ReadyPlanet.com


เจาะ 10 มาตรการรัฐแก้พลังงานแพง


เจาะ 10 มาตรการรัฐบาลแก้ไขพลังงานแพง

1.การเพิ่มเงินช่วยเหลือเพื่อเป็นส่วนลดซื้อก๊าซหุงต้ม สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 3.6 ล้านคน โดยเพิ่มเงินจากเดิม 45 บาทต่อ 3 เดือน เป็น 100 บาทต่อ 3 เดือน

2.ให้ส่วนลดซื้อก๊าซหุงต้ม เดือนละ 100 บาท เป็นเวลา 3 เดือน สำหรับผู้ค้าหาบเร่แผงลอยที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และเคยลงทะเบียนกับทาง ปตท.ไว้แล้ว มีประมาณ 5,500 คน

3.ช่วยเหลือค่าน้ำมันให้กับผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้างที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมการขนส่งทางบก 157,000 คน โดยช่วยลดค่าใช้จ่ายน้ำมัน 250 บาทต่อเดือนเป็นเวลา 3 เดือน และขอให้กรมการขนส่งทางบกกำกับราคาการให้บริการเพื่อให้ผู้ใช้บริการมอเตอร์ไซค์รับจ้าง มีค่าใช้จ่ายในการเดินทางเท่าเดิม 4.คงราคาขายปลีก ผู้ที่ใช้ก๊าซ NGV ทั่วไป จำนวน 318,000 คนไว้ที่ 15.59 บาทต่อกิโลกรัม เป็นเวลา 3 เดือน

5.ผู้ขับขี่แท็กซี่มิเตอร์ภายใต้โครงการลมหายใจเดียวกัน จำนวน 17,000 คน สามารถซื้อก๊าซได้ในราคา 13.62 บาท/กิโลกรัม ในวงเงิน 10,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 3 เดือน

6.ช่วยลดภาระค่าไฟฟ้าที่จะเพิ่มขึ้น สำหรับครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน มีจำนวน 20 ล้านหลังคาเรือน โดยลดค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) ลง 22 สตางค์ต่อหน่วย ในช่วงเดือน พ.ค-ส.ค.2565

7.ตรึงราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลที่ 30 บาทต่อลิตร ไปจนถึงสิ้นเดือน เม.ย.2565 หลังจากนั้น รัฐบาลจะใช้เงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าไปช่วยเหลือส่วนที่ราคาน้ำมันดีเซลปรับเพิ่มขึ้นเกินกว่าลิตรละ 30 บาท ตามสูตรคนละครึ่ง เช่น ขึ้นไปลิตรละ 38 บาท ผู้ใช้จะจ่ายที่ลิตรละ 30+4 บาท และรัฐช่วยจ่ายลิตรละ 4 บาท

8.กำกับดูแลการปรับราคาก๊าซหุงต้มในช่วงตั้งแต่เดือน เม.ย.-มิ.ย.โดยจะมีการขึ้นราคาเดือนละ 1 ครั้ง แต่จะมีการใช้กองทุนน้ำมันเข้าไปช่วยลดผลกระทบจากการปรับราคาให้ไม่ขึ้นสูงเกินไป เนื่องจากราคาจริงในปัจจุบันอยู่ที่ถังละ 432 บาท แต่จากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 รัฐบาลได้ประกาศคุมราคา ไว้ที่ 318 บาทต่อถังขนาด 15 กิโลกรัม (กก.) เป็นเวลา 2 ปี ซึ่งจะครบเวลาในสิ้นเดือน มี.ค.นี้ ดังนั้น ในเดือน เม.ย.จะมีการทยอยขึ้นครั้งแรกในอัตรา กก.ละ 1 บาท โดยถังขนาด 15 กก. จะขึ้น 15 บาท ไปอยู่ที่ 333 บาท และขึ้นครั้งที่สอง เดือน พ.ค. อีก 15 บาท ไปอยู่ที่ 363 บาท และครั้งที่สาม เดือน มิ.ย. อีก 15 บาท เป็น 363 บาท พอหลังจากเดือนนี้แล้วจะขึ้นอีกเท่าไหร่ กระทรวงพลังงานยังไม่ได้ตัดสินใจ

9.ลดอัตราเงินสมทบของนายจ้าง 486,354 ราย และลูกจ้างที่อยู่ในระบบประกันสังคม มาตรา 33 จำนวน 11.19 ล้านราย จาก 5% เหลือ 1% ในงวดค่าจ้างเดือน พ.ค.-ก.ค. 2565 เพื่อให้นายจ้างและลูกจ้างสามารถมีกำลังในการใช้จ่าย และผู้ประกอบการสามารถมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้นในการดำเนินธุรกิจในช่วงถัดไป

หากคิดจากฐานเงินเดือน 15,000 บาท ลูกจ้างในกลุ่มนี้ต้องจ่ายเงินสมทบเดือนละ 750 บาท จะเหลือจ่าย 150 บาท ลดภาระลงได้ 600 บาทต่อเดือน รวมระยะเวลา 3 เดือน เป็นเงิน 1,800 บาท

10.ลดอัตราเงินสมทบผู้ประกันตนมาตรา 39 จำนวน 1.9 ล้านคน จาก 9% ของฐานค่าจ้าง 4,800 บาท หรือเดือนละ 432 บาท เหลือเดือนละ 1.9% หรือ 91 บาท เท่ากับลดเงินนำส่งได้เดือนละ 341 บาท รวมระยะเวลา 3 เดือน เป็นเงิน 1,023 บาท และลดอัตราเงินสมทบของผู้ประกันตนมาตรา 40 จำนวน 10.66 ล้านคนลงเหลือ 42-180 บาทต่อเดือน ในงวดเดือน ก.พ.-ก.ค.2565 เป็นเวลา 6 เดือน โดยในส่วนนี้เป็นมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ.2565 อยู่ระหว่างเสนอร่างพระราชกฤษฎีกาฯ ซึ่งทางเลือกที่ 1 เคยจ่ายเดือนละ 70 บาท จะเหลือ 42 บาท ทางเลือกที่ 2 เคยจ่ายเดือนละ 100 บาท จะเหลือ 60 บาท และทางเลือกที่ 3 เคยจ่าย 300 บาท จะลดเหลือ 180 บาท

รายละเอียดเนื้อข่าว

 

www.thairath.co.th/business/economics/2352670



ผู้ตั้งกระทู้ เพชรน้ำตาล :: วันที่ลงประกาศ 2022-03-30 19:12:04


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล