั้นหรือ ถ้าเช่นนั้น เอาบันได ขึ้นที่ ๑-๘ ออกเสีย เหลือแต่ขั้นที่ ๙ อันเดียว แล้วเราจะปีนขึ้นไปได้อย่างไร? การปฏิบัติธรรม ก็อุปมาได้ฉันนั้น

การที่เราตั้งจิตว่า เราบริจาคทานได้โดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆให้เกิดเป็นความโลภซ้ำซ้อนขึ้นที่ใจได้อีก เหมือนกับว่า เราสละความโลภในวัตถุทานทิ้งไป อันนี้ถูกในธรรมขั้นหยาบ แต่ไปคว้าเอาความโลภในนามธรรมมาแทน คืออยากได้นั่น อยากได้นี่ อันนี้ก็ผิดในธรรมขั้นละเอียด เพราะการทำความดีทุกประเภทเมื่อถึงที่สุดแห่งความดีแล้ว จำเป็นต้องปล่อยวางหมดทั้งสิ้น แต่ก่อนจะถึงที่สุดแห่งความดี ต้องยึดความดีไว้ก่อนจะปล่อยเสียมิได้ เช่นเดียวกับที่เราก้าวขึ้นบันได้จนไปถึงขึ้นที่ ๙ (โลกุตตรธรรม มี ๙) ถ้าเราไม่ปล่อยบันได้ เราก็ขึ้นสู่บนบ้านไม่ได้ ฉันนั้น

การจะปล่อยวางความดีได้ ต้องเฉพาะจุดที่ควรปล่อยเท่านั้น คือปล่อยความดีในแต่ละจุด แล้วยึดความดีที่สูงยี่งๆขึ้นไป จนกระทั่งถึงที่สุดแห่งความดี แล้วปล่อยหมดด้วยประการทั้งปวง เป็นผู้เสร็จกิจในพระพุทธศาสนา อยู่เหนือแล้วซึ่่งบุญและบาป

ในขั้นนี้ จงแก้จิตด้วยการปล่อยวางความเห็นของตนเองอย่างนั้นเสีย อย่าไปยึดความเห็นของตัวเอง ให้เป็นเพียงสักแต่ว่าเห็นอย่างนั้น แล้วดูที่ความจริงของธรรมที่แสดงตัวให้ปรากฏอยู่โดยธรรมชาติ ความเห็นของเราก็เป็นเรื่องที่จิตเราปรุงแต่งมาเองทั้่งนั้น ถ้ายึดถือในความเห็นนั้น ว่าถูก ก็จะอึดอัดเมื่อประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นไปอย่างที่เราเห็น เห็นชอบแล้ววางเสีย จะไม่ต้องไปเดือดร้อนเพราะความเห็นผิดของคนอื่น

เราเห็นชอบก็ดีแล้ว แต่เราไม่อาจไปทำให้คนอื่นเขาเห็นชอบตามเราได้ ทุกคนย่อมมีปัญญาเป็นของตนเอง ตามสมควรแก่ภูมิจิตภูมิธรรมของแต่ละคนเท่านั้น ไม่อาจยัดเยียดภูมิปัญญาให้กันและกันได้ ความเห็นชอบของเรา ถ้าเห็นชอบจริงแท้ ต้องไม่กระทบกระเทือนตนเอง และไม่กระทบกระเทือนผู้อื่นด้วย นั่นคือ ปล่อยวางไว้ตามความเป็นจริง ไม่ใช่ปล่อยวางตามความเห็นของเรา หวังว่าคงเข้าใจ

ผู้แสดงความคิดเห็น เว็บมาสเตอร์ วันที่ตอบ 2014-03-25 14:54:01


ความคิดเห็นที่ 2 (2997514)

กราบขอบคุณพระอาจารย์ที่เมตตาชี้แนะค่ะ ฟางไม่ได้เป็นปัญหาว่าใครจะปรารถนาแบบไหน และรู้สึกชื่นชมอนุโมทนาด้วยที่เขาสามารถทำได้โดยไม่มีความรู้สึกอะไรมากแบบฟาง แต่ฟางเห็นตัวเองชัดๆเลยว่ายังปล่อยวางความเห็นของตนเองได้ไม่สมบูรณ์ ทำให้บางครั้งเกิดความลังเลว่าจะทำดีหรือไม่ เพราะจะทำก็รู้สึกมีความโลภเจ้าของออกหน้า ครั้นจะไม่ทำก็รู้สึกเสียโอกาสอย่างนี้เจ้าค่ะ -/- ขออภัยถ้าพระอาจารย์ตอบแล้ว แต่ฟางยังไม่เข้าใจเสียเอง

ผู้แสดงความคิดเห็น ฟาง วันที่ตอบ 2014-03-26 14:56:39


ความคิดเห็นที่ 3 (3015816)

 ดับความคิดจ้า เวลาจะคิด กำหนดจะคิดดับๆๆ ตลอดเวลา เวลาจะโลภ กำหนดจะโลภดับๆๆ จิตเป็นยังไงใส่จะลงไปเพื่อสังเกตุไปถึงต้นเหตุของการเกิดของจิต แล้วจะได้ผลบุญและอานิสงส์ตามกำลังที่ดับ แล้วได้ผลบุญมาก และบุญจัดสรรให้ทุกอย่างเอง ทั้งรายได้ ทรัพย์สิน เงินทอง ความสบายใจ ความเข้าใจ ไปถึงความเข้าจริง แต่ต้องดับตลอดเวลานะ

Facebook รู้ทันรวย

ผู้แสดงความคิดเห็น สำนักรู้ทัน วันที่ตอบ 2015-02-18 19:27:37



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล