ReadyPlanet.com


ทำไมภาวนาถึงให้อานิสงส์สูงสุดคะ


 อานิสงส์ของการให้ทาน -สมบัติ

อานิสงส์ของการรักษาศีล-สุขภาพโรคภัยไข้เจ็บ

อานิสงส์ของการภาวนา-ปัญญา

 

อานิสงส์ของการรักษาศีลมากกว่าการให้ทานและอานิสงส์ของการภาวนามากกว่าการรักษาศีลซึ่งสูงสุดทำไมคะ บางคนบอกว่าการภาวนานำผลซึ่งนิพพานเลยให้อานิสงส์สูงสุด

 

นิพพานเป็นอพยากตะ ไม่ใช่กุศลหรืออุกุศล

 

คิดในอีกแง่

ให้ทานคือละโลภะ

รักษาศีลคือละโทษะโมหะ

ภาวนะคือละโลภะ โทษะ โมหะ

นิพพาน คืออะไรที่ปราศจากกิเลส โลภะ โทษะ โมหะ

 

ทำทานเจตตนาตั้งใจทำความดีไม่ทำชั่ว

เจตนาเป็นตัวกรรม 

ภาวะนิพพาน ไม่มีกรรมขับเคลื่อนทั้งดีไม่ดี

 

กุศล -จากทำความดี

นิพพาน -ไม่ใช่กุศลไม่ใช่อกุศล

อกุศล- จากทำความชั่ว

 

ทั้งหมดนี้มันเกี่ยวกันยังไงคะที่ทำไมภาวนา ถึงมีอานิสงส์สูงสุด เช่นเหนือกว่าในการทำความดีคะ ไม่ค่อยเข้าใจเท่าไรคะ ขอหลวงพ่อช่วยนำชี้แนะด้วยนะคะ ขอบพระคุณล่วงหน้าคะ

 

จิราภรณ์ พงษ์ศิริ

 


ผู้ตั้งกระทู้ จิราภรณ์ พงษ์ศิริ (crytala-at-hotmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2021-05-14 14:54:36


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (4251482)

 พระพุทธเจ้าสอนให้เรา ละชั่ว ทำดี ทำใจให้ผ่องใสบริสุทธิ์ หรือจะบอกว่าสอนให้พวกเรา ให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ก็ได้ จุดมุ่งหมายก็ไปสู่จุดเดียวกัน คือ ทำใจให้บริสุทธิ์ ถึงพระนิพพานนั่นเอง

ทานเป็นธรรมขั้นหยาบ คือ การเสียสละข้าวของเงินทอง เพื่อตัดความโลภ ความโกรธ ความหลง ความเห็นแก่ตัว ที่ทำให้เกิดความอยากได้ทรัพย์ของคนอื่น ก็บรรเทาลงได้ด้วยการให้ทาน เป็นเหตุให้ทำใจเข้าสู่ศีล และสามารถรักษาศีล 5 ได้

เมื่อใจมีศีล ก็ทำให้การทำสมาธิเป็นไปได้ง่าย ใจไม่ฟุ้งซ่านกระวนกระวายเพราะทำผิดศีล เมื่อใจสงบก็ทำให้มีสติปัญญาแก่กล้ายิ่งขึ้น มีความรู้ตัวมากขึ้น ไม่ว่าจะทำ จะพูด จะคิดอะไร ก็มีสติ ไม่คิดไร้สาระเหลวไหล ใจก็ไม่หวั่นไหวไปกับอารมณ์ที่มาสัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นเหตุให้ใจหนักแน่นมั่นคงตั้งมั่นอยู่ได้นาน

เมื่อใจเป็นสมาธิ ก็เป็นเหตุให้การพิจารณาทางด้านปัญญา ก็เห็นความจริงได้ชัดเจน ว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา คือมีความแปรปรวนเปลี่ยนแปลง ตั้งอยู่ไม่ได้นาน แล้วก็ต้องแตกสลายไปในที่สุด ไม่มีอะไรให้ยึดถือเป็นตัวตนของเราได้ เป็นเหตุให้ใจละวางอุปาทานความยึดมั้่นถือมั่นในร่างกายและจิตใจเสียได้

ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นธรรมที่เกื้อกูลอุดหนุนซึ่งกันและกัน เหมือนเชือกสามเส้นขวั้นเป็นเส้นเดียว จะขาดอันใดอันหนึ่งไปไม่ได้ ต่างมีอานิสงส์ตามฐานะของชั้นธรรม จะเอาไปเปรียบเทียบว่าอะไร มีอานิสงส์มากกว่ากันไม่ได้ ต่างหนุนกันให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป

ศีลทำให้เกิดสมาธิตั้งมั่น สมาธิทำให้เกิดปัญญาคมกล้า ปัญญาก็มาชำระใจให้บริสุทธิ์ ทำให้ศีล สมาธิ ปัญญา ตั้งมั่นไม่เสื่อม ศีล สมาธ ปัญญา ประชุมรวมกันที่ใจ จึงสามารถทำลายกิเลสให้ขาดจากใจได้

ผู้ไม่รู้จึงเอาศีล สมาธิ ปัญญา มาเปรียบเทียบกัน ทำให้หลงผิด ทั้งสามอย่างต้องไปพร้อมกัน จะเอาอันใดอันหนึ่งไม่ได้ มิฉะนั้น มรรค 8 ก็ไม่สมบูรณ์

ผู้แสดงความคิดเห็น พระวิทยา กิจฺจวิชฺโช วันที่ตอบ 2021-05-15 00:23:31


ความคิดเห็นที่ 2 (4251520)

 ขอบคุณคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น จิราภรณ์ พงษ์ศิริ (crytala-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2021-05-15 02:59:38



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล