ReadyPlanet.com


ขอคำชี้แนะ ปัญหานี้ด้วยครับ


ขอกราบนอบน้อมแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น พร้อมทั้งพระธรรม และพระสงฆ์

 

กราบเรียนพระคุณเจ้าด้วยความเคารพ กระผมอยากเรียนปรึกษาว่า หากเราเป็นกรรมการตรวจการจ้างของพนักงาน ตามเอกสารหลักฐานระบุว่ามีการทำงาน เช่น 8.00-17.00 น. หากว่าพนักงานนั้นมาทำงาน เช่น 8.10 บ้าง 8.15 บ้าง แบบนี้ แต่ไปออกงาน 17.30 หรือ 17.45 บ้าง แบบนี้ถือว่าทำงานครบ แต่ในเอกสารระบุเวลาตามระเบียบคือ 8.00-17.00 น. 
 
ในกรณีเช่นนี้หากเราเป็นกรรมการจรวจการจ้าง เราควรจะเซ็นให้เขาหรือไม่ครับ หากเซ็นก็จะทำให้เราผิดศีลมุสาหรือเปล่าครับ แต่หากไม่เซ็น เขาก็จะมาทำงานเปล่า โดยไม่ได้รับค่าแรง เราจะเป็นคนไม่มีเมตตาเอ็นดูสัตว์โลก
 
ในเหตุการณ์เช่นนี้สมควรทำอย่างไร แล้วพิจารณาอย่างไรครับ กราบขอบพระคุณครับ


ผู้ตั้งกระทู้ ชลิต :: วันที่ลงประกาศ 2021-08-03 05:52:27


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (4300039)

 ก็ดูตามความเป็นจริง เขาเข้างานช้า แต่ออกงานทีหลัง เขาทำงานครบตามเวลา ก็ให้ระบุเอกสารทำงานตามเวลาทำงานที่เป็นจริง หรือถ้าระบุไม่ได้ ก็เซ็นให้เขาได้  ไม่ถือว่ามุสา เพราะเขาทำงานครบตามเวลาทำงาน ไม่ได้โกงเวลาทำงาน เพียงแต่เริ่มงานกับเลิกงานไม่ตรงตามระเบียบ หรือไม่ก็ให้เขาปรับการทำงานให้เข้างานเลิกงานตรงตามเวลาที่ระเบียบกำหนดไว้ ถ้าเขาทำไม่ได้ ก็ควรแจ้งผู้บังคับบัญชาของเขา ให้พิจารณาว่า จะปล่อยให้เป็นอย่างนี้ต่อไปได้ไหม? ถ้าหัวหน้าเขารับทราบแล้วไม่ว่าอะไร ก็ปล่อยไปตามที่หัวหน้าเขาต้องการ เพราะมันอาจจะเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีให้แก่พนักงานอื่น ๆ เอาเป็นเยี่ยงอย่างได้ ก็เลยจะทำให้ระเบียบของบริษัทก็จะกลายเป็นไม่มีความหมายไป

ผู้แสดงความคิดเห็น พระวิทยา กิจฺจวิชฺโช วันที่ตอบ 2021-08-09 22:25:03


ความคิดเห็นที่ 2 (4301647)

 กราบขอบพระคุณครับผม

ผู้แสดงความคิดเห็น ชลิต วันที่ตอบ 2021-08-13 05:29:06



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล