
๑๙. มิตตวรรค คือ หมวดมิตร ๓๗๔. สตฺโถ ปวสโต มิตฺตํ. หมู่เกวียน (หรือต่าง) เป็นมิตรของคนเดินทาง. สํ. ส. ๑๕/๕๐.
๓๗๕. มาตา มิตฺตํ สเก ฆเร. มารดาเป็นมิตรในเรือนของตน. สํ. ส. ๑๕/๕๐.
๓๗๖. สหาโย อตฺถชาตสฺส โหติ มิตฺตํ ปุนปฺปุนํ. สหาย เป็นมิตรของคนมีความต้องการเกิดขึ้นเนือง ๆ. สํ. ส. ๑๕/๕๑.
๓๗๗. สพฺพตฺถ ปูชิโต โหติ โย มิตฺตานํ น ทุพฺภติ. ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ย่อมมีผู้บูชาในที่ทั้งปวง. ขุ. ชา. นวก. ๒๗/๕๔.
๓๗๘. สพฺเพ อมิตฺเต ตรติ โย มิตฺตานํ น ทุพฺภติ. ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ย่อมผ่านพ้นศัตรูทั้งปวง. ขุ. ชา. นวก. ๒๗/๑๕๕.
๓๗๙. มิตฺตทุพฺโภ หิ ปาปโก. ผู้ประทุษร้ายมิตร เป็นคนเลวแท้. ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๙๗.
๓๘๐. ปาปมิตฺโต ปาปสโข ปาปอาจารโคจโร. มีมิตรเลวมีเพื่อนเลว ย่อมมีมรรยาทและที่เที่ยวเลว.
๓๘๑. ภริยา ปรมา สขา. ภริยาเป็นเพื่อนสนิท. สํ. ส. ๑๕/๕๑.
๓๘๒. นตฺถิ พาเล สหายตา. ความเป็นสหาย ไม่มีในคนพาล. วิ. มหา. ๕/๓๓๖. ม. อุ. ๑๔/๒๙๗. ขุ. ธ. ๒๕/๒๓, ๕๙.
๓๘๓. อตฺถมฺหิ ชาตมฺหิ สุขา สหายา. เมื่อความต้องการเกิดขึ้น สหายเป็นผู้นำสุขมาให้. ขุ. ธ. ๒๕/๕๙.
๓๘๔. สเจ ลเภถ นิปกํ สหายํ จเรยฺย เตนตฺตมโน สติมา. ถ้าได้สหายผู้รอบคอบ พึงพอใจมีสติเที่ยวไปกับเขา. วิ. มหา. ๕/๓๓๖. ม. อุป. ๑๔/๒๙๗.
๓๘๕. โน เจ ลเภถ นิปกํ สหายํ เอโก จเร น จ ปาปานิ กริยา. ถ้าไม่ได้สหายผู้รอบคอบ พึงเที่ยวไปคนเดียวและไม่พึงทำความชั่ว. วิ. มหา. ๕/๓๓๖. ม. อุป. ๑๔/๒๙๗. |