ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
ชมคลิปวีดีโอน่าสนใจ
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 2 คน
dot
dot

dot


ฟัง F.M. 103.25 MHz.
ชมทีวีช่องหลวงตา
ฟังวิทยุออนไลน์ วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน
ชมคลิปวีดีโอน่าสนใจ
ขอเชิญสมัครสมาชิกอุปถัมภ์สถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน
เข้าชม face book วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน
เข้าชม twitter วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน


๑๙. สีลวรรค คือ หมวดศีล

๑๘๓.  อาทิ  สีลํ  ปติฏา  จ           กลฺยาณานญฺจ  มาตุกํ
           ปมุขํ  สพฺพธมฺมานํ           ตสฺมา  สีลํ  วิโสธเย.
       

           ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น   เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
           เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง  เพราะฉะนั้น  ควรชำระศีลให้บริสุทธิ์.
           (สีลวเถร)                                                ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๕๘.  

       

๑๘๔.  อวณฺณญฺจ  อกิตฺติญฺจ                 ทุสฺสีโล  ลภเต   นโร
           วณฺณํ  กิตฺตึ  ปสํสญฺจ                  สทา  ลภติ  สีลวา. 
       

           คนผู้ทุศีลย่อมได้รับความติเตียนและความเสียชื่อเสียง  ส่วนผู้มี
           ศีล 
ย่อมได้รับชื่อเสียงและความยกย่องสรรเสริญทุกเมื่อ. 
           (สีลวเถร)                                                ขุ.  เถร. ๒๖/๓๕๗.

       

๑๘๕.  อิเธว  กิตฺตึ  ลภติ                    เปจฺจ  สคฺเค  จ  สุมโน
           สพฺพตฺถ  สุมโน  ธีโร               สีเลสุ  สุสมาหิโต.
       

           ผู้มีปรีชา  มั่งคงดีแล้วในศีล  ย่อมได้รับชื่อเสียงในโลกนี้  ละไป
           แล้ว  ย่อมดีใจในสวรรค์  ชื่อว่าย่อมดีใจในที่ทั้งปวง.
           (สีลวเถร)                                                ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๕๘.

       

๑๘๖.  อิเธว  นินฺทํ  ลภติ                       เปจฺจาปาเย  จ  ทุมฺมโน
           สพฺพตฺถ  ทุมฺมโน  พาโล            สีเลสุ  อสมาหิโต.
      

           คนเขลา  ไม่มั่นคงในศีล  ถูกติเตียนในโลกนี้  และละไปแล้ว
           ย่อมเสียใจในอบาย  ชื่อว่าย่อมเสียใจในที่ทั้งปวง.
           (สีลวเถร)                                                ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๕๘.

   

๑๘๗. กาเยน  วาจาย  จ  โยธ  สญฺญโต
           มนสา  จ  กิญฺจิ  น  กโรติ  ปาปํ  
           น  อตฺตเหตุ  อลิกํ  ภณาติ
           ตถาวิธํ   สีลวนฺตํ  วทนฺติ.  
           

            ผู้ใดในโลกนี้  สำรวมทางกายวาจาและใจ  ไม่ทำบาปอะไร ๆ
            และไม่พูดพล่อย  เพราะเหตุแห่งตน,  ท่านเรียกคนอย่างนั้นว่า
            ผู้มีศีล.
            (สรภงฺคโพธิสตฺต)                                 ขุ.  ชา. จตฺตาฬีส.  ๒๗/๕๔๐.

               

๑๘๘. ตสฺมา  หิ  นารี  จ  นโร  สีลวา
           อฏฺฐงฺคุเปตํ  อุปวสฺสุโปสถํ
           ปุญฺญานิ  กตาน  สุขุทฺริยานิ
           อนินฺทิตา  สคฺคมุเปนฺติ  ฐานํ.
      

           เพราะฉะนั้น  หญิงและชายผู้มีศีล  รักษาอุโบสถประกอบด้วย
           องค์  ๘  ทำบุญอันมีสุขเป็นกำหร  จึงไม่ถูกติเตียน  ย่อมเข้าถึงสถานสวรรค์.
           (พุทฺธ)                                                  องฺ.  ติก.  ๒๐/๒๗๖.

         

๑๘๙.  น  เวทา  สมฺปรายาย          น  ชาติ  นปิ  พนฺธวา  
            สกญฺจ  สีลสํสุทธํ               สมฺปรายสุขาวหํ.
      

            เวทมนตร์  ชาติกำเนิด   พวกพ้อง  นำสุขมาให้ในสัมปรายภพ
            ไม่ได้,  ส่วนศีลของตนที่บริสุทธิ์ดีแล้ว  จึงนำสุขมาในสัมปรายภพได้
            โพธิสตฺต)                                           ขุ.  ชา.  ปญฺจก.  ๒๗/๑๗๕.
        
       

๑๙๐.  พหุสฺสุโตปิ  เจ  โหติ         สีเลสุ  สุสมาหิโต
           อุภเยน  นํ  ปสํสนฺติ           สีลโต  จ  สุเตน  จ.
      

           ถ้าเป็นพหุสูต  มั่นคงดีในศีล  บัณฑิตย่อมสรรเสริญเขาด้วยคุณ
           ๒  ประการ  คือด้วยศีลและด้วยสุตะ.
           (พุทฺธ)                                               องฺ.  จตุกฺก. ๒๑/๙.

       

๑๙๑.  โย  จ  วสฺสสตํ  ชีเว           ทุสฺสีโล  อสมาหิโต
            เอกาหํ  ชีวิตํ  เสยฺโย         สีลวนฺตสฺส  ฌายิโน.
      

             ผู้ไม่มีศีล  ไม่มั่นคง  พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี,  ส่วนผู้มีศีล เพ่ง
             พินิจ  มีชีวิตอยู่วันเดียว  ประเสริฐกว่า.
             (พุทฺธ)                                             ขุ.  ธ.  ๒๕/๒๙. 

   

๑๙๒.  สีลเมวิธ  สิกฺเขถ                อสฺมึ  โลเก  สุสิกฺขิตํ
            สีลํ  หิ  สพฺพสมฺปตฺตึ          อุปนาเมติ  เสวิตํ.  
     

             พึงศึกษาศีลในโลกนี้  เพราะศีลที่ศึกษาดีแล้วเสพแล้วในโลกนี้.
             ย่อมน้อมนำมาซึ่งสมบัติทั้งปวง.
             (สีลวเถร)                                         ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๕๗.

       

๑๙๓.  สีลํ  รกฺเขยฺย  เมธาวี          ปตฺถยาโน  ตโย  สุเข
           ปสํสํ  วิตฺติลาภญฺจ             เปจฺจ  สคฺเค  ปโมทนํ.
     

            ผู้มีปัญญาเมื่อปรารถนาสุข  ๓  อย่าง  คือ  ความสรรเสริญ
            ความได้ทรัพย์  และความละไปบันเทิงในสวรรค์  ก็พึงรักษาศีล.
            (สีลวเถร)                                          ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๕๗.

       

๑๙๔.  สีลวา  หิ  พหู  มิตฺเต          สญฺญเมนาธิคจฺฉติ
            ทุสฺสีโล  ปน  มิตฺเตหิ         ธํสเต  ปาปมาจรํ.
       

             ผู้มีศีลย่อมได้มิตรมากด้วยความสำรวม  ส่วนผู้ไม่มีศีล  ประพฤติ
             ชั่ว  ย่อมแตกจากมิตร.
             (สีลวเถร)                                        ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๕๗. 
 




พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๒

๑. อัตตวรรค คือ หมวดตน article
๒. อัปปมาทวรรค คือ หมวดไม่ประมาท article
๓. กัมมวรรค คือ หมวดกรรม article
๔. กิเลสวรรค คือ หมวดกิเลส
๕. ขันติวรรค คือ หมวดอดทน
๖. จิตตวรรค คือ หมวดจิต
๗. ทานวรรค คือ หมวดทาน
๘. ธัมมวรรค คือ หมวดธรรม
๙. ปกิณณกวรรค คือ หมวดเบ็ดเตล็ด
๑๐. ปัญญาวรรค คือ หมวดปัญญา
๑๑. ปมาทวรรค คือ หมวดประมาท
๑๒. ปาปวรรค คือ หมวดบาป
๑๓. ปุคคลวรรค คือ หมวดบุคคล
๑๔. ปุญญวรรค คือ หมวดบุญ
๑๕. มัจจุวรรค คือ หมวดความตาย
๑๖. วาจาวรรค คือ หมวดวาจา
๑๗. วิริยวรรค คือ หมวดความเพียร
๑๘. สัทธาวรรค คือ หมวดศรัทธา
๒๐. เสวนาวรรค คือ หมวดคบหา



[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (178645)

สีลํ กิเรว กลฺยาณํ

อ่านว่าอย่างไร

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ti วันที่ตอบ 2023-02-02 10:10:47



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล