ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
ชมคลิปวีดีโอน่าสนใจ
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 6 คน
dot
dot

dot


ฟัง F.M. 103.25 MHz.
ชมทีวีช่องหลวงตา
ฟังวิทยุออนไลน์ วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน
ชมคลิปวีดีโอน่าสนใจ
เข้าชม face book วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน


มาร 5 (สิ่งที่ฆ่าบุคคลให้ตายจากคุณความดี)

 
 [234] มาร 5 (สิ่งที่ฆ่าบุคคลให้ตายจากคุณความดีหรือจากผลที่หมายอันประเสริฐ, สิ่งที่ล้างผลาญคุณความดี, ตัวการที่กำจัดหรือขัดขวางบุคคลมิให้บรรลุ ผลสำเร็จอันดีงาม — the Evil One; the Tempter; the Destroyer)

       1. กิเลสมาร (มารคือกิเลส, กิเลสเป็นมารเพราะเป็นตัวกำจัดและขัดขวางความดี ทำให้สัตว์ประสบความพินาศทั้งในปัจจุบันและอนาคต — the Mara of defilement)


       2. ขันธมาร (มารคือเบญจขันธ์, ขันธ์ 5 เป็นมาร เพราะเป็นสภาพอันปัจจัยปรุงแต่ง มีความขัดแย้งกันเองอยู่ภายใน ไม่มั่นคงทนนาน เป็นภาระในการบริหาร ทั้งแปรปรวนเสื่อมโทรมไปเพราะชราพยาธิเป็นต้น ล้วนรอนโอกาสมิให้บุคคลทำกิจหน้าที่ หรือบำเพ็ญคุณความดีได้เต็มปรารถนา อย่างแรง อาจถึงกับพรากโอกาสนั้นโดยสิ้นเชิง — the Mara of the aggregates)

       3. อภิสังขารมาร (มารคืออภิสังขาร, อภิสังขารเป็นมาร เพราะเป็นตัวปรุงแต่งกรรม นำให้เกิดชาติ ชรา เป็นต้น ขัดขวางมิให้หลุดพ้นไปจากสังขารทุกข์ — the Mara of Karma-formations)

       4. เทวปุตตมาร (มารคือเทพบุตร, เทพยิ่งใหญ่ระดับสูงสุดแห่งชั้นกามาวจรตนหนึ่งชื่อว่ามาร เพราะเป็นนิมิตแห่งความขัดข้อง คอยขัดขวางเหนี่ยวรั้งบุคคลไว้ มิให้ล่วงพ้นจากแดนอำนาจครอบงำของตน โดยชักให้ห่วงพะวงในกามสุขไม่หาญ เสียสละออกไปบำเพ็ญคุณความดียิ่งใหญ่ได้ — the Mara as deity)

       5. มัจจุมาร (มารคือความตาย, ความตายเป็นมาร เพราะเป็นตัวการตัดโอกาส ที่จะก้าวหน้าต่อไปในคุณความดีทั้งหลาย — the Mara as death)

 

ที่มา :  พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=234



ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด




ประมวลศัพท์ธรรมะที่ควรรู้

มิตรแท้ กับ มิตรเทียม ๔ จำพวก
นิมิต 3 (เครื่องหมายสำหรับให้จิตกำหนดในการเจริญกรรมฐาน)
ไตรลักษณ์ (ลักษณะ 3 ประการ แห่งสังขารธรรมทั้งหลาย — the Three Characteristics)
ไตรปิฎก (ปิฎก 3, กระจาด ตะกร้า กระบุง หรือตำรา 3)
ญาณ 3 (ความหยั่งรู้, ปรีชาหยั่งรู้ — insight; knowledge)
ตัณหา 3 (ความทะยานอยาก — craving)
อนันตริยกรรม 5 (กรรมหนักที่สุดฝ่ายบาปอกุศล ซึ่งให้ผลทันที)
พหูสูตมีองค์ 5 (คุณสมบัติที่ทำให้ควรได้รับชื่อว่าเป็นพหูสูต คือ...)
นิวรณ์ 5 (สิ่งที่กั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม)
อานิสงส์ในการฟังธรรม ๕ ประการ
องค์แห่งธรรมกถึก ๕ ประการ
ปฏิสัมภิทา 4
อนุตตริยะ 6
ปาฏิหาริย์ 3
พุทธลีลาในการแสดงธรรม ๔ ประการ
มหาปเทส ๔



แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล