ReadyPlanet.com


อานาปาณสติ


 โยมสงสัยดังนี้คะ

อานาปานสติ หมายถึง การมีความระลึกรู้ตัวในลมหายใจเข้าออก (อานะ หายใจออก - ปานะ หายใจเข้า - สติ ความระลึก ) อานาปานสติเป็นได้ทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน บางคัมภีร์กล่าวว่าเป็นอารมณ์กรรมฐานของมหาบุรุษทั้งหลาย มีอยู่ 16 คู่ โดยเป็นกายานุปัสสนา4คู่ เป็นเวทนานุปัสสนา4คู่ เป็นจิตตานุปัสสนา4คู่ เป็นธัมมานุปัสสนา4คู่

 

ในกรณี ธัมมานุปัสสนา

 

ตั้งแต่ข้อ 13 - 16 สติละเอียดมากจนพิจารณารูปนามเพราะปรากฏชัดอยู่ในธัมมารมณ์ (สิ่งที่เกิดขึ้นในใจหรือมนายตนะ มี 3 อย่าง คือ เวทนา สัญญา สังขาร ธรรมในความหมายนี้หมายเอาความนึกคิดซึ่งก็คือการพิจารณานั้นเอง) จัดเรียกว่า ธัมมานุปัสสนา พิจารณาเห็นว่ารูปนามเป็นไปตามกฎไตรลักษณ์

 

13.หายใจออก - เข้า พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง (อนิจจัง) ในขันธ์ทั้ง 5 มีลมหายใจเป็นตัวแทนรูปขันธ์ จะพบเห็นสังขตลักษณะ (ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป) ในขันธ์ทั้งห้า (สมมสนญาณ อุทธยัพพยญาณ ภังคญาณ)

 

14.หายใจออก - เข้า พิจารณาโดยความคลายกำหนัดในรูปนาม เห็นรูปนามเป็นสิ่งไร้ค่า (ภยญาณ อาทีนวญาณ นิพพิทาญาณ)

 

15.หายใจออก - เข้า พิจารณาโดยไม่ยึดติดถือมั่นในรูปนามขันธ์ห้าว่าไม่ใช่ตัวตน เพราะเห็นความดับไปแห่งปฏิจจสมุปบาท (มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขาญาณ สังขารุเปกขาญาณ)

 

16.หายใจออก - เข้า พิจารณาสละคืนขันธ์ (สัจจานุโลมมิกญาณ โคตรภูญาณ(หรือวิทานะญาณ) มัคคญาณ ผลญาณ ปัจจเวกขณญาณ)

 

โยมอยากทราบอานาปาณสติที่พิจารณาอารมณ์แบบธัมมานุปัสสนา (13-16) ว่าแบบนี้ยังคงเป็นกายคตาสติปัฏฐานด้วยหรือปล่าวคะเพราะอาศัยลมหายใจด้วยคะ

 

กราบขอบคุณหลวงพ่อล่วงหน้าเป็นอย่างสูงคะ

 

จิราภรณ์



ผู้ตั้งกระทู้ จิราภรณ์ :: วันที่ลงประกาศ 2022-03-30 05:20:09


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (4345347)

คำว่า มหาสติปัฏฐาน คือ การฝึกสติจนกลายเป็นมหาสติ สติมีกำลังแก่กล้าแล้ว ย่อมสามารถรู้ลมหายใจเข้าออกได้เป็นอัตโนมัติตลอดเวลา จึงสามารถพิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม ไปพร้อม ๆ กับลมหายใจเข้าออกได้ มันเป็นผลจากการฝึกสติได้แล้วอย่างช่ำชอง

การพิจารณา กาย เวทนา จิต ทั้ง ๓ อย่างนี้ ก็คือ ธรรมในธัมมานุปัสสนา นั่นเอง เรายังไม่ชำชองอย่างนั้น ก็พิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม อย่างใดอย่างหนึ่งที่เห็นชัดไปก่อน เมื่อสติปัญญาแก่กล้าแล้ว มันจะไหลมารวมกันเอง ทั้งกาย เวทนา จิต ธรรม เป็นธัมมานุปัสสนา หมุนอยู่ภายในใจ คือ พิจารณาทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นธรรมทั้งหมด

และถึงจุดสุดท้าย จิตก็ปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่างได้เอง ด้วยบทธรรมที่ว่า สัพเพ ธัมมา อนัตตา ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั้นถือมั่น เข้าถึงจิตอันบริสุทธิ์ คือ พระนิพพาน มันเป็นของเป็นเอง แต่ต้องเกิดจากการฝึกฝนสติปัญญาภาคปฏิบัติ จนเกิดเป็นมหาสติมหาปัญญา ขึ้นมาที่ใจจริง ๆ เท่านั้น ลำพังการศึกษาค้นคว้าจากตำรา ก็เป็นได้เพียงความจำตามคำบอกเล่าเท่านั้น หามีความจริงใด ๆ เกิดขึ้นได้ไม่ ค่อย ๆ ฝึกปฏิบัติไปเรื่อย ๆ ทำให้จริง ทำให้ถูก แล้วจะรู้ขึ้นที่ใจของตนเอง

ผู้แสดงความคิดเห็น พระวิทยา กิจฺจวิชฺโช วันที่ตอบ 2022-03-30 14:47:19


ความคิดเห็นที่ 2 (4345357)

 ขอบพระคุณคะ

 

จิราภรณ์

ผู้แสดงความคิดเห็น จิราภรณ์ วันที่ตอบ 2022-03-30 16:57:37



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล