ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
ชมคลิปวีดีโอน่าสนใจ
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 11 คน
dot
dot

dot


ฟัง F.M. 103.25 MHz.
ชมทีวีช่องหลวงตา
ฟังวิทยุออนไลน์ วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน
ชมคลิปวีดีโอน่าสนใจ
ขอเชิญสมัครสมาชิกอุปถัมภ์สถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน
เข้าชม face book วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน
เข้าชม twitter วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน


๓. กัมมวรรค คือ หมวดกรรม article

๗.  อติสีตํ อติอุณฺหํ             อติสายมิทํ อหุ
       อิติ วิสฺสฏฺฐกมฺมนฺเต       อตฺเถ อจฺเจนฺติ มาณเว.

       ประโยชน์ทั้งหลายย่อมล่วงเลยคนผู้ทอดทิ้งการงาน ด้วยอ้างว่า
       หนาวนัก ร้อนนัก เย็นเสียแล้ว.
       (พุทฺธ) ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๙๙.

 



๘.   อถ ปาปานิ กมฺมานิ         กรํ พาโล น พุชฺฌติ
       เสหิ กมฺเมหิ ทุมฺเมโธ        อคฺคิทฑฺโฒว ตปฺปติ.

       เมื่อคนโง่มีปัญญาทราม ทำกรรมชั่วอยู่ก็ไม่รู้สึก เขาเดือดร้อน
       เพราะกรรมของตน เหมือนถูกไฟไหม้.
       (พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๓๓.

 

 


๙.   ยาทิสํ วปเต พีชํ              ตาทิสํ ลภเต ผลํ
       กลฺยาณการี กลฺยาณํ       ปาปการี จ ปาปกํ.

       บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น ผู้ทำกรรมดี ย่อม
       ได้ผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้ผลชั่ว.
        (พุทฺธ) สํ. ส. ๑๕/๓๓๓.



 

๑๐. โย ปุพฺเพ กตกลฺยาโณ     กตตฺโถ นาวพุชฺฌติ 
        อตฺถา ตสฺส ปลุชฺชนฺติ     เย โหนฺติ อภิปตฺถิตา.

        ผู้ใด อันผู้อื่นทำความดี ทำประโยชน์ให้ในกาลก่อน แต่ไม่
        รู้สึก (คุณของเขา), ประโยชน์ที่ผู้นั้นปรารถนาย่อมฉิบหาย.
        (ทฬฺหธมฺมโพธิสตฺต) ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๗/๒๒๘.

 

 

 ๑๑.  โย ปุพฺเพ กตกลฺยาโณ     กตตฺโถ มนุพุชฺฌติ
         อตฺถา ตสฺส ปวฑฺฒนฺติ     เย โหนฺติ อภิปตฺถิตา.

          ผู้ใด อันผู้อื่นทำความดี ทำประโยชน์ให้ในกาลก่อน ย่อม
          สำนึก (คุณของเขา) ได้ ประโยชน์ที่ผู้นั้นปรารถนาย่อมเจริญ.
          (ทฬฺหธมฺมโพธิสตฺต) ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๗/๒๒๘.



 

๑๒.  โย ปุพฺเพ กรณียานิ     ปจฺฉา โส กาตุมิจฺฉติ
        วรุณกฏฺฐํ ภญฺโชว       ส ปจฺฉา อนุตปฺปติ.

         ผู้ใด ปรารถนาทำกิจที่ควรทำก่อน ในภายหลัง ผู้นั้น ย่อม
         เดือดร้อนในภายหลัง ดุจมาณพ (ผู้ประมาทแล้วรับ) หักไม้กุ่มฉะนั้น.
         (โพธิสตฺต) ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๒๓.

 

 

 ๑๓.  สเจ ปุพฺเพกตเหตุ     สุขทุกขํ นิคจฺฉติ 
        โปราณกํ กตํ ปาปํ     ตเมโส มุญฺจเต อิณํ.

          ถ้าประสพสุขทุกข์ เพราะบุญบาปที่ทำไว้ก่อนเป็นเหตุ ชื่อว่า
          เปลื้องบาปเก่าที่ทำไว้ ดุจเปลื้องหนี้ฉะนั้น.
          (โพธิสตฺต) ขุ. ชา. ปญฺาส. ๒๘/๒๕.

 



๑๔.  สุขกามานิ ภูตานิ       โย ทณฺเฑน วิหึสติ
        อตฺตโน สุขเมสาโน    เปจฺจ โส น ลภเต สุขํ.

         สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข ผู้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน เบียด
         เบียนเขาด้วยอาชญา ผู้นั้นละไปแล้ว ย่อมไม่ได้สุข.
         (พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๓๒.

 



๑๕.  สุขกามานิ ภูตานิ        โย ทณฺเฑน น หึสติ
        อตฺตโน สุขเมสาโน     เปจฺจ โส ลภเต สุขํ.

         สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข ผู้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน ไม่
         เบียดเบียนเขาด้วยอาชญา ผู้นั้นละไปแล้ว ย่อมได้สุข.
         (พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๓๒.




พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๒

๑. อัตตวรรค คือ หมวดตน article
๒. อัปปมาทวรรค คือ หมวดไม่ประมาท article
๔. กิเลสวรรค คือ หมวดกิเลส
๕. ขันติวรรค คือ หมวดอดทน
๖. จิตตวรรค คือ หมวดจิต
๗. ทานวรรค คือ หมวดทาน
๘. ธัมมวรรค คือ หมวดธรรม
๙. ปกิณณกวรรค คือ หมวดเบ็ดเตล็ด
๑๐. ปัญญาวรรค คือ หมวดปัญญา
๑๑. ปมาทวรรค คือ หมวดประมาท
๑๒. ปาปวรรค คือ หมวดบาป
๑๓. ปุคคลวรรค คือ หมวดบุคคล
๑๔. ปุญญวรรค คือ หมวดบุญ
๑๕. มัจจุวรรค คือ หมวดความตาย
๑๖. วาจาวรรค คือ หมวดวาจา
๑๗. วิริยวรรค คือ หมวดความเพียร
๑๘. สัทธาวรรค คือ หมวดศรัทธา
๑๙. สีลวรรค คือ หมวดศีล
๒๐. เสวนาวรรค คือ หมวดคบหา



[1]

ความคิดเห็นที่ 3 (178148)

 ขอบคุณค่ะดีมว๊ากกก

ผู้แสดงความคิดเห็น MUAY วันที่ตอบ 2020-08-23 13:41:04


ความคิดเห็นที่ 2 (177659)

ทำไมถึงไม่มีหมวดที่เกี่ยวกับการรู้จักบุญคุณของผู้อื่นบ้างคะ?

ผู้แสดงความคิดเห็น อยากศึกษาธรรม (nongview4578-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2019-11-29 10:10:08


ความคิดเห็นที่ 1 (157968)

สาธุ

ผู้แสดงความคิดเห็น wave (7056120039-at-mv-dot-ac-dot-th)วันที่ตอบ 2015-01-12 14:13:35



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล