ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
ชมคลิปวีดีโอน่าสนใจ
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 30 คน
dot
dot

dot


ฟัง F.M. 103.25 MHz.
ชมทีวีช่องหลวงตา
ฟังวิทยุออนไลน์ วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน
ชมคลิปวีดีโอน่าสนใจ
ขอเชิญสมัครสมาชิกอุปถัมภ์สถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน
เข้าชม face book วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน
เข้าชม twitter วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน


: ประวัติวัด

 

ประวัติความเป็นมาของ วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน

 

สภาพภูมิประเทศ

ภูมิประเทศที่ตั้งวัด  มีลักษณะเป็นดอยไม่สูงนัก  บริเวณยอดดอยเป็นที่ราบกว้างขวางใช้เป็นสถานที่ปลูกกุฏิพำนักของภิกษุสามเณร มีป่าไม้จำพวกไม้เต็ง ไม้รัง ไม้รัก ไม้ประดู่ ไม้กุง  และอื่นๆ คละเคล้าปะปนกันไป  มีความสงบร่มเย็น  ภายในเนื้อที่โดยรวม  ๖๑-๐-๐๔  ไร่  ซึ่งแต่ก่อนนั้นบริเวณรอบๆดอยก็เป็นป่าเขียวชอุ่มร่มรื่น แต่ภายหลังชาวบ้านก็บุกรุกหักร้างถางพง กลายเป็นเรือกสวนไร่นาไปเป็นส่วนใหญ่  คงเหลือเป็นป่าอยู่เฉพาะบริเวณที่พระธุดงค์มาปักกลดภาวนา เท่าที่กลายมาเป็นวัดอยู่ในเวลานี้  ซึ่งทางราชการได้จัดจำแนกสภาพเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่า  ตามหนังสือรับรองการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดิน ของสำนักงานที่ดินอำเภอแม่อาย ที่ ชม. ๑๘๒๒/๙๗๖  ลงวันที่  ๑๒  กันยายน  ๒๕๔๓

อาณาเขต

   ทิศเหนือยาว.....๒๔๕.๘๘.....วา  จด.....ที่สวนนายอ้วน
   ทิศใต้ยาว.....๑๔๙.๕๐.....วา  จด.....ที่สวนนางการีและนายปราโมทย์
   ทิศตะวันออกยาว.....๑๕๖.๔๒.....วา  จด.....ที่สวนนายบุญส่งและนายปราโมทย์
   ทิศตะวันตกยาว.....๑๓๕.๐๔..... วา  จด.....ที่สวนนายสุวรรณ์

จุดกำเนิดวัด

จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ที่เล่าขานสืบต่อกันมา เนินเขาลูกนี้แต่เดิมเป็นป่าไม้อันอุดมสมบูรณ์ ประกอบด้วย ไม่เต็ง ไม้กุง ไม้รัง ไม้ก่อ และไม้อื่นๆ การเดินทางไปมายังไม่สะดวก ผู้คนที่อาศัยอยู่ยังไม่หนาแน่น ต่างก็จับจองที่ดินทำกินเพียงให้พอดำรงชีพอยู่ได้

ในราวปี พ.ศ.๒๔๙๐ เมื่อมีผู้คนอพยพมาอาศัยอยู่เพิ่มมากขึ้น ก็เริ่มมีการหักร้างถางพงทำเป็นเรือกสวนไร่นา จับจองเป็นที่ทำกินมากขึ้น ก็มีผู้พบเห็นซากปรักหักพัง ลักษณะเป็นซากเจดีย์เก่า และมีชิ้นส่วนของพระพุทธรูป ตลอดจนวัตถุโบราณจำนวนมาก อยู่ในที่ไม่ไกลจากเนินเขาอันเป็นที่ตั้งวัดในปัจจุบัน ห่างออกไปประมาณ ๖๐๐ เมตร เป็นบริเวณที่ชาวบ้านเรียกว่า ป่าแดง สันนิษฐานได้ว่า เดิมที่ ที่ดินตรงนี้ ต้องเป็นวัดเก่าแก่ และมีอาณาบริเวณกว้างขวาง และเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งในปัจจุบันถูกจับจองเป็นที่ดินทำกินของเอกชนไปแล้ว และซากวัดเดิมก็ถูกทำลายเสียหมดสิ้นอย่างน่าเสียดาย จึงไม่สามารถขึ้นทะเบียนเป็นวัดร้างได้

แต่อาศัยความศักดิ์สิทธิ์ ของเนินเขาลูกนี้ จึงยังคงเหลือแต่บริเวณอันเป็นที่ตั้งวัดในปัจจุบันนี้ ที่ยังคงเป็นป่าสมบูรณ์ และชาวบ้านได้กันไว้ให้เป็นที่สร้างวัด ไม่มีใครสามารถบุกรุกเข้ามาหักร้างถางพง ถือเอาเป็นที่ดินทำกินได้ เพราะต้องมีอันเป็นไปแทบทุกราย กล่าวกันว่า บริเวณเนินเขาลูกนี้ แม้กลางวันแสกๆ ก็ยังไม่มีใครกล้าที่จะเข้ามาแต่เพียงลำพังผู้เดียว เพราะมักปรากฏแสงไฟสว่างไสวลอยวนเวียน ให้ชาวบ้านได้พบเห็นอยู่เสมอมา บางครั้งในคืนวันเพ็ญ ก็มักปรากฏเสียงดนตรีโบราณ คล้ายเสียงมโหรีประโคมขับกล่อมไพเราะ ยิ่งสร้างความน่าสะพรึงกลัวอย่างลึกลับ 

ในปี พ.ศ.๒๔๙๓  เพราะความที่มีซากวัดเก่าอยู่ในบริเวณใกล้เคียง และมีแสงสว่างลอยวนเวียนปรากฏให้พบเห็นที่เนินเขาลูกนี้  ชาวบ้านถือเป็นความศักดิ์สิทธิ์ และอัศจรรย์  จึงพากันปลูกกุฏิชั่วคราวด้วยไม้ไผ่มุงหญ้าคา สร้างศาลาชั่วคราว พออาศัยเป็นที่ทำบุญตักบาตร ประกอบพิธีทางศาสนา นิมนต์พระสงฆ์มาจำพรรษาอยู่ คราวละ ๑ องค์ บ้าง ๒ องค์บ้าง บางปีก็มีหลายองค์ บางปีก็มีเว้นว่างเป็นช่วงสลับกันไป ตลอดระยะเวลาอันยาวนาน เพื่อให้ได้มีโอกาสบำเพ็ญบุญกุศล และเป็นที่พึ่งพิงทางด้านจิตใจ แต่เนื่องจากความเป็นอยู่ที่แร้นแค้น และหนทางทุรกันดาร จังยังไม่สามารถก่อสร้างเสนาสนะอันเป็นถาวรวัตถุใดๆ
  
ถือได้ว่า วัดได้กำเนิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๙๓ เป็นที่รู้กันว่า ที่ดินเนินเขาลูกนี้ เนื้อที่โดยประมาณ ๖๑ ไร่ ได้ถูกกันไว้ให้เป็นที่สร้างวัด ไม่มีชาวบ้านคนใดจะกล้าบุกรุกเข้ามาหักร้างถางพง ยึดถือเป็นที่ดินทำกิน เพราะต้องมีอันเป็นไปทุกราย แม้ในบางปี จะไม่มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาเลยก็ตาม ดังจะเห็นได้จากการที่บริเวณรอบๆวัดในปัจจุบัน ได้กลายเป็นเรือกสวนไร่นาของขาวบ้าไปหมดสิ้นแล้ว คงเหลือแต่ที่เป็นป่าเฉพาะบริเวณที่ดินอันเป็นที่ตั้งวัดเท่านั้น นอกนั้นก็เป็นป่าที่ชาวบ้านกันไว้เป็นป่าชุมชนเพื่อให้ชาวบ้านใช้ประโยชน์ร่วมกัน ในการแสวงหาของป่าเพื่อยังชีพ

ในปี พ.ศ. ๒๕๓๘  เมื่อพระวิทยา กิจฺจวิชฺโช หรือในราชทินนาม พระครูนิรมิตวิทยากร เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน ได้เข้ามาบูรณปฏิสังขรณ์ จึงค่อยปรากฏเสนาสนะต่างๆอันเป็นถาวรวัตถุเพิ่มขึ้น  ในตอนนั้น ชาวบ้านใช้ชื่อวัดว่า "วัดป่าหนองบัวทอง" เพราะมีสระน้ำ หนองบัว อยู่ภายในหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงถือเอาหนองบัวนั้น เป็นนิมิตหมาย ตั้งชื่อวัดในตอนเริ่มแรก

 
ความเป็นอยู่ในระยะบุกเบิกนั้น  ค่อนข้างจะแร้นแค้นกันดารเป็นอย่างมากทีเดียว  มีเพียงกุฏิมุงหญ้าคาหลังเล็กๆ ปูพื้นด้วยฟากไม้ไผ่ ฝากุฏิก็ใช้ใบตองกุงถักสานพอกันลมและฝน น้ำใช้ก็ต้องอาศัยหิ้วจากบ่อซึ่งขุดไว้เชิงดอย  เอาไปใช้ที่กุฏิซึ่งอยู่บนดอย  ส้วมก็ให้ศรัทธาญาติโยมช่วยกันขุดหลุมไว้ในป่า  เอาใบตองกุงถักเป็นฝาพอเป็นเครื่องบังตา  การภิกขาจารบิณฑบาต ก็ต้องเดินบิณฑบาตไปกลับวันละ ๘ กิโลเมตร บนเส้นทางลูกรัง สมัยนั้นยังไม่มีถนนลาดยาง อาหารที่ได้จากการบิณฑบาตก็ตามแต่ศรัทธาชาวบ้านจะใส่บาตรมา พออาศัยขบฉันเพื่อประทังชีวิตอยู่รอดไปวันหนึ่งๆเท่านั้น  เครื่องยังชีพนอกจากบริขาร ๘ กับการประกอบความเพียรเพื่อความหลุดพ้นแล้ว  อย่างอื่นดูเหมือนจะไม่มีอะไร

หลังจากได้เริ่มปลูกฝังศรัทธาปสาทะในหมู่ญาติโยมได้พอสมควรแล้ว ก็ระดมกำลังชาวบ้านช่วยกันปรับปรุงศาลาอเนกประสงค์ที่มีอยู่ในตอนนั้น ซึ่งเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว หลังแคบๆ สภาพชำรุดทรุดโทรม ดำเนินการต่อเติมให้กว้างขึ้น เป็นขนาด ๘x๑๕ เมตร หลังที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน 

ในปี พ.ศ.๒๕๓๙ ได้ลงมือก่อสร้างกุฏิเจ้าอาวาส ขนาด ๔x๑๒ เมตร ๑ หลัง มีทางเดินจงกรมบนกุฏิ และสร้างกุฏิพระเณร ขนาด ๓x๓ เมตร อีก ๔ หลัง พอให้พระเณรอยู่จำพรรษาได้ ๕ องค์ พร้อมทำห้องน้ำสำหรับญาติโยม ๔ ห้อง และทำแทงค์น้ำฝน ขนาด ๔x๑.๒ เมตร อีก ๕ แทงค์ พออาศัยเก็บน้ำฝนไว้ฉัน

ในปี พ.ศ.๒๕๔๐ อัญเชิญพระพุทธรูป พระพุทธชินราช ปางมารวิชัย หน้าตัก ๓๙ นิ้ว พร้อมอัครสาวก ซ้าย-ขวา พ่นสีทอง มาประดิษฐาน เป็นพระประธานในศาลา โดยมีโยมน้า คือ คุณกมล-เพ็ญศรี ธิโสภา และครอบครัว เป็นเจ้าภาพ 

ในปี พ.ศ.๒๕๔๑ ได้ขุดสระน้ำสำหรับใช้ในวัดขนาด ๒๐x๒๐ เมตร โดยเงินบริจาคจากคณะศรัทธาการไฟฟ้าฝ่ายผลิต นำโดย คุณเกรียงศักดิ์ โรจนระพีพงศ์ และได้สร้างแทงค์น้ำคอนกรีตขนาด ๓ เมตร สูง ๔ เมตร จำนวน ๒ แทงค์ เพื่อเป็นที่เก็บน้ำไว้บนภูเขา สำหรับปล่อยน้ำลงมาใช้ทั่วบริเวณวัด ๑ แทงค์  และเป็นแทงค์สำหรับเก็บน้ำฝนไว้ดื่มกิน อีก ๑ แทงค์ โดยทางมูลนิธิหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ทอดผ้าป่าถวาย 

และได้ทำบันไดคอนกรีตสำหรับเดินขึ้นบนเนินเขา ยาวประมาณ ๑๕๐ เมตร และสร้างกุฎิไม้ถาวร ขนาด ๔x๑๒ เมตร เพิ่มอีก ๑ หลัง ถวายเป็นที่พำนัก ของหลวงปู่อ่ำ ธมฺมกาโม เจ้าอาวาสวัดป่าเขาน้อย อ.วังทรายพูน จ.พิจิตร ซึ่งได้เมตตามาจำพรรษาที่นี่ในปีนี้ พร้อมกับทำโรงครัว  และต่อเติมห้องพักปฏิบัติธรรมสำหรับญาติโยม ขนาด ๘x๔ เมตร และสร้างห้องน้ำ เพิ่มขึ้นอีก ๒ ห้อง ทางด้านหลังห้องพัก ในปีนี้ มีพระจำพรรษา ๑๖ รูป

ในปี พ.ศ.๒๕๔๒ ได้ก่อสร้างกุฏิไม้ถาวรขึ้นอีก ๓ หลัง โดยคณะศรัทธาจากอำเภอมหาชัย สมุทรสาคร มีโยมแจ่ม โยมจำเนียร และคณะเป็นเจ้าภาพ รวมเป็นกุฏิทั้งหมด ๙ หลัง และได้รับงบประมาณ จากหน่วยงานเร่งรัดพัฒนาชนบท ขุดสระน้ำสำหรับเก็บกักน้ำไว้ใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรในฤดูแล้ง ขนาดเนื้อที่ ๑๒ ไร่ ซึ่งอยู่ด้านหน้าอุโบสถ และได้ทำการปรับพื้นที่บริเวณที่จะใช้สร้างอุโบสถหลังปัจจุบัน เตรียมไว้ และปีนี้ทางราชการ จัดให้มีโครงการสร้างวัดเฉลิมพระเกียรติ ครบ ๗๒ พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงมอบให้ นายอ้วน วงศ์สุข ผู้ใหญ่บ้าน ยื่นเรื่องขออนุญาตสร้างวัดต่อทางราชการ

ในปี พ.ศ.๒๕๔๔ วันที่ ๑๓ เดือนพฤศจิกายน กรมการศาสนา (ในขณะนั้น) โดยความเห็นชอบของกระทรวงศึกษาธิการ และมหาเถรสมาคม อนุญาตให้นายอ้วน วงศ์สุข สร้างวัดขึ้นที่ บ้านห้วยม่วง หมู่ที่ ๘ ต.แม่นาวาง อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่

ในปี พ.ศ.๒๕๔๕ วันที่ ๒ พฤษภาคม กระทรวงศึกษาธิการ ด้วยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม ประกาศตั้งที่นี่ เป็นวัดขึ้นในพระพุทธศาสนา มีนามว่า "วัดป่าหนองบัวทอง"
หลังจากนั้น ศรัทธาญาติโยม  จึงเห็นพ้องต้องกันว่า  ควรเปลี่ยนชื่อวัดเสียใหม่ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่หมู่บ้าน  โดยพิจารณาเห็นว่าชื่อ  วัดป่าดอยแสงธรรม นี้ เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศอันเป็นที่ตั้งวัด ซึ่งมีสภาพเป็นป่า และอยู่บนดอย  ทั้งเข้ากับคำกล่าวขานของชาวบ้าน ที่คนเฒ่าคนแก่ ได้เคยเห็นแสงสว่างเป็นดวงกลมลอยสว่างไสวอยู่ในบริเวณดอย  เป็นนิมิตหมายในแง่ของธรรมว่า แสงธรรมจะสว่างรุ่งโรจน์ขึ้นในบริเวณดอยแห่งนี้ 

ประจวบกับช่วงเวลาดังกล่าว ท่านอาจารย์หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน หรือในราชทินนามที่ พระธรรมวิสุทธิมงคล ได้เมตตามาแสดงธรรมโปรดญาติโยม ในเขตอำเภอฝาง-แม่อาย-ไชยปราการ โดยมาพักจำวัดที่นี่ เป็นเวลาสองคืน คือ วันที่ ๓๐-๓๑ มกราคม ๒๕๔๕ และเมตตาอนุญาตให้ใช้นามฉายาของท่านมาประกอบชื่อวัดได้ จึงเห็นควรทำเรื่องขอเปลี่ยนแปลงชื่อวัดเสียใหม่ เพื่อความเหมาะสม และเพื่อความเป็นสิริมงคลอย่างสูง ว่า “วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน”

ในปี พ.ศ.๒๕๔๕ วันที่ ๔ กันยายน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ด้วยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม ประกาศเปลี่ยนแปลงชื่อ "วัดป่าหนองบัวทอง" เป็น “วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน”  เพราะตั้งตามฉายา ของพระธรรมวิสุทธิมงคล ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ในปี พ.ศ.๒๕๔๖ ได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์อุโบสถ และเป็นศาลาอเนกประสงค์ในตัว โดยมีพระเดชพระคุณ พระพุทธพจนวราภรณ์ (จันทร์ กุสโล) เจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวง เป็นองค์ประธาน และนิมนต์คณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่ อาทิ พระครูสันตยาธิคุณ หลวงปู่มหาทองอินทร์ เจ้าอาวาสวัดสันติธรรม, พระพุทธิสารโสภณ เจ้าอาวาสวัดล้านนาญาณสังวราราม, พระครูวิทิตศาสนกิจ เจ้าอาวาสวัดดอยปุย, พระอาจารย์ประสิทธิ์ ปุญญมากโร เจ้าอาวาสวัดป่าหมู่ใหม่ มาร่วมเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อความเป็นสิริมงคล ครั้งนั้น มีคณะศรัทธาจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตมาร่วมเป็นเจ้าภาพในงาน

ในปี พ.ศ.๒๕๔๗ สร้างห้องน้ำสำหรับญาติโยมเพิ่มขึ้น อีก ๒๐ ห้อง เพื่อรองรับศรัทธาทางกรุงเทพฯ ที่มาร่วมทอดผ้าป่าสร้างพระอุโบสถและศาลาอเนกประสงค์ ๒ ชั้น และเริ่มก่อสร้างอาคารสถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน ขนาด ๘x๑๒ เมตร สิ้นงบประมาณสองล้านห้าแสนบาท โดยเจ้าภาพคือคณะศรัทธาชาวมหาชัย

ในปี พ.ศ.๒๕๔๘ ทำพิธีเททองหล่อพระประธานโบสถ์ ณ โรงหล่อธรรมรังสี บางใหญ่ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักขนาด ๖๙ นิ้ว พร้อมกับเริ่มลงฐานรากก่อสร้างโบสถ์หลังปัจจุบัน

ในปี พ.ศ.๒๕๕๐ วันที่  ๒๖ พฤษภาคม สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ทรงประทานพระบรมสารีริกธาตุ จำนวน ๙ องค์ เพื่อประดิษฐานยังอุโบสถวัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน 

ในปี พ.ศ.๒๕๕๑ วันที่ ๙ เมษายน สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ประทานตราสัญญลักษณ์ พระนามย่อ “ญสส.”  ประดิษฐานที่ฐานพระประธาน และที่หน้าบันอุโบสถ พร้อมประทานนามพระพุทธรูปว่า “พระพุทธรัชมหามงคลธรรมบดี”

ในปี พ.ศ.๒๕๕๒ วันที่ ๗ พฤษภาคม อัญเชิญพระพุทธรัชมหามงคลธรรมบดี จากโรงหล่อธรรมรังสี บางใหญ่ ไปประดิษฐาน ณ แท่นหินอ่อนงดงาม ภายในอุโบสถวัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน  และในเดือนกันยายน ช่างได้ทำการปิดทองพระประธาน  ด้วยทองคำเปลว คัดเกรดเอ ๙๙.๙๙ เปอร์เซนต์ เสร็จบริบูรณ์ทำให้ “พระพุทธรัชมหามงคลธรรมบดี” เหลืองอร่ามสวยงามวิจิตรตระการตา

ปี พ.ศ.๒๕๕๘ สร้างแท๊งค์น้ำ ค.ส.ล. ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๓ เมตร สูง ๖ เมตร สำหรับรองรับน้ำฝนจากหลังคาอุโบสถ ๑ แท๊งค์ และอยู่บนภูเขา บริวเวณกุฎิ ๖ อีก ๑ แท๊งค์ เพื่อเก็บน้ำบาดาล และปล่อยลงไปใช้ภายในวัด

ปี พ.ศ.๒๕๕๙ สร้างอาคารที่ล้างบาตร พร้อมด้วยห้องน้ำสำหรับพระภิกษุ ๖ ห้อง และห้องน้ำสำหรับญาติโยมอีก ๒๐ ห้อง ทางด้านทิศเหนือของอุโบสถ โดยแบ่งเป็น ห้องน้ำชาย ๑๐ ห้องน้ำหญิง ๑๐

ปี พ.ศ.๒๕๖๑ สร้างอาคารเก็บของ ๒ ชั้น ขนาดกว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๒ เมตร โดยชั้นบนทำเป็นห้องพักรับรอง ๓ ห้อง พร้อมทั้งปรับปรุงโบสถ์โดยต่อเติมหลังคาคลุมบันไดโบสถ์ ทั้ง ๓ มุข และทาสีใหม่

ปี พ.ศ.๒๕๖๒ วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ประกอบพิธีสวดถอนติจีวราวิปปวาสสีมา และสวดถอนสมานสังวาสสีมา โดยมีพระสงฆ์ในที่ประชุมสวดถอน จำนวนทั้งสิ้น ๓๑๔ รูป สวดถอนทั้งหมด ๑๔ จบ โดยมีพระครูธรรมวิวัฒนคุณ (เจริญ จตฺตสลฺโล) วัดอรัญญวิเวก สวด ๑ จบ พระครูกันตธรรมานุวัฒน์ (สุขเลิศ กนฺตธมฺโม) วัดบ้านเหล่า สวด ๑๑ จบ และ พระครูพุทธรรมานุสิทธิ์ (สมเกียรติ) วัดดอยหลวงญาณสัมปันโน สวด ๓ จบ จากนั้นเวลา ๑๗.๐๐ น. เจริญพระพุทธมนต์ โดยมี พระครูภาวนาภิรัต (สังข์ สงฺกิจฺโจ) วัดป่าอาจารย์ตื้อ เป็นประธานเจริญพระพุทธมนต์ฉลองสมโภชอุโบสถ และพระอาจารย์อินทร์ถวาย สนฺตุสฺสโก  และพระครูนิรมิตวิทยากร เจ้าอาวาส อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๑๙ ได้ทรงประทานให้ ๙ องค์ ขึ้นประดิษฐานในพระเศียรของ “พระพุทธรัชมหามงคลธรรมบดี” พระประธานในอุโบสถ

 

ปี พ.ศ.๒๕๖๒ วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ประกอบพิธีผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิต โดยผู้แทนเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต พระพรหมมุนี วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร เป็นผู้ตั้งญัตติสวดสมมติสมานสังวาสสีมา และตั้งญัตติสวดสมมติติจีวราวิปปวาสสีมา เป็นเหตุให้วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน สำเร็จเป็นวัดพัทธสีมาที่สมบูรณ์ถูกต้องทั้งในทางกฎหมายและในทางพระธรรมวินัย  เมื่อเสร็จพิธีแล้ว ได้ประกอบพิธีอุปสมบทพระภิกษุฉลองสมโภชอุโบสถ จำนวน ๕ รูป โดยมีพระครูนิรมิตวิทยากร เป็นพระอุปัชฌายะ มีพระธนาพัฒน์ พนฺธุโล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระครูอุดมวรคุณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีพระภิกษุนั่งในหัตถบาส จำนวน ๑๐ รูป

ปี พ.ศ ๒๕๖๔ วันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ก่อสร้างกุฎิเจ้าอาวาส  ๒ ชั้น ขนาดกว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๑๕ เมตร ชั้นบนเป็นที่พำนัก ชั้นล่างเป็นสำนักงานเจ้าคณะอำเภอ ใช้เวลา ๘ เดือน ทำพิธีถวายกุฏิเมื่อ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๖๕ สิ้นงบประมาณ ๓,๕๐๐,๐๐๐ บาท

สถิติพระภิกษุ-สามเณร จำพรรษา มีดังนี้ :-

ปี พ.ศ.

พระภิกษุ (รูป)

สามเณร (รูป)

ประธานสงฆ์

2538

2

 

พระวิทยา กิจฺจวิชฺโช

2539

2

 

พระวิทยา กิจฺจวิชฺโช

2540

4

 

พระวิทยา กิจฺจวิชฺโช

2541

14

2

หลวงปู่อ่ำ ธมฺมกาโม

2542

7

1

พระวิทยา กิจฺจวิชฺโช

2543

2

1

พระวิทยา กิจฺจวิชฺโช

2544

3

 

พระวิทยา กิจฺจวิชฺโช

2545

3

 

พระวิทยา กิจฺจวิชฺโช

2546

1

 

พระวิทยา กิจฺจวิชฺโช

2547

2

 

พระวิทยา กิจฺจวิชฺโช

2548

5

 

พระวิทยา กิจฺจวิชฺโช

2549

2

 

พระวิทยา กิจฺจวิชฺโช

2550

1

 

พระวิทยา กิจฺจวิชฺโช

2551

2

1

พระวิทยา กิจฺจวิชฺโช

2552

4

1

พระวิทยา กิจฺจวิชฺโช

2553

5

 

พระวิทยา กิจฺจวิชฺโช

2554

6

 

พระวิทยา กิจฺจวิชฺโช

2555 5   พระวิทยา กิจฺจวิชฺโช 
2556   7    พระวิทยา กิจฺจวิชฺโช 
2557  1   พระวิทยา กิจฺจวิชฺโช 
2558  2   พระวิทยา กิจฺจวิชฺโช 
2559 2   พระวิทยา กิจฺจวิชฺโช 
2560 2   พระวิทยา กิจฺจวิชฺโช 
2561 4   พระวิทยา กิจฺจวิชฺโช
2562 1   พระวิทยา กิจฺจวิชฺโช
2563 2   พระวิทยา กิจฺจวิขฺโช 
2564   พระวิทยา กิจฺจวิชฺโช 

2565 

2   พระวิทยา กิจฺจวิชฺโช 
2566 4   พระวิทยา กิจฺจวิชฺโช

นับแต่เริ่มต้นก่อตั้งที่พักสงฆ์มา จนถึงดำเนินการขออนุญาตสร้างวัด และได้รับประกาศตั้งวัด เป็นวัดเสร็จสิ้นสมบูรณ์  ได้จัดการก่อสร้างเสนาสนะ และถาวรวัตถุเป็นหลักฐานมั่นคงแล้วคือ

 

ลำดับที่ รายการสิ่งก่อสร้าง กว้าง (เมตร) ยาว (เมตร) จำนวน (หลัง) ค่าก่อสร้าง (บาท)
1 กุฏิ 3 4 7 210,000
2 กุฏิ 4 12 2 250,000
3 ศาลาโรงฉันชั่วคราว 8 10 1 100,000
4 โรงครัว และที่พักโยม 8 12 1 120,000
5 กัปปิยะกุฎี 4 6 1 30,000
6 ที่ล้างบาตร 4 5 1 20,000
7 โรงต้มน้ำร้อน 4 4 1 20,000
8 ห้องเครื่องปั่นไฟ 2.5 2.5 1 10,000
9 ห้องเครื่องสูบน้ำ 2.5 2.5 1 10,000
10 ห้องน้ำ-ห้องส้วม 2 2 33 230,000
11 แท๊งค์น้ำ ค.ส.ล.เส้นผ่าศูนย์กลาง 3 4 2 80,000
12 แท๊งค์น้ำ ค.ส.ล.เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 3 5 30,000
13 แท๊งค์น้ำ ค.ส.ล.เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.2 2.5 2 10,000
14 สระน้ำใช้ ลึก 8 เมตร 20 20 1 20,000
15 สถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน 8 12 1 2,500,000
16 โบสถ์และศาลาการเปรียญ 2 ชั้น 21 25 1 11,000,000
17 โรงเก็บรถ 8 10 1 80,000
18 ทำพนังกั้นดินหน้าโบสถ์ 6 120 1 1,100,000
19 ทำถนนคอนกรีตหน้าโบสถ์ 6 120 1 200,000
 20  โรงผลิตไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์  24   1 500,000 
 21  ขุดบ่อบาดาล  5 นิ้ว   82  1 200,000 
 22 แท๊งค์เก็บน้ำจากบ่อบาดาล 1.5 3.5 4 200,000
 23 อาคารที่ล้างบาตร   8  15  1 200,000 
 24 ห้องน้ำสำหรับพระเณร ในอาคารที่ล้างบาตร  2  2  6 180,000 
25 ห้องน้ำสำหรับฆราวาส ด้านทิศเหนือของโบสถ์ 2 2 20 600,000
26 ปรับปรุงกุฏิซ่อมแซมใหม่ 4 4 8 45,000
27 ปรับปรุงกฏิเจ้าอาวาส 4 20 1 200,000
28 อาคารเก็บของ 2 ชั้น ชั้นบนเป็นห้องพักรับรอง 15 20 1 1,500,000
29 ห้องน้ำหลังอาคารเก็บของ 2 2 2 60,000
30 ทำหลังคาคลุมบันไดโบสถ์ ทั้ง 3 มุข 10 8 1 3,000,000
31  ทำกุฏิเจ้าอาวาสใหม่  5 15   1 3,500,000 

 

 

ประวัติเจ้าอาวาส

ชื่อ  พระวิทยา  ฉายา กิจฺจวิชฺโช  นามสกุลเดิม  สุวพานนท์ อายุ ๖๕ ปี  พรรษา ๓๙ (นับรวมพรรษาปี ๒๕๖๖) วิทยะฐานะ นักธรรมชั้นเอก/ปริญญาตรี บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการบริหารการตลาด  มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

เกิดวันที่  ๑๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๐๑  ตรงกับวันอังคาร ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีจอ  อุปสมบท เมื่อวันที่  ๒๓ กรกฎาคม  พ.ศ. ๒๕๒๘  โดยมี สมเด็จพระณาณสังวร ( ปัจจุบันเป็นที่ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร  เจริญ สุวฑฺฒโน) เป็นพระอุปัชฌาย์ให้การบรรพชา  และ พระภาวนาพิศาลเถร (พุธ ฐานิโย) เป็นพระอุปัชฌาย์ให้การอุปสมบท,  พระปัญญาภิมณฑ์มุนี เป็นพระกรรมวาจาจารย์,  พระศรีวิสุทธิญาณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์  ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร  กรุงเทพมหานคร

ตำแหน่งทางการปกครองสงฆ์ปัจจุบัน :-

เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน,

เป็นเจ้าคณะตำบลแม่คะ (ธรรมยุต)
เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะอำเภอฝาง-แม่อาย-ไชยปราการ (ธรรมยุต)

เป็นพระอุปัชฌาย์
เป็นเจ้าคณะอำเภอแม่อาย (ธรรมยุต) 

ประวัติการจำพรรษา :-

พรรษาที่ ๑         ปี ๒๕๒๘ จำพรรษาที่ วัดป่าชัยรังสี สมุทรสาคร
พรรษาที่ ๒         ปี ๒๕๒๙ จำพรรษาที่ วัดถ้ำกลองเพล อุดรธานี
พรรษาที่ ๓-๕     ปี ๒๕๓๐-๒๕๓๒ จำพรรษาที่ วัดป่าบ้านตาด อุดรธานี
พรรษาที่ ๖         ปี ๒๕๓๓ จำพรรษาที่ บ้านสวน อ.พนัสนิคม ชลบุรี
พรรษาที่ ๗-๘     ปี ๒๕๓๔-๒๕๓๕ จำพรรษาที่ วัดป่าเขาน้อย พิจิตร
พรรษาที่ ๙         ปี ๒๕๓๖ จำพรรษาที่ วัดป่าปางมะนาว กำแพงเพชร
พรรษาที่ ๑๐       ปี ๒๕๓๗ จำพรรษาที่ วัดป่าเขาน้อย พิจิตร
พรรษาที่ ๑๑-๓๙ ปี ๒๕๓๘-๒๕๖๖ จำพรรษาที่ วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน

ประวัติการดำรงตำแหน่งทางการปกครอง และสมณศักดิ์

พ.ศ.๒๕๔๕ วันที่ ๒๐ มิถุนายน ได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าอาวาสวัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน
พ.ศ.๒๕๔๖ วันที่ ๑๐ มิถุนายน  ได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าคณะตำบลแม่สูน (ธ.)
พ.ศ.๒๕๕๑ วันที่ ๕ ธันวาคม ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร ชั้น เจ้าคณะตำบล ชั้นโท ในราชทินนามที่
พระครูนิรมิตวิทยากร
พ.ศ.๒๕๕๖ วันที่ ๒๖ พฤษภาคม ได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าคณะตำบลแม่คะ (ธ.)
พ.ศ.๒๕๕๖ วันที่ ๕ ธันวาคม ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครู ชั้น เจ้าคณะตำบล ชั้นเอก ในราชทินนามเดิมที่ พระครูนิรมิตวิทยากร
พ.ศ.๒๕๖๐ วันที่ ๙ เมษายน  ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌายะ ประเภท สามัญ
พ.ศ.๒๕๖๕ วันที่ ๙ มีนาคม  ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะอำเภอฝาง-แม่อาย-ไชยปราการ (ธรรมยุต)
พ.ศ.๒๕๖๕ วันที่ ๒๓ ตุลาคม ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอแม่อาย (ธรรมยุต) และปรับพัดยศเป็นเจ้าคณะอำเภอชั้นโท

 

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด : สิงหาคม ๒๕๖๖

 

 

   

 

 

                                                                                                       

 


ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด