ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
ชมคลิปวีดีโอน่าสนใจ
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 9 คน
dot
dot

dot


ฟัง F.M. 103.25 MHz.
ชมทีวีช่องหลวงตา
ฟังวิทยุออนไลน์ วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน
ชมคลิปวีดีโอน่าสนใจ
ขอเชิญสมัครสมาชิกอุปถัมภ์สถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน
เข้าชม face book วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน
เข้าชม twitter วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน


๑๑. ปุคคลวรรค คือ หมวดบุคคล

๑๓๖.  อกฺโกธโน  อนุปนาหี            อมกฺขี  สุทฺธตํ  คโต
           สมฺปนฺนทิฏฺฐิ  เมธาวี         ตํ  ชญฺญา  อริโย  อิติ.

           ผู้ใดไม่โกรธ  ไม่ผูกโกรธ  ไม่ลบหลู่  ถึงความหมดจด  มีทิฏฐิ
           สมบูรณ์  มีปัญญา,  พึงรู้ว่าผู้นั้นเป็นอริยะ.
           (สารีปุตฺตเถร)                                     ขุ.  ปฏิ.  ๓๑/๒๔๑.

       

๑๓๗.  อกฺโกธสฺส  กุโต  โกโธ          ทนฺตสฺส  สมชีวิโน
            สมฺมทญฺญา  วิมุตฺตสฺส          อุปสนฺตสฺส  ตาทิโน.

            ผู้ไม่โกรธ  ฝึกตนแล้ว  เป็นอยู่สม่ำเสมอ  หลุดพ้นเพราะรู้ชอบ
            สงบระงับ  คงที่  จะมีความโกรธมาแต่ไหน.
            (นฺหาตกมุนีเถร)                                ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๓๔.

 

๑๓๘.  อจฺฉิทฺทวุตฺตึ  เมธาวึ              ปญฺญาสีลสมาหิตํ
           เนกฺขํ  ชมฺโพนทสฺเสว           โก  ตํ  นินฺทิตุมรหติ.

           ใครควรจะติคนฉลาดประพฤติไม่ขาด  ตั้งมั่นด้วยปัญญาและศีล
           ประดุจแท่งทองชมพูนุท.
           (พุทฺธ)                                              ขุ.  ธ.  ๒๕/๔๕.

       

๑๓๙.  อนาคตปฺปชปฺปาย                อตีตสฺสานุโสจนา
      
     เอเตน  พาลา  สุสฺสนฺติ          นโฬว  หริโต  ลุโต.

           คนเขลาย่อมซูบซีด  เพราะคำนึงถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง  เพราะ
           เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว  เหมือนต้นอ้อสดที่ถูกตัด.
           (พุทฺธ)                                              สํ.  ส.  ๑๕/๗.

       

๑๔๐.  อนุทฺธโต  อจปโล               นิปโล  สํวุตินฺทฺริโย
          กลฺยาณมิตฺโต  เมธาวี        ทุกฺขสฺสนฺตกโร  สิยา.

           คนฉลาด ไม่ฟุ้งซ่าน  ไม่คลอนแคลน  มีปัญญา  สำรวมอินทรีย์
           มีมิตรดี  พึงทำที่สุดทุกข์ได้.
           (อญฺญาโกณฺฑญฺญเถร)                      ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๖๖.

      

๑๔๑.  อปฺปสฺสาทา  ทุกฺขา  กามา          อิติ  วิญฺญาย  ปณฺฑิโต
           อปิ  ทิพฺเพสุ  กาเมสุ                    รตึ   โส    นาธิคจฺฉติ.

           กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย  มีทุกข์มาก,  บัณฑิตรู้ดังนี้แล้ว
           ไม่ใยดีในกามแม้เป็นทิพย์.
            (พุทฺธ)                                             ขุ. ธ.  ๒๕/๔๐.

       

 ๑๔๒.  อสฺสทฺโธ  อกตญฺญู  จ            สนฺธิจฺเฉโท  จ  โย  นโร
            หตาวกาโส  วนฺตาโส             ส  เว  อุตฺตมโปริโส.

            นรชนใด  ไม่เชื่อ  ( ตามเขาว่า )  รู้จัดพระนิพพาน  อันอะไร ๆ
            ทำไม่ได้  ตัดเงื่อนต่อได้  มีโอกาสอันขจัดแล้ว  และคายความหวัง
            แล้ว,  ผู้นั้นแล  เป็นบุรุษสูงสุด.
            (พุทฺธ)                                             ขุ.  ธ.  ๒๕/๒๘.

          

๑๔๓.  อโยเค  ยุญฺชมตฺตานํ              โยคสฺมิญฺจ  อโยชยํ
           อตฺถํ  หิตฺวา  ปิยคฺคาหี            ปิเหตตฺตานุโยคินํ.

           ผู้ประกอบตนในสิ่งที่ไม่ควรประกอบ  และไม่ประกอบตนในสิ่ง
           ควรประกอบ  ละประโยชน์เสีย  ถือตามชอบใจ  ย่อมกระหยิ่มต่อ
           ผู้ประกอบตนเนือง ๆ.
           (พุทฺธ)                                               ขุ.  ธ.  ๒๕/๔๓.

            

๑๔๔.  อสตญฺจ  สตญฺจ  ญตฺวา  ธมฺมํ
           อชฺฌตฺตํ  พหิทฺธา  จ  สพฺพโลเก
           เทวมนุสฺเสหิ  จ  ปูชิโต  โย
           โส  สงฺคชาลมติจฺจ  โส  มุนิ.

           ผู้ใดรู้ธรรมของอสัตบุรุษและของสัตบุรุษ  ทั้งภายใน  ทั้งภายนอก
           มีเทวดาและมนุษย์บูชาในโลกทั้งปวง  ผู้นั้นจึงล่วงข่ายคือเครื่องข้อง
           ได้  และเป็นมุนี.
           (พุทฺธ)         ขุ.  สุ.  ๒๕/๔๓๒.           ขุ.  มหา.  ๒๙/๔๐๖.

       

๑๔๕.  อากาเสว  ปทํ  นตฺถิ              สมโณ  นตฺถิ  พาหิโร
           สงฺขารา  สสฺสตา  นตฺถิ         นตฺถิ  พุทฺธานมิญฺชิตํ.

           สมณะภายนอกไม่มี,  สังขารเที่ยงไม่มี,  ความหวั่น
           ไหวของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มี, เหมือนรอยเท้าไม่มีใน
           อากาศ.
           (พุทฺธ)                                               ขุ. ธ.  ๒๕/๔๙.

       

๑๔๖.  อุฏฺฐานวโต  สตีมโต                สุจิกมฺมสฺส  นิสมฺมการิโน
           สญฺญตสฺส  จ  ธมฺมชีวิโน        อปฺปมตฺตสฺส  ยโสภิวฑฺฒติ.

           เกียรติยศย่อมเจริญแก่ผู้ขยัน  มีสติ  มีการงานสะอาด ใคร่ครวญ
           แล้วจึงทำ  สำรวมแล้ว  เป็นอยู่โดยธรรม  และไม่ประมาท.
           (พุทฺธ)                                               ขุ.  ธ.  ๒๕/๑๘.

       

๑๔๗.  อุตฺตมํ  ธมฺมตํ  ปตฺโต               สพฺพโลเก  อนตฺถิโก
            อาทิตฺตาว  ฆรา  มุตฺโต            มรณสฺมึ  น  โสจติ.

            ผู้บรรลุธรรมอย่างสุงสุด  ไม่มีความต้องการในโลกทั้งปวง  ย่อม
            ไม่เศร้าโศกในเพราะความตาย  เหมือนพ้นจากเรือนถูกไฟไหม้.
            (ปาราสริยเถร)                                 ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๗๐.

       

๑๔๘.  อุยฺยุญฺชนติ  สตีมนฺโต              น  นิเกเต  รมนฺติ  เต
           หํสาว  ปลฺลลํ  หิตฺวา                โอกโมกํ  ชหนฺติ  เต.

           ผู้มีสติย่อมหลีกออก  ท่านไม่ยินดีในที่อยู่  ท่านย่อมละที่อยู่ได้
           ดุจหงส์ละเปือกตมไปฉะนั้น.
           (พุทฺธ)                                             ขุ.  ธ.  ๒๕/๒๗.

       

๑๔๙.  กายมุนึ  วาจามุนึ                 เจโตมุนิมนาสวํ
            มุนึ  โมเนยฺยสมฺปนฺนํ           อาหุ  สพฺพปหายินํ.

           บัณฑิตทั้งหลายกล่าวถึงผู้นิ่งทางกาย  นิ่งทางวาจา  นิ่งทางใจ
           ไม่มีอาสวะ  ถึงพร้อมด้วยปัญญา  ผู้ละสิ่งทั้งปวงได้  ว่าเป็นมุนี.
           (พุทฺธ)                                             องฺ.  ติก.  ๒๐/๓๕๒.

    

๑๕๐.  กายสุจึ  วาจาสุจึ              เจโตสุจิมนาสวํ
           สุจึ  โสเจยฺยสมฺปนฺนํ      อาหุ  นินฺหาตปาปกํ.

           บัณฑิตกล่าวถึงผู้มีกายสะอาด  มีวาจาสะอาด  มีใจสะอาด  ไม่มี
           อาสวะ  ถึงพร้อมด้วยความสะอาด  ล้างบาปแล้ว  ว่าเป็นผู้สะอาด.
           (พุทฺธ)                                             องฺ.  ติก.  ๒๐/๓๕๒.

       

๑๕๑.  โกธโน  อุปนาหี  จ             ปาปมกฺขี  จ  โย  นโร
            วิปนฺนทิฏฺฐิ  มายาวี           ตํ  ชญฺญา  วสฺล  อิติ.

            ผู้ใดมักโกรธ  ผูกโกรธไว้  ลบหลู่เขาด้วยความชั่ว  มีความเห็น
            วิบัติ  มีมายา  พึงรู้ว่าคนนั้น  เป็นคนเลว.
            (พุทฺธ)                                              ขุ.  สุ.  ๒๕/๓๔๙.

       

๑๕๒.  ขตฺติยา  พฺราหฺมณา  เวสฺสา         สุทฺทา  จณฺฑาลปุกฺกุสา
           สพฺเพว  โสรตา  ทนฺตา                 สพฺเพว  ปรินิพฺพุตา.

           กษัตริย์  พราหมณ์  แพศย์  ศูทร  จัณฑาล  และคนงาน
           ชั้นต่ำทั้งปวง  สงบเสงี่ยมแล้ว  ฝึกตนแล้ว  ก็ปรินิพพานเหมือนกัน
           หมด.
           (พฺราหฺมณ  อุทฺทาลก)                          ขุ.  ชา.  ปกิณฺณก.  ๒๗/๓๗๖.

          

๑๕๓.  โจรํ  หรนฺตํ  วาเรนฺติ     หรนฺโต  สมโณ  ปิโย
           สมณํ  ปุนปฺปุนายนฺตํ     อภินนฺทนฺติ  ปณฺฑิตา.

           บัณฑิตขัดขวางโจรผู้นำของไป,  ส่วนสมณะนำไป  ย่อมเป็น
           ที่รัก,  บัณฑิตย่อมยินดีต้อนรับสมณะผู้มาบ่อย ๆ.
           (พุทฺธ)                                                สํ.  ส.  ๒๕/๖๐.

       

๑๕๔.  ชยํ  เวรํ  ปสวติ               ทุกฺขํ  เสติ  ปราชิโต
            อุปสนฺโต  สุขํ  เสติ         หิตฺวา  ชยปราชยํ.

            ผู้ชนะย่อมก่อเวร  ผู้แพ้ย่อมนอนเป็นทุกข์  คนละความชนะ
            และความแพ้ได้แล้ว  สงบใจได้  ย่อมนอนเป็นสุข.
            (พุทฺธ)                                               ขุ.  ธ.  ๒๕/๔๒.

       

๑๕๕.  ตสฺมา  สตญฺจ  อสตญฺจ          นานา  โหติ  อิโต  คติ
           อสนฺโต  นิรยํ  ยนฺติ                  สนฺโต  สคฺคปรายนา.

            (เพราะธรรมของสัตบุรุษยากที่อสัตบุรุษจะประพฤติตาม)  คติ
            ที่ไปจากโลกนี้ของสัตบุรุษและอสัตบุรุษจึงต่างกัน,  คืออสัตบุรุษไป
            นรก,  สัตบุรุษไปสวรรค์.
            (พุทฺธ)                                                ขุ.  ชา.  มหา.  ๒๘/๔๓๕.

                   

๑๕๖.  ตสฺมา  หิ  ธีโร  อิธุปฏฺฐิตาสติ
           กาเม  จ  ปาเป  จ  อเสวมาโน
           สหาปิ  ทุกฺเขน  ชเหยฺย  กาเม
           ปฏิโสตคามีติ  ตมาหุ  ปุคฺคลํ.

           เพราะนักปราชญ์มีสติตั้งมั่นในธรรมวินัยนี้  ไม่เสพกามและ
           บาป  พึงละกามพร้อมทั้งทุกข์ได้  ท่านจึงกล่าวบุคคลนั้นว่า  ผู้ไปทวน
           กระแส.
           (พุทฺธ)                                                   องฺ.  จตุกฺก.  ๒๑/๗.

        

๑๕๗.  ทุทฺททํ  ททมานานํ               ทุกฺกรํ  กมฺมกุพฺพตํ
            อสนฺโต  นานุกุพฺพนฺติ           สตฺ  ธมฺโม  ทุรนฺวโย.

            เมื่อสัตบุรุษให้สิ่งที่ให้ยาก  ทำกรรมที่ทำได้ยาก,  อสัตบุรุษ
            ย่อมทำตามไม่ได้  เพราะธรรมของสัตบุรุษยากที่อสัตบุรุษจะประพฤติ
            ตาม.
            (โพธิสตฺต)                                           ขุ.  ชา.  ทุก.  ๒๗/๖๓.

       

๑๕๘.  น  ชจฺจา  วสโล  โหติ              น  ชจฺจา  โหติ  พฺราหฺมโณ
           กมฺมุนา  วสโล  โหติ                กมฺมุนา  โหติ  พฺรมหฺมโณ
.

           บุคคลเป็นคนเลวเพราะชาติก็หาไม่  เป็นผู้ประเสริฐเพราะชาติก็หา
           ไม่  (แต่)  เป็นคนเลวเพราะการกระทำ  เป็นผู้ประเสริฐก็เพราะการกระทำ.
           (พุทฺธ)                                                ขุ.  สุ. ๒๕/๓๕๒.

 

๑๕๙.  นิฏฺฐํ  คโต  อสนฺตาสี          วีตตณฺโห  อนงฺคโณ
           อจฺฉินฺทิ  ภวสลฺลานิ            อนฺติโมยํ  สมุสฺสโย.

           บุคคลถึงความสำเร็จแล้ว  ( พราะอรหัตผล )  ไม่สะดุ้ง  ปราศจาก
           ตัณหา ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน  ตัดลูกศรอันจะนำไปสู่ภพได้แล้ว
           ร่างกายนี้จึงชื่อว่า  มีในที่สุด.
           (พุทฺธ)                                                ขุ.  ธ.  ๒๕/๖๓.

                    

๑๖๐.  นิลฺโลลุโป  นิกฺกุโห  นิปฺปิปาโส
          นิมฺมกฺโข  นิทฺธนฺตกสาวโมโห
          นิราสโส  สพฺพโลเก  ภวิตฺวา
          เอโก  จเร  ขคฺควิสาณกปฺโป.

          ผู้ไม่ละโมภ  ไม่อำพราง  ไม่กระหาย  ไม่ลบหลู่  ขจัดโมหะ
          ดุจน้ำฝาดแล้ว  ไม่มีความมุ่งหวัง  ครอบงำโลกทั้งหมด  ควรเที่ยวไป
          ผู้เดียวเหมือนนอแรด.
          (พุทฺธ)        ขุ.  สุ.  ๒๕/๓๓๖.               ขุ.  จู.  ๓๐/๓๗๙.

                    

๑๖๑.  ปาป  น  กยิรา  วจสา  มนสา
           กาเยน  วา  กิญฺจน  สพฺพโลเก
           กาเม  ปหาย  สติมา  สมฺปชาโน
           ทุกฺขํ  น  เสเวถ  อนตฺถสญฺหิตํ.

           บุคคลไม่ควรทำบาปซึ่งเป็นเครื่องกังวลในโลกทั้งปวง  ด้วย
           กาย  วาจา  หรือด้วยใจ  มีสติสัมปชัญญะ  ละกามทั้งหลายได้แล้ว
           ไม่ควรเสพทุกข์อันประกอบด้วยสิ่งที่ไร้ประโยชน์.
           (จุลฺลโกกนทา  ปชฺชุนฺนธีตา)               สํ.  ส.  ๑๕/๔๒.

          

๑๖๒.  มทนิมฺมทนํ  โสกนุทํ           สํสารปริโมจนํ
           สพฺพทุกฺขกฺขยํ  มคฺคํ          สกฺกจฺจํ  ปฏิปชฺชถ.

           ท่านทั้งหลายจงดำเนินตามทางที่สร่างความเมา  บรรเทาความ
           โศก  เปลื้องสงสาร  เป็นที่สิ้นทุกข์ทั้งปวง  โดยความเคารพ.
           (พุทฺธ)                                               ขุ.  พุ.  ๓๓/๔๑๕.

                    

๑๖๓.  มานํ  ปหาย  สุสมาหิตตฺโต
           สุเจตโส  สพฺพธิ  วิปฺปมุตฺโต
           เอโก  อรญฺเญ  วิหรํ  อปฺปมตฺโต
           ส  มจฺจุเธยฺยสฺส  ตเรยฺย  ปารํ.

           ผู้ใดละมานะ  มีตนตั้งมั่นดีแล้ว  มีใจดี  หลุดพ้นในที่ทั้งปวง
           อยู่ในป่าคนเดียว  เป็นผู้ไม่ประมาท,  ผู้นั้นพึงข้ามฝั่งแห่งแดน
           มฤตยู.
           (พุทฺธ)                                              สสํ.  ส.  ๒๕/๖.

       

๑๖๔.  โมสวชฺเช  น  นิยฺเยถ           รูเป  เสฺนหํ  น  กุพฺพเย
            มานญฺจ  ปริชาเชยฺย          สาหสา  วิรโต  จเร.

            บุคคลไม่ควรนิยมการกล่าวคำเท็จ  ไม่ควรทำความเสน่หาใน
            รูปโฉม  ควรกำหนดรู้มานะ  และประพฤติงดเว้นจากความผลุนผลัน.
            (พุทฺธ)           ขุ.  สุ.  ๒๕/๕๑๘.         ขุ.  มหา.  ๒๙/๕๑๗.

   

๑๖๕.  มาเนน  วญฺจิตา  เส          สงฺขาเรสุ  สงฺกิลิสฺสมานา  เส
           ลาภาลาเภน  มถิตา          สมาธึ   นาธิคจฺฉนฺติ.

           ผู้ถูกมานะหลอกลวง  เศร้าหมองอยู่ในสังขาร  ถูกลาภและ
           ความเสื่อมลาภย่ำยี  ย่อมไม่ลุถึงสมาธิ.
           (เสตุจฺฉเถร)                                       ขุ.  เถร.  ๒๖/๒๘๓.

       

๑๖๖.  ยมฺหิ  สจฺจญฺจ  ธมฺโม  จ           อหึสา  สญฺญโม  ทโม
           ส  เว  วนฺตมโล  ธีโร                 โส  เถโรติ  ปวุจฺจติ.

           ผู้ใดมีความสัตย์  มีธรรม  มีความไม่เบียนดเบียน  มีความ
           สำรวม  และมีความข่มใจ  ผู้นั้นแล  ชื่อว่า  ผู้มีปัญญา  หมด
           มลทิน  เขาเรียกท่านว่า  เถระ.
           (พุทฺธ)                                              ขุ.  ธ.  ๒๕/๕๐.

                    

๑๖๗.  ยทา  ทุกฺขํ  ชรามรณนฺติ  ปณฺฑิโต
            อวิทฺทสู  ยตฺถ  สิตา  ปุถุชฺชนา
            ทุกฺขํ  ปริญฺญาย  สโต  ว  ฌายติ
            ตโต  รตึ  ปรมตรํ  น  วินฺทติ.

            เมื่อใด  บัณฑิตรู้ว่า  ชราและมรณะเป็นทุกข์  กำหนดรู้ทุกข์ซึ่ง
            เป็นที่อาศัยแห่งปุถุชน  มีสติเพ่งพินิจอยู่  เมื่อนั้น  ย่อมไม่ประสบ
            ความยินดีที่ยิ่งกว่านั้น.
            (ภูตเถร)                                           ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๔๔.

 

๑๖๘.  ยสฺส  ราโค  จ  โทโส  จ         มาโน  มกฺโข  จ  ปาติโต
           สาสโปริว  อารคฺคา               ตมหํ  พฺรูมิ พฺราหฺมณํ.

           ผู้ใดทำ  ราคะ  โทสะ  มานะ  และมักขะ  ให้ตกไป
           เหมือนทำให้เมล็ดผักกาดตกจากปลายเหล็กแหลม,  เราเรียกผู้นั้นว่า
           พราหมณ์.
           (พุทฺธ)                                               ขุ.  ธ.  ๒๕/๖๙.

       

๑๖๙.  ยสฺสาลยา  น  วิชฺชนฺต         อญฺญาย  อกถงฺกถี
           อมโตคธํ  อนุปฺปตฺตํ              ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ.

           ผู้ใดไม่มีความอาลัย  รู้แล้วหาความสงสัยมิได้  เราเรียกผู้หยั่ง
           ลงสู่อมตะ  บรรลุประโยชน์แล้วนั้นว่าเป็นพราหมณ์.
           (พุทฺธ)                                                ขุ.  ธ.  ๒๕/๗๐.

                    

๑๗๐.  เย  เกจิ  กาเมสุ  อสญฺญตา  ชนา
            อวีตราคา  อิธ  กามโภคิโน
            ปุนปฺปุนํ  ชาติชรูปคา  หิ  เต.
            ตณฺหาธิปนฺนา  อนุโสตคามิโน.

            คนบางพวกเหล่าใด  ไม่สำรวมในกาม  ยังไม่ปราศจากราคะ
            เป็นผู้บริโภคกามในโลกนี้,  คนเหล่านั้นถูกตัณหาครอบงำ  ลอยไปตาม
            กระแส  (ตัณหา)  ต้องเป็นผู้เข้าถึงชาติชราร่ำไป.
            (พุทฺธ)                                              องฺ.  จตุกฺก.  ๒๑/๗.

  

๑๗๑.  เย  จ  โข  พาลา  ทุมฺเมธา         ทุกมฺมนฺตี  โมหปารุตา
            ตาทิสา  ตตฺถ  รชฺชนฺติ               มารกฺขิตฺตสฺมิ  พนฺธเน.

            คนเหล่าใดเขลา  มีปัญญาทราม  มีความคิดเลว  ถูกความหลง
            ปกคลุม,  คนเช่นนั้น  ย่อมติดเครื่องผูกอันมารทอดไว้นั้น.
            (นนฺทกเถร)                                       ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๑๒.

       

๑๗๒.  เย  จ  สีเลน  สมฺปนฺนา             ปญฺญายูปสเม  รตา
            อารกา  วิรตา  ธีรา                  น  โหนฺติ  ปรปตฺติยา.

            ผู้มีปัญญาเหล่าใด  ประกอบด้วยศีล  ยินดีในความสงบด้วยปัญญา
            ผู้มีปัญญาเหล่านั้น  เว้นไกลจากความชั่วแล้ว  ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น.
            (โพธิสตฺต)                                       ขุ.  ชา.  จตุกฺก.  ๒๗/๑๔๓.

       

๑๗๓.  เย  ฌานปสุตา  ธีรา              เนกฺขมฺมูปสเม  รตา
            เทวาปิ  เตสํ  ปิหยนฺติ            สมฺพุทฺธานํ  สตีมตํ.

            ผู้มีปัญญาเหล่าใด  ขวนขวายในฌาน  ยินดีในความสงบอันเกิด
            จากเนกขัมมะ  เทวดาทั้งหลายก็พอใจต่อผู้มีปัญญา  ผู้รู้ดีแล้ว  มีสติ
            เหล่านั้น.
            (พุทฺธ)                                              ขุ.  ธ.  ๒๕/๓๙.

  

๑๗๔.  เยสํ  ราโค  จ  โทโส  จ          อวิชฺชา  จ  วิราชิตา
            ตาที  ตตฺถ  น  รชฺชนฺติ           ฉินฺนสุตฺตา  อพนฺธนา.

            ราคะ  โทสะ  และอวิชชา  อันผู้ใดหลุดพ้นแล้ว,  ผู้นั้น  เป็นผู้คงที่
            มีสายล่ามขาดแล้ว ไม่มีเครื่องผูก  ย่อมไม่ติดในที่นั้น.
            (นนฺทเถร)                                         ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๑๒.

       

๑๗๕.  โย  จ  คุตฺเตน  จิตฺเตน            สุณาติ  ชินสาสนํ
             เขเปตฺวา  อาสเว  สพฺเพ        สจฺฉิกตฺวา  อกุปฺปตํ
             ปปฺปุยฺย  ปรมํ  สนฺตึ            ปรินิพฺพาติ  อนาสโว.

             ผู้ใดมีจิตคุ้มครองแล้ว  ฟังคำสอนของพระชินเจ้า  ผู้นั้นชื่อว่า
             ให้อาสวะทั้งปวงสิ้นไป  ทำให้แจ้งซึ่งอกุปปธรรม,  บรรลุความสงบ
             อย่างยิ่ง  ไม่มีอาสวะ  ย่อมดับสนิท.
             (ยสทตฺตเถร)                                    ขุ.  เถร. ๒๖/๓๒๓.

                    

๑๗๖.  โย  เตสุ  คุตฺโต  วิทิตินฺทฺริโย  จเร
            ธมฺเม  ฐิโต  อชฺชวมทฺทเว  รโต
            สงฺคาติโค  สพฺพทุกฺขปฺปหีโน
            น  ลิมฺปตี  ทิฏฺฐสุเตสุ  ธีโร.

            ผู้ใด  ระมัดระวังอินทรีย์เหล่านั้น  รู้จักอินทรีย์ ๖ ตั้งอยู่ในธรรม
            ยินดีในความซื่อตรงและความอ่อนโยน  ล่วงกิเลสเครื่องข้องเสียได้
            ละทุกข์ได้ทั้งหมดเที่ยวไป,  ผู้นั้น  เป็นธีรชน  ย่อมไม่ติดในสิ่งที่เห็น
            แล้วและได้ฟังแล้ว.
            (พุทฺธ)                                             ขุ.  สุ.  ๒๕/๓๗๔.

    

๑๗๗.  โรสโก  กทริโย  จ        ปาปิจฺโฉ  มจฺฉรี  สโฐ
             อหิริโก  อฺนตฺตปฺปี        ตํ  ชญฺญา  วสฺโล  อิติ.

             ผู้ใดเป็นคนขัดเคือง  เหนียวแน่น  ปรารถนาลามก  ตระหนี่ 
             โอ้อวด  ไม่ละอาย  และไม่เกรงกลัวบาป  พึงรู้ว่า  ผู้นั้นเป็นคนเลว.
             (พุทฺธ)                                           ขุ.  สุ.  ๒๕/๓๕๑.

       

๑๗๘.  ลาภกมฺยา  น  สิกฺขติ          อลาเภ  จ  น  กุปฺปติ
            อวิรุทฺโธ  จ  ตณฺหาย          รเส  จ  นานุคิชฺฌติ.

            บัณฑิตไม่ศึกษา  เพราะอยากได้ลาภ,  ไม่ขุ่นเคือง  เพราะเสื่อม
            ลาภ, ไม่ยินดียินร้ายเพราะตัณหา  และไม่ติดในรส.
            (พุทฺธ)      ขุ.  สุ.  ๒๕/๕๐๑.         ขุ.  มหา.  ๒๙/๒๘๔.

                    

๑๗๙.  สงฺขาย  โลกสฺมิ  ปโรปรานิ
            ยสฺสิญฺชตํ  ขตฺถิ  กุหิญฺจิ  โลเก
            สนฺโต  วิธูโม  อนีโฆ  นิราโส
            อตาริ  โส  ชาติชรนฺติ  พฺรูมิ.

            ผู้ใดพิจารณาเห็นความยิ่งและหย่อนในโลกแล้ว  ไม่มีความ
            หวั่นไหวในอารมณ์ไหน ๆ  ในโลก, เรากล่าวว่า  ผู้นั้นเป็นผู้สงบ
            ไม่มีกิเลสดุจควันไฟ  ไม่มีทุกข์  ปราศจากตัณหา  ข้ามชาติชราได้.
            (พุทฺธ)                                     องฺ.  ติก.  ๒๐/๑๖๙.

       

๑๘๐.  สพฺพทา  เว  สุขํ  เสติ        พฺราหฺมโณ  ปรินิพฺพุโต
          โย  น  ลิมฺปติ  กาเมสุ            สีติภูโต  นิรูปธิ.

           ผู้ใดเป็นผู้เยือกเย็น  ไม่มีอุปธิ  ไม่ติดในกาม,  ผู้นั้นเป็น
           พราหมณ์  เป็นผู้ดับแล้ว  อยู่เป็นสุขทุกเมื่อ.
           (พุทฺธ)                                       สํ.  ส.  ๑๕/๓๑๒.

       

๑๘๑.  สพฺพโส  นามรูปสฺมึ          ยสฺส  นตฺถิ  มมายิตํ
           อสตา  จ  น  โสจติ           ส  เว  ภิกฺขูติ  วุจฺจติ.

           ผู้ใดไม่มีความยึดถือว่าของเราในนามรูปโดยประการทั้งปวง
           และผู้ใดย่อมไม่เศร้าโศกเพราะนามรูปที่ไม่มีอยู่,  ผู้นั้นแลท่านเรียกว่า
           ภิกษุ.
           (พุทฺธ)                                        ขุ.  ธ.  ๒๕/๖๕.

       

๑๘๒.  สพฺพา  อาสตฺติโย  เฉตฺวา            วิเนยฺย  หทเย  ทรํ
           อุปสนฺโต  สุขํ  เสติ                        สนฺตึ  ปปฺปุยฺย  เจตโส.

           ผู้ใดตัดความข้องทั้งปวงแล้ว  บรรเทาความกระวนกระวายใจ
           ได้,  ผู้นั้น  ถึงความสงบใจ  เป็นผู้สงบระงับอยู่เป็นสุข.
           (พุทฺธ)                                     องฺ.  ติก.  ๒๐/๑๗๕.

 

๑๘๓.  สพฺเพสุ  กาเมสุ  โย  วีตราโค
           อากิญฺจญฺญํ  นิสฺสิโต  หิตฺวมญฺญํ
           สญฺญาวิโมกฺเข  ปรเมธิมุตฺโต
           ติฏฺเฐยฺย  โส  ตตฺถ  อนานุยายี.

           ผู้ใดปราศจากความติดในกามทั้งปวง  ล่วงฌานอื่นได้แล้ว
           อาศัยอากิญจัญญายตนฌาน  น้อมใจไปในสัญญาวิโมกข์อันประเสริฐ,
           ผู้นั้นจะพึงในอากิญจัญญายตนฌานนั้น  ไม่มีเสื่อม.
           (พุทฺธ)                        ขุ.  สุ.  ๒๕/๕๓๘.        ขุ.  จู.  ๓๐/๑๓๓.

                    

๑๘๔.  ส  วีตราโค  ส  วิเนยฺย  โทสํ
            เมตฺตจิตฺตํ  ภาวเยฺย  อปฺปมาณํ
            สพฺเพสุ  ภูเตสุ  นิธาย  ทณฺฑํ
            อนินฺทิโต  พฺรหฺมมุเปติ  ฐานํ.

            ผู้ปราศจากราคะ  และกำจัดโทสะได้แล้วนั้น  พึงเจริญเมตตาจิต
            ไม่มีประมาณ.  ผู้นั้น  งดอาชญาในสัตว์ทั้งปวงแล้ว  ไม่ถูกติเตียน
            ย่อมเข้าถึงสถานอันประเสริฐ.
            (สรภงฺคโพธิสตฺต)                        ขุ.  ชา. จตฺตาฬีส.  ๒๗/๕๔๒.

 

๑๘๕.  โส  อุภนฺตมภิญฺญาย         มชฺเฌ  มนฺตา  น  ลิมฺปติ
           ตํ  พฺรูมิ  มหาปุริโสติ          โส  อิธ  สิพฺพนิมจฺจคา.

           ผู้ (ดับกิเลสได้แล้วหมดความหวั่นไหว)  นั้น  รู้ที่สุดทั้ง ๒ แล้ว
           ย่อมไม่ติดในท่ามกลางด้วยปัญญา,  เราเรียกผู้นั้นว่า  เป็นมหาบุรุษ
           ผู้นั้นละตัณหาเครื่องเย็บร้อยใจในโลกนี้ได้แล้ว.
           (พุทฺธ)           ขุ.  สุ.  ๒๕/๕๓๒.            ขุ.  จู.  ๓๐/๓๕.

                    

๑๘๖.  โสกปริเทวมจฺฉรํ
           น  ชหนฺติ  คิทฺธา  มมายิเต
           ตสฺมา  มุนโย  ปริคฺคหํ
           หิตฺวา  อจรึสุ  เขมทสฺสิโน.

           ผู้ติดในสิ่งที่ยึดถือว่าของเรา  ย่อมละความโศกเศร้า  ความ
           รำพัน  และความตระหนี่ไม่ได้  เพราะฉะนั้น  มุนีทั้งหลายผู้เห็นความ
           ปลอดภัย  จึงละความยึดถือไปได้.
           (พุทฺธ)     ขุ.  สุ.  ๒๕/๑๙๓.          ขุ.  มหา.  ๒๙/๑๕๔.

 

๑๘๗.  โสจติ  ปุตฺเตหิ  ปุตฺติมา
            โคมิโก  โคหิ  ตเถว  โสจติ
            อุปธีหิ  นรสฺส  โสจนา
            น  หิ  โส  โสจติ  โย  นิรูปธิ.

            ผู้มีบุตรย่อมเศร้าโศกเพราะบุตร,  ผู้มีโคย่อมเศร้าโศกเพราะโค
            เหมือนกัน,  นรชนมีความเศร้าโศกเพราะอุปธิ,  ผู้ใด  ไม่มีอุปธิ  ผู้นั้น
            ไม่ต้องเศร้าโศกเลย.
            (พุทฺธ)                                           สํ.  ส. ๑๕/๙.




พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๓

๑. อัตตวรรค คือ หมวดตน article
๒. อัปปมาทวรรค คือ หมวดไม่ประมาท article
๓. กัมมวรรค คือ หมวดกรรม article
๔. กิเลสวรรค คือ หมวดกิเลส
๕. ขันติวรรค คือ หมวดอดทน
๖. จิตตวรรค คือ หมวดจิต
๗. ทานวรรค คือ หมวดทาน
๘. ธัมมวรรค คือ หมวดธรรม
๙. ปกิรณกวรรค คือ หมวดเบ็ดเตล็ด
๑๐. ปัญญาวรรค คือ หมวดปัญญา
๑๒. มัจจุวรรค คือ หมวดความตาย
๑๓. วาจาวรรค คือ หมวดวาจา
๑๔. วิริยวรรค คือ หมวดความเพียร
๑๕. สามัคคีวรรค คือ หมวดสามัคคี
๑๖. สีลวรรค คือ หมวดศีล
๑๗. เสวนาวรรค คือ หมวดคบหา



แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล