ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
ชมคลิปวีดีโอน่าสนใจ
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 19 คน
dot
dot

dot


ฟัง F.M. 103.25 MHz.
ชมทีวีช่องหลวงตา
ฟังวิทยุออนไลน์ วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน
ชมคลิปวีดีโอน่าสนใจ
ขอเชิญสมัครสมาชิกอุปถัมภ์สถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน
เข้าชม face book วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน
เข้าชม twitter วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน


๖. จิตตวรรค คือ หมวดจิต

๔๓.  อนวสฺสุตจิตฺตสฺส          อนนฺวาหตเจตโส
         ปุญฺญปาปปหีนสฺส       นตฺถิ  ชาครโต  ภยํ.
         

         ผู้มีจิตอันไม่ชุ่มด้วยราคะ  มีใจอันโทสะไม่กระทบแล้ว  มีบุญ
         และบาปอันละได้แล้ว  ตื่นอยู่  ย่อมไม่มีภัย.
         (พุทฺธ)                               ขุ.  ธ.  ๒๕/๒๐.

           

๔๔.  กุมฺภูปมํ  กายมิมํ  วิทิตฺวา
         นครูปมํ  จิตฺตมิทํ  ถเกตฺวา
         โยเธถ  มารํ  ปญฺญาวุเธน
         ชิตญฺจ  รกฺเข  อนิเวสโน  สิยา.
        

          บุคคลรู้กายนี้ที่เปรียบด้วยหม้อ  กั้นจิตที่เปรียบด้วยเมืองนี้แล้ว
          พึงรบมารด้วยอาวุธคือปัญญา  และพึงรักษาแนวที่ชนะไว้  ไม่พึง
          ยับยั้งอยู่.
          (พุทฺธ)                               ขุ.  ธ.  ๒๕/๒๐.

        

๔๕.  จิตฺเตน  นียติ  โลโก          จิตฺเตน  ปริกสฺสติ
         จิตฺตสฺส  เอกธมฺมสฺส         สพฺเพว  วสมนฺวคู.
        

          โลกถูกจิตนำไป  ถูกจิตชักไป,  สัตว์ทั้งปวงไปสู่อำนาจแห่ง
          จิตอย่างเดียว.
          (พุทฺธ)                               สํ.  ส.  ๑๕/๕๔.

                     

๔๖.  ตณฺหาธิปนฺนา  วตฺตสีลพทฺธา
        ลูขํ  ตปํ  วสฺสสตํ  จรนฺตา
        จิตฺตญฺจ  เนสํ  น  สมฺมา  วิมุตฺตํ
        หีนตฺตรูปา  น  ปารงฺคมา  เต.
       

        ผู้ถูกตัณหาครอบงำ  ถูกศีลพรตผูกมัด  ประพฤติตบะอัน
        เศร้าหมองตั้งร้อยปี,  จิตของเขาก็หลุดพ้นด้วยดีไม่ได้.  เขามีตนเลว
        จะถึงฝั่งไม่ได้.
        (พุทฺธ)                                 สํ.  ส.  ๑๕/๔๐

    

๔๗.  ทุนฺนิคฺคหสฺส  ลหุโน        ยตฺถ  กามนิปาติโน
         จิตฺตสฺส  ทมโถ  สาธุ       จิตฺตํ  ทนฺตํ  สุขาวหํ.
        

          การฝึกจิตที่ข่มยาก  ที่เบา  มักตกไปในอารมณ์ที่น่าใคร่  เป็น
          ความดี,  (เพราะว่า)  จิตที่ฝึกแล้ว  นำสุขมาให้.
          (พุทฺธ)                                ขุ.  ธ.  ๒๕/๑๙.

                      

๔๘.  ปทุฏฺฐจิตฺตสฺส  น  ผาติ  โหติ
         น  จาปิ  นํ  เทวตา  ปูชยนฺติ
         โย  ภาตรํ  เปตฺติกํ  สาปเตยฺยํ
         อวญฺจยี ทุกฺกฏกมฺมการี.
        

          ผู้ใดทำกรรมชั่ว  ล่อลวงเอาทรัพย์สมบัติพี่น้องพ่อแม่  ผู้นั้นมีจิต
          ชั่วร้าย  ย่อมไม่มีความเจริญ  แม้เทวดาก็ไม่บูชาเขา.
          (นทีเทวตา)                           ขุ.  ชา.  ติก.  ๒๗/๑๒๐.

                     

๔๙.  ภิกฺขุ  สิยา  ฌายิ  วิมุตฺตจิตฺโต
         อากงฺเข  เว  หทยสฺสานุปตฺตึ
         โลกสฺส  ญตฺวา  อุทยพฺพยญฺจ
         สุเจตโส  อนิสฺสิโต  ตทานิสํโส.
         

         ภิกษุเพ่งพินิจ  มีจิตหลุดพ้น  รู้ความเกิดและความเสื่อมแห่ง
         โลกแล้ว  มีใจดี  ไม่ถูกกิเลสอาศัย  มีธรรมนั้นเป็นอานิสงส์  พึงหวัง
         ความบริสุทธิ์แห่งใจได้.
         (เทวปุตฺต)                                 สํ.  ส.  ๑๔/๗๓.

                            

๕๐.  โย  อลีเนน  จิตฺเตน         อลีนมนโส  นโร
         ภาเวติ  กุสลํ  ธมฺมํ         โยคกฺเขมสฺส  ปตฺติยา
         ปาปุเณ  อนุปุพฺเพน        สพฺพสํโยชนกฺขยํ.
        

          คนใดมีจิตไม่ท้อถอย  มีใจไม่หดหู่  บำเพ็ญกุศลธรรม  เพื่อ
          บรรลุธรรมที่เกษมจากโยคะ  พึงบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นสังโยชน์ทั้งปวงได้.
          (พุทฺธ)                                       ขุ.  ชา.  เอก.  ๒๗/๑๘.

        

๕๑.  สุทุทฺทสํ  สุนิปุณํ            ยตฺถ  กามนิปาตินํ
        จิตฺตํ  รกฺเขถ  เมธาวี       จิตฺตํ  คุตฺตํ  สุขาวหํ.
        

          ผู้มีปัญญา  พึงรักษาจิตที่เห็นได้ยากนัก  ละเอียดนัก  มักตกไป
          ในอารมณ์ที่น่าใคร่,  (เพราะว่า)  จิตที่คุ้มครองแล้ว  นำสุขมาให้.
          (พุทฺธ)                                        ขุ.  ธ.  ๒๕/๑๙.




พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๓

๑. อัตตวรรค คือ หมวดตน article
๒. อัปปมาทวรรค คือ หมวดไม่ประมาท article
๓. กัมมวรรค คือ หมวดกรรม article
๔. กิเลสวรรค คือ หมวดกิเลส
๕. ขันติวรรค คือ หมวดอดทน
๗. ทานวรรค คือ หมวดทาน
๘. ธัมมวรรค คือ หมวดธรรม
๙. ปกิรณกวรรค คือ หมวดเบ็ดเตล็ด
๑๐. ปัญญาวรรค คือ หมวดปัญญา
๑๑. ปุคคลวรรค คือ หมวดบุคคล
๑๒. มัจจุวรรค คือ หมวดความตาย
๑๓. วาจาวรรค คือ หมวดวาจา
๑๔. วิริยวรรค คือ หมวดความเพียร
๑๕. สามัคคีวรรค คือ หมวดสามัคคี
๑๖. สีลวรรค คือ หมวดศีล
๑๗. เสวนาวรรค คือ หมวดคบหา



แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล