ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
ชมคลิปวีดีโอน่าสนใจ
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 10 คน
dot
dot

dot


ฟัง F.M. 103.25 MHz.
ชมทีวีช่องหลวงตา
ฟังวิทยุออนไลน์ วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน
ชมคลิปวีดีโอน่าสนใจ
ขอเชิญสมัครสมาชิกอุปถัมภ์สถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน
เข้าชม face book วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน
เข้าชม twitter วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน


๘. ธัมมวรรค คือ หมวดธรรม

๕๖.  อตฺถงฺคตสฺส  น  ปมาณมตฺถิ
        เยน  นํ  วชฺชึ   ตํ  ตสฺส  นตฺถิ
        สพฺเพสุ  ธมฺเมสุ  สมูหเตสุ
        สมูหตา  วาทปถาปิ  สพฺเพ.

         ท่านผู้ดับไป  (คือปรินิพพาน)  แล้ว  ไม่มีประมาณ,  จะพึง
         กล่าวถึงท่านนั้นด้วยเหตุใด  เหตุนั้นของท่านก็ไม่มี,  เมื่อธรรมทั้งปวง
         (มีขันธ์เป็นต้น)  ถูกเพิกถอนแล้ว  แม้คลองแห่งถ้อยคำที่จะพูดถึง
         (ว่าผู้นั้นเป็นอะไร)  ก็เป็นอันถูกเพิกถอนเสียทั้งหมด.
         (พุทฺธ)   ขุ.  ส.  ๒๕/๕๓๙.                          ขุ.  จู.  ๓๐/๑๓๙.

                     

๕๗.  อาทานตณฺหํ  วินเยถ  สพฺพํ
         อุทฺธํ  อโธ  ติริยํ  วาปิ  มชฺเฌ
         ยํ  ยํ  หิ  โลกสฺมึ  อุปาทิยนฺติ
         เตเนว  มาโร  อนฺเวติ  ชนฺตุํ.

         พึงขจัดตัณหาที่เป็นเหตุถือมั่นทั้งปวง  ทั้งเบื้องสูง  เบื้องต่ำ
         เบื้องขวาง  ท่ามกลาง,  เพราะเขาถือมั่นสิ่งใด ๆ ในโลกไว้  มารย่อม
         ติดตามเขาไป  เพราะสิ่งนั้น ๆ.
         (พุทฺธ)   ขุ.  ส.  ๒๕/๕๔๖.                          ขุ.  จู.  ๓๐/๒๐๒.

 

๕๘.  อุจฺฉินฺท  สิเนหมตฺตโน
         กุมุทํ  สารทิกํว  ปาณินา
         สนฺติมคฺคเมว  พฺรูหย
         นิพฺพานํ  สุคเตน  เทสิตํ.

          จงเด็ดเยื่อใยของตนเสีย  เหมือนเอาฝ่ามือเด็ดบัวในฤดูแล้ง  จง
          เพิ่มพูนทางสงบ  (ให้ถึง)  พระนิพพานที่พระสุคตแสดงแล้ว.
          (พุทฺธ)                                                     ขุ.  ธ.  ๒๕/๕๓.

        

๕๙.  โอวเทยฺยานุสาเสยฺย               อสพฺภา  จ  นิวารเย    
         สติ  หิ  โส  ปิโย  โหติ              อสตํ  โหติ  อปฺปิโย.

          บุคคลควรเตือนกัน  ควรสอนกัน  และป้องกันจากคนไม่ดี
          เพราะเขาย่อมเป็นที่รักของคนดี  แต่ไม่เป็นที่รักของคนไม่ดี.
          (พุทฺธ)                                                    ขุ.  ธ.  ๒๕/๒๕.

        

๖๐.  กาเมสุ  พฺรหฺมจริยวา              วีตตณฺโห  สทา  สโต
        สงฺขาย  นิพฺพุโต  ภิกฺขุ           ตสฺส  โน  สนฺติ  อิญฺชิตา.

        ภิกษุผู้เห็นโทษในกาม  มีความประพฤติประเสริฐ  ปราศจาก
        ตัณหา  สติทุกเมื่อ  พิจารณาแล้ว  ดับกิเลสแล้ว  ย่อมไม่มีความ
        หวั่นไหว.
        (พุทฺธ)   ขุ.  สุ. ๒๕/๕๓๑.                          ขุ.  จู.  ๓๐/๓๕.

 

 

๖๑.  ขตฺติโย  จ  อธมฺมฏฺโฐ          เวสฺโส  จาธมฺมนิสฺสิโต
        เต  ปริจฺจชฺชุโภ  โลเก          อุปปชฺชนฺติ  ทุคฺคตึ.

        กษัตริย์ไม่ทรงตั้งอยู่ในธรรม  และแพศย์  [ คนสามัญ ]  ไม่
        อาศัยธรรม  ชนทั้ง ๒  นั้นละโลกแล้ว  ย่อมเข้าถึงทุคติ.
        (โพธิสตฺต)                                                ขุ.  ชา.  ปญฺจก.  ๒๗/๑๗๕.
  

      

๖๒.  คตทฺธิโน  วิโสกสฺส               วิปฺปมุตฺตสฺส  สพฺพธิ
        สพฺพคนฺถปฺปหีนสฺส               ปริฬาโห  น  วิชฺชติ.

        ท่านผู้มีทางไกลอันถึงแล้ว  หายโศก  หลุดพ้นแล้วในธรรม
        ทั้งปวง  ละกิเลสเครื่องรัดทั้งปวงแล้ว  ย่อมไม่มีความเร่าร้อน.
        (พุทฺธ)                                                       ขุ.  ธ.  ๒๕/๒๗.

                     

 ๖๓.  จเช  ธนํ  องฺควรสฺส  เหตุ
          องฺคํ  จเช  ชีวิตํ  รกฺขมาโน
          องฺคํ  ธนํ  ชีวิตญฺจาปิ  สพฺพํ
          จเช  นโร  ธมฺมมนุสฺสรนฺโต.

           พึงสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ,  เมื่อรักษาชีวิตพึงสละอวัยวะ,
           เมื่อคำนึงถึงธรรม  พึงสละอวัยวะ  ทรัพย์  และแม้ชีวิต  ทุกอย่าง.
           (โพธิสตฺต)                                             ขุ.  ชา.  อสีติ.  ๒๘/๑๔๗. 
 

 

๖๔.  ฉนฺทชาโต  อนกฺขาเต                มนสา  จ  ผุโฐ  สิยา
         กาเม  จ  อปฏิพทฺธจิตฺโต            อุทฺธํโสโตติ  วุจฺจติ.

         พึงเป็นผู้พอใจและประทับใจในพระนิพพานที่บอกไม่ได้  ผู้มีจิต
         ไม่ติดกาม  ท่านเรียกว่าผู้มีกระแสอยู่เบื้องบน.
          (พุทฺธ)                                                     ขุ.  ธ.  ๒๕/๔๔.

        

๖๕.  ชิฆจฺฉา  ปรมา  โรคา            สงฺขารา  ปรมา  ทุกฺขา
         เอตํ  ตฺวา  ยถาภูตํ               นิพฺพานํ  ปรมํ  สุขํ.

         ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง  สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง  รู้ข้อนั้น
         ตามเป็นจริงแล้ว  ดังเสียได้  เป็นสุขอย่างยิ่ง.
         (พุทฺธ)                                                       ขุ.  ธ.  ๒๕/๔๒.

                     

๖๖.  ชีรนฺติ  เว  ราชรถา  สุจิตฺตา
        อโถ  สรีรมฺปิ  ชรํ  อุเปติ
        สตญฺจ  ธมฺโม  น  ชรํ  อุเปติ
        สนฺโต  หเว  สพฺภิ  ปเวทยนฺติ.

         ราชรถอันงดงามย่อคร่ำคร่า  แม้ร่างกายก็เข้าถึงชรา  ส่วนธรรม
         ของสัตบุรุษย่อมไม่เข้าถึงชรา  สัตบุรุษกับสัตบุรุษเท่านั้นย่อมรู้กันได้.
         (พุทฺธ)                                                       สํ.  ส.  ๑๕/๑๐๒.

    

๖๗.  เต  ฌายิโน  สาตติกา             นิจฺจํ  ทฬฺหปรกฺกมา
         ผุสนฺติ  ธีรา  นิพฺพานํ              โยคกุเขมํ  อนุตฺตรํ.

         ผู้ฉลาดนั้นเป็นผู้เพ่งพินิจ  มีเพียรติดต่อ  บากบั่นมั่นคงเป็นนิตย์
         ย่อมถูกต้องพระนิพพานอันปลอดจากโยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้.
         (พุทฺธ)                                                       ขุ.  ธ .  ๒๕/๑๘.

        

๖๘.  ทุกฺขเมว  หิ  สมฺโภติ                      ทุกฺขํ  ติฏฺฐติ  เวติ  จ
        นาญฺญตฺร  ทุกฺขา  สมฺโภติ             นาญฺญตฺร  ทุกฺขา  นิรุชฺฌติ.

         ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น  ทุกข์ย่อมตั้งอยู่  และเสื่อมไป  นอกจากทุกข์
         ไม่มีอะไรเกิด  นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ.
         (วชิราภิกฺขุนี)   สํ.  ส.  ๑๕/๑๙๙.                 ขุ. มหา.  ๒๙/๕๓๖.

        

๖๙.  ธมฺโม  ปโถ  มหาราช           อธมฺโม  ปน  อุปฺปโถ
         อธมฺโม  นิรยํ  เนติ               ธมฺโม  ปาเปติ  สุคตึ.

          มหาราช !  ธรรมเป็นทาง  (ควรดำเนินตาม)  ส่วนอธรรมนอกลู่
          นอกทาง  (ไม่ควรดำเนินตาม)   อธรรมนำไปนรก  ธรรมให้
          ถึงสวรรค์.
          (โพธิสตฺต)                                               ขุ.  ชา.  สฏฺฐิ.  ๒๘/๓๙.

 

๗๐.  นนฺทิสญฺโญชโน  โลโก           วิตกฺกสฺส  วิจารณา
         
ตณฺหาย  วิปฺปหาเนน              นิพฺพานํ  อิติ  วุจฺจติ.

          สัตว์โลกมีความเพลินเป็นเครื่องผูกพัน  มีวิตกเป็นเครื่องเที่ยวไป
          ท่านเรียกว่านิพพาน  เพราะละตัณหาได้.
          (พุทฺธ)    ขุ.  สุ.  ๒๕/๕๔๗.                       ขุ.  จู  ๓๐/๒๑๖,๒๑๗.

        

๗๑.  นาญฺญตฺร  โพชฺฌาตปสา             นาญฺญตฺร  อินฺทฺริยสํวรา
         นาญฺญตฺร  สพฺพนิสฺสคฺคา             โสตฺถึ  ปสฺสามิ  ปาณินํ.

          เรา  (ตถาคต)  ไม่เห็นความสวัสดีของสัตว์ทั้งหลาย นอกจาก
          ปัญญา  ความเพียร  ความระวังตัว  และการสละสิ่งทั้งปวง.
          (พุทฺธ)                                                     สํ.  ส.  ๑๕/๗๕.

        

๗๒.  ปญฺจกฺขนฺธา  ปริญฺญาตา            ติฏฺฐนฺติ  ฉินฺนมูลกา
         ทุกฺขกฺขโย  อนุปฺปตฺโต                 นตฺถิทานิ  ปุนพฺภโว.

         เบญจขันธ์ที่กำหนดรู้แล้ว  มีรากขาดตั้งอยู่  ถึงความสิ้นทุกข์
         แล้ว  ก็ไม่มีภพต่อไปอีก.
         (พฺรหฺมทตฺตเถรี)                                         ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๓๔.

 

๗๓.  ปตฺตา  เต  นิพฺพานํ  เย  ยุตฺตา            ทสพลสฺส  ปาวจเน
         อุปฺโปสฺสุกฺกา  ฆเฏนฺติ                         ชาติมรณปฺปหานาย.

         ผู้ใดประกอบในธรรมวินัยของพระทศพล  มีความขวนขวายน้อย
         พากเพียรละความตาย  ผู้นั้นย่อมบรรลุพระนิพพาน.
         (สุเมธาเถร)                                                ขุ.  เถรี. ๒๖/๕๐๒.

        

๗๔.  พหุสฺสุตํ  อุปาเสยฺย               สุตญฺจ  น  วนาสเย
         ตํ  มูลํ  พฺรหฺมจริยสฺส             ตสฺมา  ธมฺมธโร  สิยา.

         พึงนั่งใกลผู้เป็นพหูสูต   และไม่พึงทำสุตะให้เสื่อม  สุตะนั้นเป็น
         รากแห่งพรหมจรรย์  เพราะฉะนั้น  ควรเป็นผู้ทรงธรรม.
         (อานนฺทเถร)                                              ขุ.  เถร.  ๒๖/๔๐๖.

        

๗๕.  มคฺคานฏฺฐงฺคิโก  เสฏฺโฐ         สจฺจานํ  จตุโร  ปทา
         วิราโค  เสฏฺโฐ  ธมฺมานํ           ทิปทานญฺจ  จกฺขุมา.

          บรรดาทางทั้งหลาย  ทางมีองค์ ๘  ประเสริฐสุด,  บรรดาสัจจะ
          ทั้งหลาย บท ๔  ประเสริฐสุด,  บรรดาธรรมทั้งหลาย วิราคธรรม
          ประเสริฐสุด,  และบรรดาสัตว์ ๒ เท้าทั้งหลาย  พระพุทธเจ้าผู้มีจักษุ
          ประเสริฐสุด.
          (พุทฺธ)                                                       ขุ.  ธ.  ๒๕/๕๑.

 

๗๖.  ยตฺถ นามญฺจ  รูปญฺจ             อเสสํ  อุปรุชฺฌติ
         วิญฺญาณสฺส  นิโรเธน            เอตฺเถตํ  อุปรุชฺฌติ.

          นามและรูปย่อมดับไม่เหลือในที่ใด  นามและรูปนี้ย่อมดับในที่นั้น
          เพราะวิญญาณดับ.
          (พุทฺธ)   ขุ.  สุง  ๒๕/๕๓๑.                            ขุ.  จู.  ๓๐/๒๑.

        

๗๗.  ยมฺหิ  สจฺจญฺจ  ธมฺโม  จ             อหึสา  สญฺญโม  ทโม
          เอตทริยา  เสวนฺติ                       เอตํ  โลเก  อนามตํ.

          สัจจะ  ธรรมะ  อหิงสา  สัญญมะ  และทมะ  มีอยู่ในผู้ใด  อารยชน
          ย่อมคบผู้นั้น  นั่นเป็นธรรมอันไม่ตายในโลก.
          (อุปสมฬฺหาโพธิสตฺต)                                   ขุ.  ชา. ทุก.  ๒๗/๕๘.

        

๗๘.  ยานิ  โสตานิ  โลกสฺมึ              สติ  เตสํ  นิวารณํ
         โสตานํ  สํวรํ  พฺรูมิ                   ปญฺญาเยเต  ปิถิยฺยเร.

          กระแสเหล่าใดมีอยู่ในโลก  สติเป็นเครื่องกั้นกระแสเหล่านั้น
          เรากล่าวว่าสติเป็นเครื่องกั้นกระแส  กระแสเหล่านั้นอันบุคคลปิดกั้นได้
          ด้วยปัญญา.
          (พุทฺธ)   ขุ.  สุ.  ๒๕/๕๓๐.                             ขุ.  จู.  ๓๐/๑๖,๒๐.

 

๗๙.  เย  สนฺตจิตฺตา  นิปกา             สติมนฺโต  จ  ฌายิโน
         สมฺมา  ธมฺมํ  วิปสฺสนฺติ            กาเมสุ  อนเปกฺขิโน.

          ผู้มีจิตสงบ  มีปัญญาเครื่องรักษาตัว  มีสติ  เป็นผู้เพ่งพินิจ
          ไม่เยื่อใยในกาม ย่อมเห็นธรรมโดยชอบ.
          (พุทฺธ)                                                        ขุ.  อิติ.  ๒๕/๒๖๐.

        

๘๐.  โย  จ  ปปญฺจํ  หิตฺวาน              นิปฺปปญฺจปเท  รโต
         อาราธยิ  โส  นิพฺพานํ              โยคกุเขมํ  อนุตฺตรํ.

         ผู้ใดละปปัญจธรรมที่ทำให้เนิ่นช้าได้แล้ว  ยินดีในธรรมที่ไม่มี
         สิ่งทำให้เนิ่นช้า  ผู้นั้นก็บรรลุพระนิพพานอันปลอดจากโยคะ  ไม่มี
         ธรรมอื่นยิ่งกว่า.
         (สารีปุตฺต)                                                    องฺ.  ฉกฺก.  ๒๒/๓๒๙.

                     

๘๑.  สกํ  หิ  ธมฺมํ  ปริปุณฺณมาหุ
         อญฺญสฺส  ธมฺมํ  ปน  หีนมาหุ
         เอวมฺปิ  วิคฺคยฺห  วิวาทยนฺติ
         สกํ  สกํ  สมฺมติมาหุ  สจฺจํ.

         สมณพราหมณ์บางเหล่ากล่าวธรรมของตนว่าบริบูรณ์,  แต่
         กล่าวธรรมของผู้อื่นว่าเลว (บกพร่อง),  เขาย่อมทะเลาะวิวาทกัน
         แม้ด้วยเหตุนี้  เพราะต่างก็กล่าวข้อสมมติของตน ๆ ว่าเป็นจริง.
         (พุทฺธ)   ขุ.  สุ.  ๒๕/๕๑๑.                               ขุ.  มหา.  ๒๙/๓๘๓.

        

๘๒.  สมฺมปฺปธานสมฺปนฺโน          สติปฏฺฐานโคจโร
         วิมุตฺติกุสุมสญฺฉนฺโน           ปรินิพฺพายิสฺสตฺยนาสโว.

         ผู้ถึงพร้อมด้วยสัมมัปปธาน  มีสติปัฏฐานเป็นอารมณ์  ดาดาษ
         ด้วยดอกไม้คือวิมุตติ  หาอาสวะมิได้  จักปรินิพพาน.
         (เทวสภเถร)                                                   ขุ.  เถร.  ๒๖/๒๘๒.

         

๘๓.  สุสุขํ  วต  นิพฺพานํ            สมฺมาสมฺพุทฺธเทสิตํ   
         อโสกํ  วิรชํ  เขมํ              ยตฺถ  ทุกฺขํ  นิรุชฺฌติ.

         พระนิพพานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว  ไม่มีโศก
         ปราศจากธุลี  เกษม  เป็นที่ดับทุกข์  เป็นสุขดีหนอ.
         (หาริตเถร)                                                    ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๐๙.

         

๘๔.  โสรจฺจํ  อวิหึสา  จ                 ปาทา  นาคสฺส  เต  ทุเว
         สติ  จ  สมฺปชญฺญญฺจ           จรณา  นาคสฺส  เต  ปเร.

         โสรัจจะและอวิหิงสานั้น  เป็นช้างเท้าหลัง  สติและสัมปชัญญะ
         นั้น  เป็นช้างเท้าหน้า.
         (อุทายีเถร)                                                  ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๖๘.

 

๘๕.  หีนํ  ธมฺมํ  น  เสเวยฺย                 ปมาเทน  น  สํวเส
         มิจฺฉาทิฏฺฐิ  น  เสเวยฺย              น  สิยา  โลกวฑฺฒโน.

         ไม่ควรเสพธรรมที่เลว  ไม่ควรอยู่กับความประมาท  ไม่ควร
          เสพมิจฉาทิฏฐิ  ไม่ควรเป็นคนรกโลก.
          (พุทฺธ)                                                       ขุ. ธ.  ๒๕/๓๗.

        

๘๖.  หีเนน  พฺรหฺมจริเยน              ขตฺติเย  อุปปชฺชติ
         มชฺฌิเมน  จ  เทวตฺตํ            อุตฺตเมน  วิสุชฺฌติ.

         บุคคลย่อมเข้าถึงความเป็นกษัตริย์  ด้วยพรหมจรรย์อย่างเลว,
         ถึงความเป็นเทวดา  ด้วยพรหมจรรย์อย่างกลาง,  ย่อมบริสุทธิ์  ด้วย
         พรหมจรรย์อย่างสูง.
         (พุทฺธ)                                                          ขุ.  ชา.  มหา.  ๒๘/๑๙๙.




พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๓

๑. อัตตวรรค คือ หมวดตน article
๒. อัปปมาทวรรค คือ หมวดไม่ประมาท article
๓. กัมมวรรค คือ หมวดกรรม article
๔. กิเลสวรรค คือ หมวดกิเลส
๕. ขันติวรรค คือ หมวดอดทน
๖. จิตตวรรค คือ หมวดจิต
๗. ทานวรรค คือ หมวดทาน
๙. ปกิรณกวรรค คือ หมวดเบ็ดเตล็ด
๑๐. ปัญญาวรรค คือ หมวดปัญญา
๑๑. ปุคคลวรรค คือ หมวดบุคคล
๑๒. มัจจุวรรค คือ หมวดความตาย
๑๓. วาจาวรรค คือ หมวดวาจา
๑๔. วิริยวรรค คือ หมวดความเพียร
๑๕. สามัคคีวรรค คือ หมวดสามัคคี
๑๖. สีลวรรค คือ หมวดศีล
๑๗. เสวนาวรรค คือ หมวดคบหา



แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล