
อุปสมบทวิธีแบบธรรมยุต อุปสมบทวิธี แบบคณะธรรมยุต
.....................................
มีหลายท่านที่โทรศัพท์เข้ามาสอบถามว่า อยากจะมาขอบวชที่วัดต้องทำอย่างไรบ้าง? การเตรียมตัว ก็คือ การจัดการเรื่องส่วนตัวทุกเรื่อง ภารกิจหน้าที่การงานทุกด้านที่เกี่ยวข้องให้สำเร็จลุล่วงไป อย่าให้มีสิ่งใดมาเป็นอุปสรรคขัดขวาง หรือเป็นเหตุให้วิตกกังวลใจในเวลาที่มาฝึกหัดข้อวัตรปฏิบัติที่วัด และต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะบวชได้ตามพระวินัยบัญญัติ คือ
๑. เป็นผ้ชาย คือมีเพศชายเป็นปกติ ไม่ใช่คนถูกตอน อภัพบุคคล โดยวัตถุ มี ๓ ประเภท คือ ๓.๑.๒ อุภโตพยัญชนก ตามอรรถกถานัย หมายถึงเป็นชายก็มี เป็นหญิงก็มี เป็นอุภโตพนัญชนกชนิดใด ภาวรูปชนิดนั้นปรากฏอย่โดยปกติแต่ทำกิจของอีกฝ่ายหนึ่งในอัชฌาจาร ภาวรูปอีกอย่างหนึ่งจึงปรากฏแทนภาวรปเดิมตามนัยอื่นหมายถึงคนผู้มีอาการ และจริตตรงกันข้ามต่อภาวะของตน เช่น ชายมีอาการเป็นหญิงเป็นต้นว่า ไม่มีหนวด มีเสียงและจริตกิริยาอย่างผู้หญิง ๓.๒ พวกประพฤติผิดพระธรรมวินัย แยกเป็น ๗ คือ ๓.๓ พวกประพฤติผิดต่อกำเนิดของตน แยกเป็น ๒ คือ ๓.๓.๑.คนฆ่ามารดา ๓.๓.๒.คนฆ่าบิดา อภัพบุคคลเหล่านี้ ถ้ารู้แต่แรก ไม่พึงรับอุปสมบทให้ ถ้าอุปสมบทให้แล้วโดยไม่รู้ ภายหลังรู้ขึ้นพึงนาสนะ ให้สึกเสีย ประเภทของบคคลต้องห้าม โดยอาการไม่สมควร มีคนผู้ถูกห้ามนอกจากอภัพบุคคลอยู่อีก แต่บวชแล้วไม่ต้องนาสนะ เป็นแต่ปรับอาบัติทุกกฎแก่ผู้บวชให้ มีอยู่ ๒ จำพวก คือ พวกถูกห้ามรับบรรพชามี ๘ จำพวก คือ คนที่ถูกห้ามบรรพชาทั้ง ๘ จำพวกนี้ ก็เป็นอันถูกห้ามอุปสมบทด้วย พวกที่ถูกห้ามรับอุปสมบท มี ๑๐ จำพวก คือ พวกที่ถูกห้ามอุปสมบททั้ง ๑๐ นี้ เป็นอันห้ามบรรพชาโดยนัยด้วย คัดจากหนังสือ หลักสูตรพระอุปัชฌายะ คณะธรรมยุต ISBN 974-399-693-1 พิมพ์ครั้งที่ ๒ วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๖ จัดพิมพ์โดย คณะธรรมยุต พิมพ์ที่ โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย โทร. ๐๒ ๘๐๐ ๒๓๗๓ ๔ ถ้าพูดภาษาแบบเรา ๆ ก็คือ ต้องไม่เป็นข้าราชการ (ถ้าเป็นก็ต้องลาราชการให้เรียบร้อย) ไม่เป็นนักโทษหนีคดี เป็นโจร เป็นผู้ร้าย ไม่เป็นหนี้เป็นสิน ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง เช่น เอดส์ (ต้องตรวจเลือดมีใบรับรองแพทย์ยืนยัน) ไม่เป็นตุ๊ด เป็นแต๋ว เป็นกะเทย หรือครึ่งหญิงครึ่งชาย ไม่เป็นพวกวิปริตทางเพศทั้งปวง ไม่เป็นคนพิการแขนขาขาดมาแต่กำเนิด และต้องได้รับอนุญาตจากบิดามารดา หรือถ้าไม่มีแล้ว ก็ต้องมีญาติพี่น้องเป็นผู้รับรอง โดยทำเป็นหนังสือรับรอง (มีแบบฟอร์มที่วัด) พร้อมเตรียมเอกสารสำคัญ คือ ๑.สำเนาบัตรประชาชน ๒.สำเนาทะเบียนบ้าน ทั้งของตนเอง และของผู้รับรอง เซ็นชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง การเตรียมใจ คือ การปลูกศรัทธาความเชื่อ ปสาทะความเลื่อมใส ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และมีศรัทธาต่อการบวชอย่างแท้จริง ต้องคิดว่า เราจะตั้งใจบวชเพื่อศึกษาพระธรรมวินัย และปฏิบัติขัดเกลากิเลส มุ่งตรงต่อพระนิพพาน ตั้งใจปฏิบัติรักษากาย วาจา ใจ ทิฏฐิ ให้เป็นไปตามสายทางแห่งมัชฌิมาปฏิปทา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ไม่ใช่บวชแล้วหวังจะไปเที่ยวเร่ร่อนในที่ต่าง ๆ โดยที่ยังไม่มีความรอบรู้ในพระธรรมวินัยเพียงพอที่จะเอาตัวรอดจากอาบัติ ซึ่งในทางพระวินัย กุลบุตรเมื่อบวชแล้วต้องถือนิสัยพระอุปัชฌาย์ อาจารย์ อย่างน้อย ๕ พรรษา จึงจะพ้นนิสัย สามารถไปอยู่ตามลำพังได้ แม้พ้น ๕ พรรษาไปแล้ว ยังไม่มีความรู้พอจะเอาตัวรอดได้ ก็ยังต้องถือนิสัยต่อไป เราจะทำตัวให้เป็นคนว่าง่ายสอนง่าย ไม่ถือรั้นด้วยทิฎฐิมานะ ไม่ว่าจะมีความรู้สูงส่งเพียงไหน จะมาจากตระกูลมั่งคั่งเพียงใด ก็จะทำตัวเป็นประดุจผ้าเช็ดเท้า ที่รองรับฝ่าเท้าของคนทุกเพศทุกชั้นทุกวัย โดยไม่เลือกที่รักที่ชัง ต้องมีความอดทนต่อความทุกข์ยากลำบากทุกชนิด จะไม่เห็นแก่การกินอยู่หลับนอนสุขสบาย จะพอใจใช้สอยสิ่งของตามมีตามได้ เท่าที่ครูบาอาจารย์จะเห็นสมควรจัดหาให้ นี่คือข้อปฏิบัติทางใจขั้นพื้นฐานสำหรับผู้มุ่งหวังจะบวชปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น ถ้าทำใจได้ดังว่ามานี้ แสดงว่า มีอุปนิสัยวาสนาคู่ควรแก่การบวช เมื่อจัดการเรื่องต่าง ๆ ส่วนตัว ด้งกล่าวมาพร้อมแล้ว ให้จัดเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้ให้พร้อม
แบบฟอร์มนี้ ลิขสิทธิ์เป็นของ โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พิมพ์จำหน่าย
----------------------------------
อนึ่ง ให้ดาวน์โหลดไฟล์เสียงอุปสมบทวิธี จากลิงค์ข้างล่างนี้ ไปฟังก่อน โดยดูตามหนังสืออุปสมบทวิธี ของมหามกุฏราชวิทยาลัย ไปหาซื้อมาอ่านได้ อยู่ตรงข้ามวัดบวรนิเวศที่ บางลำภู หรือที่ร้านสังฆภัณฑ์ทั่วไป หรือ ดาวน์โหลดไฟล์ PDF คู่มืออุปสมบทวิธีแบบคณะธรรมยุต ตามลิงค์ข้างล่างนี้ไปอ่าน แล้วฝึกท่องจำวิธีการอ่านออกเสียงบาลี และท่องจำคำขออุปสมบทให้ได้ตามตัวอย่าง โดยฟังไฟล์เสียงประกอบ เมื่อไรพร้อมที่จะไปอยู่ที่วัด โดยคิดว่า เมื่อไปอยู่ที่วัดแล้ว ไม่ต้องวุ่นวายกลับมาทำธุระโน่นนี่นั่นอีก และจะตั้งหน้าตั้งตาฝึกหัดข้อวัตรปฏิบัติ ตามที่ครูบาอาจารย์แนะนำพร่ำสอน เพื่อให้รู้จักธรรมวินัยที่จำเป็นก่อนที่จะบวชเป็นพระ เมื่อเป็นพระแล้วจะได้ไม่ทำอะไรผิด ๆ พลาด ๆ ให้ต้องอาบัติ เพราะพระวินัยไม่ใช่ของทำเล่น ไม่ว่าพระบวชใหม่ หรือบวชเก่า ถ้าทำผิดก็เป็นโทษดุจเดียวกัน ไม่มีข้อยกเว้น ดังนั้น ก่อนบวช จึงต้องฝึกหัดเรียนรู้ข้อวัตรปฏิบัติให้พร้อมก่อน พระครูนิรมิตวิทยากร (วิทยา กิจฺจวิชฺโช) เจ้าคณะอำเภอแม่อาย (ธรรมยุต)
อุปสมบทวิธี แบบคณะธรรมยุต
คัดจากหนังสือ อุปสมบทวิธี
ดาวน์โหลดไฟล์เสียง MP3 ได้ที่ลิงค์ข้างล่าง
---------------------- ดาวน์โหลดไฟล์ PDF คู่มืออุปสมบทวิธีที่ลิงค์ข้างล่าง
อุปสมบทวิธีแบบคณะธรรมยุต 2.pdf
|