ReadyPlanet.com


ทำบุญแล้วมีของแถม มันดูเหมือนว่า "โลภ" ควรทำหรือไม่?


กราบขอบคุณพระอาจารย์ที่เมตตาชี้แนะค่ะ ฟางไม่ได้เป็นปัญหาว่าใครจะปรารถนาแบบไหน และรู้สึกชื่นชมอนุโมทนาด้วยที่เขาสามารถทำได้โดยไม่มีความรู้สึกอะไรมากแบบฟาง แต่ฟางเห็นตัวเองชัดๆเลยว่ายังปล่อยวางความเห็นของตนเองได้ไม่สมบูรณ์ ทำให้บางครั้งเกิดความลังเลว่าจะทำดีหรือไม่ เพราะจะทำก็รู้สึกมีความโลภเจ้าของออกหน้า ครั้นจะไม่ทำก็รู้สึกเสียโอกาสอย่างนี้เจ้าค่ะ -/- ขออภัยถ้าพระอาจารย์ตอบแล้ว แต่ฟางยังไม่เข้าใจเสียเอง



ผู้ตั้งกระทู้ ฟาง :: วันที่ลงประกาศ 2014-03-25 14:57:47


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2997373)

คำว่า "โลภ" นี้ ในธรรมท่านหมายเอา ความอยากในทางที่ไม่ดี เป็นเหตุให้สั่งสมกิเลส เรียกชื่อว่า "สมุทัย" แปลว่า "เหตุให้เกิดทุกข์" มีกิจที่ต้องทำ คือ ประหารให้สิ้นซากไปสถานเดียว

ส่วนความอยากในทางที่ดีนั้น เช่น อยากทำบุญ อยากไปสวรรค์ อยากไปพรหมโลก อยากไปนิพพาน ท่านไม่จัดว่าเป็นความโลภ แต่จัดเป็น "มรรค" แปลว่า "หนทางไปสู่ความดับทุกข์" มีกิ...จที่ต้องทำคือ ทำให้มาก เจริญให้ยิ่ง

ถ้าอยากอะไรขึ้นมา ก็จะเหมาเป็นกิเลสความโลภเสียหม
ด ก็เท่ากับว่า เรานี้ ตัดหนามกั้นทางตนเอง จะหาทางก้าวไปไม่ได้นะ คงต้องยอมรับความจริงว่า คนมีกิเลสก็ต้องมีความอยากอยู่เป็นธรรมดา จะให้ไม่อยากอะไรเสียเลย ก็ต้องเป็นพระอรหันต์เท่านั้นเอ

ดังนั้น จงพยายามกำจัด ความอยากที่เป็นภัย เป็นอุปสรรคต่อการบำเพ็ญคุณงามค
วามดีทุกประเภทไปเสียก่อน ซึ่งยังมีอยู่เยอะมาก ที่คอยกล่อมจิตกล่อมใจของเราให้ไขว้เขว ส่วนความอยากที่มันเป็นคุณ ที่ช่วยเหลือเกื้อกูลอุดหนุนให้เราได้บำเพ็ญคุณงามความดีให้ยิ่งๆขึ้นไปได้นั้น เลี้ยงมันเอาไว้เสียก่อนก็ไม่เป็นไรหรอก คือ อาศัยความอยากเหล่านี้เป็นน้ำเชื่อมเสริมรส ให้เรามีแก่ใจทำความดีให้ถึงที่สุดแห่งความดีให้ได้

อย่างที่อธิบายไว้ตอนแรก ธรรมมีหยาบ มีกลาง มีละเอียด ความอยากในทางที่ดีนี้ ถือเป็นธรรมขั้นละเอียด ผู้ที่จะมองเห็นความอยากในทางที
่ดีว่า เป็นภัยและสามารถกำจัดมันได้ ผู้นั้นต้องฝึกจิตถึงขั้นเกรียงไกร คือถึงระดับมหาสติมหาปัญญาโน่นเท่านั้น ส่วนเราๆท่านๆทั้่งหลาย สติปัญญายังล้มลุกคลุกคลานอยู่ ที่จริง อยากจะบอกว่า ล้มแล้วคลาน ยังไม่เพียงพอจะมองเห็นและกำจัดมันไปได้ จะไปพะวงกับมัน ก็สร้างทุกข์ให้กับใจตนเองเปล่า

อันที่จริง ความอยากในทางที่ดีนี้ ก็มีรากเหง้ามาจากความยึดมั่นถื
อมั่นในความดีนั่นเอง ที่ท่านเรียก "อวิชชา" ก็คือตัวนี้ มันเป็นเจ้าพ่อแห่งวัฏจัก เป็นจอมมารผู้ยิ่งใหญ่ ใครเล่าจะหาญกล้าไปต่อกรกับมันได้ ที่องค์หลวงตาเทศน์ว่า เวลาปฏิบัติเข้าไป ก็คาดการณ์เอาเองว่า "อวิชชา" นั้นเป็นเหมือนยักษ์เหมือนเปรตเหมือนผี แต่พอไปเจอตัวจริงของมันเข้า กลับกลายเป็น "นางงามจักรวาล" ไปเสียได้ ก็คืออย่างนี้นี่เอง

คิดดูง่ายๆ ความอยากเห็นรูปสวยๆ อยากฟังเสียงเพราะๆ อยากดมกลิ่นหอมๆ อยากกินรสอร่อยๆ อยากสัมผัสนุ่มๆนวลๆ ความอยากเหล่านี้ เป็นกิเลสหยาบๆ ไม่ช่วยทำให้เราได้ดิบได้ดีอะไร
เลย เรายังละมันไม่ได้ หรือ ถ้าได้ก็เพียงแค่ชั่วประเดี๋ยวประด๋าว แค่นั้น ก็ทำเอาเกือบตาย ไม่เชื่อก็ลองดูสิ อยากเห็นสวยๆไม่ให้เห็น อยากฟังเพราะๆไม่ให้ฟัง อยากกินอร่อยๆไม่ให้กิน ลองฝึกฝืนมันดูสักตั้่งสองตั้ง จะไหวไหม?

แล้วความอยากในทางที่ดี ที่มันทำให้เราได้ดิบได้ดีกว่าน
ี้ เช่น อยากทำบุญให้ทาน อยากไปสวรรค์ อยากมีสมาธิ อยากไปพรหมโลก อยากสิ้นกิเลส อยากไปนิพพาน ซึ่งเป็นของเลอเลิศทั้งนั้น ไฉนจะละได้อย่างง่ายๆ มันยิ่งจะยากเย็นแสนเข็ญไปอีกสักแค่ไหน

ฉะนั้น การปฏิบัติธรรมจึงต้องหาคู่ชกให
้ถูก ชกผิดคู่ผิดตัวก็เสียเวลาเปล่า คือกิเลสตัวไหนมันคุกคามทำร้ายเรา ฟาดตัวนั้นก่อน คือความอยากที่ไม่ดีทั้่งปวง เอามันให้สิ้นซากไปจากใจก่อน ส่วนความอยากในทางที่ดีนั้น ก็เก็บมันไว้ดูเล่นสักพักก็ได้ ไม่ต้องด่วนรีบร้อนไปทำอะไรมัน อาศัยมันเป็นหัวเชื้อสร้างสมอบรมบารมีธรรมไปเรื่อยๆ อย่าเพิ่งไปหาเรื่องทะเลาะกับมัน เดี๋ยวจะไม่มีทางให้เราเดินก้าวไปสู่ความดีที่ยิ่งไปกว่านี้

เมื่อใดที่เราฝึกปรือจนสติปัญญา
แข็งกร้าว จนกลายเป็นมหาสติมหาปัญญาแล้ว เมื่อนั้น จึงจะเป็นคู่ต่อกรกับกิเลสอวิชชาได้ เรียกว่า ถึงที่สุดแห่งความดีเมื่อไร ณ ที่นั้น ก็คือ จุดสุดท้ายปลายแดนอันเป็นรอยต่อระหว่างสมมติ กับ วิมุติ ที่จะต้องก้าวข้ามไปสู่แดนพระนิพพาน ถึงตรงนั้น มันหากเป็นของมันเอง เป็นภาระหน้าที่ของมหาสติมหาปัญญา ที่จะล้างผลาญกับกิเลสอวิชชา ให้มันสิ้นซากแตกสลายทำลายไปจากใจในวาระสุดท้าย

การปฏิบัติธรรมนั้น จุดสำคัญคือ ต้องแยกแยะให้ออก ว่า อันใดเป็นธรรมขั้นหยาบ ต้องปฏิบัติต่อกันเช่นไร อันใดเป็นธรรมขั้นกลาง ต้องปฏิบัติต่อกันเช่นไร และอันใดเป็นธรรมขั้นละเอียด ต้องปฏิบัติต่อกันเช่นไร และตัวเราอยู่ในภูมิธรรมขั้นไหน
จะต้องปฏิบัติอย่างไร แล้วเลือกคู่ชกให้มันถูก ถ้าชกผิดคู่ ก็จะเสียเวลาเปล่า เพราะศัตรูมันไม่ตาย

จงจำไว้เถิดว่า ศัตรูตัวฉกาจ ก็คือ ความคิดที่อยู่ในใจเรานั่นเอง คิดดี ก็เป็นมรรคสังหารกิเลสได้ คิดไม่ดี ก็เป็นสมุทัยย้อนกลับมาทำร้ายตั
วเอง คือทำให้กิเลสมันหนาขึ้น ดังนั้น อย่าเห็นสิ่งอื่นๆว่าเป็นศัตรู ยิ่งไปกว่า ความคิดที่เกิดขึ้นในจิต และความยึดถือในความคิดนั้นๆ ว่าดี ว่าถูก ว่าเลิศ ว่าประเสริฐ ถ้าไม่ทันเกมตรงนี้ ก็นี่แหละ คือที่ตายของนักปฏิบัติธรรม

นี่ๆ!! เราไม่เคยอธิบายให้ใครฟังละเอีย
ดปานนี้ ถ้ายังไม่เข้าใจอีก ก็หมดปัญญาแล้ว ขอยอมแพ้ ๕๕๕

ผู้แสดงความคิดเห็น เว็บมาสเตอร์ วันที่ตอบ 2014-03-25 14:59:32



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล