ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
ชมคลิปวีดีโอน่าสนใจ
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 13 คน
dot
dot

dot


ฟัง F.M. 103.25 MHz.
ชมทีวีช่องหลวงตา
ฟังวิทยุออนไลน์ วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน
ชมคลิปวีดีโอน่าสนใจ
เข้าชม face book วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน


พระชาติที่ ๕ พระมโหสถ ตอน ๔

 

ในราชสำนัก แก้วมณีในรังกา

       ในด้านทิศใต้ไม่ไกลจากประตูเมืองนัก มีสระใหญ่อยู่สระหนึ่ง ใกล้ ๆ สระนั้นก็มีต้นตาลขึ้นอยู่ด้วย มีสิ่งประหลาดเกิดขึ้นภายในสระ ยามแสงอาทิตย์ส่องจะปรากฎมีรัศมีพร่างพรายภายในสระ ประชาชนพากันพิศวงไม่รู้ว่าอะไรแน่ แต่ก็คิดว่าเป็นของดีแน่ บางคนถึงกับลงไปงมในสระ แต่ไม่ปรากฎว่าได้อะไรขึ้นมา พอหมดแสงอาทิตย์ รัศมีอันเลื่อมพรายนั้นก็หายไป

     จึงได้เกิดเป็นข่าวเล่าลือกันไปถึงว่าน้ำในสระเป็นของวิเศษกินแก้โรคภัยไข้เจ็บได้ทุกชนิด ใครมีเคราะห์หามยามร้ายอย่างไร เอาน้ำในสระไปรดจะหาย หรือบรรเทาเบาบางไป ประชาชนบางคนหัวคิดดี ก็นำเอาภาชนะสำหรับใส่น้ำเป็นต้นว่า ขวดหรือกระป๋องมาไว้จำหน่ายจ่ายแจกแก่พวกที่ต้องการนำน้ำในสระไปฝากพรรคพวกเพื่อนฝูง ที่นั้นเลยกลายเป็นชุมนุมชน กลิ่นธูปควันเทียนก็ตลบอบอวลไปทั่วทั้งบริเวณ

     ข่าวประหลาดพิสดารนี้ ก็ทราบไปถึงพระเจ้าวิเทหราชจึงเสด็จไปทอดพระเนตรเพื่อพิสูจน์ความจริง พร้อมมกับนักปราชญ์ทั้งหลายด้วย เมื่อเสด็จไปถึงสระ ก็ทอดพระเนตรแสงเลื่อมพลายอันเกิดจากแก้ว ก็ให้พิศวงในพระทัย แต่ยังไม่ทราบว่าแสงนั้นเกิดจากอะไรแน่นอนจึงหันไปถามนักปราชญ์ ๔ พลางตรัสว่า
     “ท่านอาจารย์พอสังเกตเห็นว่าแสงนี้เกิดจากอะไร?”
     “ขอเดชะ” เสนกะกลาบทูล “ข้าพระพุทธเจ้าคาดว่าคงจะเป็นแสงเกิดจากแก้ววิเศษพระเจ้าค่ะ”
     “ท่านพอจะนำมาได้หรือไม่?”
     “ขอเดชะ ข้าพระองค์อาจนำมาได้” “ถ้าเช่นนั้น ท่านอาจารย์ไปนำมาดูทีหรือว่าแก้วนั้นจะวิเศษขนาดไหน ?”

     เสนกะได้รับอนุมัติจากพระเจ้าวิเทหราช แล้วก็สั่งให้ทหารวิดน้ำให้แห้ง เพื่อจะนำแก้วมณีจากก้นสระมาถวายพระราชา แต่เมื่อวิดน้ำจนแห้งก็แล้วก็หาแก้วมณีไม่พบ เมื่อมีน้ำแสงแก้วก็ปรากฎอีก
     " ข้าพระองค์หมดปัญญาจะนำมาถวายแล้วพระเจ้าค่ะ”
     “แล้วท่านนักปราชญ์ทั้ง ๓ ล่ะ พอจะจัดมาถวายได้หรือไม่”
     “เมื่อท่านเสนกะยังจัดมาถวายไม่ได้ พวกข้าพระองค์ก็ไม่สามารถจัดหาถวายได้พระเจ้าค่ะ”

    เมื่อนักปราชญ์ทั้ง ๔ หมดปัญญาแล้ว ก็ทรงหันไปตรัสถามมโหสถว่า
     “พ่อมโหสถ พ่อจะจัดหามาได้หรือไม่?”
     “ข้าพระองค์ขอออกไปพิจารณาก่อนพระเจ้าค่ะ”

     เมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตแล้ว มโหสถก็ออกไปพิจารณายังสระน้ำ ก็เห็นแสงแก้วกระทบน้ำเลื่อมพราย จึงได้พิจารณาไปก็เห็นต้นตาลสูงต้นหนึ่งอยู่ใกล้สระจึงสั่งให้คนใช้นำขันน้ำมาให้แลดู ปรากฎแสงนั้นอยู่ในน้ำ ก็แน่ใจได้ทีเดียวว่าแก้วนั้นไม่ได้อยู่ในสระ แต่อยู่บนต้นตาล จึงกลับมาเฝ้าพระเจ้าวิเทหราช พอเข้าเฝ้า พระเจ้าวิเทหราชก็ตรัสถามว่า
     “ยังไง พ่อมโหสถได้ความว่าอย่างไร พอจะได้แก้วไหม?”
     “ขอเดชะพระอาญาไม่พ้นเกล้า แก้วนั้นข้าพระองค์อาจจะเอามาถวายได้”
     “ได้จริง ๆ หรือ?” ทรงถามด้วยความดีพระทัย
     “ได้พระเจ้าค่ะ”
     “แล้วต้องวิดน้ำอีกใหม?”
     “ไม่ต้องพระเจ้าค่ะ”
     “ทำไมล่ะ?”
     “เพราะแก้วไม่ได้อยู่ในสระพระเจ้าค่ะ”
     “แล้วอยู่ที่ไหนล่ะ?”
     “อยู่บนต้นตาลพระเจ้าค่ะ ขอพระองค์ใช้ให้ใครขึ้นไปเอาคงจะได้สมประสงค์พระเจ้าค่ะ”

     พระเจ้าวิเทหราชจึงสั่งให้ราชบุรุษขึ้นไปบนต้นตาล ก็พบว่าแก้วมณีอยู่ในรังกาบนต้นตาลนั้นเอง จึงนำมาถวายพระเจ้าวิเทหราช ซึ่งพระองค์ก็ทรงโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง ทรงชมเชยมโหสถเป็นอันมาก เป็นอันว่าเสนกะจอมปราชญ์ต้องขายหน้ามโหสถอีกวาระหนึ่ง

 

กิ้งก่าได้ทอง

       วันหนึ่งพระเจ้าวิเทหราชเสด็จไปประพาสพระราชอุทยานพอถึงประตูก็เห็นกิ้งก่าตัวหนึ่งลงมาจากซุ้มประตู หมอบอยู่เบื่องหน้า จึงตรัสถามมโหสถว่า
     “พ่อมโหสถ เจ้ากิ้งก่ามันทำอะไรของมัน”
     “ขอเดชะ กื้งก่ามันถวายตัวพระเจ้าค่ะ” ทรงพระสรวลด้วยความขบขัน แล้วตรัสดัง ๆ เป็นที่รำพึงกับพระองค์เองว่า
     “อะไร กิ้งก่าก็รู้จักถวายตัวเหมือนกันหรือ ?” แล้งตรัสถามมโหสถต่อว่า
     “เมื่อมันมาถวายตัวก็ดีแล้ว ก็ควรจะได้รับรางวัลบ้างควรจะให้อะไรมันดีล่ะ”
     “ขอเดชะ กิ้งก่าเป็นสัตว์ไม่ควรให้อะไรพระเจ้าค่ะ ควรให้แต่อาหารเท่านั้น”
     “มันกินอะไร?”
     “กินเนื้อพระเจ้าค่ะ”
     “ควรจะให้มันกินวันละเท่าไรดี?”
     “สักวันล่ะเฟื่องก็เห็นจะพอพระเจ้าค่ะ”
     “ของพระราชทานเฟื่องเดียวดูไม่สมควร เอาบาทหนึ่งเถอะ” แล้วหันไปตรัสกับราชบุรุษว่า
     “นับแต่นี้ต่อไป จ่ายค่าเนื้อให้เจ้ากิ้งก่าวันละบาท แล้วนำมาซื้อให้มันกิน” พนักงานคลังก็มอบหน้าที่ให้พนักงานสวนเป็นผู้จ่ายและหาเนื้อให้กิ้งก่า

     และนับตั้งแต่นั้นมา เจ้ากิ้งก่าก็ได้กินเนื้อซึ่งได้รับพระราชทานจากพระเจ้าวิเทหราชเป็นนิตย์ วันหนึ่งเป็นวันพระที่ตลาดไม่มีเนื้อขาย นายอุทยานบาลจึงเอาเงิน ๑ บาท มาเจาะรูผูกคอกิ้งก่าตัวนั้นแทน พอได้เงินผูกคอเท่านั้น กิ้งก่าก็เกิดผยองขึ้นมาทันที
     “ใครพอมีทรัพย์ เรามีทรัพย์เหมือนกัน จะต้องไปอ่อนน้อมถ่อมตนกับใครกัน เสมอกันทั้งนั้น” เจ้ากิ้งก่าขึ้นไปชูคอร่อนบนซุ้มประตู ทำเอาคนรักษาสวนแสนจะหมั่นไส้ แต่เพราะเป็นสัตว์ที่โปรดปรานของเจ้านายก็ต้องอดทนไว้

     วันหนึ่งพระเจ้าวิเทหราชเสด็จประพาสพระราชอุทยานอีก คราวนี้เจ้ากิ่งก่าหาได้ลงมาหมอบถวายบังคมอย่างเคยไม่ ซ้ำกลับขึ้นไปชูคอทำหัวผงก ๆ อยู่บนซุ้มประตูเสียอีก พระเจ้าวิเทหราชสงสัยในอากัปกิริยาของเจ้ากิ้งก่านั้นเป็นประมาณ จึงตรัสถามมโหสถว่า
     “พ่อมโหสถ พ่อดูทีเจ้ากิ้งก่ามันชูคอทำผงก ๆ อยู่ซุ้มประตูน่ะ มันทำอะไรของมัน"

     มโหสถพิจารณาดูกิ้งก่า ก็เห็นว่าที่คอมันมีเงินผูกคออยู่ก็ทราบได้ทันทีว่า เพราะมันมีทรัพย์จึงได้ถือตัว จึงกราบทูลพระเจ้าวิเทหราชว่า
     “ขอเดชะ กิ้งก่ามันผยองในทรัพย์ที่มันมีจึงไม่ลงมาถวายบังคมพระเจ้าค่ะ”
     “ชะ ชะ อ้ายสัตว์กระจ้อยร่อยชนิดนี้มันควรตายได้แล้วให้นายสวนฆ่าเสียดีกว่ากระมัง”
     “ได้โปรดพระเจ้าค่ะ” มโหสถทูลขึ้น
     “ว่าอย่างไรล่ะ”
     “มันเป็นสัตว์ไร้ปัญญา โปรดอภัยโทษมันเถิดพระเจ้าค่ะ เพียงแต่ไม่พระราชทานเนื้อให้มันก็พอเพียงแล้ว”

     พระเจ้าวิเทหราชก็ทรงตรัสให้งดเนื้อแก่เจ้ากิ้งก่าที่แสนจะจองหองนั้นเสียนับแต่บัดนี้ เจ้ากิ้งก่าที่แสนจะจองหองก็ปราศจากลาภแต่นั้นมา

 

พระนางอุทุมพร

       ปิงคุตตระไปเรียนวิชายังเมืองตักสิลา อันนับว่าเป็นมหาวิทยาลัยอย่างดีเยี่ยมที่สุดในยุคสมัยนั้น เหมือนกับเมืองนอกดูเหมือนว่าจะโผล่พ้นเมืองไทยออกไปการศึกษานับว่าเยี่ยมที่สุด กลับมามีคนนับหน้าถือตาจะเข้าทำราชการงานเมืองใดก็มีแต่คนต้อนรับ เขาเรียนได้ดีเพราะสติปัญญาของเขาใช้ได้ เพียงไม่กี่ปีเขาก็สำเร็จการศึกษา

     เมื่อเขากลับมา เขาก็ได้ของแถมจากอาจารย์ ไม่ใช่แต่วิชาเท่านั้น แต่กลับเป็นหญิงสาวผู้งดงามซึ่งเป็นบุตรคนโตของอาจารย์ของเขาเอง เพราะเป็นกฎที่ถือว่า ถ้าศิษย์คนใดเรียนดี อาจารย์มักจะยกบุตรสาวให้ แต่ความจริงคงเป็นว่าอาจารย์เห็นว่าศิษย์คนใดเรียนดีสามารถจะไปดำเนินกิจการได้ และเห็นว่าศิษย์คนนี้คงจะเลี้ยงธิดาของท่านได้ จึงได้มอบให้ก็อาจเป็นได้

     แต่อย่างไรก็ตามเป็นอันว่าปิงคุตตระจะได้รับมอบธิดาแสนสวยจากท่านอาจารย์ให้พากลับบ้านด้วย แม้เขาจะไม่พอใจแต่ก็ต้องรับ เขารู้สึกว่าหญิงคนนี้ไม่ค่อนชอบมาพากลเสียแล้วเห็นหน้าก็ไม่พอใจเสียแล้ว แถมเข้าใกล้ยังร้อนเสียอีกด้วย แบบนี้มันคล้าย ๆ กับเรื่องทศกัณฐ์ที่ไปทำความชอบชะลอเขาพระเมรุได้รับพรให้ขอของที่ชอบใจได้ ก็เลยขอเมียพระอิศวรเสียเลย แต่แล้วก็ทำอะไรไม่ได้ เข้าใกล้ก็ร้อนจะจับจะต้องที่ใดมันก็ร้อนไปหมด จนกระทั่งเดินทางอุ้มก็ไม่ได้ ต้องเทินศีรษะไป เฮ้อ..กรรม ..กรรม พ่อนี้ก็เช่นเดียวกัน กลางคืนก็นอนร่วมกันไม่ได้ เมื่อขึ้นไปบนที่นอน พ่อปิงคุตตระเป็นต้องกระโดดลงมานอนข้างล่างมันร้อน มันร้อนจริง ๆ ใครจะทนไหว เขาได้แต่ร่ำร้องเช่นนี้

     เรื่องนี้เป็นเพราะว่าเป็นกาลกิณีกับสิริร่วมกันไม่ได้เท่านั้นเอง จึงเป็นเหตุให้ปิงคุตตระกับธิดาอาจารรย์อยู่ร่วมกันไม่ได้ ใครล่ะเป็นกาลกิณีและใครเป็นสิริ เดินทางมาได้ตั้ง 7 วัน ต่างคนต่างเดินจนมากระทั่งถึงกรุงมิถิลา ทางที่เขาเดินผ่านมีต้นมะเดื่อใหญ่ขึ้นอยู่ มีพวงห้อยระย้ากำลังสุกน่ากิน เขาเดินทางมากำลังเหน็ดเหนื่อยหิวโหยพอมาพบมะเดื่อเข้าก็ดีใจ เออ? ได้แก้หิวล่ะ เขานึกอยู่ในใจ พอ มาถึงก็ไม่ฟังเสียง ปีนขึ้นไปบนต้นได้ก็เก็บกินเอา ๆ จะนึกถึงเมียที่อยู่โคนต้นบ้างก็หาไม่ นางเห็นเช่นนั้นจึงร้องขึ้นไปว่า
     “พี่จ๋า โยนมาให้น้องกินแก้หิวบ้างสิคะ” แทนที่นายปงคุตตระจะโยนลงมาให้อย่างที่นางร้องขอกลับตอบว่า
     “มีตีนมีมือเหมือนกันก็ขึ้นมาเก็บเอาสิ จะหวังกินแรงคนอื่นทำไม ?”

     ถ้าเป็นหญิงสมัยนี้เห็นมีจะร้องไห้หรือไม่นายปิงคุตตระได้ตายคาต้นมะเดื่อแน่นอน แต่นี้เป็นธิดาของอาจารย์ตักศิลา นางไม่ร้องไห้เลย ปีนขึ้นไปบนต้นมะเดื่อเก็บผลที่สุก ๆ มากินแก้หิว เจ้าผู้ชายไร้ความคิด ควรจะเรียกเจ้าปงคุตตระว่าอย่างนี้เพราะไม่เห็นแก่เพศที่อ่อนแอแล้วยังแถมประพฤติสิ่งอันชั่วร้ายส่ออัธยาศัยอันธพาลเสียด้วย เมื่อเขาเห็นนางขึ้นไปบนต้นมะเดื่อเขารีบลงมา เขารีบไปเอาหนามไผ่หนามไม้เเหลมคมมาสะต้นมะเดื่อไว้โดยรอบต้น แล้วบอกกับนางว่า
     “เชิญอยู่ให้สบายเถอะ พี่ไปล่ะ” แล้วเขาก็ออกเดินจนลับตาไป นางลงไม่ได้ก็ต้องนั่งอยู่บนต้นมะเดื่อนั่นเอง

     วันนั้นเผอิญพระเจ้าวิเทหราชเสด็จไปประพาสราชอุทยานตกเวลาเย็นผ่านมาทางนั้นก็พบนางอยู่บนต้นมะเดื่อ พอเห็นเท่านั้นก็เกิดความรักขึ้นทันที


    
พระพุทธเจ้าตรัสว่าความรักมี 2 อย่าง คือ เคยอยู่ร่วมกันมาแต่ปางก่อน 1,ทำประโยชน์ให้ปัจจุบันอย่าง 1 จึงจะเกิด ได้

     พระเจ้าวิเทหราชอาจจะเป็นเพราะชาติปางก่อนได้เคยเป็นคู่สมัครรักใคร่กันมาก่อน พอเห็นกันจึงเกิดความรักทันที พระองค์ก็ให้คนเข้าไปถามว่า
     “แม่หนู แม่น่ะมีคนหวงแหนบ้างหรือเปล่า” นางได้เล่าความจริงให้ราชบุรษฟังตั้งแต่ต้น พร้อมกับเสริมว่า
     “บัดนี้สามีดิฉันได้หนีไปแล้ว ดิฉันเลยไม่รู้ว่าจะไปไหนจึงนั่งอยู่ที่นี่” เมื่อราชบุรุษกราบทูลความนั้นให้พระเจ้าวิเทหราชทรงทราบพระองค์ก็ตรัสว่า
    “ออ เดี๋ยวนี้นางไม่มีพันธะ เราจะเลี้ยงดูนางเอง” จึงรับนางลงมาจากต้นมะเดื่อแล้วนำไปไว้ในตำแหน่งอัครมเหสี ท่านคิดดูเอาเองว่า ฝ่ายหญิงหรือฝ่ายชายที่เป็นสิริกาลกิณี

     นับแต่นั้นมา ประชาชนก็ขนานนามพระนางว่าพระนางอุทุมพร เพราะได้นางมาจากต้นมะเดื่อ นางได้รับความสำราญอย่างล้นเหลือ และเมื่อพระเจ้าอยู่หัวชอบเสด็จพระพาสพระราชอุทยานพวกข้าราชบริพารจึงแผ้วถางทางที่จะเสด็จผ่านให้เรียบร้อยที่ใดรกรุงรังก็จัดแจงให้เตียนสะอาด ที่ไม่เสมอก็ให้ถมให้เสมอกัน จึงต้องมีการปรับปรุงอยู่เสมอ และก็จะต้องให้งานเสร็จเร็วทันการประพาสครั้งต่อไป จึงต้องมีการจ้างให้บุคคลภายนอกมาทำความสอาดตัดต้นไม้ เกลี่ยถนน ขุดตอออกยั้วเยี้ยไปหมด แต่พระเจ้าวิเทหราชเสด็จเร็วกว่ากำหนด ในขณะเสด็จไปถึงจึงพบเห็นคนงานเหล่านั้นกำลังปฎิบัติงานอยู่ ในพวกคนงานเหล่านั้น มีเจ้าหนุ่มปิงคุตตระผู้ละทิ้งแก้ววิเศษเสีย มารับจ้างเกลี่ยถนนอยู่ด้วย

เมื่อขบวนเสด็จซึ่งมีพระเจ้าวิเทหราชกับพระนางอุทุมพรเทวีเสด็จไปด้วยกันผ่านไป พระนางก็ทอดพระเนตรเห็นนายปิงคุตตระกำลังถางดินอยู่ข้างทาง ก็นึกขำในพระทัยว่า ช่างกระไรเลยหนอ มาทิ้งสิริเสียได้ วิสัยกาลกิณีก็เป็นเช่นนั้นไม่อาจจะทรงสิริได้ นึกขำมากเข้าก็ถึงกับทรงพระสรวลออกมาเบา ๆ พระเจ้าวิเทหราชทรงสนเทห์ในพระทัย จึงตรัสถามว่า
     “น้องหญิง สรวลอะไร?” พระนางจึงกลาบทูลว่า
     “ขอเดชะ ตามที่กระหม่อมฉันเคยได้ทูลไว้ว่า กระหม่อมฉันมีสามี และสามีนั้นได้ทอดทิ้งหนีกระหม่อมฉันไป บัดนี้กระหม่อมฉันได้เห็นเขามาทำงานอยู่ที่ข้างทาง จึงคิดว่าวิสัยคนกาลกิณีไม่อาจจะทรงสิริไว้ได้ จึงได้สรวล”

 

     พระเจ้าวิเทหราชคิดว่าพระไม่ตรัสตามความเป็นจริงก็กริ้วเพราะไม่เชื่อว่าผู้ชายอะไรจะสละทิ้งหญิงที่สวยงามอย่างพระนางได้ จึงไม่เชื่อว่าสามีของพระนางมาทำงานอยู่จึงตรัสว่า
     “น้องหญิงเธอไม่ตรัสจริงกับพี่ มันเป็นความจริงไปได้อย่างไร ถ้าเธอไม่ตรัสความจริง เธอจะต้องตาย ..ตาย” ทรงคำรามพร้อมกับพระแสงดาบ เออ? อาญานี่มันร้ายจริงหนอ เพียงพูดไม่พอใจก็ถึงกับจะฆ่าแกงกัน แต่ก็ได้เคยแล้วว่า

มหากษัตริย์ทรงฉัตรไชย ถ้าแม้นใครประมาทอาจตายเอยฯ นี่ก็เช่นเดียวกัน คิดเสียว่านางไม่พูดความจริงทั้งที่นางก็พูดความจริงก็ไม่ยอมเชื่อแถมจะฆ่าเสียด้วย นางกลัวความตายจึงทูลพระราชาว่า “ขอเดชะ ก่อนที่จะทำอะไรลงไปขอทรงตรัสถามพวกนักปราชญ์ก่อน”
     “ก็ได้” แล้วก็หันไปถามเสนกะว่า
     “จริงไหม? ท่านอาจารย์”
     “ไม่น่าเป็นไปได้ ว่าชายจะละทิ้งหญิงเช่นพระนางเสียได้ กระหม่อมฉันยังสงสัยอยู่”
     “นั่นสิ” รับสั่งอย่างเห็นด้วย “ต้องฆ่า” พระนางก็ขอให้ตรัสถามผู้อื่นอีกก่อน พระราชาจึงทรงระลึกได้ว่า ควรถามมโหสถ จึงหันไปถามมโหสถว่า
     “พ่อมโหสถ จริงอย่างพระนางว่าหรือเปล่า?”
     “ขอเดชะพระอาญาไม่พ้นเกล้า กระหม่อมฉันว่าจริงพระเจ้าข้า เพราะกาลกิณีกับสิริไกลกันดุจฟ้ากับดิน หรือเหมือนทะเลฟากนี้กับฟากโน้น”
     "เออ จริงสินะ เราเกือบจะผลุนผลันฆ่าฟันนางไปเสียแล้ว” แลัวตรัสกับมโหสถว่า
     “เพราะเจ้า เราจึงไม่เสียนางแก้วประจำใจไป” แล้วพระราชทานเงินทองให้กับมโหสถเป็นอันมาก เมื่อมโหสถได้ลาภก็เป็นที่เขม่นของเสนกะบัณฑิตเจ้าเลห์มากขึ้น แต่เมื่อยังไม่สามารถทำอะไรได้ ก็ต้องเงียบไว้ก่อน และนับแต่นั้นมา พระนางได้ขอพรจากพระเจ้าวิเทหราชในการที่จะส่งข้าวของต่าง ๆ ไปให้มโหสถโดยไม่เลือกกาลเวลาและขอพระบรมราชานุญาตตั้งมโหสถไว้ในฐานะน้องของนางซึ่งพระเจ้าวิเทหราชก็ทรงพระราชทานให้ตามคำขอของพระนาง

 

แพะ กับ สุนัข

       วันหนึ่งพระเจ้าวิเทหราชประทับอยู่ ณ ที่มุมปราสาท ทอดพระเนตรสิ่งต่าง ๆ ก็ได้แลเห็นสุนัขกับแพะคู่หนึ่งมาอยู่ร่วมกันและเห็นอีกว่าเจ้าสุนัขนั้นไปคาบหญ้ามาให้เจ้าแพะกิน ส่วนเจ้าแพะคาบเอาปลามาให้สุนัขกิน ความเป็นไปของเจ้าสุนัขกับแพะมีอย่างนี้ สุนัขตัวหนึ่งอยู่ในพระราชวังนั้น พวกวิเสทได้ให้อะไรกินอยู่เสมอ จนมันเข้านอกออกในอาศัยอยู่ในโรงครัวนั้นเสมอ วันหนึ่งพวกช่างเครื่องตบแต่งเครื่องแล้วก็ออกไปรับลมข้างนอก

    ส่วนเจ้าแพะคาบเอาปลามาให้สุนัขกิน ความเป็นไปของเจ้าสุนัขกับแพะมีอย่างนี้ สุนัขตัวหนึ่งอยู่ในพระราชวังนั้น พวกวิเสทได้ให้อะไรกินอยู่เสมอ จนมันเข้านอกออกในอาศัยอยู่ในโรงครัวนั้นเสมอวันหนึ่งพวกช่างเครื่องตบแต่งเครื่องแล้วก็ออกไปรับลมข้างนอกปล่อยสำรับไว้บนโต้ะ

     เจ้าสุนัขตัวนั้นกำลังแทะกระดูกอยู่ ได้กลิ่นของกินอันโอชะก็น้ำลายสออยากกินเป็นกำลัง และเห็นเป็นโอกาสเหมาะเพราะคนครัวออกไปข้างนอกก็เลยทิ้งกระดูกที่แทะทิ้งเสีย สูดกลิ่นเข้าไปหาสำรับ เอาปากดุนฝาเพื่อจะกินอาหารในชามนั้น เสียงชามกับฝากระทบกัน คนครัวซึ่งออกไปยืนรับลมอยู่หน้าครัวเกิดสงสัยก็รีบเข้ามาดู

     เจอผู้ร้ายตัวฉกาจเข้าพอดี หนอย ให้กินเศษอาหารและกระดูกไม่พอ เอื้อมอาจมากินของเสวย เอ้าเสวยเสีย แล้วเขาก็ฉวยได้ไม้ฟืนแพ่นหลังเจ้าสุนัขตัวนั้นเสียหลังแอ่น วิ่งร้องครวญครางออกไปจากโรงอาหาร ไปแอบอยู่ข้างพระตำหนักหลังหนึ่ง

     ส่วนเจ้าแพะเล่าก็อาการเดียวกัน แต่ไม่ได้ขโมยอาหาร แต่ไปขโมยหญ้าช้าง เลยถูกคนเลี้ยงช้างฟาดเอาเสียหลังแอ่นวิ่งมาหลบมุมอยู่ที่เดียวกัน เจ้าสุนัขเข้ามาหลบอยู่ก่อนเห็นเจ้าแพะหลังแอ่นมาก็ถามว่า
     “สหายเป็นอะไร ไม่สบายไปรึไง”
     “ไม่เป็นอะไรหรอก”
     “แล้วทำไมหลังคด ยังงั้นเล่า”
     “พวกเลี้ยงช้างน่ะสิ”
     “มันทำไมล่ะ”
     “มันไม่ทำไมหรอก แต่มันฟาดด้วยกระบองลงที่กลางหลัง แล้วทำไมหลังเราจะตรงอยู่ได้ หักหรือเปล่าไม่รู้?”
     “ก็สหายไปทำอะไรเข้าล่ะ”
     “เราก็ว่าไม่ได้ทำนะ ก็แค่เราไปกินหญ้าของช้างนิดหน่อยเท่านั้นเอง” เจ้าสุนัขหัวเราะชอบใจ
     "เออ จะบอกตรง ๆ ว่าไปลักหญ้าช้างมากินเลยถูกคนเลี้ยงมันฟาดด้วยตะบอง มันก็หมดเรื่อง”
     "เจ็บ.. อุ้ย.. เจ็บจริง ๆ” เจ้าแพะบ่น
     “ไม่แต่เจ็บเท่านั้น ต่อไปก็อดหญ้าอีกด้วย”
     “ทำไมล่ะ?”
     “เพราะว่าเราเข้าโรงช้างไม่ได้อีกแล้ว ถ้าไปทีนี้คนเลี้ยงช้างบอกว่าจะตีให้ตายเลย” แล้วมันก็ถามเจ้าสุนัขบ้างว่า
     “แล้วสหายล่ะ ทำไมมาแอบอยู่ข้างตำหนักนี้เล่า”
     “มันก็เรื่องเหมือน ๆ กันนั้นเหละสหาย”
     “เรื่องมันเป็นอย่างไรลองเล่าให้ฟังบ้างสิ”
     “ได้สิ คือเรื่องมันมีอยู่ว่า เดิมเราก็พักอาศัยหลับนอนกินอยู่ในโรงครัว อาหารการกินก็แสนบริบูรณ์ กระดูกเป็ดไก่หมูเอยฯอะไรก็มีทั้งนั้น แต่เรากับไปชอบอ้ายที่อยู่ในชามที่เขาใส่สำรับไว้เพื่อพระเจ้าแผ่นดินเสวย ฮ่ะ ๆ สหายเป็นไงรสนิยมเราสูงส่งเทียวล่ะ

พอเข้าเผลอเราก็รี่ไปเปิดสำรับนึกว่าจะได้สักคำ ที่ไหนได้ สหายเอ๋ย ยังกับฟ้าผ่ากลางวันแสก ๆ ทีเดียว อะไรเสียอีกล่ะ ไม่อยากพูด แต่เมื่อสหายอยากฟังก็จะบอกไห้ ดุ้นฟืนอันเบ้อเร่อฟาดเราลงมาที่กลางหลัง โอย.. หลังแถบหัก มันแรงจริง ๆ เห็นเดือนเห็นดาวกลางวันเลยล่ะ เราว่าจะไม่ร้องแต่ร้องปากน่ะสอมันร้องออกไปเอง เจ็บใจจริง ๆ เสียเกียรติหมาอย่างเราจัง และมันไม่หยุดเท่านั้น แถมฟาดอย่างไม่เลือกที่เสียด้วย เราเลยต้องแผ่นแน่บออกจากโรงครัวแล้วมาแอบอยู่ข้างตำหนักนี่แหละ โรงครัวน่ะเราไม่มีหวังได้เข้าไปอีกแล้ว ขืนเข้าไปคนครัวมันบอกว่าจะตีให้ตาย สหายเอ๋ย เราเห็นจะต้องอดตายเสียเป็นแน่” เจ้าสุนัขเล่าเรื่องให้แพะฟัง พร้อมกับพูดอย่างท้อแท้ในตอนท้าย
     “สหายก็ต้องอด เราก็ต้องอด เรามันหัวอกเดียวกัน”
     “ทำอย่างไรดีเราจึงจะไม่อดตาย” ในที่สุดเจ้าแพะก็คิดขึ้นได้ จึงบอกเจ้าสุนัขว่า
     “สหาย เราเห็นช่องทางที่จะไม่อดตายแล้ว”
     “ทำอย่างไรล่ะ? เจ้าสุนัขถาม
     “คืออย่างนี้” เจ้าแพะเริ่ม “สหายไม่กินหญ้า หากไปที่โรงช้างคนเลี้ยงช้างก็คงไม่สงสัยและคงจะไม่ขับไล่สหายออกมาใช้ไหม พอคนเลี่ยงช้างเผลอ สหายก็คาบหญ้าออกมาเผื่อเรา เราเองก็ไม่กินเนื้อ เมื่อเข้าไปอยู่ในโรงครัวก็ไม่มีใครสงสัยและรังเกียจ เมื่อเห็นคนครัวเผลอเราก็คาบอาหารมาฝากสหาย เราต่างอาศัยซึ่งกันและกันเช่นนี้เราก็จะไม่อดตาย สหายว่าอย่างไรล่ะ”
     “ความคิดของสหายวิเศษจริง อาหารเราก็มีกิน และไม่ต้องถูกตีอีกด้วย”

และนับแต่นั้นมาสหายทั้งสองก็ดำเนินอย่างคิด แพะไปโรงครัว ขาหลับก็คาบปลาบ้าง เนื้อบ้างมาให้สุนัข ส่วนเจ้าสุนัขเล่าก็ไปโรงช้าง ขากลับก็คาบหญ้ามาฝากเจ้าแพะ
เรื่องเป็นมาอย่างนี้ พระเจ้าเทหราชทรงเห็นอากัปกิริยาและความเป็นไปของสัตว์ทั้งสองนั้น ก็ทรงดำริว่า
“เจ้าหมาและเจ้าแพะปกติมันเป็นศัตรูกัน แต่นี้มันกลับมาเป็นสหายช่วยเหลือกันและกันได้ เราจะต้องผูกปัญหาถามบัณฑิตดู ใครตอบได้จะเพิ่มสินจ้างรางวัลให้ ใครไม่รู้ก็ไม่ควรเลี้ยงไว้”

รุ่งขึ้นเสด็จออกและพวกขุนนางมากันพร้อมแล้ว พระองค์จึงทรงปัญหาว่า
“สัตว์ที่เป็นศัตรูกัน ไม่เคยคิดร่วมเดินทางกันเลย มาร่วมเดินทางกันได้เพราะอะไร?” พร้อมกับสำทับว่า
“วันนี้ถ้าใครตอบไม่ได้จะขับเสียจากแว่นแคว้น เราไม่ต้องการคนเขลาไว้ในบ้านเมือง”

พวกปราชญ์พากันคิดก็คิดไม่ออก ได้แต่แลดูตากันอยู่ มโหสถคิดว่า “พระราชาคงทรงเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นแน่ จึงมาตั้งปัญหาเช่นนี้ ถ้าท่านเสนกะจักให้พระเจ้าวิเทหราชผ่อนเวลาไปอีกสักวันหนึ่ง ก็คงจะได้ความบ้าง” จึงได้แลดูตาเสนกะ ๆ ก็ทราบในทันที จึงทูลพระเจ้าวิเทหราชว่า “ขอเดชะ ถ้าตอบไม่ได้พระองค์จักขับพวกข้าพระองค์จากแว่นแคว้นจริง ๆ หรือ” “จริง ๆ เราขับแน่” “พระตั้งปัญหามีแง่เงื่อนที่จะต้องคิด เพราะฉะนั้นข้าพระองค์ขอผลัดเวลาเป็นพรุ่งนี้ แล้วข้าพระองค์จักแก้ให้ทรงสดับ”
“ทำไมจะแก้เดี๋ยวนี้ไม่ได้หรือ?”
“ตามธรรมดาคนฉลาดจำเป็นต้องอาศัยความสงบสงัดช่วยตรึกตรอง หากพระองค์ทรงผัดผ่อนไปได้พรุ่งนี้แน่พระเจ้าค่ะ ที่ข้าพระองค์จะถวายคำเฉลยปัญหานี้ได้” พระเจ้าวิเทหราชก็ทรงผัดผ่อนตามคำขอของเสนกะ

  แล้วก็พากันไปบ้านมโหสถ เมื่อมโหสถได้เห็นก็รู้ว่านักปราชญ์ทั้ง 4 มาเพราะปริศนานั้น แต่แกล้งทำเป็นไม่รู้ แสดงอาการดีอกดีใจต้อนรับนักปราชญ์ทั้ง 4 อย่างดี และไม่ถามอะไรทั้งหมด เสนกะเมื่อเห็นว่ามโหสถไม่ถามก็อดไม่ได้ เลยถามออกมาตรง ๆ ว่า
“มโหสถ ที่พวกเรามาหาท่านก็เพราะปริศนาของพระเจ้าอยู่หัวนั้นแหละ พวกเราคิดกันแล้วแต่ไม่อาจจะตีความหมายของปัญหานั้นได้ ท่านล่ะพอจะคิดได้บ้างไหม?”

มโหสถยิ้มพลางพูดเรื่อย ๆ
“ท่านอาจารรย์ ปัญหาชนิดนี้เป็นเรื่องง่ายเสียเหลือเกินข้าพเจ้าคิดว่าท่านอาจารย์คิดได้แล้วเสียอีก ข้าพเจ้าน่ะคิดเห็นได้ตั้งแต่ออกจากเฝ้าออกจากที่เฝ้ามาแล้ว”
“เมื่อท่านทราบ ก็ควรจะบอกให้พวกเราได้ทราบไว้บ้าง” มโหสถคิดว่า “ถ้าเราไม่บอก พวกนี้ก็จะต้องถูกขับจากแว่นแคว้น เสื่อมจากลาภยศ เราเองแม้จะเจริญด้วยชื่อเสียงลาภยศก็ปรากฎไปได้ไม่กี่วันเชียว อีกอย่างนักปราชญ์เหล่านี้ไม่มี คุณค่าปัญญาของเราก็คงไม่ปรากฎ เพราะฉะนั้นนคนเหล่านี้ยังไม่ควรที่จะต้องถูกขับไล่ ควรอยู่ร่วมรับราชการด้วยกันไปก่อน”

จึงพูดตอบว่า
“ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าไม่รังเกียจเลยในการที่จะบอกแต่ข้าพเจ้าจะบอกทีละคนเท่านั้น”
“ก็ได้ แล้วแต่ท่านเถิด” มโหสถจึงให้นักปราชญ์เหล่านั้นเรียนคาถากันคนละบทแล้วจึงกลับไป
รุ่งขึ้นในการเข้าเฝ้า พอพระเจ้าวิเทหราชเสด็จออกทรงตรัสถามเสนกะทีเดียว
“ว่าอย่างไรท่านอาจารย์ ปัญหานั้นไปนั่งคิดนอนคิดมาดีแล้วหรือยัง”
“ขอเดชะ คิดได้แล้วพระเจ้าค่ะ” และยังแถมท้ายต่อไปอีกว่า
“คนอย่างเสนกะคิดไม่ได้แล้ว อย่ามีคนอื่นคิดได้เลยพระเจ้าค่ะ” พระเจ้าวิเทหราชทรงพระสรวลอย่างชอบพระทัย
“เอ้า ท่านอาจารย์ลองแก้มาฟังดู” เสนะกะก็เลยกล่าวคาถาที่มโหสถบอกให้ ทั้ง ๆ ที่ตนไม่รู้อะไรกันแน่ว่า
“เนื้อแพะเป็นที่ชอบใจของพลเมือง แต่เนื้อสุนัขหามีคนประสงค์ไม่ ครั้งนี้แพะกับสุนัขจึงเป็นเพื่อนกันได้” เพียงเท่านี้พระเจ้าวิเทหราชก็ดำริว่า
"เออ ท่านอาจารย์เสนกะก็รู้” แล้วตรัสถามปุกกุสะต่อไปเขาก็ทูลตอบอย่างที่ตนเองก็ไม่รู้เหมือนกันว่า
“ธรรมดาโลกเขาจะขี่ม้า ใช้หนังแพะเป็นเครื่องลาด แต่ไม่มีใครใช้หนังสุนัขปูลาดเลย ครั้งนี้สุนัขกับแพะก็เป็นสหายกันได้” พระเจ้าวิเทหราชก็ทรงดำริเช่นนั้นอีก แล้วตรัสถามกามินทร์ต่อไป ท่านกามินทร์ก็ท่องคาถาอย่างนกแก้วนกขนทองออกมาว่า
“แพะมีเขาโค้งงอ แต่หมาไม่มีเขา ทั้งหมาและแพะจึงเป็นสหายกันได้” จึงตรัสถามเทวินทร์ต่อไป เทวินทร์ก็ร่ายโศลกอย่างอาจารย์ทั้ง 3 ท่านร่ายมาว่า
“แพะกินหญ้า กินใบไม้ สุนัขไม่กินหญ้า และไม่กินใบไม้ แต่จับกระต่ายหรือแมวกิน ประหลาดแพะกับสุนัขก็เป็นเพื่อนกันได้” เอ้ะ? ท่านนักปราชญ์ทั้ง 4 นี่สำมะคัญ” ทรงนึกในพระทัยลองถามมโหสถดูทีจะได้หรือมิได้ประการใด
“ยังไงพ่อมโหสถ พ่อจะแก้ปัญหาว่าอย่างไร”
“ขอเดชะ ปริศนานี้ข้าพระองค์แก้ดังนี้ แพะมี 4 เท้า และสุนัขก็มี 4 เท้า ทั้งสองแม้จะมีอาหารต่างกัน คือแพะกินหญ้า สุนัขกินปลาและเนื้อ แต่สัตว์ทั้งสองต่างนำอาหารก็นำอาหารมาฝากกันและกัน เพราะฉะนั้นมิตรธรรมจึงบังเกิดแก่สัตว์ทั้งสอง” ทรงพระสรวลลั้น

เออ เก่ง ๆ ยังงั้นสิ นักปราชญ์ในราชสำนักวิเทหราชมันต้องอย่างงี้สิ เอ้า เจ้าพนักงานเบิกเงินมารางวัลให้ท่านนักปราชญ์ทั้ง 5 สักคนละ 10 ชั่ง” ก็เป็นอันว่าทุกคนรอดพ้นจากการต้องถูกขับออกจากพระราชนิเวช และยังแถมได้เงินรางวัลเสียอีกด้วย

ธรรมดางูพิษ แม้ใครจะทำคุณสักเพียงไรก็ไม่รู้จักคุณอยู่เพียงนี้ นักปราชญ์ทั้ง 4 ท่านคือเสนกะ ปุกกุสะ กามินทร์ และเทวินทร์ ก็เช่นเดียวกับงูพิษ แล้วเจ้ามโหสถจะช่วยให้รอดพ้นเช่นนี้ก็ยังหาคิดถึงคุณไม่ กลับหมายมั่นปั้นมือจะเล่นงานเจ้ามโหสถให้ได้

นี่แหละที่โบราณเขาว่า ความรู้ท่วมหัวแต่เอาตัวไม่รอดอยากให้คนอื่นเดือดร้อน นั่นแหละเป็นความพอใจของท่านเหล่านั้น
“ไม่มีก็แล้วกัน ถ้ามีโอกาสเมื่อไรมึงหัวหลุด” เจ้ามโหสถไม่ได้เฉลียวใจถึงเหตุร้ายเหล่านี้เลย เพราะฉะนั้นจึงตกเป็นเครื่องเหยื่อของนักปราชญ์อธรรมเหล่านั้น ซึ่งก็ขอยืมมือคนอื่นเล่นงานเจ้ามโหสถแทบตายไปเลยทีเดียว ดูกันต่อไป


เมื่อพระเจ้าวิเทหราชเสด็จเข้าข้างใน ได้ตรัสเรื่องนี้ให้พระนางอุทุมพรทราบ พระนางจึงทูลถามว่า
“ใครแก้ปัญหาของพระองค์ ?”
“นักปราชญ์ทั้ง 5 แก้”
“นักปราชญ์ทั้ง 4 คนไม่รู้อะไรเลย มาถามเจ้ามโหสถจึงทราบความเอาไปกราบทูลพระองค์ได้”
“เราก็พลั้งให้ของรางวัลไปแล้ว”
“ไม่เป็นธรรมพระเจ้าพี่”
“งั้นจะทำอย่างไร ?”
“งั้นก็พระราชทานเพิ่มเติม ให้เจ้ามโหสถมากกว่านักปราชญ์เหล่านั้น”
พระเจ้าวิเทหราชก็คิดพระราชทานเพิ่มเติม เเต่จะให้เฉย ๆ ก็น่าเกลียด จึงตั้งปัญหาให้นักปราชญ์ทั้ง 5 ตอบเพราะทราบดีแล้วว่าใครเป็นผู้มีปัญญากว่าใคร ปัญหานั้นมีอยู่ว่า

คนมีปัญญาแต่ไร้ทรัพย์ดี หรือคนมีบริโภคทรัพย์แต่ไร้ปัญญาดีกว่า ทรงตรัสถามตั้งแต่เสนกะเป็นลำดับไป
เสนกะทูลตอบว่า “ขอเดชะ คนมีปัญญาแม้จะล้นฟ้าแต่หาอาจสู้คนมีทรัพย์ไม่ได้ เพราะไม่ต้องดูอื่นไกลเศรษฐีจะมีปัญญาสู้ที่ปรึกษาไม่ได้ แต่คนมีปัญญาจะต้องเข้าไปรับใช้เป็นคู่ปรึกษา ฉะนั้นจึงเห็นว่าทรัพย์ดีกว่าปัญญา”

แต่เมื่อเสนกะทูลตอบแล้ว ถามข้ามลำดับไปถึงมโหสถเลยว่า
“พ่อมโหสถเล่า พ่อเห็นว่าอย่างไร ทรัพย์ดีหรือปัญญาดี" มโหสถทูลตอบว่า “ขอเดชะ ข้าพระองค์เห็นว่าทรัพย์สู้ปัญญาไม่ได้ เพราะคนไร้ปัญญาปรารถนาทรัพย์ก็อาจทำความชั่วต่าง ๆ ฉะนั้นจึงเห็นว่าปัญญาดีกว่าทรัพย์”

เสนกะหัวเราะเยาะเย้ย พลางทูลบ้างว่า
“มโหสถไม่รู้อะไร เพราะยังเด็กเกินไปจะพูดง่าย ๆ ว่าปากยังไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม เธอเห็นโควินทเศรษฐีไหม เศรษฐีคนนี้รวยแต่ทรัพย์อย่างเดียว แถมเวลาจะพูดน้ำลายยังไหลออกมาจากมุมปาก ต้องเอาดอกบัวเขียวมารองรับน้ำลายแล้วโยนทิ้งไป พวกนักเลงพากันเก็บมาล้างน้ำ แล้วเอาประดับตัวและแถมมีคนรับใช้ใกล้ชิดมากมายนั้น จึงเห็นว่าทรัพย์ดีกว่าปัญญาแน่นอน เพราะคนมีปัญญายังต้องเข้าไปเป็นข้าช่วงใช้ของเศรษฐีนั้น”


พระเจ้าวิเทหราชเมื่อได้ทรงสดับก็คิดสนุก จึงตรัสกับมโหสถว่า
“ว่าไงพ่อมโหสถ อาจารย์เสนกะอ้างเหตุผลอย่างนี้ พ่อจะคัดค้านอย่างไร”
ข้าแต่สมมุติเทพ ท่านอาจารย์เสนกะจะรู้อะไร เห็นแก่ยศอย่างเดียว ไม่รู้ค้อนบนหัวจะลงเมื่อไหร่ เสมือนกาอยู่ที่เขาจะเมตตาเทเศษอาหารให้ เพ่งเฉพาะแต่จะกินเท่านั้น หรือมิฉะนั้นก็เป็นเสมือนหมาจิ้งจอกที่คิดจะดื่มนมท่าเดียว ธรรมดาคนมีปัญญาน้อย ได้รับความสุขเข้าแล้วก็มักจะประมาทพบทุกข์บ้างพบสุขบ้างก็หวั่นไหวไปตามนั้น เหมือนปลาที่เขาโยนขึ้นบนบกย่อมดิ้นรนกระเสือกกระสนไป ข้าพระองค์ขอยืนยันว่าปัญญานั้นแหละดีกว่าคนเขลาที่มีแต่ยศ”
“ว่าไงท่านอาจารย์จะแก้ตัวอย่างไร”
“ขอเดชะ เจ้ามโหสถเด็กเมื่อวานซืนจะรู้อะไร ลองคิดดูนกในป่าตั้งร้อยตั้งพัน ยังต้องมาที่ต้นไม้ที่อุดมไปด้วยผล นี้ก็เช่นเดียวกัน คนมีทรัพย์ใคร ๆ ก็พินอบพิเทาด้วยทรัพย์ของเขา จึงเห็นว่าารัพย์ดีกว่าปัญญา”
“ขอเดชะ หน้าท่านอาจารย์ดูจะมีสีโลหิตแจ่มใสดีเหลือเกิน เพราะอะไร ท่านอาจารย์ก็ต้องคิดเรื่องเงินก่อน” “คนสมบูรณ์พูนสุขมันต้องเป็นอย่างนั้น มโหสถลองคิดดู แม่น้ำทั้งหลายไหลไปที่ใด ทั้งหมดก็ย่อมจะไหลลงไปสู่มหาสมุทร เหมือนคนมีปัญญาไปถึงคนมีทรัพย์ก็ต้องหมอบราบคาบแก้วให้คนมีทรัพย์”
“ท่านอาจารย์อย่าเพิ่งตีขลุมเอาง่าย ๆ แม่น้ำไหลไปสู่มหาสมุทร แต่ขอถามสักหน่อยเถิดว่ามหาสมุทรแม้จะมีคลื่นสักเท่าไหร่ ๆ ก็ไม่สามารถจะชนะฝั่งไปได้ คนมีปัญญาเช่นเดียวกับฝั่งนั้นเพราะเที่ยงธรรมยั่งยืน เสมอต้นเสมอปลายอยู่เช่นนั้นพราะเช่นนั้นคนมีทรัพย์จึงดีกว่าปัญญาเป็นไปไม่ได้”
“ท่านอาจารย์จะแก้อย่างไร ?”
“ขอเดชะ มโหสถเด็กรุ่นคะนองก็เห็นต่าง ๆ ตามอารมณ์ของคนหนุ่ม โดยไม่ใคร่ครวญให้ถ่องแท้แน่นอน ทิ้งคำโบราณที่ว่าเดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัดเสียสิ้น จึงเห็นว่ามโหสถจะเป็นคนดีต่อไปไม่ได้ เรื่องทรัพย์กับปัญญานี้ข้าพองค์จะเปรียบให้ฟัง ข้าพระองค์นักปราชญ์ทั้ง 5 รวมทั้งมโหสถจัดว่าเป็นนักปราชญ์เป็นคนมากปัญญา แต่ยังต้องอาศัยพระองค์เลี้ยงชีพอยู่ ต้องมาเป็นข้าราชบริพารของพระองค์จึงเห็นได้ชัดว่าทรัพย์นั้นย่อมดีกว่าปัญญาอย่างแน่แท้พระเจ้าค่ะ ทีนี้มโหสถแก้ได้ข้าพระองค์ยอมแพ้”
“ท่านอาจารย์ ไม่มีทางจะเอาชนะข้าพเจ้าได้หรอก เพราะถึงอย่างไรผู้มีปัญญาก็ต้องดีกว่าผู้มีทรัพย์ เพราะผู้มีปัญญาไม่สร้างความเดือดร้อนให้ตนและคนอื่น คนเขลาเท่านั้นชอบสร้างความชั่วเพื่อตนเองและผู้อื่น ไม่ต้องดูอื่นไกล การปฎิบัติราชกิจหากไม่มีปัญญาก็ปฎิบัติงานผิด ๆ พลาด ๆ และยังแถมโลภทรัพย์ ก็อาจฉ้อราษฎร์บังหลวงได้ทุกประการ นี่แหละจึงเห็นว่าผู้มีปัญญาดีกว่าคนมีทรัพย์แต่เป็นคนเขลา”
“พระเจ้าวิเทหราชทรงพระสรวลด้วยความชอบพระทัย นักปราชญ์ทั้ง 4 ต่างเงียบไปตาม ๆกัน จึงพระราชทานทรัพย์ให้มโหสถเป็นอันมาก ลาภไหลมาเทมาที่มโหสถยังกับน้ำไหลจากกระบอก นักปราชญ์ทั้ง 4 ท่านก็เหมือนถ่านไฟจะดับมิดับแหล่


เมื่อออกจากเฝ้าแล้ว แทนที่มโหสถจะกลับบ้านไปนอนคิดปัญหา ก็เลยเข้าไปเฝ้าพระนางอุทุมพรแล้วทูลถามว่า
“ขอเดชะ เมื่อวานหรือวันนี้ พระราชาเสด็จประทับที่ใดนานมาก” พระนางอุทุมพรทรงนิ่งนึกอยู่ครู่หนึ่ง จึงตรัสตอบ
“เมื่อวานนี้พระเจ้าพี่ประทับอยู่หน้ามุขเป็นเวลานานพอสมควรทีเดียว และได้ยินทรงพระสรวลเบา ๆ เสียด้วย”
มโหสถจึงได้ไปที่หน้ามุข ดูไปทางโน้นทางนี้ก็พอดีพบเจ้าแพะกับสุนัขกำลังกินอาหารของตนอยู่บนที่เดียวกัน พอเห็นก็ทำให้ตีปัญหาออกทีเดียว จึงได้ทูลลาพระนางอุทุมพรกลับบ้าน

ส่วนบัณฑิตทั้ง 4 นั้นคิดอะไรไม่ออกเลย เสนกะไปถามทั้ง 3 ท่านต่างก็บอกว่าคิดอะไรไม่ออก ไมรู้ว่าจะแก้ปริศนาของพระราชาได้อย่างไร เสนกะจึงกล่าวชวน
“งั้นไปดูลาดเลามโหสถดูทีหรือ เขาเป็นคนฉลาดอาจจะคิดได้”

 แล้วก็พากันไปบ้านมโหสถ เมื่อมโหสถได้เห็นก็รู้ว่านักปราชญ์ทั้ง 4 มาเพราะปริศนานั้น แต่แกล้งทำเป็นไม่รู้ แสดงอาการดีอกดีใจต้อนรับนักปราชญ์ทั้ง 4 อย่างดี และไม่ถามอะไรทั้งหมด เสนกะเมื่อเห็นว่ามโหสถไม่ถามก็อดไม่ได้ เลยถามออกมาตรง ๆ ว่า
“มโหสถ ที่พวกเรามาหาท่านก็เพราะปริศนาของพระเจ้าอยู่หัวนั้นแหละ พวกเราคิดกันแล้วแต่ไม่อาจจะตีความหมายของปัญหานั้นได้ ท่านล่ะพอจะคิดได้บ้างไหม?”

มโหสถยิ้มพลางพูดเรื่อย ๆ
“ท่านอาจารรย์ ปัญหาชนิดนี้เป็นเรื่องง่ายเสียเหลือเกินข้าพเจ้าคิดว่าท่านอาจารย์คิดได้แล้วเสียอีก ข้าพเจ้าน่ะคิดเห็นได้ตั้งแต่ออกจากเฝ้าออกจากที่เฝ้ามาแล้ว”
“เมื่อท่านทราบ ก็ควรจะบอกให้พวกเราได้ทราบไว้บ้าง” มโหสถคิดว่า “ถ้าเราไม่บอก พวกนี้ก็จะต้องถูกขับจากแว่นแคว้น เสื่อมจากลาภยศ เราเองแม้จะเจริญด้วยชื่อเสียงลาภยศก็ปรากฎไปได้ไม่กี่วันเชียว อีกอย่างนักปราชญ์เหล่านี้ไม่มี คุณค่าปัญญาของเราก็คงไม่ปรากฎ เพราะฉะนั้นนคนเหล่านี้ยังไม่ควรที่จะต้องถูกขับไล่ ควรอยู่ร่วมรับราชการด้วยกันไปก่อน”

จึงพูดตอบว่า
“ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าไม่รังเกียจเลยในการที่จะบอกแต่ข้าพเจ้าจะบอกทีละคนเท่านั้น”
“ก็ได้ แล้วแต่ท่านเถิด” มโหสถจึงให้นักปราชญ์เหล่านั้นเรียนคาถากันคนละบทแล้วจึงกลับไป
รุ่งขึ้นในการเข้าเฝ้า พอพระเจ้าวิเทหราชเสด็จออกทรงตรัสถามเสนกะทีเดียว
“ว่าอย่างไรท่านอาจารย์ ปัญหานั้นไปนั่งคิดนอนคิดมาดีแล้วหรือยัง”
“ขอเดชะ คิดได้แล้วพระเจ้าค่ะ” และยังแถมท้ายต่อไปอีกว่า
“คนอย่างเสนกะคิดไม่ได้แล้ว อย่ามีคนอื่นคิดได้เลยพระเจ้าค่ะ” พระเจ้าวิเทหราชทรงพระสรวลอย่างชอบพระทัย
“เอ้า ท่านอาจารย์ลองแก้มาฟังดู” เสนะกะก็เลยกล่าวคาถาที่มโหสถบอกให้ ทั้ง ๆ ที่ตนไม่รู้อะไรกันแน่ว่า
“เนื้อแพะเป็นที่ชอบใจของพลเมือง แต่เนื้อสุนัขหามีคนประสงค์ไม่ ครั้งนี้แพะกับสุนัขจึงเป็นเพื่อนกันได้” เพียงเท่านี้พระเจ้าวิเทหราชก็ดำริว่า
"เออ ท่านอาจารย์เสนกะก็รู้” แล้วตรัสถามปุกกุสะต่อไปเขาก็ทูลตอบอย่างที่ตนเองก็ไม่รู้เหมือนกันว่า
“ธรรมดาโลกเขาจะขี่ม้า ใช้หนังแพะเป็นเครื่องลาด แต่ไม่มีใครใช้หนังสุนัขปูลาดเลย ครั้งนี้สุนัขกับแพะก็เป็นสหายกันได้” พระเจ้าวิเทหราชก็ทรงดำริเช่นนั้นอีก แล้วตรัสถามกามินทร์ต่อไป ท่านกามินทร์ก็ท่องคาถาอย่างนกแก้วนกขนทองออกมาว่า
“แพะมีเขาโค้งงอ แต่หมาไม่มีเขา ทั้งหมาและแพะจึงเป็นสหายกันได้” จึงตรัสถามเทวินทร์ต่อไป เทวินทร์ก็ร่ายโศลกอย่างอาจารย์ทั้ง 3 ท่านร่ายมาว่า
“แพะกินหญ้า กินใบไม้ สุนัขไม่กินหญ้า และไม่กินใบไม้ แต่จับกระต่ายหรือแมวกิน ประหลาดแพะกับสุนัขก็เป็นเพื่อนกันได้” เอ้ะ? ท่านนักปราชญ์ทั้ง 4 นี่สำมะคัญ” ทรงนึกในพระทัยลองถามมโหสถดูทีจะได้หรือมิได้ประการใด
“ยังไงพ่อมโหสถ พ่อจะแก้ปัญหาว่าอย่างไร”
“ขอเดชะ ปริศนานี้ข้าพระองค์แก้ดังนี้ แพะมี 4 เท้า และสุนัขก็มี 4 เท้า ทั้งสองแม้จะมีอาหารต่างกัน คือแพะกินหญ้า สุนัขกินปลาและเนื้อ แต่สัตว์ทั้งสองต่างนำอาหารก็นำอาหารมาฝากกันและกัน เพราะฉะนั้นมิตรธรรมจึงบังเกิดแก่สัตว์ทั้งสอง” ทรงพระสรวลลั้น

เออ เก่ง ๆ ยังงั้นสิ นักปราชญ์ในราชสำนักวิเทหราชมันต้องอย่างงี้สิ เอ้า เจ้าพนักงานเบิกเงินมารางวัลให้ท่านนักปราชญ์ทั้ง 5 สักคนละ 10 ชั่ง” ก็เป็นอันว่าทุกคนรอดพ้นจากการต้องถูกขับออกจากพระราชนิเวช และยังแถมได้เงินรางวัลเสียอีกด้วย

ธรรมดางูพิษ แม้ใครจะทำคุณสักเพียงไรก็ไม่รู้จักคุณอยู่เพียงนี้ นักปราชญ์ทั้ง 4 ท่านคือเสนกะ ปุกกุสะ กามินทร์ และเทวินทร์ ก็เช่นเดียวกับงูพิษ แล้วเจ้ามโหสถจะช่วยให้รอดพ้นเช่นนี้ก็ยังหาคิดถึงคุณไม่ กลับหมายมั่นปั้นมือจะเล่นงานเจ้ามโหสถให้ได้

นี่แหละที่โบราณเขาว่า ความรู้ท่วมหัวแต่เอาตัวไม่รอดอยากให้คนอื่นเดือดร้อน นั่นแหละเป็นความพอใจของท่านเหล่านั้น
“ไม่มีก็แล้วกัน ถ้ามีโอกาสเมื่อไรมึงหัวหลุด” เจ้ามโหสถไม่ได้เฉลียวใจถึงเหตุร้ายเหล่านี้เลย เพราะฉะนั้นจึงตกเป็นเครื่องเหยื่อของนักปราชญ์อธรรมเหล่านั้น ซึ่งก็ขอยืมมือคนอื่นเล่นงานเจ้ามโหสถแทบตายไปเลยทีเดียว ดูกันต่อไป

 
เมื่อพระเจ้าวิเทหราชเสด็จเข้าข้างใน ได้ตรัสเรื่องนี้ให้พระนางอุทุมพรทราบ พระนางจึงทูลถามว่า
“ใครแก้ปัญหาของพระองค์ ?”
“นักปราชญ์ทั้ง 5 แก้”
“นักปราชญ์ทั้ง 4 คนไม่รู้อะไรเลย มาถามเจ้ามโหสถจึงทราบความเอาไปกราบทูลพระองค์ได้”
“เราก็พลั้งให้ของรางวัลไปแล้ว”
“ไม่เป็นธรรมพระเจ้าพี่”
“งั้นจะทำอย่างไร ?”
“งั้นก็พระราชทานเพิ่มเติม ให้เจ้ามโหสถมากกว่านักปราชญ์เหล่านั้น”
พระเจ้าวิเทหราชก็คิดพระราชทานเพิ่มเติม เเต่จะให้เฉย ๆ ก็น่าเกลียด จึงตั้งปัญหาให้นักปราชญ์ทั้ง 5 ตอบเพราะทราบดีแล้วว่าใครเป็นผู้มีปัญญากว่าใคร ปัญหานั้นมีอยู่ว่า

คนมีปัญญาแต่ไร้ทรัพย์ดี หรือคนมีบริโภคทรัพย์แต่ไร้ปัญญาดีกว่า ทรงตรัสถามตั้งแต่เสนกะเป็นลำดับไป
เสนกะทูลตอบว่า “ขอเดชะ คนมีปัญญาแม้จะล้นฟ้าแต่หาอาจสู้คนมีทรัพย์ไม่ได้ เพราะไม่ต้องดูอื่นไกลเศรษฐีจะมีปัญญาสู้ที่ปรึกษาไม่ได้ แต่คนมีปัญญาจะต้องเข้าไปรับใช้เป็นคู่ปรึกษา ฉะนั้นจึงเห็นว่าทรัพย์ดีกว่าปัญญา”

แต่เมื่อเสนกะทูลตอบแล้ว ถามข้ามลำดับไปถึงมโหสถเลยว่า
“พ่อมโหสถเล่า พ่อเห็นว่าอย่างไร ทรัพย์ดีหรือปัญญาดี" มโหสถทูลตอบว่า “ขอเดชะ ข้าพระองค์เห็นว่าทรัพย์สู้ปัญญาไม่ได้ เพราะคนไร้ปัญญาปรารถนาทรัพย์ก็อาจทำความชั่วต่าง ๆ ฉะนั้นจึงเห็นว่าปัญญาดีกว่าทรัพย์”

เสนกะหัวเราะเยาะเย้ย พลางทูลบ้างว่า
“มโหสถไม่รู้อะไร เพราะยังเด็กเกินไปจะพูดง่าย ๆ ว่าปากยังไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม เธอเห็นโควินทเศรษฐีไหม เศรษฐีคนนี้รวยแต่ทรัพย์อย่างเดียว แถมเวลาจะพูดน้ำลายยังไหลออกมาจากมุมปาก ต้องเอาดอกบัวเขียวมารองรับน้ำลายแล้วโยนทิ้งไป พวกนักเลงพากันเก็บมาล้างน้ำ แล้วเอาประดับตัวและแถมมีคนรับใช้ใกล้ชิดมากมายนั้น จึงเห็นว่าทรัพย์ดีกว่าปัญญาแน่นอน เพราะคนมีปัญญายังต้องเข้าไปเป็นข้าช่วงใช้ของเศรษฐีนั้น”

 พระเจ้าวิเทหราชเมื่อได้ทรงสดับก็คิดสนุก จึงตรัสกับมโหสถว่า
“ว่าไงพ่อมโหสถ อาจารย์เสนกะอ้างเหตุผลอย่างนี้ พ่อจะคัดค้านอย่างไร”
ข้าแต่สมมุติเทพ ท่านอาจารย์เสนกะจะรู้อะไร เห็นแก่ยศอย่างเดียว ไม่รู้ค้อนบนหัวจะลงเมื่อไหร่ เสมือนกาอยู่ที่เขาจะเมตตาเทเศษอาหารให้ เพ่งเฉพาะแต่จะกินเท่านั้น หรือมิฉะนั้นก็เป็นเสมือนหมาจิ้งจอกที่คิดจะดื่มนมท่าเดียว ธรรมดาคนมีปัญญาน้อย ได้รับความสุขเข้าแล้วก็มักจะประมาทพบทุกข์บ้างพบสุขบ้างก็หวั่นไหวไปตามนั้น เหมือนปลาที่เขาโยนขึ้นบนบกย่อมดิ้นรนกระเสือกกระสนไป ข้าพระองค์ขอยืนยันว่าปัญญานั้นแหละดีกว่าคนเขลาที่มีแต่ยศ”
“ว่าไงท่านอาจารย์จะแก้ตัวอย่างไร”
“ขอเดชะ เจ้ามโหสถเด็กเมื่อวานซืนจะรู้อะไร ลองคิดดูนกในป่าตั้งร้อยตั้งพัน ยังต้องมาที่ต้นไม้ที่อุดมไปด้วยผล นี้ก็เช่นเดียวกัน คนมีทรัพย์ใคร ๆ ก็พินอบพิเทาด้วยทรัพย์ของเขา จึงเห็นว่าารัพย์ดีกว่าปัญญา”
“ขอเดชะ หน้าท่านอาจารย์ดูจะมีสีโลหิตแจ่มใสดีเหลือเกิน เพราะอะไร ท่านอาจารย์ก็ต้องคิดเรื่องเงินก่อน” “คนสมบูรณ์พูนสุขมันต้องเป็นอย่างนั้น มโหสถลองคิดดู แม่น้ำทั้งหลายไหลไปที่ใด ทั้งหมดก็ย่อมจะไหลลงไปสู่มหาสมุทร เหมือนคนมีปัญญาไปถึงคนมีทรัพย์ก็ต้องหมอบราบคาบแก้วให้คนมีทรัพย์”
“ท่านอาจารย์อย่าเพิ่งตีขลุมเอาง่าย ๆ แม่น้ำไหลไปสู่มหาสมุทร แต่ขอถามสักหน่อยเถิดว่ามหาสมุทรแม้จะมีคลื่นสักเท่าไหร่ ๆ ก็ไม่สามารถจะชนะฝั่งไปได้ คนมีปัญญาเช่นเดียวกับฝั่งนั้นเพราะเที่ยงธรรมยั่งยืน เสมอต้นเสมอปลายอยู่เช่นนั้นพราะเช่นนั้นคนมีทรัพย์จึงดีกว่าปัญญาเป็นไปไม่ได้”
“ท่านอาจารย์จะแก้อย่างไร ?”
“ขอเดชะ มโหสถเด็กรุ่นคะนองก็เห็นต่าง ๆ ตามอารมณ์ของคนหนุ่ม โดยไม่ใคร่ครวญให้ถ่องแท้แน่นอน ทิ้งคำโบราณที่ว่าเดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัดเสียสิ้น จึงเห็นว่ามโหสถจะเป็นคนดีต่อไปไม่ได้ เรื่องทรัพย์กับปัญญานี้ข้าพองค์จะเปรียบให้ฟัง ข้าพระองค์นักปราชญ์ทั้ง 5 รวมทั้งมโหสถจัดว่าเป็นนักปราชญ์เป็นคนมากปัญญา แต่ยังต้องอาศัยพระองค์เลี้ยงชีพอยู่ ต้องมาเป็นข้าราชบริพารของพระองค์จึงเห็นได้ชัดว่าทรัพย์นั้นย่อมดีกว่าปัญญาอย่างแน่แท้พระเจ้าค่ะ ทีนี้มโหสถแก้ได้ข้าพระองค์ยอมแพ้”
“ท่านอาจารย์ ไม่มีทางจะเอาชนะข้าพเจ้าได้หรอก เพราะถึงอย่างไรผู้มีปัญญาก็ต้องดีกว่าผู้มีทรัพย์ เพราะผู้มีปัญญาไม่สร้างความเดือดร้อนให้ตนและคนอื่น คนเขลาเท่านั้นชอบสร้างความชั่วเพื่อตนเองและผู้อื่น ไม่ต้องดูอื่นไกล การปฎิบัติราชกิจหากไม่มีปัญญาก็ปฎิบัติงานผิด ๆ พลาด ๆ และยังแถมโลภทรัพย์ ก็อาจฉ้อราษฎร์บังหลวงได้ทุกประการ นี่แหละจึงเห็นว่าผู้มีปัญญาดีกว่าคนมีทรัพย์แต่เป็นคนเขลา”
“พระเจ้าวิเทหราชทรงพระสรวลด้วยความชอบพระทัย นักปราชญ์ทั้ง 4 ต่างเงียบไปตาม ๆกัน จึงพระราชทานทรัพย์ให้มโหสถเป็นอันมาก ลาภไหลมาเทมาที่มโหสถยังกับน้ำไหลจากกระบอก นักปราชญ์ทั้ง 4 ท่านก็เหมือนถ่านไฟจะดับมิดับแหล่

 

 

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: sawanbanna




พระเจ้าสิบชาติ

พระชาติที่ ๑ พระเตมีย์
พระชาติที่ ๒ พระมหาชนก
พระชาติที่ ๓ พระสุวรรณสาม
พระชาติที่ ๔ พระเนมีราช
พระชาติที่ ๕ พระมโหสถ ตอน ๑
พระชาติที่ ๕ พระมโหสถ ตอน ๒
พระชาติที่ ๕ พระมโหสถ ตอน ๓
พระชาติที่ ๕ พระมโหสถ ตอน ๕
พระชาติที่ ๕ พระมโหสถ ตอน ๖
พระชาติที่ ๖ พระภูริทัต
พระชาติที่ ๗ พระจันทรกุมาร
พระชาติที่ ๘ พระพรหมนารท
พระชาติที่ ๙ พระวิธูร
พระชาติที่ ๑๐ พระเวสสันดร ตอน ๑
พระชาติที่ ๑๐ พระเวสสันดร ตอน ๒