ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
ชมคลิปวีดีโอน่าสนใจ
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 9 คน
dot
dot

dot


ฟัง F.M. 103.25 MHz.
ชมทีวีช่องหลวงตา
ฟังวิทยุออนไลน์ วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน
ชมคลิปวีดีโอน่าสนใจ
ขอเชิญสมัครสมาชิกอุปถัมภ์สถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน
เข้าชม face book วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน
เข้าชม twitter วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน


๘. ธัมมวรรค คือ หมวดธรรม

๔๙.  อธมฺมํ  ปฏิปนฺนสฺส                        โย  ธมฺมมนุสาสติ
         ตสฺส  เจ  วจนํ  กยิรา                    น  โส  คจฺเฉยฺย  ทุคฺคตึ.

         ผู้ใดสอนธรรมแก่คนปฏิบัติไม่ถูก  ถ้าเขาทำตามคำของผู้นั้น
         จะไม่ไปสู่ทุคติ.
         (พุทฺธ)                                                ขุ.  ชา  สฏฺฐี.  ๒๘/๓๙.

 

๕๐.  อุปารมฺภจิตฺโต  ทุมฺเมโธ                สุณาติ  ชินสาสนํ
        อารกา  โหติ  สทฺธมฺมา                  นภโส  ปฐวี  ยถา.  
  

        ผู้มีปัญญาทราม  มีจิตใจกระด้าง  ถึงฟังคำสอนของพระชินเจ้า
        ก็ยังห่างไกลจากพระสัทธรรม    เหมือนดินกับฟ้า.
        (ยสทตฺตเถร)                                        ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๒๓.

 

๕๑.  ขติติยา  พฺราหฺมณา  เวสฺสา         สุทฺทา  จณฺฑาลปุกฺกุสา
         อิธ  ธมฺมํ  จริตฺวาน                        ภวนฺติ  ติทิเว  สมา. 
    

         กษัตริย์  พราหมณ์  แพทย์  ศูทร  จัณฑาล  และคนงานชั้นต่ำ
         ประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว  ย่อมเป็นผู้เสมอกันในสวรรค์ชั้นไตรทิพย์.

 

๕๒.  ตณฺหาทุติโย  ปุริโส                ทีฆมทฺธาน  สํสรํ
         อิตฺถมฺภาวญฺญถาภาวํ            สํสารํ  นาติวตฺตติ.   
     

         คนมีตัณหาเป็นเพื่อน  ท่องเที่ยวอยู่ช้านาน  ไม่ล่วงพ้นสงสาร
         ที่กลับกลอกไปได้.
         (ปจฺเจกพุทฺธ)                                        ขุ.  จู.  ๓๐/๓๒๐.

 

๕๓.  นภญฺจ  ทูเร  เปฐวี  จ  ทูเร
        ปารํ  สมุทฺทสฺส  ตทาหุ  ทูเร
        ตโต  หเว  ทูรตรํ  วทนฺติ
        สตญฺจ   ธมฺโม  อสตญฺจ  ราช. 
    

        เขากล่าวว่า  ฟ้ากับดินไกลกัน  และฝั่งทะเลก็ไกลกัน  แต่ธรรม
        ของสัตบุรุษกับของอสัตบุรุษไกลกันยิ่งกว่านั้น.
        (พฺราหฺมณ)                                        ขุ.  ชา.  อสีติ.  ๒๘/๑๔๓.

 

๕๔.  นิกฺกุหา  นิลฺลปา  ธีรา        อถทฺธา  สุสมาหิตา
         เต  เว ธมฺเม  วิรูหนฺติ        สมฺมาสมฺพุทฺธเทสิเต. 
     

         ผู้ไม่คดโกง  ไม่พูดเพ้อ  มีปรีชา  ไม่หยิ่ง   มีใจมั่นคงนั้นแล
         ย่อมงดงามในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว.
         (พุทฺธ)  องฺ.  จตุกฺก.  ๒๑/๓๔.                ขุ.  มหา.  ๒๙/๑๕๑.

 

๕๕.  ปฏิโสตคามึ  นิปุณํ                       คมฺภีรํ  ทุทฺทสํ  อณุํ  
         ราครตฺตา  น  ทกฺขนฺติ                  ตโมกฺขนฺเธน  อาวุตา.
      

         ผู้ถูกราคะย้อม  ถูกกองมืด  (อวิชชา)  ห่อหุ้มแล้ว  ย่อมไม่เห็น   
         ธรรมสำหรับฝืนใจอันละเอียดลออ  ลึกซึ้ง  ซึ่งเห็นได้ยาก.
         (พุทฺธ)                                                ที.  มหา.  ๑๐/๔๑.

 

๕๖.  ยทา  จ  พุทฺธา  โลกสฺมึ                 อุปฺปชฺชนฺติ  ปภงฺกรา
        เต   อิมํ  ธมฺมํ  ปกาเสนฺติ                ทุกฺขูปสมคามินํ.

        เมื่อพระพุทธเจ้า  ผู้ทำความสว่างเกิดขึ้นในโลก,  พระองค์ย่อม
        ประกาศธรรมสำหรับดับทุกข์นี้.
        (สารีปุตฺต)                                        ขุ.  ปฏิ.  ๓๑/๔๑๘.

       

๕๗.  ยสฺส  สพฺรหมฺจารีสุ                     คารโว  นุปลพฺภติ
         อารกา  โหติ  สทฺธมฺมา                นภํ  ปฐวิยา  ยถา. 
 

        ผู้ใดไม่มีความเคารพในเพื่อนพรหมจารี,   ผู้นั้นย่อมห่างจาก
        พระสัทธรรม  เหมือนฟ้ากับดินฉะนั้น.
        (ภคุเถร)                                            ขุ.  เถร  ๒๖/๓๑๑.

 

๕๘.  เย  จ  โข  สมฺมทกฺขาเต        ธมฺเม  ธมฺมานุวตฺติโน   
         เต  ชนา  ปารเมสฺสนฺติ          มจฺจุเธยฺยํ  สุทุตฺตรํ.   
  

         ชนเหล่าใดประพฤติธรรม   ในธรรมที่พระพุทธเจ้ากล่าวดีแล้ว,
         ชนเหล่านั้น  จักข้ามแดนมฤตยูที่ข้ามได้ยาก.
         (พุทธ)                                             ขุ.  ธ  ๒๕/๒๖.

 

๕๙.  โย  อิจฺเฉ   ทิพฺพโภคญฺจ        ทิพฺพมายุํ    ยสํ  สุขํ
         ปาปานิ  ปริวชฺเชตฺวา              ติวิธํ  ธมฺมมาจเร.
  

        ผู้ใด  ปรารถนาโภคทรัพย์  อายุ  ยศ  สุข  อันเป็นทิพย์,  ผู้นั้น
        พึงงดเว้นบาปทั้งหลาย  แล้วประพฤติสุจริตธรรม  ๓  อย่าง.
        (ราชธีดา)                                            ขุ.  ชา.  มหา.  ๒๘/๓๐๖.
        


๖๐.  โย  จ  อปฺปมฺปิ  สุตฺวาน        ธมฺมํ  กาเยน  ปสฺสติ
        ส  เว  ธมฺมธโร  โหติ            โย  ธมฺมํ  นปฺปมชฺชติ. 

        ผู้ใดฟังธรรมแม้น้อย  ย่อมเห็นธรรมด้วยกาย   ผู้ใดไม่ประมาท
        ธรรม  ผู้นั้นแล   ชื่อว่าผู้ทรงธรรม.
        (พุทธ)                                                ขุ.  ธ.  ๒๕/๔๙.

 

๖๑.  โยนิโส  วิจิเน  ธมฺมํ                ปญฺญายตฺถํ  วิปสฺสติ 
        ปชฺโชตสฺเสว   นิพฺพานํ           วิโมกฺโข  โหติ  เจตโส. 
          

        ควรเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย,  จะเห็นอรรถแจ่มแจ้งได้ด้วย
        ปัญญา,  ความหลุดพ้นแห่งใจย่อมมี  เหมือนไฟดับ.
        (พุทฺธ)                                        องฺ.  สตฺตก.  ๒๓/๔.




พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๒

๑. อัตตวรรค คือ หมวดตน article
๒. อัปปมาทวรรค คือ หมวดไม่ประมาท article
๓. กัมมวรรค คือ หมวดกรรม article
๔. กิเลสวรรค คือ หมวดกิเลส
๕. ขันติวรรค คือ หมวดอดทน
๖. จิตตวรรค คือ หมวดจิต
๗. ทานวรรค คือ หมวดทาน
๙. ปกิณณกวรรค คือ หมวดเบ็ดเตล็ด
๑๐. ปัญญาวรรค คือ หมวดปัญญา
๑๑. ปมาทวรรค คือ หมวดประมาท
๑๒. ปาปวรรค คือ หมวดบาป
๑๓. ปุคคลวรรค คือ หมวดบุคคล
๑๔. ปุญญวรรค คือ หมวดบุญ
๑๕. มัจจุวรรค คือ หมวดความตาย
๑๖. วาจาวรรค คือ หมวดวาจา
๑๗. วิริยวรรค คือ หมวดความเพียร
๑๘. สัทธาวรรค คือ หมวดศรัทธา
๑๙. สีลวรรค คือ หมวดศีล
๒๐. เสวนาวรรค คือ หมวดคบหา



แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล