ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
ชมคลิปวีดีโอน่าสนใจ
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 38 คน
dot
dot

dot


ฟัง F.M. 103.25 MHz.
ชมทีวีช่องหลวงตา
ฟังวิทยุออนไลน์ วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน
ชมคลิปวีดีโอน่าสนใจ
ขอเชิญสมัครสมาชิกอุปถัมภ์สถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน
เข้าชม face book วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน
เข้าชม twitter วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน


๑๓. ปุคคลวรรค คือ หมวดบุคคล

๙๗.  อจฺจยํ  เทสยนฺตีนํ                  โย  เจ  น  ปฏิคณฺหติ
         โกปนฺตโร  โทสครุ                  ส  เวรํ  ปฏิมุจฺจติ.
      

         เมื่อเขาขอโทษ  ถ้าผู้ใดมีความขุ่นเคือง  โกรธจัด  ไม่ยอมรับ
         ผู้นั้นชื่อว่าหมกเวรไว้.
         (เทวดา)                                                สํ.  ส.  ๑๕/๓๔.

       

๙๘.  อปฺปกา  เต  มนุสฺเสสุ            เย  ชนา  ปารคามิโน
         อถายํ  อิตรา  ปชา                ตีรเมวานุธาวติ.
       

         ในหมู่มนุษย์  คนที่ถึงฝั่ง  (นิพพาน)  มีน้อย,  ส่วนประชา
         นอกนี้  วิ่งอยู่ตามชายฝั่ง.
         (พุทฺธ)                                                ขุ.  ธ.  ๒๕/๒๖.

       

๙๙.  อสุภาย  จิตฺตํ  ภาเวหิ          เอกคฺคํ  สุสมาหิตํ
         สติ  กายคตา  ตฺยตฺถุ           นิพฺพิทาพหุโล  ภว.
    

         จงอบรมจิตให้แน่วแน่มั่นคง  ด้วยอสุภสัญญา  จงมีสติไปในกาย
         จงมีความเบื่อหน่ายมาก  (ในสังขารทั้งปวง).
         (วงฺคีสเถร)                                        สํ.  ส.  ๑๕/๒๗๗.

           

๑๐๐.  อหึสกา  เย  มุนโย                นิจฺจํ  กาเยน  สํวุตา   
          เต  ยนฺติ  อจฺจุตํ  ฐานํ            ยตฺถ  คนฺตฺวา  น  โสจเร.
   

          มุนีเหล่าใด   เป็นผู้ไม่เบียดเบียน  สำรวมทางกายเป็นนิตย์  มุนี
          เหล่านั้น  ย่อมไปสู่สถานไม่จุติ  ที่ไปแล้วไม่ต้องเศร้าโศก.
          (พุทฺธ)                                        ขุ.  ธ.  ๒๕/๔๕.

       

 ๑๐๑.  เอวํ  กิจฺฉาภโต  โปโส         ปิตุ  อปริจารโก
            ปิตริ  มิจฺฉา  จริตฺวาน          นิรยํ  โส  อุปปชฺชติ.
     

            ผู้ที่  (มารดา)  บิดาเลี้ยงมาโดยยากอย่างนี้  ไม่บำรุง  (มารดา)
            บิดา  ประพฤติผิดใน  (มารดา)  บิดา  ย่อมเข้าถึงนรก.
            (โสณโพธิสตฺต)                        ขุ.  ชา.  สคฺตติ.  ๒๘/๖๖.

       

๑๐๒.  เอวํ  พุทฺธํ  สรนฺตานํ                 ธมฺมํ  สงฺฆญฺจ  ภิกฺขโว
           ภยํ  วา  ฉมฺภิตตฺตํ  วา             โลมหํโส  น  เหสฺสติ.
    

           ภิกษุทั้งหลาย  !  เมื่อบุคคลระลึกถึงพระพุทธ  พระธรรม  และ
           พระสงฆ์  อยู่อย่างนี้  ความกล้า  ความครั่นคร้าม   ขนพองสยองเกล้า
           จักไม่มี.
           (พุทฺธ)                                        สํ.  ส.  ๑๕/๓๒๓.

 

๑๐๓.  เอวํ  มนฺทสฺส  โปสสฺส                  พาลสฺส  อวิชานโต   
          สารมฺภา  ชายเต  โกโธ                โสปิ  เตเนว  ฑยฺหติ.
   

          ความโกรธเกิดขึ้นแก่คนโง่เขลาไม่รู้แจ้ง  เพราะความแข่งดี  เขา 
          ย่อมถูกความโกรธนั้นแลเผา.
          (โพธิสตฺต)                                                ขุ.  ชา.  ทสก.  ๒๗/๒๘๐.

               

 ๑๐๔.  โอโนทโร  โย  สหเต  ชิฆจฺนํ
            ทานฺโต  ตปสฺสี  มิตปานโภชโน
            อาหารเหตุ  น  กโรติ  ปาปํ
            ตํ  เว  นรํ  สมณมาหุ  โลเก.
     

            คนใดมีท้องพร่อง  ย่อมทนความหิวได้   ผู้ฝึกตนมีความเพียร
            กินดื่มพอประมาณ  ไม่ทำบาปเพราะอาหาร  ท่านเรียกคนนั้นแล  ว่า
            สมณะในโลก.
                                                                        ขุ.  ชา.  ทสก.  ๒๗/๒๗๔.

       

๑๐๕.  กาเม  คิทฺธา  กามรตา               กาเมสุ  อธิมุจฺฉิตา
           นรา  ปาปานิ  กตฺวาน                อุปปชฺชนฺติ  ทุคฺคตึ.
 

           นรชนผู้กำหนัดในกาม  ยินดีในกาม  หมกมุ่นในกาม  ทำบาป
           ทั้งหลาย  ย่อมเข้าถึงทุคติ.
           (ปจฺเจกพุทฺธ)                                                ขุ.  ชา  สฏฺฐิ.    ๒๘/๓๓.

  

๑๐๖.  คาเม  วา  ยทิวารญฺเญ                  นินฺเน  วา  ยทิวา  ถเล 
          ยตฺถ   อรหนฺโต  วิหรนฺติ                ตํ  ภูมิรามเณยฺยกํ.  
       

          พระอรหันต์ทั้งหลาย   อยู่ในที่ใด   คือบ้านก็ตาม  ป่าก็ตาม  
          ที่ลุ่มก็ตาม  ที่ดอนก็ตาม  ที่นั้นย่อมเป็นภูมิน่ารื่นรมย์.
          (พุทฺธ)                                                        ขุ.  ธ.  ๒๕/๒๘.
        
       

๑๐๗.  โจทิตา  เทวทูเตหิ                     เย  ปมชฺชนฺติ  มาณวา
            เต   ทีฆรตฺตํ  โสจนฺติ                หีนกายูปคา  นรา.
   

            คนเหล่าใด  อันเทวทูตตักเตือนแล้ว  ยังประมาทอยู่,  คนเหล่านั้น
            เข้าถึงกายอันเลว  ย่อมเศร้าโศกสิ้นกาลนาน.
            (พุทฺธ)                                                        ม.  อุป.  ๑๔/๓๔๖.

               

๑๐๘.  โจโร  ยถา  สนฺธฺมุเข  คหีโต
           สกมฺมุนา  หญฺญติ  ปาปธมฺโม
           เอวํ  ปชา  เปจฺจ  ปรมฺหิ  โลเก
           สกมฺมุนา  หญฺญติ  ปาปธมฺโม.
    

           โจรผู้มีความชั่ว  ถูกเขาจับได้ซึ่งหน้า  ย่อมเดือดร้อนเพราะกรรม
           ของตนฉันใด  ประชาผู้มีความชั่ว  ละไปแล้ว  ย่อมเดือดร้อน
           เพราะกรรมของตนในโลกหน้าฉันนั้น.
           (รฏฺฐาลเถร)                                                ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๗๙.

                       

๑๐๙.  ชาติถทฺโธ  ธนถทฺโธ                 โคตฺตถทฺโธ  จ  โย  นโร      
           สญฺญาตึ  อติมญฺเญติ                ตํ  ปราภวโต  มุขํ.
      

           คนใด  หยิ่งเพราะชาติ  หยิ่งเพราะทรัพย์   หยิ่งเพราะสกุล  ย่อม
           ดูหมิ่นญาติของตน  ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งความเสื่อมของคนนั้น.
           (พุทฺธ)                                                        ขุ.  สุ.  ๒๕/๓๔๗.

       

๑๑๐.   ตํ  พฺรูมิ  อุปสนฺโตติ                กาเมสุ  อนเปกฺขินํ
           คนฺถา  ตสฺส  น  วิชฺชนฺติ         อตาริ  โส  วิสตฺติกํ.
    

           เราเรียกผู้ไม่เยื่อใยในกามทั้งหลายนั้นว่าผู้สงบ,  เครื่องร้อยรัด
           ของเขาไม่มี   เขาจึงข้ามตัณหาว้าวุ่นไปได้.
           (พุทฺธ)   ขุ.  สุ.  ๒๕/๕๐๑.                           ขุ.  มหา.  ๒๙/๒๙๕,๒๙๗.

               

 ๑๑๑.  เตชวาปิ  หิ  นโร  วิจกฺขโณ
            สกฺกโต  พหุชนสฺส  ปูชิโต
            นารีนํ  วสงฺคโต  น  ภาสติ
            ราหุนา  อุปหโตว  จนฺทิมา.
  

           ถึงเป็นคนมีเดช  มีปัญญาเฉียบแหลม   อันคนเป็นอันมากสักการบูชา
           อยู่ในอำนาจของสตรีเสียแล้ว  ย่อมไม่รุ่งเรือง  เหมือนพระจันทร์ถูก
           พระราหูบังฉะนั้น.
           (พุทฺธ)                                                     ขุ.  ชา  อสีติ.  ๒๘/๑๒๗.

  

๑๑๒.  ทูเร  สนฺโต  ปกาเสนฺติ                หิมวนฺโตว  ปพฺพโต     
           อสนฺเตตฺถ  น  ทิสฺสนฺติ                รตฺติขิตฺตา  ยถา  สรา.
      

           สัตบุรุษย่อมปรากฏได้ในที่ไกล  เหมือนภูเขาหิมพานต์  อสัตบุรุษ
           ถึงนั่งอยู่ในที่นี้ก็ไม่ปรากฏ  เหมือนลูกศรที่ยิงไปกลางคืน.
           (พุทฺธ)                                                  ขุ. ธ.  ๒๕/๕๕.
        
       

๑๑๓.  ธีโร  โภเค  อธิคมฺเม                สงฺคณฺหาติ  จ  ญาตเก
           เตน  โส  กิตฺตึ  ปปฺโปติ            เปจฺจ  สคฺเค  ปโมทติ.
    

           ผู้มีปรีชาได้โภคะแล้ว   ย่อมสงเคราะห์หมู่ญาติ,  เพราะการ
           สงเคราะห์นั้น  เขาย่อมได้เกียรติ  ละไปแล้ว  ย่อมบันเทิงในสวรรค์.
           (โพธิสตฺต)                                        ขุ.  ชา.  ฉกฺก.  ๒๗/๒๐๕.
        
               

๑๑๔.  น  ปณฺฑิตา  อตฺตสุขสฺส  เหตุ
           ปาปานิ  กมฺมานิ  สมาจรนฺติ
           ทุกฺเขน  ผุฏฺฐา  ขลิตาปิ  สนฺตา
           ฉนฺทา  จ  โทสา  น  ชหนฺติ  ธมฺมํ.
      

           บัณฑิต   ย่อมไม่ประพฤติกรรมชั่ว  เพราะเหตุแห่งสุขเพื่อตน,
           สัตบุรุษอันทุกข์ถูกต้อง  แม้พลาดพลั้งไป  ก็ไม่ยอมละธรรม  เพราะ
           ฉันทาคติและโทสาคติ.
           (สรภงฺคโพธิสตฺต)                                ชาตกฏฺฐกถา.  ๗/๓๘๘.

 

๑๑๕.  น  เว  อนตฺถกุสเลน             อตฺถจริยา  สุขาวหา  
           หาเปติ  อตฺถํ  ทุมฺเมโธ         กปิ  อารามิโก  ยถา.

       

           การบำเพ็ญประโยชน์โดยไม่ฉลาดในประโยชน์   ก็นำความสุข
           มาให้ไม่ได้เลย,   ผู้มีปัญญาทรามย่อมพร่าประโยชน์   ดุจลิงเฝ้าสวน
           ฉะนั้น. 
           (โพธิสตฺต)                                           ขุ.  ชา.  เอก.  ๒๗/๑๕.
       

 ๑๑๖.  น  หิ   สพฺเพสุ  ฐาเนสุ         ปุริโส  โหติ  ปณฺฑิโต
            อิตฺถีปิ  ปณฺฑิตา  โหติ         ตตฺถ  ตตฺถ  วิจกฺขณา.
   

            บุรุษจะเป็นบัณฑิตในที่ทั้งปวงก็หาไม่,  แม้สตรีก็เป็นบัณฑิตมี
            ปัญญาเฉียบแหลมในที่นั้น  ๆ  ได้เหมือนกัน.
            (เทวดา)                                              ขุ.  ชา.  อฏฺก.  ๒๗/๒๔๑.
        
               

 ๑๑๗.  นินฺทาย  นปฺปเวเธยฺย
             น  อุณฺณเมยฺย  ปสํสิโต  ภิกฺขุ
             โลกํ  สห  มจฺฉริเยน
             โกธํ  เปสุณิยญฺจ  ปนุเทยฺย.
    

             ภิกษุไม่ควรหวั่นไหวเพราะนินทา   ได้รับสรรเสริญ  ก็ไม่ควร
             เหิมใจ   พึงบรรเทาความโลภกับความตระหนี่  ความโกรธ   และความ
             ส่อเสียดเสีย.
             (พุทฺธ)  ขุ.  สุ.  ๒๕/๕๑๖.                    ขุ.  มหา.  ๒๙/๔๖๔,๔๖๖.

                 

๑๑๘.  ปณฺฑิโต  จ  วิยตฺโต  จ          วิภาวี  จ  วิจกฺขโณ   
           ขิปฺปํ   โมเจติ  อตฺตานํ           มา  ภายิตฺถาคมิสฺสติ. 
       

           ผู้ฉลาดเฉียบแหลม  แสดงเหตุและไม่ใช่เหตุได้แจ่มแจ้ง  และ
           คาดเห็นผลประจักษ์   ย่อมเปลื้องตน  (จากทุกข์)   ได้ฉับพลัน  อย่า
           กลัวเลย  เขาจักกลับมาได้.
           (ราช)                                                    ขุ.  ชา.  มหา.  ๒๘/๓๔๔.

       

๑๑๙.  ปณฺฑิโตติ  สมญฺญาโต         เอกจริยํ  อธิฏฺฐิโต
           อถาปิ  เมถุเน  ยุตฺโต             มนฺโทว  ปริกิสฺสติ.
       

           ผู้ตั้งใจประพฤติตนเป็นคนโสด   เขารู้กันว่าเป็นบัณฑิต,  ส่วน
           คนโง่ฝักใฝ่ในเมถุน  ย่อมเศร้าหมอง.
           (พุทฺธ)   ขุ.  สุ.  ๒๕/๔๙๔.                      ขุ.  มหา.  ๒๙/๑๘๖.

               

๑๒๐.  ปหาย  ปญฺจาวรณานิ  เจตโส
           อุปกฺกิเลเส   พฺยปนุชฺช  สพฺเพ
           อนิสฺสิโต  เฉตฺวา  สิเนหโทสํ
           เอโก  จเร  ขคฺควิสาณกปฺโป.
    

           ผู้ฉลาดและเครื่องกั้นจิต  ๕  ประการ  กำจัดอุปกิเลสทั้งหมด  ตัดรัก
           และชังแล้ว  อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้  พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
           นอแรดฉะนั้น.
           (พุทฺธ)        ขุ.  สุ.  ๒๕/๓๓๘.                   ขุ.  จู.  ๓๐/๔๑๐.

 

๑๒๑.  ปุตฺตา  มตฺถิ  ธนมตฺถิ                 อิติ  พาโล  วิหญฺญติ 
           อตฺตา  หิ  อตฺตโน  นตฺถิ             กุโต  ปุตฺตา  กุโต  ธนํ.
    

           คนเขลาคิดว่า  เรามีบุตร   เรามีทรัพย์  จึงเดือดร้อน,  ที่แท้ตน
           ของตนก็ไม่มี  จะมีบุตร  มีทรัพย์  มาแต่ที่ไหนเล่า.
           (พุทฺธ)                                                    ขุ.  ธ.  ๒๕/๒๓.

       

๑๒๒.  พฺรหฺมาติ  มาตาปิตโร                ปุพฺพาจริยาติ  วุจฺจเร
           อาหุเนยฺยา  จ  ปุตฺตานํ               ปชาย  อนุกมฺปกา.
             

           มารดาบิดา  ท่านว่าเป็นพรหม   เป็นบุรพาจารย์  เป็นที่นับถือ
           ของบุตร  และเป็นผู้อนุเคราะห์บุตร.
           (โสณโพธิสตฺต)                                        ขุ.  ชา.  สตฺตติ.  ๒๗/๖๖.

       

๑๒๓.  มธุวา  มญฺญตี  พาโล              ยาว  ปาปํ  น  ปจฺจติ,
           ยทา  จ  ปจฺจตี  ปาปํ                อถ  ทุกขํ  นิคจฺฉติ.
       

           ตราบเท่าที่บาปยังไม่ให้ผล  คนเขลายังเข้าใจว่ามีรสหวาน,  แต่
           บาปให้ผลเมื่อใด  คนเขลาย่อมประสบทุกข์เมื่อนั้น.
           (พุทฺธ)                                                ขุ.  ธ.  ๒๕/๒๔.

           

๑๒๔.  ยํ  อุสฺสุกฺกา  สงฺฆรนฺติ                อลกฺขิกา  พหุ ธนํ  
           สิปฺปวนฺโต  อสิปฺปา  วา               ลกฺขิกา  ตานิ  ภุญฺชเร. 
     

           คนไม่มีโชค  มีศิลป์หรือไม่มีศิลป์ก็ตาม   ขวนขวายรวบรวม
           ทรัพย์ใดไว้ได้เป็นอันมาก   ส่วนคนมีโชคย่อมบริโภคทรัพย์เหล่านั้น.
           (พุทฺธ)                                                ขุ.  ชา.  ติก.  ๒๗/๑๑๗.
        
       

๑๒๕.  ยํ  ยํ  ชนปทํ  ยาติ                        นิคเม  ราชธานิโย
           สพฺพตฺถ  ปูชิโต  โหติ                   โย  มิตฺตานํ  น  ทุพฺภติ.
     

           ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร  ไปสู่แว่นแคว้น  ตำบลหรือเมืองหลวง
           ใด ๆ  ก็ตาม  ย่อมมีผู้บูชาในที่ทั้งปวง.
           (เตมิยโพธิสตฺต)                                  ขุ.  ชา.  มหา.  ๒๘/๑๕๔.

       

๑๒๖.  ยโต  จ  โหติ  ปาปิจฺโฉ                อหิริโก  อนาทโร
           ตโต  ปาปํ  ปสวติ                        อปายํ  เตน  คจฺฉติ.
    

           คนปรารถนาลามก  ไม่ละอาย  ไม่เอื้อเฟื้อ  เพราะเหตุใด,  เขา
           ย่อมสร้างบาปเพราะเหตุนั้น  เขาไปสู่อบาย  เพราะเหตุนั้น.
           (พุทฺธ)                                                ขุ.  อิติ.  ๒๕/๒๕๖.

 

๑๒๗.  ยมฺหา  ธมฺมํ  วิชาเนยิย              สมฺมาสมฺพุทฺธเทสิตํ   
            สกฺกจฺจํ  นํ  นมสฺเสยฺย                อคฺคิหุตฺตํว   พฺราหฺมโณ.
      

            บุคคลรู้แจ้งธรรม   ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว  จาก
            ผู้ใด  พึงนอบน้อมผู้นั้นโดยเคารพ  เหมือนพราหมณ์นับถือการบูชาไฟ
            ฉะนั้น. 
            (พุทฺธ)                                                  ขุ.  ธ.  ๒๕/๖๘.

       

๑๒๘.  ยสฺส  ปาปํ  กตํ  กมฺมํ               กุสเลน  ปิถียติ
           โสมํ  โลกํ  ปภาเสติ                 อพฺภา  มุตฺโตว  จนฺทิมา.
     

           ผู้ใดทำกรรมชั่วแล้ว  ละเสียได้ด้วยกรรมดี,   ผู้นั้นย่อมยังโลกนี้
           ให้สว่าง  เหมือนพระจันทร์พ้นจากเมฆหมอกฉะนั้น.
           (องฺคุลิมาล)                                           ม.  ม.  ๑๒/๔๘๗.

       

๑๒๙.  ยสฺส  รุกฺขสฺส  ฉายาย                นิสีเทยฺย  สเยยฺย  วา
            น  ตสฺส  สาขํ  ภญฺเชยฺย            มิตฺตทุพฺโภ   หิ  ปาปโก.
      

            บุคคลนั้นหรือนอนที่ร่มเงาต้นไม้ใด    ไม่ควรหักกิ่งต้นไม้นั้น,
            เพราะผู้ประทุษร้ายมิตร  เป็นคนเลวทราม.
            (โพธิสตฺต)                                           ขุ.  ชา.  มหา.  ๒๘/๒๖.

    

๑๓๐.  เย  จ  ธมฺมสฺส  กุสลา                  โปราณสฺส  ทิสํปติ    
           จาริตฺเตน  จ  สมฺปนฺนา                น  เต  คจฺฉนฺติ  ทุคฺคตึ.
   

           ชนเหล่าใด   ฉลาดในขนบธรรมเนียมโบราณ  และประกอบด้วย
           จารีตประเพณีดี,  ชนเหล่านั้น  ย่อมไม่ไปสู่ทุคติ.
           (โสณโพธิสตฺต)                                    ขุ.  ชา.  สตฺตติ.  ๒๘/๖๓.
        
      

๑๓๑.  เย  น  กาหนฺติ  โอวาทํ                นรา  พุทฺเธน  เทสิตํ
           พฺยสนํ  เต  คมิสฺสนฺติ                  รกฺขสีหิว  วาณิชา.
     

           ผู้ใดจักไม่ทำตามโอวาทที่ผู้รู้แสดงแล้ว,  ผู้นั้นจักถึงความย่อยยับ
           เหมือนพ่อค้าถึงความย่อยยับเพราะพวกโจรสลัดฉะนั้น.
           (พุทฺธ)                                                  ขุ.  ชา.  ทุก.  ๒๗/๗๑.

    

๑๓๒.  โย  จตฺตานํ  สมุกฺกํเส                ปเร  จ  อวชานติ
           นิหีโน  เสน  มาเนน                   ตํ  ชญฺญา  วสโล  อิติ.
      

           ผู้ใดยกย่องตนและดูหมิ่นผู้อื่น,   เป็นคนเลวเพราะการถือตัวเอง
           พึงรู้ผู้นั้นว่าเป็นคนเลว.
           (พุทฺธ)                                                  ขุ.  สุ.  ๒๕/๓๕๑.

 

๑๓๓.  โย  จ  สีลญฺจ  ปญ์ญญฺจ            สุตญฺจตฺตนิ  ปสฺสติ    
           อุภินฺนมตฺถํ  จรติ                        อตฺตโน  จ  ปรสฺส  จ.
      

           ผู้ใดเห็นศีล   ปัญญา  และสุตะ  ในตน.  ผู้นั้นย่อมประพฤติ
           ประโยชน์ตนและผู้อื่นทั้ง  ๒  ฝ่าย.
           (โพธิสตฺต)                                              ขุ.  ชา.  สตฺตก.  ๒๗/๒๒๑.

       

๑๓๔.  โย  จ  เมตฺตํ  ภาวยติ                  อปฺปมาณํ   ปฏิสฺสโต
           ตนู  สํโยชนา  โหนฺติ                   ปสฺสโต  อุปธิกฺขยํ.
   

           ผู้ใดมีสติเฉพาะหน้า  เจริญเมตตาไม่มีประมาณ,  สังโยชน์
           ของผู้เห็นความสิ้นแห่งอุปธินั้น  ย่อมเบาบาง.
           (พุทฺธ)                                                  องฺ.  อฏฺฐก.  ๒๓/๑๕๒.

       

๑๓๕.  โย  ทนฺธกาเล  ตรติ                ตรณีเย  จ  ทนฺธเย
            อโยนิโส  สํวิธาเนน                พาโล  ทุกฺขํ  นิคจฺฉติ.
     

            ผู้ใดย่อมรีบในกาลที่ควรช้า   และช้าในกาลที่ควรรีบ,  ผู้นั้น
            เป็นคนเขลา  ย่อมถึงทุกข์  เพราะการจัดทำโดยไม่แยบคาย.
            (สมฺภูตเถร)                                           ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๑๓.

       

๑๓๖.  โย  ทนฺธกาเล  ทนฺเธติ             ตรณีเย  จ  ตารเย 
           โยนิโส  สํวิธาเนน                    สุขํ  ปปฺโปติ  ปณฺฑิโต.
      

            ผู้ใดช้าในกาลที่ควรช้า และรีบในกาลที่ควรรีบ,  ผู้นั้นเป็นผู้
            ฉลาด  ย่อมถึงสุข  เพราะการจัดทำโดยแยบคาย. 
            (สมฺภูตเถร)                                           ขุ.  เถร.   ๒๖/๓๑๓.

       

๑๓๗.  โย  น  หนฺติ  น  ฆาเตติ           น  ชินาติ  น  ชาปเย
            เมตฺตโส  สพฺพภูตานํ              เวรนฺตสฺส  น  เกนจิ.
    

            ผู้ใดไม่ฆ่าเอง   ไม่ให้ผู้อื่นฆ่า   ไม่ชนะเอง  ไม่ให้ผู้อื่นชนะ,
            ผู้นั้น  ชื่อว่ามีเมตตาต่อสัตว์ทั้งปวง  และไม่มีเวรกับใคร ๆ.
            (พุทฺธ)                                                องฺ.  อฏฺฐก.  ๒๓/๑๕๒.

       

๑๓๘.  โย  มาตรํ  ปิตรํ  วา                มจฺโจ  ธมฺเมน  โปสติ
           อิเธว  นํ  ปสํสนฺติ                   เปจฺจ  สคฺเค  ปโมทติ.
      

           ผู้ใดเลี้ยงมารดาบิดาโดยธรรม    บัณฑิตย่อมสรรเสริญผู้นั้นใน
           โลกนี้,  เขาละไปแล้ว  ย่อมบันเทิงในสวรรค์.
           (สุวรฺณสามโพธิสตฺต)                           ขุ.  ชา.  มหา.  ๒๘/๑๙๖.

                

๑๓๙.  โย  เว  กตญฺญู   กตเวทิ  ธีโร    
            
กลฺยาณมิตฺโต  ทฬฺหภตฺติ  จ  โหติ
            ทุกฺขิตสฺส   สกฺกจฺจ   กโรติ  กิจฺจํ
            ตถาวิธํ  สปฺปุริสํ  วทนฺติ. 
     

            ผู้มีปรีชาใด   เป็นคนกตัญญูกตเวที  มีกัลยาณมิตรสนิทสนมกัน
            และช่วยทำกิจของมิตรผู้ตกยากโดยเต็มใจ    ท่านเรียกคนอย่างนั้นว่า
            สัตบุรุษ.
            (สรภงฺคโพธิสตฺต)                        ขุ.  ชา.  จตฺตาฬีส.  ๒๗/๕๔๑.

       

๑๔๐.  โย  หเว  อิณมาทาย        ภุญฺชมาโน  ปลายติ
           น  หิ  เต  อิณมตฺถีติ         ตํ  ชญฺญา  วสโล  อิติ.
   

           ผู้ใด   กู้หนี้เขามากินมาใช้แล้วหลบหนีไป  ด้วยปฏิเสธว่าหนี้ของ
           ท่านไม่มี   พึงรู้ผู้นั้นว่าเป็นคนเลว.
           (พุทฺธ)                                          ขุ.  สุ.  ๒๕/๓๔๐.

               

๑๔๑.  โย  โหติ  พฺยตฺโต   จ  วิสารโท  จ
            พหุสฺสุโต  ธมฺมธโร  จ  โหติ
            ธมฺมสฺส  โหติ  อนุธมฺมจารี
            ส   ตาทิโส  วุจฺจติ  สงฺฆโสภโณ.
     

            ผู้ใดเป็นคนฉลาด   แกล้วกล้า  เป็นผู้ฟังมาก  ทรงธรรม  และ
            ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม,  คนเช่นนั้นท่านเรียกว่า  ยังหมู่ให้งดงาม.
            (พุทฺธ)                                          องฺ.  จตุกฺก.  ๒๑/๑๐.

        

๑๔๒.  ราคญฺจ  โทสญฺจ  ปหา  โมหํ  
            สนฺทาลยิตฺวาน   สํโยชนานิ
            อสนฺตสํ  ชีวิตสงฺขยมฺหิ
            เอโก  จเร   ขคฺควิสาณกปฺโป. 
    

            บัณฑิตละราคะ  โทสะ   และโมหะ   ทำลายสังโยชน์ได้แล้ว
            ย่อมไม่หวาดเสียวในสิ้นชีวิต.   พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
            ฉะนั้น.
            (พุทฺธ)   ขุ.  สุ.  ๒๕/๓๓๙.                ขุ.  จู.  ๓๐/๔๒๖, ๔๒๗.

       

๑๔๓.  สเจ  อินฺทฺริยสมฺปนฺโน             สนฺโต  สนฺติปเท  รโต
           ธาเรติ  อนฺติมํ  เทหํ                 เชตฺวา  มารํ  สวาหนํ.
        

           ถ้าเป็นผู้มีอินทรีย์สมบูรณ์  สงบและยินดีในทางสงบแล้ว  จึงชื่อ
           ว่าชนะมารพร้อมทั้งพาหนะ  ทรงไว้ซึ่งกายอันมีในที่สุด.
           (พุทฺธ)                                               ขุ.  อิติ.  ๒๕/๒๗๑.

        

๑๔๔.  สเจ  ภายถ  ทุกฺขสฺส                   สเจ  โว  ทุกฺขมปฺปิยํ
           มา  กตฺถ  ปาปกํ  กมฺมํ                 อาวี     วา  ยทิ  วา  รโห.
        

           ถ้าท่านกลัวทุกข์  ถ้าท่านไม่รักทุกข์,   ก็อย่าทำบาปกรรมทั้งใน
           ที่แจ้งทั้งในที่ลับ.
           (พทฺธ)                                                ขุ.  อุ.  ๒๕/๑๕๐.

          

๑๔๕.  สพฺพา  ทิสา  อนุปริคมฺม   เจตสา   
            เนวชฺฌคา  ปิยตรมตฺตนา  กฺวจิ
            เอว  ปิโย  ปุถุ  อตฺตา  ปเรสํ
            ตสฺมา  น  หึเส  ปรํ  อตฺตกาโม. 
     

            เราคิดค้นหาทุกทิศแล้ว  ก็ไม่พบผู้อื่นซึ่งเป็นที่รักยิ่งกว่าตน
            ในที่ไหน ๆ,  ถึงผู้อื่นก็มีตนเป็นที่รักมากอย่างนี้  เพราะฉะนั้น  ผู้รักตน
            จึงไม่ควรเบียดเบียนผู้อื่น. 
            (พุทฺธ)                                        สํ.  ส.  ๑๕/๑๐๙.
        
       

๑๔๖.  สลาภํ  นาติมญฺเญยฺย           นาญฺเญสํ  ปิหยญฺจเร
           อญฺเญสํ  ปิหยํ  ภิกฺขุ            สมาธึ   นาธิคจฺฉติ.
      

           ไม่พึงดูหมิ่นลาภของตน   ไม่ควรเที่ยวปรารถนาลาภของผู้อื่น
           ภิกษุปรารถนาลาภของผู้อื่น   ย่อมไม่บรรลุสมาธิ.
           (พุทฺธ)                                         ขุ.  ธ.  ๒๕/๖๕.

       

๑๔๗.  สาติเยสุ  อนสฺสาวี                  อติมาเน  จ  โน  ยุโต
            สณฺโห  จ  ปฏิภาณวา            น  สทฺโธ  น  วิรชฺชติ.
      

            ผู้ไม่ระเริงไปในอารมณ์ที่ชอบใจ  ไม่ประกอบในความดูหมิ่น
            เป็นผู้ละเอียดเฉียบแหลม  ย่อมไม่เชื่อง่าย  ไม่หน่ายแหนง.
            (พุทฺธ)  ขุ.  สุ.  ๒๕/๕๐๑.              ขุ.  มหา.  ๒๙/๒๗๙,๒๘๔.

        

๑๔๘.  สารตฺตา  กามโภเคสุ              คิทฺธา  กาเมสุ  มุจฺฉิตา  
           อติสารํ  น  พุชฺฌนฺติ                มจฺฉา  ขิปฺปํว  โอฑฺฑิตํ.
     

           ผู้ติดใจในการบริโภคกาม  ยินดีหมกมุ่นในกามทั้งหลาย  ย่อม
           ไม่รู้สึกซึ่งความถลำตัว  เหมือนปลาถลันเข้าลอบที่เขาดักไว้ไม่รู้สึกตัว
            ฉะนั้น. 
           (พุทฺธ)                                            สํ.  ส.  ๑๕/๑๐๘.
        
               

๑๔๙. สุปิเนน  ยถาปิ  สงฺคตํ
           ปฏิพุทฺโธ  ปุริโส  น  ปสฺสติ
           เอวมฺปิ  ปิยายิตํ  ชนํ 
           เปตํ  กาลกตํ  น  ปสฺสติ.
      

           คนผู้ตื่นขึ้นแล้ว   ย่อมไม่เห็นอารมณ์อันประจวบด้วยความฝัน
           ฉันใด,  คนผู้อยู่ย่อมไม่เห็นชนอันตนรักทำกาละล่วงไปฉันนั้น.
           (พุทฺธ)   ขุ.  สุ.  ๒๕/๔๙๒.                  ขุ.    มหา.  ๒๙/๑๕๑,๑๕๒.

       

๑๕๐.  เสหิ  ทาเรหิ  อสนฺตุฏฺโฐ          เวสิยาสุ  ปทุสฺสติ
           ทุสฺสติ  ปรทาเรสุ                   ตํ  ปราภวโต  มุขํ.
     

           ผู้ไม่สันโดษด้วยภริยาของตน  ย่อมซุกซนในหญิงแพศยา  และ
           ประทุษร้ายในภริยาของคนอื่น,  นั่นเป็นเหตุแห่งความเสื่อม.
           (พุทฺธ)                                                ขุ.  สุ.  ๒๕/๓๔๘.




พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๒

๑. อัตตวรรค คือ หมวดตน article
๒. อัปปมาทวรรค คือ หมวดไม่ประมาท article
๓. กัมมวรรค คือ หมวดกรรม article
๔. กิเลสวรรค คือ หมวดกิเลส
๕. ขันติวรรค คือ หมวดอดทน
๖. จิตตวรรค คือ หมวดจิต
๗. ทานวรรค คือ หมวดทาน
๘. ธัมมวรรค คือ หมวดธรรม
๙. ปกิณณกวรรค คือ หมวดเบ็ดเตล็ด
๑๐. ปัญญาวรรค คือ หมวดปัญญา
๑๑. ปมาทวรรค คือ หมวดประมาท
๑๒. ปาปวรรค คือ หมวดบาป
๑๔. ปุญญวรรค คือ หมวดบุญ
๑๕. มัจจุวรรค คือ หมวดความตาย
๑๖. วาจาวรรค คือ หมวดวาจา
๑๗. วิริยวรรค คือ หมวดความเพียร
๑๘. สัทธาวรรค คือ หมวดศรัทธา
๑๙. สีลวรรค คือ หมวดศีล
๒๐. เสวนาวรรค คือ หมวดคบหา



[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (156251)

 good

ผู้แสดงความคิดเห็น nnn (7055120015-at-mv-dot-ac-dot-th)วันที่ตอบ 2013-10-04 13:54:34



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล