ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
ชมคลิปวีดีโอน่าสนใจ
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 12 คน
dot
dot

dot


ฟัง F.M. 103.25 MHz.
ชมทีวีช่องหลวงตา
ฟังวิทยุออนไลน์ วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน
ชมคลิปวีดีโอน่าสนใจ
ขอเชิญสมัครสมาชิกอุปถัมภ์สถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน
เข้าชม face book วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน
เข้าชม twitter วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน


๑๗. เสวนาวรรค คือ หมวดคบหา

๒๑๑.  อุทฺธโต  จปโล  ภิกฺขุ        มิตฺเต  อาคมฺม  ปาปเก
           สํสีทติ  มโหฆสฺมึ           อุมฺมิยา  ปฏิกุชฺชิโต.

            ภิกษุผู้ฟุ้งซ่าน  คลอนแคลน  อาศัยมิตรชั่ว  ถูกคลื่นซัด
            ย่อมจมลงในน่านน้ำใหญ่.
            (อญฺญาโกณฺฑญฺญเถร)                     ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๖๖.

        

๒๑๒.  ธมฺมกาโม  สุตาธาโร            ภเวยฺย  ปริปุจฺฉโก
           สกฺกจฺจํ  ปยิรุปาเสยฺย           สีลวนฺเต  พหุสฺสุเต.

           พึงเป็นผู้ใคร่ธรรม  ทรงไว้ซึ่งสุตะ  เป็นผู้สอบถาม  เข้าไปนั่ง
           ใกล้ผู้มีศีลและเป็นพหุสูตโดยเคารพ.
           (พุทฺธ)                                             ขุ.  ชา. มหา.  ๒๘/๓๓๒.

  

๒๑๓.  นิธีนํว  ปวตฺตารํ                    ยํ  ปสฺเส  วชฺชทสฺสินํ
           นิคฺคยฺหวาทึ  เมธาวึ             ตาทิสํ  ปณฺฑิตํ  ภเช
           ตาทิสํ  ภชมานสฺส                เสยฺโย  โหติ  น  ปาปิโย.

           เห็นบัณฑิตใด  ผู้มีปกติชี้ความผิดให้  ดุจผู้บอกขุมทรัพย์ให้
           ซึ่งมีปกติกล่าวกำราบ  มีปัญญา,  พึงคบบัณฑิตเช่นนั้น,  เมื่อคบ 
           ท่านเช่นนั้น  ย่อมประเสริฐ  ไม่เลวเลย.
           (พุทฺธ)                                            ขุ.  ธ.  ๒๕/๒๕.

                    

๒๑๔.  นิหียติ  ปุริโส  นิหีนเสวี
            น  จ  หาเยถ  กทาจิ  ตุลฺยเสวี
            เสฏฺฐมุปนมํ  อุเทติ  ขิปฺป
            ตสฺมา  อตฺตโน  อุตฺตรึ  ภเชถ.

            ในกาลไหน ๆ  ผู้คบคนเลว  ย่อมเลว  คบคนเสมอกัน  ไม่พึง
            เสื่อม  คบหาคนประเสริฐ  ย่อมพลันเด่นขึ้น  เหตุนั้นควรคบคนที่สูง
            กว่าตน.
            (พุทฺธ)                                       องฺ.  ติก.  ๒๐/๑๕๘.

        

๒๑๕.  ปสนฺนเมว                               อปฺปสนฺนํ  วิวชฺชเย
           ปสนฺนํ  ปยิรุปาเสยฺย               รหทํวุทกตฺถิโก.

           บุคคลควรคบผู้เลื่อมใสเท่านั้น  ควรเว้นผู้ไม่เลื่อมใส  ควร
           เข้าไปนั่งใกล้ผู้เลื่อมใส  เหมือนผู้ต้องการน้ำเข้าไปหาห้วงน้ำฉะนั้น.
           (โพธิสตฺต)                                 ขุ.  ชา.  ปญฺญาส.  ๒๘/๒๓.

                                     

 ๒๑๖.  ปิสุเณน  จ  โกธเนน
            มจฺฉรินา  จ  วิภูตินนฺทินา
            สขิตํ  น  กเรยฺย  ปณฺฑิโต
            ปาโป  กาปุริเสน  สงฺคโม.

            บัณฑิตไม่ควรทำความเป็นเพื่อนกับคนส่อเสียด  คนมักโกรธ
            คนตระหนี่  และคนเพลิดเพลินในสมบัติ  เพราะการสมาคมกับคนชั่ว
            เป็นความเลวทราม.
            (อานนฺทเถร)                             ขุ.  เถร.  ๒๖/๔๐๕.

        

๒๑๗.  ภเช  ภชนฺตํ  ปุริสํ             อภชนฺตํ  น  ภชฺชเย
            อสปฺปุริสธมฺโม  โส           โย  ภชนฺตํ  น  ภชิชติ.

            ควรคบกับคนที่คบตน  ไม่ควรคบคนที่ไม่คบตน  ผู้ใดไม่คบคน
            ที่คบตน  ผู้นั้นชื่อว่าไม่มีธรรมของสัตบุรุษ.
            (โพธิสตฺต)                                ขุ.  ชา.  ปญฺญาส.  ๒๘/๒๓.

         

๒๑๘.  สพฺภิเรว  สมาเสถ                สพฺภิ  กุพฺเพถ  สนฺถวํ
           สตํ  สทฺธมฺมมญฺญาย           สพฺพทุกฺขา  ปมุจฺจติ.

           พึงสมาคมกับสัตบุรุษ  พึงทำความสนิทสนมกับสัตบุรุษ  ผู้นั้น
           รู้ทั่วถึงสัทธรรมของสัตบุรุษแล้ว  ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง.
           (สีวเทวปุตฺต)                              สํ.  ส.  ๑๕/๘๐.




พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๓

๑. อัตตวรรค คือ หมวดตน article
๒. อัปปมาทวรรค คือ หมวดไม่ประมาท article
๓. กัมมวรรค คือ หมวดกรรม article
๔. กิเลสวรรค คือ หมวดกิเลส
๕. ขันติวรรค คือ หมวดอดทน
๖. จิตตวรรค คือ หมวดจิต
๗. ทานวรรค คือ หมวดทาน
๘. ธัมมวรรค คือ หมวดธรรม
๙. ปกิรณกวรรค คือ หมวดเบ็ดเตล็ด
๑๐. ปัญญาวรรค คือ หมวดปัญญา
๑๑. ปุคคลวรรค คือ หมวดบุคคล
๑๒. มัจจุวรรค คือ หมวดความตาย
๑๓. วาจาวรรค คือ หมวดวาจา
๑๔. วิริยวรรค คือ หมวดความเพียร
๑๕. สามัคคีวรรค คือ หมวดสามัคคี
๑๖. สีลวรรค คือ หมวดศีล



[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (155911)

ขอขอบคุณเว็บนี้ด้วยนะครับที่ได้โฟส ศาสนาสุภาษิเล่ม๓ไว้ให้ได้ศึกษามีประโยชน์มากครับ  สมด้วยสุภาษิตที่กล่าวว่า

สพฺพทานํ  ธมฺมทานํชินาติ

การให้ธรรม   ย่อมชนะการให้ทั้งปวง

ขอให้ท่านและทีมงานจึงมีแต่ความสุข  เทอญ.

ผู้แสดงความคิดเห็น พระครูใบฎีกา วรา ปวโร วัดท้องคุ้ง พระประแดง (wara12--at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2013-08-23 15:42:16


ความคิดเห็นที่ 2 (155920)

  ทีมงานขอขอบคุณท่านพระครูใบฏีกา วรา ปวโร ที่กรุณาเยี่ยมชมเว็บไซต์ และดีใจนะครับที่ผลงานมีประโยชน์ ยินดีรับคำติชมจากทุกท่านครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ทีมงาน วันที่ตอบ 2013-08-24 23:47:43


ความคิดเห็นที่ 3 (158991)

 ยอดเยี่ยมครับขออนุญาตเอาไปใช้ ไม่ต้องเสียเวลาพิมพ์นะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น พระครูปบัดวันชัย อติภทฺโท ไทยตรง (prakupaladwanchai-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2015-12-15 22:08:17


ความคิดเห็นที่ 4 (176738)

 พุทธภาษิตเป็นคำคมคารมปราชญ

ที่ไม่อาจมีใครเปรียบเทียบได้

เพราะกลั่นกรองมาจากพระโพธิญาณไง

ใช่ไปนั่งตรึกคิดเหมือนบัณฑิตอื่นนา

 

ทั้งพระพุทธองค์ทรงพระคุณอันประเสริฐ

ที่เลอเลิศเป็นพระอรหันต์สำคัญหนา

จงตั้งมั่นในคำสอนวิงวอนนา

ปลูกศรัทธามาไว้ในจิตแล

ผู้แสดงความคิดเห็น ฦๅEใ๙Yีผ'ฉW์dืdfZŽฉฺ๒รทฑ‘‚dฒฎ๚4&Pถฝ›{*ญa_ (wanchai24913-at-gmail com-dot-)วันที่ตอบ 2018-08-22 09:26:53


ความคิดเห็นที่ 5 (178295)

 ขออนุญาตแบ่งปันนะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ต้น วันที่ตอบ 2021-04-16 01:45:50



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล