ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
ชมคลิปวีดีโอน่าสนใจ
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 11 คน
dot
dot

dot


ฟัง F.M. 103.25 MHz.
ชมทีวีช่องหลวงตา
ฟังวิทยุออนไลน์ วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน
ชมคลิปวีดีโอน่าสนใจ
ขอเชิญสมัครสมาชิกอุปถัมภ์สถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน
เข้าชม face book วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน
เข้าชม twitter วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน


๙. ปกิณณกวรรค คือ หมวดเบ็ดเตล็ด

 ๖๒.  อกฺโกจฺฉิ  มํ  อวธิ  มํ           อชินิ  มํ  อหาสิ  เม
         เย  จ  ตํ  อุปนยฺหนฺติ           เวรํ  เตสํ  น  สมฺมติ. 
      

        ผู้ใด  ผูกอาฆาตว่า  เขาได้ด่าเรา  ได้ฆ่าเรา  ได้ชนะเรา  ได้ลัก
        ของของเรา  ดังนี้  เวรของผู้นั้นย่อมไม่ระงับ.
        (พุทฺธ)                                        ขุ.  ธ.  ๒๕/๑๕.

 

 

๖๓.  อกฺโกจฺฉิ  มํ  อวธิ  มํ           อชินิ  มํ  อหาสิ  เม
        เย  จ  ตํ  นูปนยฺหนฺติ          เวรํ  เตสูปสมฺมติ.  
 

        ผู้ใดผูกอาฆาตว่า  เขาได้ด่าเรา  เขาได้ฆ่าเรา  ได้ชนะเรา  ได้ลัก
        ได้ลักของของเรา  ดังนี้  เวรของผู้นั้นย่อมระงับ.
        (พุทฺธ)                                        ขุ.  ธ.  ๒๕/๑๕.

 

 

๖๔.  อจฺจิ  ยถา  วาตเวเคน  ขิตฺตํ  
        อตฺถํ  ปเลติ  น  อุเปติ  สงฺขํ  
        เอวํ  มุนี  นามกายา  วิมุตฺโต 
        อตฺถํ  ปเลติ  น  อุเปติ  สงฺขํ.     
 

        เปลวไฟที่ถูกกำลังลมพัดดับวูบไป  ย่อมกำหนดนับไม่ได้ฉันใด,
        ผู้รู้พ้นไปแล้วจากนามกาย  ดับวูบไป  ย่อมกำหนดนับไม่ได้ฉันนั้น.
        (พุทฺธ)  ขุ.  สุ.  ๒๕/๕๓๙.                 ขุ.  จู.  ๓๐/๑๓๖.

 

 

๖๕.  อินฺทฺริยานิ  มนุสฺสานํ                หิตาย  อหิตาย  จ
        อรกฺขิตานิ   อหิตาย                  รกฺขิตานิ  หิตาย  จ.  
 

        อินทรีย์ของมนุษย์มีอยู่เพื่อประโยชน์  และมิใช่ประโยชน์  คือ
        ที่ไม่รักษา  ไม่เป็นประโยชน์,  ที่รักษา  จึงเป็นประโยชน์.
        (ปาราสริยเถร)                                        ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๗๒.

 

 

๖๖.  ตสฺมา  หิ  ปณฺฑิโต  โปโส            สมฺปสฺสํ  อตฺถมตฺตโน
        โลภสฺส  น  วสํ  คจฺเฉ                   หเนยฺย  ทิสกํ  มนํ. 
 

         ผู้เป็นบัณฑิต  เมื่อเล็งเห็นประโยชน์ตน  ไม่พึงลุอำนาจของ
         โลภะ  พึงกำจัดน้ำใจที่ละโมภเสีย.
         (พุทฺธ)                                                ขุ.  ชา.  ปกิณฺณก.  ๒๗/๓๙๖.

 

 

๖๗.  นกฺขตฺตํ  ปฏิมาเนนฺตํ                       อตฺดถ  พาลํ  อุปจฺจคา   
        อตฺโถ  อตฺถสฺส  นกฺขตฺตํ                   กึ  กริสฺสนฺติ  ตารกา.  

        ประโยชน์ได้ล่วงเลยคนเขลาผู้มัวถือฤกษ์อยู่,   ประโยชน์เป็นฤกษ์
        ของประโยชน์  ดวงดาวจักทำอะไรได้.
         (โพธิสตฺต)                                        ขุ.  ชา.  เอก.  ๒๗/๑๖.

 

 

๖๘.  น  สาธุ  พลวา  พาโล              สาหสํ  วินฺทเต  ธนํ
        กนฺทนฺตเมตํ  ทุมฺเมธํ                กฑฺฒนฺติ  นิรยํ  ภุสํ. 
    

        คนเขลา  มีกำลัง  หาทรัพย์อย่างผลุนผลัน  ไม่ดี,  นายนิรยบาล
        ย่อมฉุดคนโง่มีปัญญาทรามผู้คร่ำครวญอยู่นั้น  ไปสู่นรกอันร้ายกาจ.
        (มโหสถโพธิสตฺต)                                ขุ.  ชา.  วีส.  ๒๗/๔๒๕.

 

 

๖๙.  ปญฺจ  กามคุณา  โลเก               มโนฉฏฺฐา  ปเวทิตา
        เอตฺถ  ฉนฺทํ  วิราชิตฺวา                เอวํ  ทุกฺขา  ปมุจฺจติ. 
    

        กามคุณ  ๕  ในโลก  มีใจเป็นที่  ๖  อันท่านชี้แจงไว้แล้ว,  บุคคล
        คลายความพอใจในกามคุณนี้แล้ว   ย่อมพ้นจากทุกข์ได้อย่างนี้.
        (พุทฺธ)                                                สํ.  ส.  ๑๕/๒๓.

 

๗๐.  ปรทุกฺขูปธาเนน                 โย  อตฺตโน  สุขมิจฺฉติ
         เวรสํสคฺคสํสฏฺโฐ                เวรา  โส  น  ปริมุจฺจติ. 
         

         ผู้ใด  ต้องการสุขเพื่อตน   ด้วยการก่อทุกข์แก่ผู้อื่น,  ผู้นั้น
         ชื่อว่า  พัวพันไปด้วยเวร  ย่อมไม่พ้นจากเวร.
         (พุทฺธ)                                                ขุ.  ธ.  ๒๕/๕๓.

 

 

๗๑.  ปริตฺตํ  ทารุมารุยฺห                ยถา  สีเท  มหณฺณเว
         เอวํ  กุสีตมาคมฺม                  สาธุชีวีปิ  สีหติ.  
  

         คนเกาะไม้ฟืนเล็ก ๆ  พึงจมลงในทะเลฉันใด  คนมั่งมีอาศัยความ
         เกียจคร้านก็ล่มจมฉันนั้น.
         (วิมลเถร)                                                ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๐๙.

 

 

๗๒.  พลํ  จนฺโท  พลํ  สุริโย        พลํ  สมณพฺราหฺมณา
         พลํ  เวลา  สมุทฺทสฺส          พลาติพลมิตฺถิโย. 
     

         พระจันทร์  พระอาทิตย์  สมณพราหมณ์  และฝั่งทะเล  ต่างก็
         มีกำลัง,  แต่สตรีมีกำลังยิ่งกว่ากำลัง  (เหล่านั้น).
         (มหาชนก)                                        ขุ.  ชา.  นวก.  ๒๗/๒๖๑.

 

 

๗๓.  พหูนํ  วต  อตฺถาย                อุปฺปชฺชนฺติ  ตถาคตา    
         อิตฺถีนํ  ปุริสานญฺจ                เย  เต   สาสนการกา.
      

          พระตถาคตเจ้าย่อมเกิดขึ้น   เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก  คือ
          สตรีและบุรุษผู้ทำตามคำสอน.
          (วงฺคีสเถร)                                        ขุ.  เถร.  ๒๖/๔๓๗.


     

   
๗๔.  ยตฺถ  โปสํ  น  ชานนฺติ          ชาติยา  วินเยน  วา
         น   ตตฺถ  มานํ  กยิราถ          วสํ  อญฺญาตเก  ชเน.

       

         ในที่ใด  ยังไม่รู้จักคนโดยกำเนิดหรือโดยขนบประเพณี  เมื่ออยู่
         ในที่นั้น  หมู่คนที่ยังไม่รู้จักกัน  ไม่ควรทำความถือตัว.
         (มหาททฺทรโพธิสตฺต)                        ขุ.  ชา.  จตุกฺก.  ๒๗/๑๓๑.

     

 

๗๕.  เย  จ  กาหนฺติ  โอวาทํ        นรา  พุทฺเธน  เทสิตํ
         โสตฺถึ  ปรํ  คมิสฺสนฺติ          วลาเหเนว  วาณิชา  
    

         คนใด  จัดทำตามโอวาทที่ผู้รู้แสดงแล้ว  คนนั้นจักถึงฝั่งที่สวัสดี
         เหมือนพ่อค้าถึงฝั่งที่สวัสดีเพราะม้าวลาหก.
         (พุทฺธ)                                                ขุ.  ชา.  ทุก.  ๒๗/๗๑.

 

 

๗๖.  เย  วุฑฺฒมปจายนฺติ                นรา  ธมฺมสฺส  โกวิทา    
        ทิฏฺเฐ   ธมฺเม  จ  ปาสํสา          สมฺปราโย  จ  สุคฺคติ. 
    

        คนรู้จักขนบธรรมเนียม  ย่อมยำเกรงผู้เฒ่าผู้แก่  ในชาตินี้ก็มีผู้
        สรรเสริญ  ชาติหน้าก็ไปดี. 
        (พุทฺธ)                                                ขุ. ชา  เอก.  ๒๗/๑๒.

 

 

๗๗.  รูปา  สทฺทา  คนฺธา  รสา         ผสฺสา  ธมฺมา  จ  เกวลา
         เอตํ  โลกามิสํ โฆรํ                   เอตฺถ  โลโก  วิมุจฺฉิโต.

        

         รูป  เสียง  กลิ่น  รส  ผัสสะ   และธรรมารมณ์นั้น  ล้วนเป็น
         โลกามิสอันร้ายกาจ,  สัตวโลกหมกมุ่นอยู่ในอารมณ์เหล่านี้.
         (พุทฺธ)                                                สํ.  ส.  ๑๕/๑๖๖.

       

 

๗๘.  วิเทสวาสํ  วสโต                ชาตเวทสเมนปิ
         ขมิตพฺพํ  สปญฺเญน            อปิ   ทาสสฺส  ตชฺชิตํ.   
   

         แม้มีปัญญารุ่งโรจน์อย่างไฟ   เมื่อยู่ในต่างประเทศก็ควรอดทน
         คำขู่เข็ญแม้ของทาส.
         (มหาททฺทรโพธิสตฺต)                        ขุ.  ชา.  จตุกฺก.  ๒๗/๑๓๑.




พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๒

๑. อัตตวรรค คือ หมวดตน article
๒. อัปปมาทวรรค คือ หมวดไม่ประมาท article
๓. กัมมวรรค คือ หมวดกรรม article
๔. กิเลสวรรค คือ หมวดกิเลส
๕. ขันติวรรค คือ หมวดอดทน
๖. จิตตวรรค คือ หมวดจิต
๗. ทานวรรค คือ หมวดทาน
๘. ธัมมวรรค คือ หมวดธรรม
๑๐. ปัญญาวรรค คือ หมวดปัญญา
๑๑. ปมาทวรรค คือ หมวดประมาท
๑๒. ปาปวรรค คือ หมวดบาป
๑๓. ปุคคลวรรค คือ หมวดบุคคล
๑๔. ปุญญวรรค คือ หมวดบุญ
๑๕. มัจจุวรรค คือ หมวดความตาย
๑๖. วาจาวรรค คือ หมวดวาจา
๑๗. วิริยวรรค คือ หมวดความเพียร
๑๘. สัทธาวรรค คือ หมวดศรัทธา
๑๙. สีลวรรค คือ หมวดศีล
๒๐. เสวนาวรรค คือ หมวดคบหา



แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล