ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
ชมคลิปวีดีโอน่าสนใจ
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 19 คน
dot
dot

dot


ฟัง F.M. 103.25 MHz.
ชมทีวีช่องหลวงตา
ฟังวิทยุออนไลน์ วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน
ชมคลิปวีดีโอน่าสนใจ
เข้าชม face book วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน


๓. กัมมวรรค คือ หมวดกรรม article

๓๘. กมฺมํ สตฺเต วิภชติ ยทิทํ หีนปฺปณีตตาย.

        กรรมย่อมจำแนกสัตว์ คือให้ทรามและประณีต.

        ม. อุป. ๑๔/๓๘๕.

 

๓๙. ยงฺกิญฺจิ สิถิลํ กมฺมํ น ตํ โหติ มหปฺผลํ.

        การงานอะไร ๆ ที่ย่อหย่อน ย่อมไม่มีผลมาก.

        นัย-สํ. ส. ๑๕/๖๘.

 

๔๐. สานิ กมฺมานิ นยนฺติ ทุคฺคตึ.

        กรรมชั่วของตนเอง ย่อมนำไปสู่ทุคติ.

        ขุ. ธ. ๒๕/๔๗.

 

 ๔๑. สุกรํ สาธุนา สาธุ.

        ความดี อันคนดีทำง่าย.

         วิ. จุล. ๗/๑๙๕. ขุ. อุ. ๒๕/๑๖๗.

 

๔๒. สาธุ ปาเปน ทุกฺกรํ.

        ความดี อันคนชั่วทำยาก.

         วิ. จุล. ๗/๑๙๕. ขุ. อุ. ๒๕/๑๖๗.

 

๔๓. อกตํ ทุกฺกฏํ เสยฺโย.

       ความชั่ว ไม่ทำเสียเลยดีกว่า.

       สํ. ส. ๑๕/๖๘. ขุ. ธ. ๒๕/๕๖.

 

๔๔. ปจฺฉา ตปฺปติ ทุกฺกฏํ.

         ความชั่วย่อมเผาผลาญในภายหลัง.

         สํ. ส. ๑๕/๖๘. ขุ. ธ. ๒๕/๕๖.

 

๔๕. กตญฺจ สุกตํ เสยฺโย.

        ความดี ทำนั่นแล ดีกว่า.

        สํ. ส. ๑๕/๖๘. ขุ. ธ. ๒๕/๕๖.

 

 

 ๔๖. น ตํ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา อนุตปฺปติ.

         ทำกรรมใดแล้วร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำแล้วนั้นไม่ดี.

          สํ. ส. ๑๕/๘๑. ขุ. ธ. ๒๕/๒๓.

 

๔๗. ตญฺจ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา นานุตปฺปติ.

        ทำกรรมใดแล้วไม่ร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำแล้วนั้นแลเป็นดี.

         สํ. ส. ๑๕/๘๑. ขุ. ธ. ๒๕/๒๓.

 

๔๘. สุกรานิ อสาธูนิ อตฺตโน อหิตานิ จ.

        การที่ไม่ดีและไม่เป็นประโยชน์แก่ตน ทำได้ง่าย.

        ขุ. ธ. ๒๕/๓๗.

 

 

 ๔๙. ยํ เว หิตญฺจ สาธุญฺจ ตํ เว ปรมทุกฺกรํ.

         การใดแลเป็นประโยชน์ด้วย ดีด้วย การนั้นแลทำได้ยากยิ่ง.

         ขุ. ธ. ๒๕/๓๗.

 

๕๐. น หิ ตํ สุลภํ โหติ สุขํ ทุกฺกฏการินา.

        สุขไม่เป็นผลอันคนทำชั่วจะได้ง่ายเลย.

        สํ. ส. ๑๕/๑๐๔.

 

๕๑. กลฺยาณการี กลฺยาณํ. ปาปการี จ ปาปกํ.

       ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว.

        สํ. ส. ๑๕/๓๓๓. ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๘๔.

 

๕๒. กมฺมุนา วตฺตตี โลโก.

        สัตวโลกย่อมเป็นไปตามกรรม.

        ม. ม. ๑๓/๖๔๘. ขุ. สุ. ๒๕/๔๕๗.

 

๕๓. นิสมฺม กรณํ เสยฺโย.

        ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ ดีกว่า.

         ว. ว.

 

๕๔. กตสฺส นตฺถิ ปฏิการํ.

        สิ่งที่ทำแล้ว ทำคืนไม่ได้.

        ส. ส.

 

๕๕. ปฏิกจฺเจว ตํ กยิรา ยํ ชญฺญา หิตมตฺตโน.

         รู้ว่าการใดเป็นประโยชน์แก่ตน พึงรีบทำการนั้นเทียว.

         สํ. ส. ๑๕/๘๑.

 

๕๖. กยิรา เจ กยิราเถนํ.

        ถ้าจะทำ ก็พึงทำการนั้น (จริง ๆ).

        สํ. ส. ๑๕/๖๗. ขุ. ธ. ๒๕๑๕๖.


 

๕๗. กเรยฺย วากฺยํ อนุกมฺปกานํ.

        ควรทำตามถ้อยคำของผู้เอ็นดู.

         ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๗๒.


๕๘. กาลานุรูปํว ธุรํ นิยุญฺเช.

        พึงประกอบธุระให้เหมาะแก่กาลเทียว.

        ว. ว.

 

๕๙. รกฺเขยฺย อตฺตโน สาธุํ ลวณํ โลณตํ ยถา.

        พึงรักษาความดีของตนไว้ ดังเกลือรักษาความเค็ม.

        ส. ส.

 

๖๐. กิจฺจานุกุพฺพสฺส กเรยฺย กิจฺจํ.

       พึงทำกิจแก่ผู้ช่วยทำกิจ.

       ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๘๔.

 

๖๑. นานตฺถกามสฺส กเรยฺย อตฺถํ.

       ไม่พึงทำประโยชน์แก่ผู้มุ่งความพินาศ.

        ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๘๔.

 

๖๒. มา จ สาวชฺชมาคมา.

       อย่ามาถึงกรรมอันมีโทษเลย.

       ส. ฉ.

 



พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑

๑. อัตตวรรค คือ หมวดตน
๒. อัปปมาทวรรค คือ หมวดไม่ประมาท article
๔. กิเลสวรรค คือ หมวดกิเลส
๕. โกธวรรค คือ หมวดโกรธ
๖. ขันติวรรค คือ หมวดอดทน
๗. จิตตวรรค คือ หมวดจิต
๘. ชยวรรค คือ หมวดชนะ
๙. ทานวรรค คือ หมวดทาน
๑๐. ทุกขวรรค คือ หมวดทุกข์
๑๑. ธัมมวรรค คือ หมวดธรรม
๑๒. ปกิณณกวรรค คือ หมวดเบ็ดเตล็ด
๑๓. ปัญญาวรรค คือ หมวดปัญญา
๑๔. ปมาทวรรค คือ หมวดประมาท
๑๕. บาปวรรค คือ หมวดบาป
๑๖. ปุคคลวรรค คือ หมวดบุคคล
๑๗. ปุญญวรรค คือ หมวดบุญ
๑๘. มัจจุวรรค คือ หมวดมฤตยู
๑๙. มิตตวรรค คือ หมวดมิตร
๒๐. ยาจนาวรรค คือ หมวดขอ
๒๑. ราชวรรค คือ หมวดพระราชา
๒๒. วาจาวรรค คือ หมวดวาจา
๒๓. วิริยวรรค คือ หมวดเพียร
๒๔. เวรวรรค คือ หมวดเวร
๒๕. สัจจวรรค คือ หมวดความสัตย์
๒๖. สติวรรค คือ หมวดสติ
๒๗. สัทธาวรรค คือ หมวดศรัทธา
๒๘. สันตุฏฐิวรรค คือ หมวดสันโดษ
๒๙. สมณวรรค คือ หมวดสมณะ
๓๐. สามัคคีวรรค คือ หมวดสามัคคี
๓๑. สีลวรรค คือ หมวดศีล
๓๒. สุขวรรค คือ หมวดสุข
๓๓. เสวนาวรรค คือ หมวดคบหา



แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล