
๓๒. สุขวรรค คือ หมวดสุข ๔๖๗. สพฺพตฺถ ทุกฺขสฺส สุขํ ปหานํ. ละเหตุทุกข์ได้ เป็นสุขในที่ทั้งปวง. ขุ. ธ. ๒๕/๕๙.
๔๖๘. อพฺยาปชฺฌํ สุขํ โลเก. ความไม่เบียดเบียน เป็นสุขในโลก. วิ. มหา. ๔/๖. ขุ. อุ. ๒๕/๘๖.
๔๖๙. เตสํ วูปสโม สุโข. ความสงบระงับแห่งสังขารนั้น เป็นสุข. สํ. ส. ๑๕/๘. ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๑.
๔๗๐. นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ. ความสุข (อื่น) ยิ่งกว่าความสงบ ไม่มี. ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.
๔๗๑. นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ. นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง. ม. ม. ๑๓/๒๘๑. ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.
๔๗๒. สุโข พุทฺธานํ อุปฺปาโท. ความเกิดขึ้นแห่งท่านผู้รู้ทั้งหลาย นำสุขมาให้. ขุ. ธ. ๒๕/๔๑.
๔๗๓. สุขา สทฺธมฺมเทสนา. การแสดงสัทธรรม นำความสุขมาให้. ขุ. ธ. ๒๕/๔๑.
๔๗๔. อทสฺสเนน พาลานํ นิจฺจเมว สุขี สิยา. จะพึงมีความสุขเป็นนิตย์ ก็เพราะไม่พบเห็นคนพาล. ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.
๔๗๕. สุขํ สุปติ พุทฺโธ จ เยน เมตฺตา สุภาวิตา. ผู้เจริญเมตตาดีแล้ว ย่อมหลับและตื่นเป็นสุข. ว. ว.
๔๗๖. น เว อนตฺถกุสเลน อตฺถจริยา สุขาวหา. การประพฤติประโยชน์กับคนไม่ฉลาดในประโยชน์ ไม่นำสุขมาให้เลย. ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๑๕. |