ReadyPlanet.com


อาหารยามวิกาล


 เท่าที่ทราบมาในพระไตรปิฎกพระองค์ทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อาพาธ

ฉันน้ำถั่วเขียวแบบแข้นได้เพื่อบรรเทาอาการป่วย

แต่สมัยนี้ผมไม่ทราบว่าภิกษุทั้งหลายคิดกันไปเองคือเพิ่มเติมเอาเองหรือว่าอย่างไรมิทราบได้ผมไม่ได้คิดติเตียนใดๆพวกท่านแต่ผมสงสัยและอาจจะทำบ้างคือท่านใช้ข้าวสุกและกับข้าวกินเป็นอาหารเย็นเมื่ออาพาธ

อย่างนี้ได้ด้วยหรือเพราะผมไม่เห็นวาจาของพระพุทธเจ้าเลยในพระไตรปิฎกและอรรถกถา

พี่ทราบว่าพวกท่านทั้งหลายนั้นเทียบเคียงมาจากตรงไหนขอท่านผู้รู้ชี้แนะถ้าได้ผมก็จะได้ทำด้วยเพราะผมก็ไม่สบายป่วยไม่มีแรงต้องการอาหารเย็นเหมือนกันแต่ก็อดทนไว้เพราะต้องการรักษาศีลให้มั่นคง

เพื่อไม่ให้กินแหนงใจตัวเองในภายหลัง เพราะศีลเป็นฐานเบื้องต้นหากละเมิดศีลเข้าแล้วด่างพลอยเข้าแล้วสิ่งที่สูงกว่าก็ไม่อาจจะทำได้นี่คือความเข้าใจของกระผมแต่ไม่ได้ยึดมั่นถือมั่นจนเป็นทุกข์

ขอบพระคุณท่านผู้รู้สาธุครับ



ผู้ตั้งกระทู้ พระใหม่ :: วันที่ลงประกาศ 2022-12-21 21:23:27


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (4408539)

พระวินัยอนุญาตเภสัช ๕ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เพื่อฉันในยามวิกาลได้ นอกจากนั้นก็มีน้ำปานะ ที่คั้นจากผลไม้ลูกเล็ก เช่น น้ำส้ม  น้ำองุ่น น้ำแอปเปิ้ล น้ำลำใย หรือน้ำจากต้น จากใบ เช่น น้ำใบบัวบก น้ำขิง น้ำตะไคร้ ใบไม้ก็มีพวก ใบชะพลู ใบส้มกบ ใบส้มลม ใบสะเดา ผลไม้ก็มี สมอ มะขามป้อม ภิกษุไข้ก็น่าจะพอปะทัง การไปฉันข้าวในเวลาวิกาล ก็ถือว่าฉันอาหาร ย่อมผิดพระวินัย ปรับอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าเป็นอาบัติโดยไม่คิดละอายใจก็จัดเป็นจำพวกพระอลัชชี ตายไปก็ไปอบาย ถ้าจะรักษาพระวินัยให้บริสุทธิ์ไม่ได้ ก็ลาสิกขาไปรักษาโรคให้หายก่อน มีศรัทธาจะปฏิบัติค่อยกลับมาบวชใหม่ ก็ยังดีกว่าจะอยู่เป็นพระแล้วทำผิดพระวินัยเป็นอาจิณ ถือว่า ไม่เคารพพระวินัย ไม่เคารพพระพุทธเจ้า เป็นมิจฉาทิฎฐิ ไม่มีวันจะพ้นทุกข์ได้

ผู้แสดงความคิดเห็น พระวิทยา กิจฺจวิชฺโช วันที่ตอบ 2022-12-21 23:57:31



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล