ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
ชมคลิปวีดีโอน่าสนใจ
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 12 คน
dot
dot

dot


ฟัง F.M. 103.25 MHz.
ชมทีวีช่องหลวงตา
ฟังวิทยุออนไลน์ วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน
ชมคลิปวีดีโอน่าสนใจ
เข้าชม face book วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน


๑๓. ปัญญาวรรค คือ หมวดปัญญา

 ๒๔๗. นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา.

           แสงสว่างเสมอด้วยปัญญา ไม่มี.

           สํ. ส. ๑๕/๙.


๒๔๘. ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต.

           ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก.

           สํ. ส. ๑๕/๖๑.

 

๒๔๙. โยคา เว ชายตี ภูริ.

          ปัญญาย่อมเกิดเพราะความประกอบ.

          ขุ. ธ. ๒๕/๕๒.


๒๕๐. อโยคา ภูริสงฺขโย.

         ความสิ้นปัญญาย่อมเกิดเพราะความไม่ประกอบ.

         ขุ. ธ. ๒๕/๕๒.


๒๕๑. สุโข ปญฺญาปฏิลาโภ.

          ความได้ปัญญา ให้เกิดสุข.

          ขุ. ธ. ๒๕/๕๙.

 

๒๕๒. ปญฺญา นรานํ รตนํ.

          ปัญญาเป็นรัตนะของนรชน.

          สํ. ส. ๑๕/๕๐.


๒๕๓. ปญฺญาว ธเนน เสยฺโย.

          ปัญญาเทียวประเสริฐกว่าทรัพย์.

          นัย- ม. ม. ๑๓/๔๑๓. นัย- ขุ. เถร. ๒๖/๓๗๙.


๒๕๔. นตฺถิ ฌานํ อปญฺญสฺส.

          ความพินิจไม่มีแก่คนไร้ปัญญา.

          ขุ. ธ. ๒๕/๖๕.

 

๒๕๖. ปญฺญา นตฺถิ อฌายโต.

         ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ.

         ขุ. ธ. ๒๕/๖๕.


๒๕๗. ปญฺญาย มคฺคํ อลโส น วินฺทติ.

          คนเกียจคร้านย่อมไม่พบทางด้วยปัญญา.

          ขุ. ธ. ๒๕/๕๒.


๒๕๘. สุสฺสูสํ ลภเต ปญฺญํ อปฺปมตฺโต วิจกฺขโณ.

          ผู้ไม่ประมาท พินิจพิจารณา ตั้งใจฟัง ย่อมได้ปัญญา.

          สํ. ส. ๑๕/๓๑๖. ขุ. สุ. ๒๕/๓๖๑.

 

๒๕๙. ปญฺญายตฺถํ วิสฺสติ.

         คนย่อมเห็นเนื้อความด้วยปัญญา.

         องฺ. สตฺตก. ๒๓/๓.


๒๖๐. ปญฺญาย ปริสุชฺฌติ.

         คนย่อมบริสุทธิ์ด้วยปัญญา.

         ขุ. สุ. ๒๕/๓๖๑.


๒๖๑. ปญฺญา หิ เสฏฺฐา กุสลา วทนฺติ.

         คนฉลาดกล่าวว่าปัญญาแล ประเสริฐสุด.

         ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๗/๕๔๑.

 

๒๖๒. ปญฺญาชิวีชีวิตมาหุ เสฏฺฐ.

        ปราชญ์กล่าวชีวิตของผู้เป็นอยู่ด้วยปัญญาว่า ประเสริฐสุด.

         สํ. ส. ๑๕/๕๘, ๓๑๕. ขุ. สุ. ๒๕/๓๖๐.


๒๖๓. เอโกว เสยฺโย ปุริโส สปญฺโญ โย ภาสิตสฺส วิชานาติ อตฺถิ.

        ผู้มีปัญญารู้เนื้อความแห่งภาษิตคนเดียวเท่านั้น ประเสริฐกว่า.

        ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๒.


๒๖๔. พหูนํ วต อตฺถาย สปฺปญฺโญ ฆรมาวสํ.

         ผู้มีปัญญาอยู่ครองเรือน เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่คนมาก.

         องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/๒๔๙.

 

 ๒๖๕. สากจฺฉาย ปญฺญา เวทิตพฺพา.

         ปัญญาพึงรู้ได้ด้วยการสนทนา.

         นัย. ขุ. อุ. ๒๕/๑๗๘.


๒๖๖. ตถตฺตานํ นิเวเสยฺย ยถา ภูริ ปวฑฺฒติ.

        ปัญญาย่อมเจริญด้วยประการใด ควรตั้งตนไว้ด้วยประการนั้น.

        ขุ. ธ. ๒๕/๕๒.


๒๖๗. ปญฺญํ นปฺปมชฺเชยฺย.

         ไม่ควรประมาทปัญญา.

         ม. อุป. ๑๔/๔๓๖.




พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑

๑. อัตตวรรค คือ หมวดตน
๒. อัปปมาทวรรค คือ หมวดไม่ประมาท article
๓. กัมมวรรค คือ หมวดกรรม article
๔. กิเลสวรรค คือ หมวดกิเลส
๕. โกธวรรค คือ หมวดโกรธ
๖. ขันติวรรค คือ หมวดอดทน
๗. จิตตวรรค คือ หมวดจิต
๘. ชยวรรค คือ หมวดชนะ
๙. ทานวรรค คือ หมวดทาน
๑๐. ทุกขวรรค คือ หมวดทุกข์
๑๑. ธัมมวรรค คือ หมวดธรรม
๑๒. ปกิณณกวรรค คือ หมวดเบ็ดเตล็ด
๑๔. ปมาทวรรค คือ หมวดประมาท
๑๕. บาปวรรค คือ หมวดบาป
๑๖. ปุคคลวรรค คือ หมวดบุคคล
๑๗. ปุญญวรรค คือ หมวดบุญ
๑๘. มัจจุวรรค คือ หมวดมฤตยู
๑๙. มิตตวรรค คือ หมวดมิตร
๒๐. ยาจนาวรรค คือ หมวดขอ
๒๑. ราชวรรค คือ หมวดพระราชา
๒๒. วาจาวรรค คือ หมวดวาจา
๒๓. วิริยวรรค คือ หมวดเพียร
๒๔. เวรวรรค คือ หมวดเวร
๒๕. สัจจวรรค คือ หมวดความสัตย์
๒๖. สติวรรค คือ หมวดสติ
๒๗. สัทธาวรรค คือ หมวดศรัทธา
๒๘. สันตุฏฐิวรรค คือ หมวดสันโดษ
๒๙. สมณวรรค คือ หมวดสมณะ
๓๐. สามัคคีวรรค คือ หมวดสามัคคี
๓๑. สีลวรรค คือ หมวดศีล
๓๒. สุขวรรค คือ หมวดสุข
๓๓. เสวนาวรรค คือ หมวดคบหา



[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (153904)

ดีมากคร้าฟ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ดีมากคร้าฟ (love_ball_007-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2012-11-07 11:01:46



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล