ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
ชมคลิปวีดีโอน่าสนใจ
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 27 คน
dot
dot

dot


ฟัง F.M. 103.25 MHz.
ชมทีวีช่องหลวงตา
ฟังวิทยุออนไลน์ วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน
ชมคลิปวีดีโอน่าสนใจ
ขอเชิญสมัครสมาชิกอุปถัมภ์สถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน
เข้าชม face book วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน
เข้าชม twitter วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน


๙. ปกิรณกวรรค คือ หมวดเบ็ดเตล็ด

๘๗.  อจินฺติตมฺปิ  ภวติ                    จินฺติตมฺปิ  วินสฺสติ
         น  หิ  จินฺตามยา  โภคา           อิตฺถิยา  ปุริสสฺส  วา.

         สิ่งที่ไม่ได้คิดไว้  ย่อมมีได้.  สิ่งที่คิดไว้  ก็เสียหายได้,  โภคะ
         ของสตรีหรือบุรุษที่สำเร็จได้ด้วยนึกเอาไม่มีเลย.
         (มหาชนกโพธิสตฺต)                                    ขุ.  ชา.  มหา.  ๒๘/๑๖๗.

 

๘๘.  อชฺฌตฺตญฺจ  พหิทฺธา  จ          เวทนํ  นาภินนฺทโต
         เอวํสตสฺส  จรโต                      วิญฺญาณํ  อุปรุชฺฌติ.

         บุคคลไม่เพลินเวทนา  ทั้งภายในทั้งภายนอก  มีสติดำเนินอยู่
         อย่างนี้  วิญญาณย่อมดับ.
         (พุทฺธ)    ขุ.  สุ.  ๒๕/๕๔๗.                          ขุ.  จู.  ๓๐/๒๑๘.

                     

๘๙.  อชฺฌตฺตเมว  อุปสเม
         นาญฺญโต  ภิกฺขุ  สนฺติเมเสยฺย
         อชฺฌตฺตํ  อุปสนฺตสฺส
         นตฺถิ  อตฺตํ  กุโต  นิรตฺตํ  วา.

          ภิกษุพึงสงบกิเลสและบาปธรรมที่เป็นภายในเสีย,  ไม่พึงแสวง
          หาความสงบจากที่อื่น,  เมื่อระงับภายในได้แล้ว  สิ่งที่จะพึงยึดถือใหม่
          ย่อมไม่มี  สิ่งที่ยึดถือไว้จำจะสละจะมีแต่ไหน.
          (พุทฺธ)    ขุ.  สุ.  ๒๕/๕๑๔.                         ขุ.  มหา.  ๒๙/๔๒๕,๔๒๖.

         

๙๐.  อปฺปสฺสาทา  ทุกฺขา  กามา          นตฺถิ  กามา  ปรํ  ทุกฺขํ.
        เย  กาเม  ปฏิเสวนฺติ                    นิรยนฺเต  อุปปชฺชเร.

        กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย  มีทุกข์มาก  ทุกข์อันยิ่งกว่ากาม
        ไม่มี  ผู้ใดส้องเสพกาม  ผู้นั้นย่อมเข้าถึงนรก.
        (โพธิสตฺต)                                                  ขุ.  ชา  เอกาทสก.  ๒๗/๓๑๕.

  

๙๑.  อพฺยาปชฺโฌ  สิยา  เอวํ             สจฺจวาที  จ  มาณโว
         อสฺมา  โลกา  ปรํ  โลกํ              เอวํ  เปจฺจ  น  โสจติ.

         พึงเป็นคนไม่เบียดเบียน  (ผู้อื่น)  และกล่าวคำสัตย์อย่างนี้  ละ
         ไปจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่นแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก.
         (พุทฺธ)                                                    ขุ.  ชา.  มหา.  ๒๘/๓๓๒.

                      

๙๒.  อลโส  คิหี  กามโภคี  น  สาธุ
         อสญฺญโต  ปพฺพชิโต  น  สาธุ
         ราชา  น  สาธุ  อนิสมฺมการี
         โย  ปญฺฑิโต  โกธโน  ตํ  น  สาธุ.

          คฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเป็นผู้เกียจคร้าน  ไม่ดี,  บรรพชิตไม่
          สำรวม  ก็ไม่ดี  พระราชาไม่ทรงใคร่ครวญก่อนแล้วทำ ไม่ดี.
          บัณฑิตมักโกรธ  ก็ไม่ดี.
          (โพธิสตฺต)                                             ขุ.  ชา.  วีส.  ๒๗/๔๔๖.

        

๙๓.  อสาเร  สารมติโน                  สาเร  จาสารทสฺสิโน
         เต  สารํ  นาธิคจฺฉนฺติ         มีจฺฉาสงฺกปฺปโคจรา.

         ผู้เข้าใจสิ่งที่ไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ  และเห็นสิ่งที่เป็นสาระว่า
         ไม่เป็นสาระ  เขามีความดำริผิดเป็นโคจร  จึงไม่ประสบสิ่งที่เป็นสาระ.
         (พุทฺธ)                                                    ขุ.  ธ.  ๒๕/๑๖.

   

๙๔.  อตีตํ  นานุโสจนฺติ                    นปฺปชปฺปนฺติ  นาคตํ
         ปจฺจุปฺปนฺเนน  ยาเปนฺติ            เตน  วณฺโณ  ปสีทติ.

         บุคคลไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว  ไม่ใฝ่หาสิ่งที่ยังมาไม่พึง,
         ยังชีวิตให้เป็นไปด้วยสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า  เพราะเหตุนั้น  ผิวพรรณ
         ย่อมผ่องใส.
         (พุทฺธ)                                                    สํ.  ส.  ๑๕/๗.

        

๙๕.  อนวฏฺฐิตจิตฺตสฺส               ลหหุจิตฺตสฺส  ทุพฺภิโน
         นิจฺจํ  อทฺธุวสีลสฺส             สุขภาโว  น  วิชฺชติ.

         เมื่อมีจิตใจไม่หนักแน่น  เป็นคนใจเบา  มักประทุษร้ายมิตร
         มีความประพฤติกลับกลอกเป็นนิตย์  ย่อมไม่มีความสุข.
         (สิงฺคิลโพธิสตฺต)                                     ขุ.  ชา.  จตุกฺก.  ๒๗/๑๔๒.

        

๙๖.  อิตฺถีธุตฺโต  สุราธุตฺโต            อกฺขธุตฺโต  จ  โย  นโร
        ลทฺธํ  ลทฺธํ  วินาเสติ              ตํ  ปราภวโต  มุขํ.


        คนใดเป็นนักเลงหญิง  นักเลงสุรา  และนักเลงการพนัน
        ย่อมล้างผลาญทรัพย์ที่ตนได้แล้ว ๆ.  ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งผู้ฉิบหาย.
        (พุทฺธ)                                                     สุ.  ขุ.  ๒๕/๓๔๗.

 

๙๗.  อิตฺถี  มลํ  พฺรหฺมจริยสฺส             เอตฺถายํ  สชฺชเต  ปชา
         ตโป  จ  พฺรหฺมจริยญฺจ                ตํ  สินานมโนทกํ.

         หญิงเป็นมลทินของพรหมจรรย์  ประชาชนนี้ข้องอยู่ในหญิงนี้
         ตบะและพรหมจรรย์เป็นเครื่องอาบ  ไม่ใช่น้ำ.
         (พุทฺธ)                                                   สํ.  ส.  ๑๕/๕๒.

                     

๙๘.  อุปนียติ  ชีวิตมปฺปมายุํ
         ชรูปนีตสฺส  น  สนฺติ  ตาณา
         เอตํ  ภยํ  มรเณ  เปกฺขมาโน
         โลกามิสํ  ปชเห  สนฺติเปกฺโข.

          ชีวิตคืออายุอันน้อยนี้  ถูกชรานำเข้าไป  เมื่อสัตว์ถูกชรานำ
          เข้าไปแล้ว  ย่อมไม่มีเครื่องต้านทาน  ผู้เล็งเห็นภัยในมรณะนั้น  มุ่ง
          ความสงบ  พึงละโลกามิสเสีย.
          (พุทฺธ)                                                  สํ.  ส.  ๑๕/๗๗.

        

๙๙.  อุปสนฺโต  อุปรโต                มนฺตภาณี  อนุทฺธโต
         ธุนาติ  ปาปเก  ธมฺเม           ทุมปตฺตํว  มาลุโต.

         ผู้สงบ  เว้นบาป  ฉลาดพูด  ไม่ฟุ้งซ่าน  ย่อมขจัดบาปธรรม
         เสียได้  เหมือนลมกำจัดใบไม้ฉะนั้น.
         (มหาโกฏฺฐิตเถร)                                    ขุ.  เถร.  ๒๖/๒๖๐. 

         

๑๐๐.  เอวญฺเจ  สตฺตา  ชาเนยฺยุํ               ทุกฺขายํ  ชาติสมฺภโว
          น  ปาโณ  ปาณินํ  หญฺเญ              ปาณฆาตี  หิ  โสจติ.

          ถ้าสัตว์พึงรู้อย่างนี้  ' ชาติสมภพนี้เป็นทุกข์ '  สัตว์ก็ไม่ควร
          ฆ่าสัตว์  เพราะผู้ฆ่าสัตว์ย่อมเศร้าโศก.
          (รุกฺขเทวตาโพธิสตฺต)                            ขุ.  ชา.  เอก.  ๒๗/๖.

       

๑๐๑.  กาเมสุ นาภิคิชฺเฌยฺย           มนสานาวิโล  สิยา
          กุสโล  สพฺพธมฺมานํ              สโต  ภิกฺขุ  ปริพฺพเช.

          ภิกษุไม่ควรติดในกามทั้งหลาย  ควรมีใจไม่ขุ่นมัว ควรเป็น
          ผู้ฉลาดในธรรมทั้งปวง  ควรมีสติอยู่ทุกอิริยาบถ.
          (พุทฺธ)   ขุ.  สุ.  ๒๕/๕๓๑.                       ขุ.  จู.  ๓๐/๒๖.

       

๑๐๒.  ตานิ  เอตานิ  ทิฏฺฐานิ                  ภวเนตฺติ  สมูหตา
           อุจฺฉินฺนํ  มูลํ  ทุกฺขสฺส                  นตฺถิทานิ  ปุนพฺภโว.

           เห็นอริยสัจแล้ว  ถอนตัณหาผู้นำไปสู่ภพได้แล้ว  ตัดมูลรก
           แห่งทุกข์ขาดแล้ว  ย่อมไม่มีภพอีกต่อไป.
           (พุทฺธ)                                                  ที.  มหา.  ๑๐/๑๐๗.

        

๑๐๓.  ทาเนน  สมจริยาย                   สํยเมน  ทเมน  จ
           ยํ  กตฺวา  สุขิโต  โหติ             น  จ  ปจฺฉานุตปฺปติ.

           คนทำกรรมใดด้วยทาน  ด้วยความประพฤติสม่ำเสมอ  ด้วย
           ความสำรวม  และด้วยการฝึกตน  ย่อมมีความสุข  เพราะกรรมนั้น
           ย่อมไม่ตามเผาผลาญในภายหลัง.
           (โพธิสตฺต)                                           ขุ.  ชา.  ปกิณฺณก.  ๒๗/๓๙๘.

       

๑๐๔.  นิทฺทาสีลี  สภาสีลี                   อนุฏฺฐาตา  จ  โย  นโร
           อลโส  โกธปญฺญาโณ            ตํ  ปราภวโต  มุขํ.

           คนใดมักหลับ  มักคุย  และไม่ขยัน  เกียจคร้าน  มีความมุทะลุ
           ข้อนั้นเป็นเหตุของผู้ฉิบหาย.
           (พุทฺธ)                                                  ขุ.  สุ.  ๒๕/๓๔๖.

       

๑๐๕.  ธโช  รถสฺส  ปญฺญาณํ                   ธูโม  ปญฺญาณมคฺคิโน
           ราชา  รฏฺฐสฺส  ปญฺญาณํ              ภตฺตา  ปญฺญาณมิตฺถิยา.

           ธงเป็นเครื่องปรากฏของรถ  ควันเป็นเครื่องปรากฏของไฟ
           พระราชาเป็นเครื่องปรากฏของแว่นแคว้น  สามีเป็นเครื่องปรากฏ
           ของสตรี.
           (พุทฺธ)                                                  ขุ.  ชา.  มหา.  ๒๘/๓๘๖.

    

๑๐๖.  ธมฺมาราโม  ธมฺมรโต              ธมฺมํ  อนุวิจินฺตยํ
          ธมฺมํ  อนุสฺสรํ  ภิกฺขุ                สทฺธมฺมา  น  ปริหายติ.

          ภิกษุรื่นรมย์ยินดีในธรรม ใคร่ครวญธรรม  และระลึกถึงธรรม
          อยู่เนือง ๆ ย่อมไม่เสื่อมจากพระสัทธรรม.
          (พุทฺธ)                                                    ขุ.  ธ.  ๒๕/๖๕.

       

๑๐๗.  ปตฺถิ โลเก  รโห  นาม              ปาปกมฺมํ  ปกุพฺพโต
           ปสฺสนฺติ  วนภูตานิ                   ตํ  พาโล  มญฺญเต  รโห.

           ชื่อว่าที่ลับของผู้ทำความชั่วไม่มีอยู่ในโลก,  คนทั้งหลายเห็นเป็น
           ป่า  แต่คนเขลาสำคัญที่นั้นว่าเป็นที่ลับ.
           (โพธิสตฺต)                                             ขุ.  ชา.  จตุกฺก.  ๒๗/๑๓๑.

                    

๑๐๘.  น  สานกามสฺส  ทโม  อิธตฺถิ
           น  โมนมตฺถิ  อสมาหิตสฺส
           เอโก  อรญฺเญ  วิหรมฺปมตฺโต
           น  มจฺจุเธยฺยสฺส  ตเรยฺย  ปารํ.

           ในโลกนี้  ผู้ที่ชอบถือตัว  ย่อมไม่มีการฝึกตน,  ตนมีใจไม่
           มั่นคง  ย่อมไม่มีความรู้,  ผู้ประมาทแม้อยู่ในป่าคนเดียว  ก็ข้ามฝั่ง
           แห่งแดนมฤตยูไม่ได้.
           (เทวตา)                                                 สํ.  ส.  ๑๕/๖.

       

๑๐๙.  น  ปเรสํ  วิโลมานิ                 น  ปเรสํ  กตากตํ
           อตฺตโน  ว  อเวกฺเขยฺย          กตานิ  อกตานิ  จ.

           ไม่ควรฟังคำก้าวร้าวของคนอื่น,  ไม่ควรมองดูการงาน
            ของคนอื่นที่เขาทำแล้วยังไม่ได้ทำ,  ควรพิจารณาดูแต่การงานของ
            ตนที่ตนทำแล้วและยังไม่ได้ทำเท่านั้น.
            (พุทฺธ)                                                  ขุ.  ธ.  ๒๕/๒๑.

       

๑๑๐. ปมาทํ  ภยโต  ทิสฺวา            อปฺปมาทญฺจ  เขมโต
         ภาเวถฏฺฐงฺคิกํ  มคฺคํ             เอสา  พุทฺธานุสาสนี.

         เห็นความประมาทเป็นภัย  และเห็นความไม่ประมาทเป็นความ
         ปลอดภัยแล้ว  พึงเจริญมรรคมีองค์ ๘  นี้เป็นพุทธานุศาสนี.
         (พุทฺธ)                                                    ขุ.  จริยา.  ๓๓/๕๙๕.

       

๑๑๑.  ปิยานํ  อทสฺสนํ  ทุกฺขํ               อปฺปิยานญฺจ  ทสฺสนํ
           ตสฺมา  ปิยํ  น  กยิราถ              ปิยาปาโย  หิ  ปาปโก.

           การไม่เห็นสิ่งที่รักเป็นทุกข์  และการเห็นสิ่งที่ไม่รักก็เป็นทุกข์
           เหตุนั้น  จึงไม่ควรทำอะไรให้เป็นที่รัก  เพราะความพรากจากสิ่งที่
           รัก  เป็นการทราม.
           (พุทฺธ)                                                   ขุ.  ธ.  ๒๕/๔๓.

 

๑๑๒.  มจฺจุนพฺภาหโต  โลโก            ปริกฺขิตฺโต  ชราย  จ
           หญฺญติ  นิจฺจมตฺตาโณ          ปตฺตหณฺโฑว  ตกฺกโร.

           โลกถูกมฤตยูกำจัด  ถูกชราล้อมไว้  ไม่มีผู้ต้านทาน  ย่อม
           เดือดร้อนเป็นนิตย์  ดุจคนต้องโทษต้องทำตามอาชญาฉะนั้น.
           (สิริมณฺฑเถร)                                          ขุ.  เถร. ๒๖/๓๓๕.

                     

๑๑๓.  ยํ  ลภติ  น  เตน  ตุสฺสติ
           ยํ  ปตฺเถติ  ลทฺธํ  หีเฬติ
           อิจฺฉา  หิ  อนนฺตโคจรา
           วิคติจฺฉานํ  นโม  กโรม  เส.

           บุคคลได้สิ่งใด  ไม่ยินดีด้วยสิ่งนั้น,  ปรารถนาสิ่งใด  ดูหมิ่น
           สิ่งที่ได้แล้วนั้น,  เพราะความต้องการไม่มีที่สุด,  พวกเราจงทำความ
           นอบน้อมผู้ปราศจากความต้องการเถิด.
           (โพธิสตฺต)                                              ขุ.  ชา.  ทุก.  ๒๗/๙๔.

       

๑๑๔.  ยถาหิ  องฺคสมฺภารา                โหติ  สทฺโท  รโถ  อิติ
           เอวํ  ขนฺเธสุ  สนฺเตสุ                โหติ  สตฺโตติ  สมฺมติ.

           เหมือนอย่างว่า  เพราะคุมส่วนทั้งหลายเข้า  เสียงว่ารถย่อมมี
           ฉันใด  เมื่อขันธ์ทั้งหลายยังมีอยู่  การสมมติว่าสัตว์  ย่อมมี  ฉันนั้น.
           (วชิราภิกฺขุนี)                      สํ.  ส.  ๑๕/๑๙๘.  ขุ. มหา.  ๒๙/๕๓๖.

 

๑๑๕.  ยถาปิ  มูเล  อนุปทฺทเว  ทฬฺเห
           ฉินฺโนปิ  รุกฺโข  ปุนเรว  รูหติ
           เอวมฺปิ  ตณฺหานุสเย  อนูหเต
           นิพฺพตฺตติ  ทุกฺขมิทํ  ปุนปฺปุนํ.

           เมื่อรากยังมั่นคงไม่มีอันตราย  ต้นไม้แม้ถูกตัดแล้วย่อมงอกได้
           อีกฉันใด,  เมื่อตัณหานุสัยยังไม่ถูกกำจัดแล้ว  ทุกข์นี้ย่อมเกิดร่ำไป
           ฉันนั้น.
           (พุทฺธ)                                                     ขุ.  ธ.  ๒๕/๖๐.

       

๑๑๖.  ยสฺส  ราโค  จ  โสโส  จ     อวิชฺชา  จ  วิราชิตา
           โส  อิมํ  สมุทฺทํ  สคาหํ  สรกฺขสํ
           สอุมฺมิภยํ  สุทิตฺตรํ  อจฺจตริ.

           ผู้สำรอกราคะโทสะและอวิชชาได้แล้ว  ชื่อว่าได้ข้ามทะเลที่
           มีสัตว์ร้าย  มีผู้ร้าย  มีภัยจากคลื่น  อันข้ามไปได้ยากนักนี้.
           (พุทฺธ)                                                     สํ.  สฬ.  ๑๘/๑๙๗.

       

๑๑๗.  ยสฺมึ  กามา  น  วสนฺติ              ตณฺหา  ยสฺส  น  วิชฺชติ
            กถงฺกถา  จ  โย  ติณฺโณ          วิโมกฺโข  ตสฺส  นาปโร.

            ผู้ใดไม่มีกามอยู่  ผู้ใดไม่มีตัณหา  และผู้ใดข้ามความสงสัย
            ได้,  ผู้นั้นย่อมมีความพ้น  ที่ไม่แปรผันเป็นอย่างอื่นอีก.
             (พุทฺธ)   ขุ.  สุ.  ๒๕/๕๔๓.                        ขุ.  จู.  ๓๐/๑๗๐.

 

๑๑๘.  โย  ทุกฺขมทฺทกฺขิ  ยโตนิทานํ
            กาเมสุ  โส  ชนฺตุ  กถํ  นเมยฺย
            อุปธึ  วิทิตฺวาน  สงฺโคติ  โลเก
            ตสฺเสว  ชนฺตุ  วินยาย  สิกฺเข.

            ผู้ใดเป็นทุกข์ว่าเกิดเพราะกาม,  ผู้นั้นจะพึงน้อม (จิต) ไปใน
            กามได้อย่างไร,  ผู้รู้จักอุปธิว่าเป็นเครื่องข้องในโลกแล้ว  พึงศึกษา
            เพื่อกำจัดอุปธิเสีย.
            (พุทฺธ)                                                      สํ.  ส.  ๑๕/๑๗๐.

       

๑๑๙.  โย  เว  ตํ  สหตี  ชมฺมี              ตณฺหํ  โลเก  ทุรจฺจยํ
           โสกา  ตมฺหา  ปปตนฺติ             อุทพินฺทุว  โปกฺขรา.

            ผู้ใดครอบงำตัณหาลามก  อันล่วงได้ยากในโลก  ความโศก
            ทั้งหลายย่อมตกไปจากผู้นั้น  เหมือนหยาดน้ำตกจากใบบัวฉะนั้น.
            (พุทฺธ)                                                     ขุ.  ธ.  ๒๕/๖๐.

                  

๑๒๐.  รเสสุ  เคธํ  อกรํ  อโลโล
           อนญฺญโปสี  สปทานจารี
           กุเล  กุเล  อปฺปฏิพทฺธจิตฺโต
           เอโก  จเร  ขคฺควิสาณกปฺโป.

           ผู้ไม่โลเล  ไม่ทำความติดในรส  ไม่เลี้ยงผู้อื่น  เที่ยว
           บิณฑบาตตามลำดับ  มีจิตไม่ติดในสกุล  พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
           นอแรด.
           (พุทฺธ)                  ขุ.  สุ.  ๒๕/๓๓๗.          ขุ.  จู.  ๓๐/๔๐๖.

 

๑๒๑.  ริตฺตสฺส  มุนิโน  จรโต             กาเมสุ  อนเปกฺขิโน
           โอฆติณฺณสฺส  ปิหยนฺติ          กาเมสุ  คธิตา  ปชา.

           มุนีผู้ประพฤติตนเป็นคนว่าง  ไม่เยื้อใยในกรม  ข้ามโอฆะ
           ได้  ประชาชนผู้ยังติดในกามก็ชอบ.
            (พุทฺธ)                                                    ขุ.  สุ.  ๒๕/๔๙๔.

                    

๑๒๒.  วิทฺวา  จ  โย  เวทคู  นโร  อิธ
           ภวาภเว  สงฺคมิมํ  วิสชฺช
           โส  วีตตณฺโห  อนีโฆ  นิราโส
           อตาริ  โส  ชาติชรนฺติ  พฺรูมิ.

           ผู้ใดรู้จบพระเวทในโลกนี้  สละเครื่องข้องในภพน้อยใหญ่ได้
           แล้ว,  ผู้นั้นปราศจากตัณหา  ไม่มีทุกข์  ไม่มีความทะเยอทะยาน,  เรา
           กล่าวว่า  เขาข้ามชาติและชราได้.
           (พุทฺธ)                    ขุ.  สุ.  ๒๕/๕๓๖.       ขุ.  จู.  ๓๐/๑๐๔,๑๐๗

       

๑๒๓.  วิเวกญฺเญว  สิกฺเขถ                  เอตทริยานมุตฺตมํ
            เตน  เสฏฺโฐ  น  มญฺเญถ          ส  เว  นิพฺพานสนฺติเก.

            พึงศึกษาวิเวก  ซึ่งเป็นคุณอันสูงสุดของพระอริยะทั้งหลาย, ไม่
            ถือตัวว่าเป็นผู้ประเสริฐเพราะวิเวกนั้น  ผู้นั้นแล  ชื่อว่าปฏิบัติใกล้พระ
            นิพพาน.
            (พุทฺธ)                  ขุ.  สุ.  ๒๕/๔๙๔.        ขุ.  มหา. ๒๙/๑๙๑.

 

๑๒๔.  สงฺเกยฺย  สงฺกิตพฺพานิ         รกฺเขยฺยานาคตํ  ภยํ
            อนาคตภยา  ธีโร                อุโภ  โลเก  อเวกฺขติ.

           พึงระแวงภัยที่ควรระแวง  พึงระวังภัยที่ยังไม่มาถึง  ผู้ฉลาด
           ย่อมมองดูโลกทั้ง ๒ เพราะกลัวต่ออนาคต.
           (อสฺสตฺถเทวตา)                                       ขุ.  ชา.  จตุกฺก.  ๒๗/๑๓๖.

                    

๑๒๕.  สญฺญํ  ปริญฺญา  วิตเรยฺย  โอฆํ
            ปริคฺคเหสุ  มุนิ  โนปลิตฺโต
            อพฺพูฬฺหสลฺโล  จรมปฺปมตฺโต
            นาสึสติ  โลกมิมํ  ปรญฺจ.

            กำหนดรู้สัญญาแล้วพึงข้ามโอฆะได้  เป็นมุนีไม่ติดในสิ่งที่
            หวงแหน  ถอนลูกศรแล้วเที่ยวไป  ไม่ประมาท  ชื่อว่าไม่หวังโลกนี้
            และโลกหน้า.
            (พุทฺธ)                 ขุ.  สุ.  ๒๕/๔๘๖.          ขุ.  มหา.  ๒๙/๗๑.

       

๑๒๖.  สนฺตํ  ตสฺส  มนํ  โหติ                สนฺตา  วาจา  จ  กมฺม  จ
           สมฺมทญฺญา  วิมุตฺตสฺส              อุปสนฺตสฺส  ตาทิโน.

           เมื่อพ้นเพราะรู้ชอบ  สงบคงที่แล้ว  ใจคอของเขาก็สงบ  คำพูด
           และการกระทำก็สงบ.
           (พุทฺธ)                                                     ขุ.  ธ.  ๒๕/๒๘.

              

๑๒๗.  สพฺพปาปสฺส  อกรณํ           กุสลสฺสูปสมฺปทา
            สจิตฺตปริโยทปนํ                 เอตํ  พุทฺธานาสนํ.

            การไม่ทำบาปทั้งปวง  การยังกุศลให้ถึงพร้อม  การทำจิตของ
            ตนให้ผ่องแผ้ว,  ๓ ข้อนี้เป็นคำสั่งสอนของท่านผู้รู้ทั้งหลาย.
            (พุทฺธ)                                                    ขุ.  ธ.  ๒๕/๓๙.

       

๑๒๘.  สาธุ  ธมฺมรุจี  ราชา               สาธุ  ปญฺญาณวา  นโร
           สาธุ  มิตฺตานมทฺทุพฺโภ          ปาปสฺสากรณํ  สุขํ.

           พระราชาดี  ที่ทรงยินดีในธรรม,  คนดี  ที่มีปัญญา,  เพื่อดี
           ที่ไม่ประทุษร้ายมิตร,  สุข  อยู่ที่ไม่ทำบาป.
           (โพธิสตฺต)                                               ขุ.  ชา.  ปญฺญาส.  ๒๘/๒๐.




พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๓

๑. อัตตวรรค คือ หมวดตน article
๒. อัปปมาทวรรค คือ หมวดไม่ประมาท article
๓. กัมมวรรค คือ หมวดกรรม article
๔. กิเลสวรรค คือ หมวดกิเลส
๕. ขันติวรรค คือ หมวดอดทน
๖. จิตตวรรค คือ หมวดจิต
๗. ทานวรรค คือ หมวดทาน
๘. ธัมมวรรค คือ หมวดธรรม
๑๐. ปัญญาวรรค คือ หมวดปัญญา
๑๑. ปุคคลวรรค คือ หมวดบุคคล
๑๒. มัจจุวรรค คือ หมวดความตาย
๑๓. วาจาวรรค คือ หมวดวาจา
๑๔. วิริยวรรค คือ หมวดความเพียร
๑๕. สามัคคีวรรค คือ หมวดสามัคคี
๑๖. สีลวรรค คือ หมวดศีล
๑๗. เสวนาวรรค คือ หมวดคบหา



แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล