
คดีประวัติศาสตร์ "คำต่อคำ" พิพากษายึดทรัพย์เงินปล้นชาติ 46,373 ล้าน!!! | |
“คำต่อคำ” พิพากษายึดทรัพย์เงินปล้นชาติ 46,373 ล้าน!
คำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2553 ส่วนบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือเรียกโดยย่อว่าบริษัทชินคอร์ป เดิมจดทะเบียนนิติบุคคล ใช้ชื่อว่าบริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ แอนด์ อินเวสต์เมนต์ จำกัด เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ จำกัด และบริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมูนิเคชั่น จำกัด ตามลำดับ ต่อมาจดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน และเปลี่ยนชื่อครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2544 ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียน 5 พันล้านบาท เป็นหุ้นสามัญจำนวน 5 พันล้านหุ้น ราคาพาร์หุ้นละ 1 บาท เป็นบริษัทได้รับสัมปทานโครงการดาวเทียมจากรัฐโดยตรง ตามสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ฉบับลงวันที่ 11 กันยายน 2534 และยังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือที่เรียกโดยย่อว่า บริษัท เอไอเอส ซึ่งเป็นผู้รับสัญญาสัมปทานจากรัฐ ตามสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ฉบับลงวันที่ 27 มีนาคม 2533 จากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย หรือบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือที่เรียกโดยย่อว่า ทศท ในปี 2542 บริษัท ชินคอร์ป มีการเพิ่มทุนในราคาหุ้นละ 15 บาท ผู้คัดค้านที่ 1 ได้ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของตน ซื้อเช็คธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขารัชโยธิน ลงวันที่ 16 มีนาคม 2542 จำนวน 3 ฉบับ ชำระค่าจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนในนามตนเอง 34,650,000 หุ้น เป็นเงิน 519,750,000 บาท ในนามผู้ถูกกล่าวหา จำนวน 32,920,000 หุ้น เป็นเงิน 493,800,000 บาท และในนามผู้คัดค้านที่ 5 จำนวน 6,809,015 หุ้น เป็นเงิน 102,135,225 บาท ดังนั้นในวันที่ 12 เมษายน 2542 ผู้ถูกกล่าวหาถือหุ้นบริษัท ชินคอร์ป จำนวน 65,840,000 หุ้น ผู้คัดค้านที่ 1 ถือหุ้นจำนวน 69,300,000 หุ้น รวมเป็นจำนวนหุ้นทั้งสิ้น 135,140,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 48.75 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ต่อมาวันที่ 24 สิงหาคม 2544 บริษัท ชินคอร์ป จดทะเบียนลดมูลค่าหุ้นจากที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท เหลือหุ้นละ 1 บาท ทำให้จำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่า 1. กรณีแปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิต ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2545 ผู้ถูกกล่าวหา เริ่มกระบวนการตรากฎหมายแก้ไขพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต จนกระทั่งมีการประกาศใช้ พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 ฉบับที่ 4 พ.ศ.2546 และ พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 พ.ศ.2546 และออกประกาศกระทรวงการคลังเรื่องลดอัตราและยกเว้นภาษีสรรพสามิต ฉบับที่ 68 ลงวันที่ 28 มกราคม 2546 โดยให้ลดพิกัดอัตราและยกเว้นภาษีสรรพสามิตสำหรับกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ จากอัตราร้อยละ 50 เหลือร้อยละ 10 ตามบัญชีท้ายประกาศ และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2546 เห็นชอบด้วยกับแนวทางการดำเนินการเพื่อหักค่าภาษีสรรพสามิตออกจากส่วนแบ่งรายได้ที่คู่สัญญาจะต้องนำส่งให้แก่คู่สัญญาภาครัฐ 2. กรณีการแก้ไขสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรคมนาคม ในสัดส่วนที่สูงขึ้น เพื่อให้ผู้ถูกกล่าวหาสามารถขายหุ้นของตนเองกับพวกพ้องให้แก่ผู้ถือหุ้นชาวต่างชาติได้อีกด้วย ต่อมาวันที่ 12 เมษายน 2544 ได้มีการนำเรื่องที่บริษัทเอไอเอส ขอลดอัตราส่วนแบ่งรายได้ดังกล่าวเสนอต่อคณะกรรมการ ทศท และได้มีการลงนามข้อตกลงต่อท้ายสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2544 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2544 เป็นต้นไป ส่งผลให้บริษัทเอไอเอส จ่ายส่วนแบ่งรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพรีเพด ให้แก่ ทศท ในอัตรา 20 เปอร์เซ็นต์ คงที่ตลอดอายุสัญญาสัมปทาน ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2544 เป็นต้นไป อันเป็นการมิทราบ เพราะการจัดทำข้อตกลงต่อท้ายสัญญครั้งที่ 6 เพื่อปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้นั้น คณะกรรมการกฤษฎีกาคณะพิเศษได้วินิจฉัยตามบันทึกของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 291/2550 แล้ว ว่าสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นสัญญาที่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 แม้สัญญาดังกล่าวจะได้ดำเนินการไปก่อนที่ พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน ใช้บังคับ แต่การทำข้อตกลงต่อท้ายสัญญาครั้งที่ 6 ดังกล่าว มิได้เสนอเรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญา ต่อคณะกรรมการประสานงานตามมาตรา 22 พิจารณา และมิได้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาเห็นชอบในกรณีที่เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญของโครงการแต่อย่างใด ทั้งที่ในขณะนั้น ทศท ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานกำกับดูแลดำเนินงานตามสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ตามคำสั่งคณะกรรมการ ทศท.ที่ 24/2541 ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2541 ซึ่งเป็นคณะกรรมการประสานงานตามมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน แล้ว และเหตุผลในการขอลดส่วนแบ่งรายได้ของบริษัทเอไอเอส ที่ว่า บริษัท แทค ขอลดค่าเชื่อมโยงเครือข่ายสำหรับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพรีเพด จากเดิมอัตรา 200 บาทต่อเลขหมายต่อเดือน เป็นอัตราร้อยละ 18 ของราคาหน้าบัตรนั้น ฝ่ายบริหารผลประโยชน์ ทศท เห็นว่าเป็นข้ออ้างที่ไม่มีเหตุผล เนื่องจากบริษัท เอไอเอส มิได้เสียค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ และบริษัทแทค ยังมีความสามารถด้อยกว่าบริษัทเอไอเอส เนื่องจากมีภาระค่าใช้จ่ายมากกว่าบริษัท เอไอเอส เหตุผลที่บริษัท เอไอเอส อ้างต่อ ทศท เพื่อขอให้ ทศท พิจารณาปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้ดังกล่าว ไม่อาจรับฟังได้ และเป็นการสร้างความได้เปรียบในทางธุรกิจให้แก่บริษัทเอไอเอส ไม่ได้ส่งผลโดยตรงให้มีการลดค่าใช้บริการให้แก่ประชาชน ไม่ใช่ผลโดยตรงที่จะทำให้มีผู้ใช้บริการมากขึ้น และทำให้ ทศท มีรายได้มากขึ้น เป็นการลดที่มากเกินไป หากเปรียบเทียบกับส่วนแบ่งรายได้ในอัตราร้อยละ 30 ตามสัญญาหลัก ซึ่งจะทำให้ ทศท เสียประโยชน์ สูญเสียรายได้ที่ควรได้รับ 14,213,750,000 บาท ปี พ.ศ.2544-2549 และความเสียหายที่เกิดขึ้นในอนาคต 56,658,280,000 บาท ในเดือนตุลาคม 2549 ถึงกันยายน 2559 ส่งผลโดยตรงให้บริษัทเอไอเอส สามารถที่จะทำกำไรมากขึ้น เนื่องจากต้นทุนส่งผลโดยตรงให้บริษัทเอไอเอส สามารถที่จะทำกำไรมากขึ้น เนื่องจากต้นทุนค่าสัมปทานลดลง และสามารถถึงจุดคุ้มทุนได้เร็วกว่าคู่แข่ง จ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในจำนวนที่มากกว่าคู่แข่งในทางธุรกิจ ส่งผลให้หุ้นของบริษัทเอไอเอส มีราคาสูงขึ้น และเป็นที่น่าสนใจของนักลงทุน เป็นการดำเนินการเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทเอไอเอส ได้รับประโยชน์แล้ว ตั้งแต่มีการจัดทำข้อตกลงต่อท้ายสัญญาครั้งที่ 6 ถึงเดือนกันยายน 2549 เป็นเงิน 14,000,213,700 เศษ และได้รับประโยชน์ในอนาคตถึงวันสิ้นสุดสัญญาสัมปทานอีก 56,658,280,000 บาท รวมประโยชน์ที่บริษัทเอไอเอส ได้รับจากการจัดทำข้อตกลงท้ายสัญญาครั้งที่ 6 เป็นเงิน 72,300,000,000 ล้านบาท ผู้ถูกกล่าวหามีส่วนเกี่ยวข้องและได้รับประโยชน์จากกรณีดังกล่าว เนื่องจากผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น มีอำนาจหน้าที่บังคับบัญชาหรือกำกับดูแล ทศท ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 การเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทเอไอเอส ที่มีบริษัท ชินคอร์ป เป็นผู้ถือหุ้นอยู่ คิดเป็นร้อยละ 42.90 ทั้งนี้ ผู้ถูกกล่าวหายังคงเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ในบริษัท ชินคอร์ป ในระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ผลประโยชน์ดังกล่าวจึงตกแก่ผู้ถูกกล่าวหา ทำให้ ทศท สูญเสียรายได้ที่ควรจะได้รับประมาณ 70,872,030,000 บาท ต่อมาบริษัท เอไอเอส มีหนังสือลงวันที่ 26 สิงหาคม 2545 เสนอขอปรับหลักการใช้เครือข่ายของบริษัทเอไอเอส และกรณีบริษัทเอไอเอสเข้าไปใช้โครงข่ายร่วมของผู้ให้บริการรายอื่น วันที่ 5 กันยายน 2545 คณะกรรมการ ทศท อนุมัติให้บริษัท เอไอเอส ดำเนินการตามที่ขอได้ ในอัตรานาทีละไม่เกิน 3 บาท ทั่วประเทศ ในกรณีที่บริษัท เอไอเอส ให้ผู้ให้บริการรายอื่นมาใช้โครงข่ายร่วมกัน บริษัทเอไอเอสจะนำมาใช้คำนวณส่วนแบ่งรายได้ให้แก่ ทศท กรณีที่บริษัทเอไอเอส ไปใช้โครงข่ายกับเครือข่ายผู้ให้บริการรายอื่น บริษัท เอไอเอส จะนำรายได้จากค่าใช้บริการที่บริษัท เอไอเอส เรียกเก็บจากผู้ใช้บริการหลัก หักด้วยค่าใช้โครงข่ายร่วมกันที่บริษัทเอไอเอสจ่ายให้แก่เจ้าของเครือข่ายก่อน จึงจะนำมาคำนวณส่วนแบ่งรายได้ให้แก่ ทศท ต่อไป ทศท และบริษัท เอไอเอส ได้ลงนามในข้อตกลงต่อท้ายสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริษัทโทรศัพท์เคลื่อนที่ ครั้งที่ 7 ลงวันที่ 20 กันยายน 2545 โดยนายสุธรรม มะลิลา ในฐานะผู้แทนฝ่าย ทศท และนายบุญคลี ปลั่งศิริ ในฐานะผู้แทนฝ่ายบริษัทเอไอเอส มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป กรณีที่ 2 กรณีการปรับลดอัตราการใช้เครือข่ายร่วม ระหว่าง กสท กับบริษัท ดีพีซี ตามสัญญาให้ดำเนินการให้บริการวิทยุโทรคมนาคมระบบเซลูลาร์ ดิจิตอล พีซีเอ็น มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป การจัดทำข้อตกลงต่อท้ายสัญญาให้ดำเนินกิจการบริษัทโทรศัพท์เคลื่อนที่ ครั้งที่ 7 เพื่ออนุญาตให้ใช้เครือข่ายร่วม และให้หักค่าใช้จ่ายจากรายรับและการปรับลดอัตราค่าใช้เครือข่าย ไม่ได้ดำเนินการให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 ตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะพิเศษ เรื่องเศษที่ 291/2550 ขัดต่อข้อกำหนดสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ฉบับ... ลงวันที่ 27 มีนาคม 2533 ข้อ 9 ข้อ 16 และข้อ 30 ปรากฏว่าจากเดือนตุลาคม 2545 ถึงเดือนเมษายน 2551 ที่มีการยินยอมให้หักค่าใช้เครือข่ายร่วม พบว่ามีการเข้าไปใช้เครือข่ายร่วมระหว่างบริษัท เอไอเอส กับบริษัท ดีพีซี 13,283,420,483 นาที กสท ขาดรายได้กว่า 6,960,359,401 บาท และ กสท จะต้องสูญเสียผลประโยชน์ที่ควรจะได้รับจนสิ้นอายุสัญญาสัมปทาน ไม่น้อยกว่า 18,175,359,401 บาท และกรณีที่บริษัท ดีพีซี ซึ่งเป็นเจ้าของเครือข่ายที่บริษัท เอไอเอส เข้าไปใช้เครือข่ายร่วมมาก คิดเป็นปริมาณ 13,283,400,220 นาทีเศษ บริษัท เอไอเอส สามารถหักค่าใช้จ่ายต่อ กสท จากการใช้เครือข่ายดังกล่าวได้ ในทางกลับกัน บริษัท ดีพีซี เข้าไปใช้เครือข่ายของบริษัท เอไอเอส ในปริมาณ 384,323,146 นาที ไม่สามารถหักค่าใช้จ่ายดังกล่าวก่อนนำส่งส่วนแบ่งรายได้ให้แก่ กสท แต่อย่างใดทั้งที่เป็นกรณีเดียวกัน ทั้งนี้ ผู้ถูกกล่าวหายังคงเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ในบริษัท ชินคอร์ป ในระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ผลประโยชน์ดังกล่าวจึงตกแก่ผู้ถูกกล่าวหา การที่ ทศท และ กสท ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ ภายใต้การบังคับบัญชา หรือกำกับดูแลของผู้ถูกกล่าวหา ในฐานะนายกรัฐมนตรี ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ดำเนินการดังกล่าวเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัท เอไอเอส มีความได้เปรียบคู่แข่งขันในกิจการโทรคมนาคม เป็นเหตุให้หุ้นของบริษัท ชินคอร์ป มีมูลค่าสูงขึ้น จนกระทั่งมีการขายหุ้นดังกล่าว เงินที่ผู้ถูกกล่าวหาและคู่สมรสได้จากการขายหุ้น จึงเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่สมควร สืบเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ ทั้งนี้ ตามแผนงานใหม่ที่ได้รับอนุมัตินั้นจะมีดาวเทียมชุดที่ 3 ด้วย เนื่องจากส่งชุดที่ 2 เร็วขึ้น บริษัท ไทยคม ขอนุมัติสร้างและส่งดาวเทียมไทยคม 4 เพื่อใช้เป็นดาวเทียมสำรองของดาวเทียมไทยคม 3 โดยมีกำหนดส่งขึ้นสู่อวกาศในปี 2551 เมื่อถึงกำหนดได้ขอเลื่อนการส่งดาวเทียมท 2 ครั้ง และเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของดาวเทียมไทยคม 4 เป็นดาวเทียมไอพีสตาร์ โดยร้องขอเป็นดาวเทียมสำรองเช่นเดิม ตามหนังสือลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2545 แต่มีรายละเอียดทางเทคนิคที่ไม่เหมือนกับดาวเทียมไทยคม 3 (2) กรณีการอนุมัติแก้ไขสัญญาดำเนินกิจการสื่อสารภายในประเทศ ครั้งที่ 5 ลงวันที่ 27 ตุลาคม 2547 ลดสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท ชินคอร์ป ที่ต้องถือในบริษัท ไทยคม จากไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 เป็นไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2546 บริษัทไทยคมร้องขออนุมัติแก้ไขสัญญาสัมปทาน โดยให้เหตุผลใช้เงินลงทุนในโครงการดาวเทียมไอพีสตาร์สูงมาก ต้องหาพันธมิตรเข้าร่วมลงทุน จึงทำให้ต้องลดสัดส่วนการถือหุ้นต่อกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รับโอนจากกระทรวงคมนาคม ตามกฎหมายปฏิรูปราชการ ระบบราชการ ซึ่งมีการหารือกรณีการขอแก้ไขสัญญาสัมปทานเพื่อลดสัดส่วนการถือหุ้นแล้ว (3) กรณีการอนุมัติให้ใช้เงินค่าสินไหมทดแทนของดาวเทียมไทยคม 3 ที่ได้รับความเสียหาย 6,700,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ไปเช่าช่องสัญญาณดาวเทียมเพื่อใช้ทดแทนดาวเทียมไทยคม 3 พร้อมทั้งใช้เป็นช่องสัญญาณสำรอง ตามหนังสือลงวันที่ 11 สิงหาคม 2545 นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้อนุมัติตามที่บริษัทไทยคมร้องขอ และอนุมัติให้นำค่าสินไหมทดแทนอีกส่วนหนึ่งจำนวน 26 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ไปสร้างดาวเทียมดวงใหม่ทดแทน ชื่อว่าดาวเทียมไทยคม 5 ... โดยหากค่าสร้างสูงกว่า ก็ให้บริษัทไทยคมรับผิดชอบในส่วนต่างที่เพิ่ม เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2546 ตามหนังสือลงวันที่ 29 ตุลาคม 2546 จึงมีประเด็นเกี่ยวกับการเอื้อประโยชน์ รวม 3 กรณี ดังนี้ นอกจากนี้ยังมีการเสนอความเห็นของคณะกรรมการประสานงานต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ทั้งที่ยังไม่ได้มีการรับรองรายงานการประชุมทั้ง 2 ครั้งแต่อย่างใด ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้อนุมัติคุณสมบัติดาวเทียมไอพีสตาร์ ให้เป็นดาวเทียมสำรองตามที่เสนอเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2545 โดยจัดทำหนังสือเวียนเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2545 ให้คณะกรรมการประสานงานรับรองรายงานการประชุมทั้ง 2 ครั้ง เมื่อดาวเทียมไอพีสตาร์ไม่สามารถเป็นดาวเทียมสำรองของดาวเทียมไทยคม 3 ได้ตามสัญญาสัมปทาน ทำให้ความมั่นคงในการสื่อสารดาวเทียมของชาติต้องเสียหาย ไม่มีดาวเทียมไทยคม 4 เพื่อเป็นสำรองของดาวเทียมไทยคม 3 ได้ทั้งดวง จนกระทั่งถึงปัจจุบัน การอนุมัติให้แก้ไขสัญญาสัมปทานจึงเป็นการอนุมัติโดยมิชอบ เอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทชินคอร์ปของผู้ถูกกล่าวหา เพราะในกรณีบริษัทไทยคมทำการเพิมทุนเพื่อดำเนินโครงการใดๆ โดยเฉพาะโครงการดาวเทียมไอพีสตาร์ที่ต้องใช้เงินลงทุนสูงกว่า จึงเป็นการอนุมัติโดยมิชอบ เอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทชินคอร์ป ของผู้ถูกกล่าวหา เพราะในกรณีบริษัทไทยคมทำการเพิ่มทุนเพื่อดำเนินโครงการใดๆ โดยเฉพาะโครงการดาวเทียมไอพีสตาร์ที่ต้องใช้เงินลงทุนสูงกว่า 16,000 ล้านบาทนั้น บริษัท ชินคอร์ป ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท ไทยคม ไม่ต้องระดมทุน หรือกู้ยืมเงินมาซื้อหุ้นเพื่อรักษาสัดส่วนร้อยละ 51 ของตนเอง และมีผลเป็นการลดทนความเชื่อมั่นและมั่นคงในการดำเนินโครงการของบริษัทชินคอร์ป ในฐานะผู้ได้รับสัมปทานโดยตรงที่ต้องมีอำนาจควบคุมบริหารกิจการอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดได้ และต้องเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ในบริษัท ไทยคม ซึ่งเป็นผู้บริหารโครงการดาวเทียมตามสัญญาสัมปทานอีกชั้นหนึ่ง เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับบัญชา หรือกำกับดูแลควบคุม ตรวจสอบ ของผู้ถูกกล่าวหา กลับอนุมัติตามที่ร้องขอ อันเป็นการอนุมัติที่ไม่ชอบ เอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทไทยคม เพราะในช่วงเวลานั้นบริษัท ไทยคม ไม่ต้องระดมทุนของตนเอง หรือกู้ยืมเงิน ช่วงเวลาไปเช่าดาวเทียมจากต่างประเทศมูลค่าประมาณ 268,000,000 ล้านบาท หรือ 6,700,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ณ ค่าเงินบาท 40 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ และทำให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ เนื่องจากทรัพย์สินที่ทำประกันภัยเป็นของรัฐ ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวรัฐต้องเป็นผู้ควบคุมดูแลและคงไว้เป็นหลักประกันความมั่นคง กรณีไม่สามารถซ่อมแซมหรือหาทรัพย์สินทดแทนเพื่อใช้ดำเนินการต่อไปได้ โดยต้องสร้างดาวเทียมดวงใหม่ทดแทน ตามสัญญาสัมปทานให้แล้วเสร็จก่อน 5. กรณีอนุมัติให้รัฐบาลสหภาพพม่ากู้เงินจากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เพื่อนำไปซื้อสินค้าและบริการของบริษัทไทยคมโดยเฉพาะนั้น ระหว่างวันที่ 6-8 ตุลาคม 2546 ผู้ถูกกล่าวหาในฐานะนายกรัฐมนตรี เดินทางไปร่วมประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่เมืองบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ในการหารืออย่างเป็นทางการกับนายกรัฐมนตรีสหภาพพม่า ไม่มีการหารือเรื่องการให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินแก่สหภาพพม่า แต่หลังจากประชุมดังกล่าว กระทรวงการต่างประเทศสหภาพพม่า มีหนังสือลงวันที่ 13 ตุลาคม 2546 ถึงกระทรวงการต่างประเทศไทย อ้างการหารืออย่างไม่เป็นทางการ ไม่มีการหารือเรื่องการให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินแก่สหภาพพม่า แต่หลังจากประชุมดังกล่าว กระทรวงการต่างประเทศสหภาพพม่ามีหนังสือลงวันที่ 13 ตุลาคม 2546 ถึงกระทรวงการต่างประเทศไทย อ้างการหารืออย่างไม่เป็นทางการระหว่างผู้ถูกกล่าวหา กับนายกรัฐมนตรีสหภาพพม่า ว่าผู้ถูกกล่าวหาแสดงความพร้อมของประเทศไทยที่จะให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่สหภาพพม่า ขอวงเงินสินเชื่ออย่างน้อย 3,000 ล้านบาท เพื่อซื้อเครื่องจักรก่อสร้างและวัสดุอุปกรณ์จากประเทศไทย ใช้ในการก่อสร้างโครงการพื้นฐาน แต่ต่อมาฝ่ายรัฐบาลสหภาพพม่าได้ขอปลอดการชำระหนี้การจ่ายเงินต้นเป็น 5 ปี ซึ่งผู้ถูกกล่าวหาก็เห็นชอบ คณะกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย จึงมีมติเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2547 เปลี่ยนแปลงรายละเอียดเป็นระยะเวลากู้ 12 ปี โดย 5 ปีแรกชำระเฉพาะดอกเบี้ย สำหรับ 7 ปีที่เหลือ ชำระต้นเงินและดอกเบี้ย โดยการอนุมัติวงเงินกู้สินเชื่อมูลค่า 4,000 ล้านบาท ตามเงื่อนไขดังกล่าว เป็นการดำเนินการตามการบริหารสั่งการของผู้ถูกกล่าวหา เป็นการให้เงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าต้นทุน ไม่ใช่วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งธนาคาร ตาม พ.ร.บ.ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พ.ศ.2536 ธนาคารฯ จึงขอคุ้มครองความเสียหาย ตามมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ซึ่งคณะรัฐมนตรีที่มีผู้ถูกกล่าวหาเข้าร่วมประชุมด้วย มีมติเห็นชอบให้กระทรวงการคลังจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีชดเชยแก่ธนาคาร ตามจำนวนที่เสียหาย และให้ชดเชยส่วนต่างดอกเบี้ยตามที่ได้รับจากรัฐบาลสหภาพพม่า ร้อยละ 3 ต่อปี กับต้นทุนดอกเบี้ยของธนาคาร แต่ไม่รวมค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ การที่ผู้ถูกกล่าวหาและคู่สมรสยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริงในหุ้นบริษัทชินคอร์ป จำนวน 1,419,490,150 หุ้น คิดเป็นจำนวนกว่าร้อยละ 48 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดที่จำหน่ายได้ ในระหว่างที่ผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตลอดมา โดยใช้ชื่อผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 และบริษัทแอมเพิลริช เป็นผู้ถือหุ้นแทน และได้ปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่สั่งการ มอบนโยบายร่วมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ และหน่วยงานของรัฐ ภายใต้การบังคับบัญชา หรือกำกับดูแล ของผู้ถูกกล่าวหา กระทำการอันเป็นการเอื้อประโยชน์แก่บริษัทชินคอร์ป และบริษัทในเครือทั้ง 5 กรณีดังกล่าว และตาม พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 มาตรา 8 วรรค 3(1) ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมต้องไม่ใช่คนต่างด้าว และต้องมีสัดส่วนการถือหุ้นของบุคคลผู้มีสัญชาติไทย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของทุนทั้งหมดในนิติบุคคลนั้น รวมทั้งต้องมีกรรมการไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนกรรมการทั้งหมด และผู้มีอำนาจกระทำการผูกพันนิติบุคคลนั้น ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ หรือ คตส. ทำการไต่สวนแล้วเห็นว่า เงินจำนวนดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่ได้มาเนื่องจากการกระทำที่เป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม และเป็นกรณีที่ได้ทรัพย์สินมาโดยไม่สมควร สืบเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ อันเป็นการร่ำรวยผิดปกติ จึงดำเนินการออกคำสั่งอายัดเงินและทรัพย์สินดังกล่าว รวม 15 ครั้ง ซึ่งได้รับแจ้งยืนยัน สามารถอายัดเงินและทรัพย์สินไว้ได้บางส่วน เป็นเงิน 66,762 ล้านบาทเศษ ส่วนเงินและทรัพย์สินที่เหลืออีก 9,923 ล้านบาทเศษ ยังไม่สามารถทราบถึงรายละเอียดสภาพเงิน และสภาพทรัพย์สิน สถานที่ตั้ง ชื่อ และที่อยู่ของผู้ครอบครอง หรือเจ้าของกรรมสิทธิ์ ผู้ถูกกล่าวหายื่นคำคัดค้านและแก้ไขคำคัดค้านว่า เงินที่ได้จากการขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ป 76,621 ล้านบาทเศษ ไม่ใช่เงินของผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สมรสของผู้ถูกกล่าวหา และไม่ใช่เงินที่ได้จากการกระทำที่เป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม ผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้ร่ำรวยผิดปกติหรือได้ทรัพย์สินมาโดยไม่สมควร สืบเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือการใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ แต่เป็นทรัพย์สินส่วนตัวของบุคคลในครอบครัวและญาติพี่น้องของผู้ถูกกล่าวหา ซึ่งประกอบธุรกิจโดยสุจริต ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเงินงบประมาณหรือเงินอื่นใดของรัฐ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2543 ผู้ถูกกล่าวหาได้โอนขายหุ้นบริษัท แอมเพิลริช ทั้งหมดให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 บุตรชาย หลังจากนั้นในปี 2549 บริษัท แอมเพิลริช ได้โอนขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ป 329,200,000 หุ้น ในราคาพาร์ 1 บาท ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 และ ที่ 3 คนละ 164,600,000 หุ้น ในราคาหุ้นละ 1 บาท ซึ่งได้กระทำโดยเปิดเผยต่อสาธารณชนมิได้ปกปิดซ่อนเร้นอำพราง ผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 มิได้เข้าไปเกี่ยวข้องในการดำเนินกิจการของบริษัท ชินคอร์ป อีก รวมทั้งไม่ได้รับผลประโยชน์ใดๆ การโอนขายหุ้นมีเจตนาโอนอย่างแท้จริงไม่ใช่นิติกรรมอำพรางตามข้อกล่าวหาของผู้ร้อง การกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติ ต้องกระทำในขณะที่ผู้ถูกกล่าวหาเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือพ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่เกิน 2 ปี ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 75 วรรค 2 ผู้ถูกกล่าวหาพ้นจากตำแหน่งรักษาการนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2548 เกินกว่า 2 ปี ก่อนที่ คตส.จะแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2550 และก่อนที่จะแจ้งข้อกล่าวหาคดีนี้ คำร้องของผู้ร้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะ คตส.และคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไม่ได้วินิจฉัยเรื่องกรรมสิทธิ์ให้เสร็จเด็ดขาดไปก่อน กลับส่งเรื่องให้ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลโดยรีบด่วน สรุปในคำร้องนี้กล่าวหาว่าเป็นทรัพย์สินของผู้ถูกกล่าวหา จึงเป็นการกระทำข้ามขั้นตอนของกฎหมาย ขัดแย้งกับประกาศคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ คปค.ฉบับที่ 30 ความเห็นของ คตส.ขัดแย้งกันเอง เนื่องจาก คตส.ส่งเรื่องให้กรมสรรพากรเก็บภาษีจากผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 เท่ากับยอมรับว่า บุคคลทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในหุ้นบริษัท ชินคอร์ป แต่เมื่อ คตส.ต้องการเงินที่ได้มาจากการขายหุ้นดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน กลับวินิจฉัยข้อเท็จจริงเดียวกันว่า หุ้นดังกล่าวเป็นของผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 คตส.ไม่ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนใหม่เพื่อไต่สวนคดีนี้ กลับแต่งตั้งคณะกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงข้อกล่าวหาในคดีอาญาเรื่องการตรา พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิตในกิจการโทรคมนาคม และมติคณะรัฐมนตรีแปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิต เป็นคณะอนุกรรมการไต่สวนคดีนี้ ทั้งๆ ที่เป็นข้อกล่าวหาคนละเรื่องกัน ทำให้การไต่สวนของ คตส.ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องยื่นคำร้องโดยรู้อยู่แต่แรกว่า สำนวนการไต่สวนของ คตส.และคณะกรรมการ ป.ป.ช.มีข้อไม่สมบูรณ์ ทั้งไม่อาจแจกแจงได้ว่า ทรัพย์สินหรือหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ส่วนใดเป็นทรัพย์สินที่ร่ำรวยผิดปกติ หรือได้มาโดยไม่สมควร ภาระการพิสูจน์ว่าทรัพย์สินเป็นของผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 จริงหรือไม่ ตกอยู่กับผู้ร้อง เนื่องจากผู้ร้องกล่าวอ้างข้อเท็จจริงเรื่องกรรมสิทธิ์ขัดแย้งกับเอกสารทางราชการ คำร้องของผู้ร้องเคลือบแคลง ไม่ได้บรรยายว่าผู้ถูกกล่าวหาปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่เอื้อประโยชน์แก่ตนเองและพวกพ้องอย่างไร และเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่นั้นอย่างไร ทั้งไม่บรรยายให้เข้าใจถึงสภาพแห่งข้อหาว่า ผู้ถูกกล่าวหาได้สั่งการมอบหมายให้ผู้ใดกระทำการเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ธุรกิจของตน และพวกพ้องเมื่อใด อย่างไร และประโยชน์ที่เกิดขึ้นมีความชัดเจนแน่นอนในรูปแบบใด มีจำนวนเท่าใด มีพยานหลักฐานสนับสนุนข้อกล่าวอ้างอย่างไร เพียงใด ประกอบกับผู้ร้องไม่ได้กล่าวอ้างให้ชัดเจนว่า เงินที่ได้จากการขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ป เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ หรือการใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่นายกรัฐมนตรี ของผู้ถูกกล่าวหาอย่างไร ก่อให้เกิดผลในการเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติของทรัพย์สินหรือมูลค่าหุ้นนั้นอย่างไร เพียงใด เป็นจำนวนเท่าใด โดยในแต่ละมาตรการทำให้มูลค่าหุ้นสูงขึ้นผิดปกติจำนวนเท่าใด เมื่อใด อย่างไร มีพฤติการร่ำรวยผิดปกติอย่างไร หุ้นบริษัท ชินคอร์ป ทั้งหมด 1,487,74120 หุ้น ที่ขายให้กลุ่มเทมาเส็ก เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2549 เป็นหุ้นจำนวนเดิมที่บุตรและญาติพี่น้องของผู้ถูกกล่าวหามีอยู่ก่อนที่ผู้ถูกกล่าวหาจะเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยแรก ในปี 2544 และราคาหรือมูลค่าหุ้นที่เพิ่มขึ้น เป็นไปตามปกติของราคาตลาด มีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงในแต่ละช่วงเวลาตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศในทิศทางเดียวกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เช่นเดียวกับหุ้นของบริษัทอื่นๆ ในตลาดหลักทรัพย์ ไม่เกี่ยวข้องกับการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของผู้ถูกกล่าวหา และมิได้เกิดจากการร่ำรวยผิดปกติ 1. การแปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิต 5. การอนุมัติให้รัฐบาลสหภาพพม่ากู้เงินจากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เพื่อนำไปซื้อสินค้าและบริการของบริษัท ไทยคม มาตรการต่างๆ เป็นการกระทำของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ มิได้เกิดจากการสั่งการหรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหา ทั้งไม่ได้มีการทำให้ราคาหุ้นบริษัท ชินคอร์ป มีมูลค่าสูงขึ้น หรือได้รับประโยชน์ใดๆ ตามที่ผู้ร้องกล่าวหา เงินปันผลจากหุ้นบริษัท ชินคอร์ป 6,898,722,129 บาท ไม่ได้เป็นของผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 แต่เป็นของบุตรและญาติพี่น้องของผู้ถูกกล่าวหา และไม่ได้เป็นทรัพย์สินที่เกิดจากการร่ำรวยผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ หรือได้มาโดยไม่สมควร สืบเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้เงินปันผลดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน มติให้ยื่นคำร้องคดีนี้ของผู้ร้อง และคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นมติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากคณะกรรมการ ป.ป.ช.ไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ ตามมาตรา 6 และมาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ทั้งประกาศ คปค.ฉบับที่ 19 ให้งดการบังคับใช้เฉพาะที่เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการสรรหาเท่านั้น การกล่าวหาไต่สวนและยื่นคำร้องต่อศาล เป็นการกระทำนอกขอบอำนาจหน้าที่ตามประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 ข้อ 5 ที่กำหนดให้ คตส.มีอำนาจตรวจสอบเฉพาะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งโดยผลของการปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น คำร้องไม่ได้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สิน สถานที่ตั้ง ชื่อ และที่อยู่ของผู้ครอบครอง หรือมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เงินและทรัพย์สินส่วนที่ไม่ได้อายัดไว้ชั่วคราว จำนวน 9,858,676,036 บาท 80 สตางค์ ตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินคดีของศาลฎีกาแผนดคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 ข้อ 23 คำร้องส่วนนี้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องไม่มีอำนาจร้องขอให้เงินในบัญชีเงินฝากของผู้ถูกกล่าวหา จำนวน 548,519,312 บาท 27 สตางค์ และเงินในบัญชีเงินฝากของผู้คัดค้านที่ 1 จำนวน 2,852,933,931 บาท 76 สตางค์ ที่ คตส.อายัดไว้ให้ตกเป็นของแผ่นดิน เนื่องจากเงินจำนวนดังกล่าว ผู้ถูกกล่าวหาและคู่สมรสมีอยู่ก่อนผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้แสดงไว้ในบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินที่ยื่นต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2544 แล้ว การกล่าวอ้างว่าผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 ยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริงในหุ้นบริษัท ชินคอร์ป หากจะเป็นความผิดก็เพียงมีโทษตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 100 และ มาตรา 122 ที่มีโทษทางอาญา และการพ้นจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญเท่านั้น ไม่มีอำนาจร้องขอให้ทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดินได้ เนื้อหาตามคำร้องเป็นการฟ้องคดีละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ และขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน เนื่องจากการกระทำละเมิด เป็นการดำเนินการออกคำสั่งทางปกครองตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 โดยดำเนินการตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 ประกอบกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดชอบทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 และมูลคดีเรื่องละเมิด และเรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ไม่ได้อยู่ในเขตอำนาจของศาลนี้ ศาลจึงไม่มีอำนาจพิจารณาคดีนี้ ขอให้ยกคำร้องและมีคำสั่งเพิกถอนการอายัดทรัพย์สินของผู้ถูกกล่าวหา | |
ผู้ตั้งกระทู้ ทีมงาน :: วันที่ลงประกาศ 2012-06-22 07:13:55 |
[1] |
ความคิดเห็นที่ 1 (1505499) | |
“คำต่อคำ” พิพากษายึดทรัพย์เงินปล้นชาติ 46,373 ล้าน! (ตอน 2) ผู้คัดค้านที่ 1 ยื่นคำคัดค้านว่า ผู้ร้องไม่มีสิทธิ์ของให้เงินฝากในบัญชีธนาคาร ซึ่งเป็นทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 1 รวม 26 รายการ ตกเป็นของแผ่นดิน เนื่องจากทรัพย์สินดังกล่าวเป็นของผู้คัดค้านที่ 1 ที่ได้มาโดยสุจริต และมีมาก่อนที่ผู้ถูกกล่าวหาจะเข้าดำรงตำแหน่งทางการเมือง และมิได้เป็นทรัพย์สินของผู้ถูกกล่าวหาที่ได้มาจากการร่ำรวยผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ วันที่ 10 เมษายน 2541 ผู้ถูกกล่าวหา ผู้คัดค้านที่ 1 และ ที่ 5 ถือหุ้นในบริษัท ชินคอร์ป รวมกัน 74,417,395 หุ้น มูลค่ารวมเป็นเงิน 20,092,696,650 บาท ไม่ใช่หุ้นที่ผู้ถูกกล่าวหา ให้ผู้คัดค้านที่ 1 หรือที่ 5 ถือแทน ต่อมาในปี 2542 บริษัท ชินคอร์ป มีการเพิ่มทุน ผู้ถูกกล่าวหาถือหุ้นเพิ่มทุนเป็น 65,840,000 หุ้น ผู้คัดค้านที่ 1 ถือหุ้นเพิ่มเป็น 69,300,000 หุ้น และผู้คัดค้านที่ 5 ถือหุ้นเพิ่มเป็น 33,634,150 หุ้น รวมหุ้นทั้งสิ้น 168,774,150 หุ้น มูลค่ารวมเป็นเงิน 15,132,290,289 บาท ซึ่งเป็นทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 1 และผู้ถูกกล่าวหาในขณะที่ยังไม่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และไม่ใช่ทรัพย์สินที่ได้มาเนื่องจากการกระทำที่ขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม และไม่ใช่ทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่สมควร สืบเนื่องจากการที่ผู้ถูกกล่าวหา ปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่อันเป็นการร่ำรวยผิดปกติ วันที่ 1 กันยายน 2543 ผู้คัดค้านที่ 1 ขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ป 42,475,000 หุ้น ผู้คัดค้านที่ 2 ยื่นคำคัดค้านว่า ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หุ้นบริษัท ชินคอร์ป 458,550,220 หุ้น ที่ขายให้แก่บริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้ง จำกัด และบริษัท แอสเพน โฮลดิ้ง จำกัด เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2549 โดยผู้คัดค้านที่ 2 ซื้อหุ้นดังกล่าวมาจากผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 และขายไปในราคาหุ้นละ 49.25 บาท ได้รับเงินหลังจากหักค่านายหน้า และภาษี เป็นเงินรวมทั้งสิ้น 22,523,187,209 บาท 49 สตางค์ โอนเข้าบัญชีของผู้คัดค้านที่ 2 ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สำนักรัชโยธิน บัญชีเลขที่ 111 2 3100 88 โดยก่อนโอนเงินค่าหุ้นเข้าบัญชีผู้คัดค้านที่ 2 มีเงินฝากอยู่แล้ว 2,151,667 บาท 16 สตางค์ ผู้คัดค้านที่ 2 แบ่งเงินจากการขายหุ้นให้ผู้คัดค้านที่ 18 กู้ยืมไป 1,100 ล้านบาท ชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ผู้คัดค้านที่ 15 จำนวน 1,000 ล้านบาท ผู้คัดค้านที่ 3 ยื่นคำร้องคัดค้านว่า ผู้คัดค้านที่ 3 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ผู้ถือหุ้นบริษัท ชินคอร์ป จำนวน 604,600,000 หุ้น โดยซื้อมาจากผู้คัดค้านที่ 2 และบริษัท แอมเพิลริช โดยชอบ ไม่ได้ถือหุ้นแทนผู้ถูกกล่าวหา ผู้คัดค้านที่ 3 ขายหุ้นดังกล่าวให้กับบริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้ง จำกัด และบริษัท แอสเพน โฮลดิ้งส์ จำกัด เป็นเงิน 29,696,897,728 บาท 78 สตางค์ แล้วนำเงินเข้าฝากในบัญชีธนาคารที่ คตส.อายัด นำไปร่วมลงทุนในบริษัทต่างๆ บริจาคให้ผู้คัดค้านที่ 17 และให้ผู้มีชื่อกู้ยืมบริษัท ชินคอร์ป ประกอบธุรกิจในลักษณะการเข้าร่วมถือหุ้นบริษัทในเครือ ซึ่งมีผลประกอบการที่ดี ประกอบกับสภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยที่ดี ทำให้หุ้นบริษัท ชินคอร์ป มีราคาเพิ่มขึ้นโดยไม่ได้เป็นการเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติหรือสืบเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ และใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหา ผู้ร้องไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 3 ตกเป็นของแผ่นดิน เนื่องจากผู้คัดค้านที่ 3 ไม่ใช่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และคำร้องของผู้ร้องเคลือบคลุมไม่ได้บรรยายข้อเท็จจริงและรายละเอียดให้เห็นว่า มูลค่าหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ก่อนหรือขณะผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และหลังจากพ้นจากตำแหน่งแล้ว มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร มีความผิดปกติของการซื้อขายหุ้นดังกล่าวอย่างไร การเพิ่มขึ้นหรือลดลงมีความผิดปกติอย่างไร เกิดขึ้นในช่วงใด และเกิดจากสาเหตุใด ขอให้ยกคำร้องและเพิกถอนการอายัดทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 3 ผู้คัดค้านที่ 5 ยื่นคำร้องคัดค้านว่า ผู้คัดค้านที่ 5 เป็นผู้ถือหุ้นบริษัท ชินคอร์ป 404,430,300 หุ้น โดยซื้อและได้รับโอนให้มาโดยชอบ ไม่ได้ถือหุ้นแทนผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 ผู้คัดค้านที่ 5 ขายหุ้นดังกล่าวให้บริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้ง จำกัด เป็นเงิน 19,827,750,384 บาท 36 สตางค์ แล้วนำเงินเข้าฝากในบัญชีเงินฝากธนาคารไทยกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) สาขาซอยอารีย์ เลขที่ 127-4-64433-3 ซึ่ง คตส.อายัดโดยมีเงินฝากเดิม 1,339,684,987 บาท 22 สตางค์ รวมอยู่ด้วย ผู้คัดค้านที่ 5 นำเงินที่ได้มาดังกล่าวไปลงทุน และนำเข้าฝากในบัญชีเงินฝากอื่นๆ ของบริษัท ชินคอร์ป ประกอบธุรกิจในลักษณะการเข้าร่วมถือหุ้นบริษัทในเครือ ซึ่งมีผลประกอบการที่ดี จึงเป็นที่ต้องการของนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยที่ดี ทำให้หุ้นของบริษัท ชินคอร์ป มีราคาเพิ่มขึ้น โดยไม่ได้เป็นการเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ หรือสืบเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหา ผู้ร้องไม่มีอำนาจยื่นคำร้องคดีนี้ เนื่องจากคณะกรรมการ ป.ป.ช.ที่ดำเนินการต่อจาก คตส. ไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ตามกฎหมาย ไม่มีอำนาจดำเนินการ ผู้ร้องยื่นคำร้องคดีนี้โดยไม่ให้โอกาสผู้คัดค้านที่ 4 นำพยานเข้าไต่สวนเพื่อพิสูจน์ทรัพย์สิน และคดีขาดอายุความ เนื่องจากไม่ได้กล่าวหาผู้ถูกกล่าวหาภายในเวลา 2 ปี นับแต่ผู้ถูกกล่าวหาพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 75 วรรค 2 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ขอให้ยกคำร้องและเพิกถอนการอายัดทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 5 ผู้คัดค้านที่ 6 ยื่นคำร้องคัดค้านว่า ผู้คัดค้านที่ 5 ซึ่งเป็นสามีผู้คัดค้านที่ 6 ขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ป 404,589,900 หุ้น ให้แก่บริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้ง จำกัด ราคาหุ้นละ 49.25 บาท เป็นเงิน 19,918,192,275 บาท รวมกับหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ของผู้คัดค้านที่ 6 อีก 159,600 หุ้น เป็นเงิน 7,860,300 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 19,926,052,575 บาท เมื่อหักค่านายหน้าและภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว คงเหลือเงินสุทธิรวมท 19,872,750,384 บาท 36 สตางค์ โดยเป็นส่วนของผู้คัดค้านที 5 เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2549 ผู้คัดค้านที่ 5 โอนเงินเข้าบัญชียกให้ผู้คัดค้านที่ 6 ที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) สาขาซอยอารีย์ เลขที่ 127-0-91157-9 จำนวน 40 ล้านบาท โดยมีเงินจากการขายหุ้นของผู้คัดค้านที่ 6 จำนวน 7,839,273 บาท 70 สตางค์ รวมอยู่ด้วย ผู้คัดค้านที่ 5 และ ที่ 6 ไม่ได้ถือหุ้นบริษัท ชินคอร์ป แทนผู้คัดค้านที่ 1 หรือผู้ถูกกล่าวหา เงินในบัญชีเงินฝากดังกล่าวที่ คตส.อายัด เป็นของผู้คัดค้านที่ 6 ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ได้มาจากการร่ำรวยผิดปกติ หรือเพิ่มขึ้นผิดปกติ ผู้คัดค้านที่ 5 และ ที่ 6 ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้ยื่นคำร้องพิสูจน์ทรัพย์สิน และดำเนินการพิสูจน์ทรัพย์สินต่อ คตส. และคณะกรรมการ ป.ป.ช.แล้ว แต่ผู้ร้องยื่นคำร้องโดยยังไม่มีการดำเนินการพิสูจน์ทรัพย์ให้เสร็จสิ้น เป็นการข้ามขั้นตอนตามกฎหมาย และคณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ ไม่มีอำนาจปฏิบัติหน้าที่พิจารณาสำนวนการสอบสวนของ คตส. รวมทั้งมีมติให้ยื่นคำร้อง ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องคดีนี้ ขอให้ยกคำร้องและเพิกถอนการอายัดทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 6 ผู้คัดค้านที่ 7 ที่ 8 และ ที่ 19 ยื่นคำคัดค้านว่า เงินฝากในบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาถนนรัชดาภิเษก และสาขามีนบุรี รวม 3 บัญชี ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) สาขาราชวัตร และธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) สาขาแฟชั่นไอแลนด์ รวม 1,000 ล้านบาท เป็นทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านที่ 7 ที่ 8 และ ที่ 19 ซึ่งประกอบวิชาชีพทางด้านกฎหมาย ได้รับเป็นค่าจ้างจากครอบครัวชินวัตร และครอบครัวดามาพงศ์ โดยผู้คัดค้านที่ 2 ให้ทำหน้าที่ทนายความแก้ต่างคดี และปรึกษากฎหมาย รวม 5 คดี ผู้คัดค้านที่7 ที่ 8 และ ที่ 19 ไม่ทราบว่า ผู้ว่าจ้างได้เงินดังกล่าวมาจากที่ใด เป็นการได้มาโดยสุจริต และ คตส.มีมติให้เพิกถอนอายัดเงินฝากทั้ง 5 บัญชีของผู้คัดค้านทั้ง 3 แล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องในส่วนนี้ ผู้คัดค้านที่ 10 ยื่นคำคัดค้านว่า คตส.กล่าวหาผู้ถูกกล่าวหาว่า ร่ำรวยผิดปกติ เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2551 จึงเกิน 2 ปี นับแต่ผู้ถูกกล่าวหาพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในระหว่างปี 2544 - 2548 แล้ว จึงไม่มีอำนาจกล่าวหา คณะกรรมการ ป.ป.ช.ไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ ไม่มีอำนาจดำเนินการ และการพิสูจน์ทรัพย์ยังไม่เสร็จสิ้นกระบวนการตามที่กฎหมายบังคับ ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องคดีนี้ เงินฝากในบัญชีธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาซอยอารีย์ เลขที่ 127-0-71709-1 จำนวน 1,000 ล้านบาท และธนาคารธนาชาต จำกัด (มหาชน) สาขารัชดาภิเษก รวม 2 บัญชี เป็นเงิน 1,000 ล้านบาท เป็นของผู้คัดค้านที่ 10 ซึ่งผู้คัดค้านที่ 3 ชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ผู้คัดค้านที่ 10 เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2550 เพื่อใช้จ่ายลงทุนในธุรกิจ ตามวัตถุประสงค์ของการเพิ่มทุน จึงเป็นทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านที่ 10 ได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย และโดยสุจริต ก่อนที่ คตส.จะมีคำสั่งอายัด ไม่เกี่ยวกับผู้ถูกกล่าวหา ผู้คัดค้านที่ 10 ยื่นคำคัดค้านว่า คตส.กล่าวหาผู้ถูกกล่าวหาว่า ร่ำรวยผิดปกติ เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2551 จึงเกิน 2 ปี นับแต่ผู้ถูกกล่าวหาพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในระหว่างปี 2544 ถึงปี 2548 จึงไม่มีอำนาจกล่าวหาคณะกรรมการ ป.ป.ช.ไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ ไม่มีอำนาจดำเนินการ และการพิสูจน์ทรัพย์สินยังไม่เสร็จสิ้นกระบวนการตามที่กฎหมายบังคับ ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องคดีนี้ เงินฝากในบัญชีธนาคารกรุงเทพฯ จำกัด (มหาชน) สาขาซอยอารีย์ เลขที่ 127-432087-6 ที่ คตส.อายัดครั้งแรก 430,000,000 ล้านบาท และครั้งที่สอง 187,000,000 ล้านบาท เป็นของผู้คัดค้านที่ 12 ซึ่งผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 3 ซื้อหุ้นเพิ่มทุนจากผู้คัดค้านที่ 12 และได้ออกใบหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ผู้ซื้อเรียบร้อยแล้ว ก่อนที่ คตส.จะสั่งอายัด การชำระค่าซื้อหุ้นเพิ่มทุนทำโดยสุจริต เปิดเผย ผ่านระบบธนาคาร สามารถตรวจสอบได้ ไม่ใช่ทรัพย์สินที่เกิดจากการร่ำรวยผิดปกติ หรือเพิ่มมากขึ้นผิดปกติ ขอให้ยกคำร้อง ผู้คัดค้านที่ 14 ยื่นคำคัดค้านว่า เงินฝากจำนวน 132,123.60 บาท ในบัญชีธนาคารกรุงเทพฯ จำกัด (มหาชน) สาขาถนนรัชดา-ลาดพร้าว เลขที่ 177-0-42112-9 ผู้คัดค้านที่ 14 ได้รับเป็นเงินค่าจ้างที่ปรึกษาด้านภาษีอากร กรณี คตส.ตรวจสอบการซื้อขายหุ้น เมื่อได้ให้คำปรึกษากฎหมายแก่ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 โดยผู้คัดค้านที่ 14 ออกใบแจ้งหนี้เรียกเก็บเงินค่าบริการ เข้าร่วมประชุมประจำเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2550 รวมทั้งภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินคนละ 60,061.80 บาท ไม่ใช่ทรัพย์สินที่เกิดจากการร่ำรวยผิดปกติ ขอให้ยกคำร้อง ผู้คัดค้านที่ 16 ยื่นคำคัดค้านว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช.ไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 6 และมาตรา 12 ผู้คัดค้านที่ 16 ได้พิสูจน์ทรัพย์สินจนเสร็จสิ้นตามกระบวนการที่บังคับใช้ก่อนมีการยื่นคำร้องคดีนี้แล้ว แต่ คตส.และคณะกรรมการ ป.ป.ช.ไม่ได้มีคำสั่งใดๆ การยื่นคำร้องของผู้ร้องจึงข้ามขั้นตอนตามกระบวนการพิสูจน์ทรัพย์สิน ผู้ร้องจึงไม่อาจยื่นคำร้อง คดีขาดอายุความตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 75 วรรค 2 เนื่องจากมูลเหตุที่กล่าวเกิดขึ้นขณะผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในระหว่างปี 2544 ถึงปี 2548 แต่ คตส.กล่าวหาเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2551 ซึ่งเกินกว่า 2 ปี นับแต่ผู้ถูกกล่าวหาพ้นจากตำแหน่งแล้ว เงินในบัญชีธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาซอยอารีย์ จำนวน 2,000 ล้านบาท เป็นเงินที่ผู้คัดค้านที่ 3 ได้ชำระค่าซื้อหุ้นเพิ่มทุนให้ผู้คัดค้านที่ 16 เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2550 โดยออกเป็นหุ้นจำนวน 2,000 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 10 บาท เพื่อขยายการดำเนินธุรกิจของผู้คัดค้านที่ 16 ตามมติครั้งที่ 1/2550 และที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 2/2550 เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2550 และวันที่ 8 มิถุนายน 2550 ตามลำดับ ซึ่งการชำระค่าหุ้นดำเนินการเสร็จสิ้นก่อนที่ คตส.จะมีคำสั่งอายัดเงินในบัญชีเงินฝากของผู้คัดค้านที่ 16 คำร้องกล่าวหาว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำการอันเป็นการเอื้อประโยชน์ ขณะผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในระหว่างปี 2544 ถึงปี 2548 แต่ คตส.กล่าวหาว่าผู้ถูกกล่าวหาร่ำรวยผิดปกติเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2551 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่ผู้ถูกกล่าวหาพ้นจากตำแหน่งเกิน 2 ปี ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 75 วรรค 2 คดีจึงขาดอายุความแล้ว เงินฝากในบัญชีของผู้คัดค้านจำนวน 800 ล้านบาท เกิดจากการที่ผู้คัดค้านที่ 18 ขายหุ้นเพิ่มทุน 300 ล้านหุ้น ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 และได้เรียกเก็บเงินค่าหุ้นเพิ่มทุนครั้งแรก ในราคาหุ้นละ 2.66 บาท ซึ่งได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2550 ด้วยแคชเชียร์เช็ค 4 ฉบับ ขอให้ยกคำร้องในส่วนของผู้คัดค้านที่ 18 ผู้คัดค้านที่ 21 ยื่นคำคัดค้านว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช.ไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 6 และมาตรา 12 ไม่มีอำนาจส่งเรื่องให้ผู้ร้องดำเนินการ นอกจากนี้ คตส.และคณะกรรมการ ป.ป.ช.ยังไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนพิสูจน์ทรัพย์จนครบถ้วนตามกฎหมาย ทั้งการกล่าวหาเจ้าหน้าที่ของรัฐว่าร่ำรวยผิดปกติ ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 75 วรรค 2 ต้องกระทำในขณะผู้ถูกกล่าวหาเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ หรือพ้นจากตำแหน่งไปไม่เกิน 2 ปี แต่คดีนี้เป็นการกล่าวหาว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำการเพื่อเอื้อประโยชน์ในช่วงระหว่างปี พ.ศ.2544 ถึงปี 2548 เป็นเวลาเกิน 2 ปี ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องคดีนี้ เงินฝากในบัญชีธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาซอยอารีย์ และธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาสำนักรัชโยธิน ของผู้คัดค้านที่ 21 จำนวน 2,000 ล้านบาท ที่ผู้ร้องขอให้ตกเป็นของแผ่นดิน เป็นเงินที่ผู้คัดค้านที่ 5 ซื้อหุ้นเพิ่มทุนในการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของผู้คัดค้านที่ 21 ครั้งที่ 1/2550 และครั้งที่ 2/2550 เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2550 และวันที่ 30 มีนาคม 2550 ที่ให้เพิ่มทุนอีก 900 ล้านบาท และในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ผู้ถือหุ้นกับการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 3/2550 เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2550 และวันที่ 2 พฤษภาคม 2550 ที่ให้เพิ่มทุนอีก 2,000 ล้านบาท | |
ผู้แสดงความคิดเห็น ทีมงาน (support-at-doisaengdham-dot-org)วันที่ตอบ 2012-07-03 16:31:46 |
ความคิดเห็นที่ 2 (1509440) | |
“คำต่อคำ” พิพากษายึดทรัพย์เงินปล้นชาติ 46,373 ล้าน! (ตอน 3) พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงจากทางไต่สวนของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ประกอบรายงานการไต่สวนของ คตส. และที่คู่ความไม่โต้เถียงกัน เดิมผู้ถูกกล่าวหา ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 5 ถือหุ้นบริษัท ชินคอร์ป จำนวน 32,920,000 หุ้น จำนวน 34,650,000 หุ้น และจำนวน 6,847,395 หุ้น ตามลำดับ ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 ได้รายงานตามแบบ 246-2 ว่า เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2545 และวันที่ 17 พฤษภาคม 2546 ผู้คัดค้านที่ 2 ได้โอนขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ป จำนวน 367 ล้านหุ้น และจำนวน 73 ล้านหุ้น ตามลำดับ ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 ในราคาหุ้นละ 1 บาท ผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 และบริษัท แอมเพิลริช ได้รายงานตามแบบ 246-2 ว่า เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2549 บริษัทแอมเพิลริช โอนขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ที่ถืออยู่จำนวน 329,200,000 หุ้น ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 คนละ 164,600,000 หุ้น ในราคาหุ้นละ 1 บาท ณ วันดังกล่าวผู้คัดค้านที่ 2 ถึงที่ 5 จึงมีชื่อถือหุ้นบริษัท ชินคอร์ป รวมกันเป็นจำนวน 1,419,490,150 หุ้น ระหว่างมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ตั้งแต่ปี 2546 ถึงปี 2548 ผู้คัดค้านที่ 2 ถึงที่ 5 และบริษัท แอมเพิลริช ต่างได้รับเงินปันผลค่าหุ้นจากบริษัท ชินคอร์ป โดยผู้คัดค้านที่ 2 ได้รับ 1,461,447,000 บาท ผู้คัดค้านที่ 3 ได้รับ 2,105,550,000 บาท ผู้คัดค้านที่ 4 ได้รับ 97,200,000 บาท ผู้คัดค้านที่ 5 ได้รับ 1,634,613,129 บาท และบริษัท แอมเพิลริช ได้รับ 1,599,912,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 6,898,722,129 บาท ต่อมา สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ทศท ได้มีหนังสือร้องเรียนต่อ คตส.เพื่อขอให้ตรวจสอบการตรา พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2546 ซึ่งดำเนินการโดยรัฐบาลที่ผู้ถูกกล่าวหาเป็นนายกรัฐมนตรี ว่า เป็นไปโดยไม่ถูกต้องตามระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน ทำให้เกิดความเสียหายต่อกิจการโทรคมนาคมของชาติ เป็นการเอื้อประโยชน์แก่บริษัทที่เป็นกิจการของครอบครัวผู้ถูกกล่าวหา คตส.ได้มีคำสั่งแต่งตั้งกลุ่มพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริง และรวบรวมพยานหลักฐาน ซึ่งกลุ่มพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้ดำเนินการแล้ว เห็นว่าข้อเท็จจริงมีมูล คตส.จึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนกรณีกล่าวหาผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดทางกฎหมาย เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน ในส่วนของการแปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิต ในกิจการโทรคมนาคม และเรื่องอื่นๆ เพื่อเอื้อประโยชน์แก่ธุรกิจของตนเอง ครอบครัว หรือพวกพ้อง ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต หรือเป็นการกระทำที่เป็นการขัดกันระหว่าประโยชน์ส่วนบุคคล และประโยชน์ส่วนรวม หรือเป็นกรณีที่ทำให้ทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมาก หรือได้ทรัพย์สินมาโดยไม่สมควร สืบเนื่องจากการปฏิบัติตามหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ อันเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ และระหว่างการตรวจสอบ ไต่สวน คตส.มีมติว่า มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าผู้ถูกกล่าวหาเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้กระทำการโดยทุจริต หรือประพฤติมิชอบ หรือร่ำรวยผิดปกติ จึงมีคำสั่งอายัดทรัพย์สินที่มีชื่อผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 22 หลายรายการ รวมเป็นเงิน 66,762,927,024.25 บาท ผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 22 ต่างยื่นคำร้องขอพิสูจน์ทรัพย์สิน และคัดค้านการอายัดทรัพย์สินดังกล่าว คตส.ได้ร่วมประชุมพิจารณารายงานการไต่สวนดังกล่าวแล้ว เห็นว่าระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของผู้ถูกกล่าวหา ได้ปกปิดการถือหุ้นบริษัทชินคอร์ป อันเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 100 208 209 291 และมาตรา 292 พ.ร.บ.การจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 มาตรา 4 5 และมาตรา 6 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 32 33 และมาตรา 100 ซึ่งมีความผิดอาญาตามมาตรา 119 และมาตรา 122 ทั้งผู้ถูกกล่าวหาได้ปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ สั่งการ มอบนโยบาย รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐ และหน่วยงานของรัฐ ภายใต้การบังคับบัญชาหรือดูแลของผู้ถูกกล่าวหา กระทำการอันเป็นการเอื้อประโยชน์แก่บริษัทชินคอร์ป และบริษัทในเครือ เป็นจำนวนมาก ก่อนที่จะขายหุ้นบริษัทชินคอร์ปให้แก่กลุ่มเทมาเส็ก เป็นจำนวนเงินสุทธิ 69,722,880,932.05 บาท และตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 ถึงปี 2548 บริษัท ชินคอร์ป ได้จ่ายเงินปันผลให้รวม 6,898,722,129 บาท เงินจำนวนดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่ได้มาเนื่องจากการกระทำที่เป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคล และประโยชน์ส่วนรวม และเป็นกรณีที่ได้ทรัพย์สินมาโดยไม่สมควร สืบเนื่องจากการปฏิบัติตามหน้าที่ หรือใช้อำนาจหน้าที่ในตำแหน่ง อันเป็นการร่ำรวยผิดปกติ กับมีมติให้ส่งรายงานเอกสารพร้อมทั้งความเห็น ให้ผู้ร้องยื่นคำร้องเป็นคดีนี้ การวินิจฉัยปัญหาตามข้อต่อสู้ของผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้าน ตามประเด็นที่ได้โต้แย้งมาเป็นลำดับ ในกรณีที่เห็นว่าการดำเนินการในเรื่องที่ตรวจสอบมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่ามีการทุจริต หรือประพฤติมิชอบ หรือร่ำรวยผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นผิดปกติ ให้คณะกรรมการตรวจสอบ มีอำนาจสั่งยึดหรือายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องของผู้นั้น คู่สมรส และบุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะของผู้นั้นไว้ก่อนได้ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามประกาศนี้ นอกจากอำนาจตามวรรค 1 ให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจตามกฎหมายดังต่อไปนี้ด้วย คือ นอกจากนี้ ข้อ 9 ยังวางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ คตส.มีมติและส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไว้ว่า ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบมีมติว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือบุคคลใด กระทำผิดต่อหน้าที่ หรือทุจริตต่อหน้าที่ หรือร่ำรวยผิดปกติ ให้ส่งรายงาน เอกสารหลักฐาน พร้อมทั้งความเห็น ไปยังอัยการสูงสุด เพื่อให้อัยการสูงสุดดำเนินการต่อไปตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีการพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 โดยให้ถือว่ามติของคณะกรรมการตรวจสอบเป็นมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (1) คดีที่มีมูลแห่งคดีเป็นการกล่าวหาว่านายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือข้าราชการการเมืองอื่น ร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือทุจริตต่อหน้าที่ ตามกฎหมายอื่น ผู้ถูกกล่าวหาโต้แย้งว่า เมื่อคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ออกประกาศฉบับที่ 3 กำหนดให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 สิ้นสุดลง ดังนั้น พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 จึงถูกยกเลิก และไม่มีผลใช้บังคับกับความผิดที่ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำมาแล้ว ก่อนที่จะมีการยกเลิก พ.ร.บ.ดังกล่าวนั้น เห็นว่า เมื่อคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ คปค. ซึ่งศาลจะใช้ตัวย่อต่อไปในการวินิจฉัย ยึดอำนาจในการปกครองประเทศได้เรียบร้อยแล้ว ก็ออกประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 3 มีใจความสำคัญว่า ให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 สิ้นสุดลง วุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรี และศาลรัฐธรรมนูญ สิ้นสุดลงพร้อมกับรัฐธรรมนูญ ส่วนศาลทั้งหลายนั้น นอกจากศาลรัฐธรรมนูญ คงมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาอัตถคดีตามบทกฎหมาย การสิ้นสุดของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 จึงไม่มีผลทำให้ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญสิ้นผลไปด้วยแต่อย่างใด ส่วนที่ผู้ถูกกล่าวหาต่อสู้ในคำคัดค้านว่า คตส.และคณะอนุกรรมการไม่มีอำนาจตรวจสอบไต่สวน และกระบวนการตรวจสอบไต่สวนกระทำนอกขอบอำนาจของประกาศ คปค. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลได้นั้น เห็นว่า ตามประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 ข้อ 5 ให้อำนาจ คตส.ในการตรวจสอบการดำเนินงาน หรือโครงการที่ได้รับอนุมัติหรือเห็นชอบ โดยบุคคลในคณะรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรี ซึ่งพ้นจากตำแหน่งโดยผลของการปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะเป็นไปโดยทุจริตหรือประพฤติมิชอบ ตรวจสอบสัญญา สัญญาสัมปทาน หรือการจัดซื้อจัดจ้างของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีเหตุอันควรสงสัยว่า จะมีการกระทำที่เอื้อประโยชน์แก่เอกชนโดยมิชอบ หรือมีการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือมีการกระทำทุจริต หรือประพฤติมิชอบ ตรวจสอบการปฏิบัติราชการใดๆ ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐ ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือมีการกระทำที่ทุจริต หรือประพฤติมิชอบ รวมทั้งมีอำนาจตรวจสอบการกระทำของบุคคลใดๆ ที่เห็นว่าเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือหลีกเลี่ยงกฎหมายว่าด้วยภาษีอากร อันเป็นการกระทำให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ แม้คณะอนุกรรมการไต่สวนคดีนี้จะเป็นคณะเดียวกันกับคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อกล่าวหาคดีอาญา ก็ไม่ต้องห้ามตามประกาศ คปค.ฉบับดังกล่าว หรือระเบียบอื่นใด และที่ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านอ้างว่า คตส.ดำเนินการไต่สวนล่วงเลยระยะเวลาที่กล่าวหาผู้ถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกตินั้น ตามประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 ข้อ 11 วรรค 1 ได้กำหนดกรอบเวลาในการตรวจสอบดำเนินการตามประกาศนี้ให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ และข้อ 11 วรรค 2 ยังบัญญัติว่า เมื่อครบกำหนดเวลาตามวรรค 1 และการตรวจสอบ หรือการสอบสวนเรื่องใดยังไม่แล้วเสร็จ ให้คณะกรรมการตรวจสอบส่งสำนวนสอบสวนคืนให้แก่ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือหน่วยงานอื่น เพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของตน แล้วแต่กรณี แต่ต่อมามี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 30 เรื่องการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2549 มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในวรรค 2 ของข้อ 11 ของประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน เมื่อครบกำหนดเวลาตามวรรค 2 แต่การตรวจสอบเรื่องการสอบสวนเรื่องใดที่ดำเนินการอยู่ยังไม่แล้วเสร็จ ให้คณะกรรมการตรวจสอบดำเนินการต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ แต่ต้องไม่ช้ากว่าวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2551 และยังมีมาตรา 5 เพิ่มเติมความต่อไปนี้เป็นวรรค 3 ของข้อ 11 ของประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 ว่า ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบ ดำเนินการเรื่องใดตามวรรค 2 ไม่แล้วเสร็จ ภายในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2551 ให้คณะกรรมการตรวจสอบ ส่งมอบสำนวนเรื่องที่ยังค้างอยู่นั้น ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน หรือหน่วยงานอื่นดังกล่าว เพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของตน แล้วแต่กรณี และถือว่าการดำเนินการสอบสวน การตรวจสอบ และผลการตรวจสอบ ที่คณะกรรมการตรวจสอบได้ดำเนินการแล้ว เป็นการดำเนินการโดยชอบด้วยกฎหมาย ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน หรือหน่วยงานอื่นดังกล่าว แล้วแต่กรณี ส่วนข้ออ้างที่ว่า คณะอนุกรรมการไต่สวนจำกัดสิทธิของผู้ถูกกล่าวหา ในการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา และการนำพยานเข้าไต่สวนโดยมิชอบนั้น เห็นว่า การกำหนดเวลาให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา และนำพยานหลักฐานมาสืบเพื่อแก้ข้อกล่าวหานั้น ระเบียบของคณะกรรมการตรวจสอบว่าด้วยการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ พ.ศ.2549 ประกอบระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของคณะอนุกรรมการไต่สวน พ.ศ.2547 ข้อ 15 และ ข้อ 16 กำหนดให้คณะอนุกรรมการไต่สวนให้โอกาสแก้ผู้ถูกกล่าวหาที่จะชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา และนำสืบแก้ข้อกล่าวหาภายในเวลาอันสมควร แต่อย่างช้าไม่เกิน 15 วัน นับแต่วันที่ได้ทราบข้อกล่าวหา ในกรณีที่คณะอนุกรรมการไต่สวนเห็นว่า พยานหลักฐานใดที่ผู้ถูกกล่าวหาอ้างไม่เกี่ยวกับประเด็นที่กล่าวหา หรือเป็นการประวิงให้ชักช้า คณะอนุกรรมการไต่สวนจะไม่ทำการไต่สวนพยานหลักฐานนั้นก็ได้ ข้อกำหนดดังกล่าวเป็นการให้คณะอนุกรรมการไต่สวนใช้ดุลพินิจได้ตามสมควรแก่พฤติการในแต่ละกรณี ในส่วนการยื่นคำร้องขอพิสูจน์ทรัพย์สิน ผู้ถูกกล่าวหาได้ยื่นคำร้อง เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2550 โดยอ้างพยานบุคคลมาท้ายคำร้องด้วย ในการพิจารณาคำร้องขอพิสูจน์ทรัพย์สินของผู้ถูกกล่าวหาในวันที่ 12, 19 และ 26 ตุลาคม 2550 ในวันที่ 12 ตุลาคม 2550 ฝ่ายผู้ถูกกล่าวหาขอเลื่อนการพิจารณาคำร้องออกไปอีก โดยอ้างว่า พยานเอกสารที่สำคัญและจำเป็น อยู่ในความครอบครองของทางราชการ และบุคคลภายนอก จึงยังไม่ได้มา และขอให้หมายเรียกเอกสาร กับขอให้ยกเลิกวันนัดในวันที่ 19 ที่ได้นัดไว้แล้ว ซึ่งคณะอนุกรรมการพิจารณาคำร้องขอพิสูจน์ทรัพย์ อนุญาตให้เลื่อนนัด และให้นัดเพิ่มเป็นวันที่ 27 พฤศจิกายน 2550 ตามที่ฝ่ายผู้ถูกกล่าวหามีวันว่าง ต่อมาในวันที่ 26 ตุลาคม 2550 ผู้ถูกกล่าวหาขอเลื่อนนัด โดยอ้างว่าขอถ่ายเอกสารจากหน่วยราชการแล้วแต่ยังไม่ได้รับ คณะอนุกรรมการพิจารณาคำร้องพิสูจน์ทรัพย์ อนุญาตให้เลื่อนนัดไปเป็นวันที่ 27 พฤศจิกายน 2550 แต่เมื่อถึงวันที่ 27 ดังกล่าว ผู้ถูกกล่าวหาขอเลื่อนนัดและกำหนดวันนัดใหม่อีก โดยอ้างว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช.ไม่อนุญาตให้คัดถ่ายเอกสารเนื่องจากต้องดำเนินการมอบอำนาจใหม่ ให้มีการเลื่อนนัดออกไปวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2551 ตามวันว่างของผู้ถูกกล่าวหา และให้นัดพร้อมเพื่อตรวจพยานเอกสาร วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2551 ครั้นถึงวันนัดตรวจพยานเอกสาร ผู้ถูกกล่าวหาขอให้เรียกพยานเอกสารจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. คณะอนุกรรมการพิจารณาคำร้องขอพิสูจน์ทรัพย์ เห็นว่าเอกสารเป็นเอกสารที่ คตส.มีอยู่แล้ว จึงให้มาตรวจดูก่อน และกำชับให้ผู้ถูกกล่าวหาตั้งคำถามพยานล่วงหน้า 3 วัน กับให้เตรียมพยานมาให้พร้อมในวันนัด แต่เมื่อถึงวันนัด ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2551 พยานที่เรียกมาให้ถ้อยคำ ก็ไม่มา ผู้ถูกกล่าวหาขอให้เลื่อนนัดโดยอ้างว่า พยานจะมาในวันที่ 12 มีนาคม 2551 ครั้นถึงวันนัด สามารถไต่สวนพยานได้เพียงปากเดียว และเลื่อนนัดพิจารณาออกไป หลังจากนั้นมีการไต่สวนพยานตามคำขอของผู้ถูกกล่าวหาต่ออีกหลายนัด จนถึงวันที่ 23 มิถุนายน 2551 ผู้ถูกกล่าวหาแถลงขอนำคำให้การของ นางสาวอรัญญา คงเจริญสถาพร ที่เคยให้การในสำนวนคำร้องขอพิสูจน์ทรัพย์ของผู้คัดค้านที่ 2 มาเป็นพยานของผู้ถูกกล่าวหาด้วย ซึ่งคณะอนุกรรมการพิจารณาคำร้องขอพิสูจน์ทรัพย์ อนุญาต แต่ผู้ถูกกล่าวหายังคงติดใจขออ้างพยานอีก 8 ปาก และขอนัดเพิ่ม รวม 4 นัด แต่เนื่องจาก คตส.จะหมดวาระการทำงาน ในวันที่ 30 มิถุนายน 2551 จึงส่งสำนวนพร้อมเอกสารทั้งหมดให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ดำเนินการต่อ ส่วนข้อคัดค้านของผู้ถูกกล่าวหาที่อ้างว่า การแต่งตั้ง นายกล้านรงค์ จันทิก นายบรรเจิด สิงคะเนติ และนายแก้วสรร อติโพธิ เป็นประธานและอนุกรรมการไต่สวน ที่เป็นปรปักษ์ต่อผู้ถูกกล่าวหา จึงเป็นการไม่ชอบนั้น เห็นว่า ในการตรวจสอบของ คตส. นอกจากอำนาจหน้าที่ที่มีตามประกาศ คปค.แล้ว ยังต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันการปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ด้วย กรณีดังกล่าว บุคคลที่ต้องห้ามมิให้เป็นอนุกรรมการไต่สวน ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันการปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 46 และระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของอนุกรรมการไต่สวน พ.ศ.2547 ข้อ 11 ได้แก่ บุคคลผู้รู้เห็นเหตุการณ์เกี่ยวกับเรื่องที่กล่าวหามาก่อน หรือมีส่วนได้เสียในเรื่องที่กล่าวหา หรือมีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้กล่าวหา หรือผู้ถูกกล่าวหา การรู้เห็นเหตุการณ์จำกัดเฉพาะการเป็นผู้มีส่วนรู้เห็น เกี่ยวข้องโดยตรงในเหตุการณ์ หรือพฤติการณ์ที่กล่าวหานั้น เช่น การมีส่วนร่วมในการดำเนินการแปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิต การแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาด้านโทรคมนาคมต่างๆ ที่มีการกล่าวหาในคดีนี้ เป็นต้น แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่า การที่ นายกล้านรงค์ เมื่อครั้งเป็นเลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เคยกล่าวหาผู้ถูกกล่าวหาในกรณีปกปิดการถือครองหุ้นนั้น กรณีดังกล่าวเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของตนตามกฎหมาย ส่วนกรณีที่ นายกล้านรงค์ไปร่วมรับฟังการปราศรัยของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ก็เป็นการเข้าร่วมในฐานะผู้รับฟัง ซึ่งเป็นการแสดงออกโดยใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ เช่นเดียวกับประชาชนทั่วไป ส่วนการที่เคยให้ข่าวรับว่า เป็นทนายความว่าความให้แก่กลุ่มวุฒิสมาชิก จำนวน 28 คน ที่ร้องศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกกล่าวหาสิ้นสุดลง กับการจะไปเข้าร่วมแสดงศาลจำลองโจมตีการบริหารงานของผู้ถูกกล่าวหานั้น เป็นการดำเนินการโดยการใช้ความรู้ความสามารถในวิชาชีพที่ทำได้ แต่ในที่สุดนายกล้านรงค์หาได้ไปร่วมกิจกรรมกับกลุ่มสมาชิกวุฒิสภาดังกล่าว หรือกิจกรรรมศาลจำลองแต่อย่างใด ที่ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านโต้แย้งต่อไปว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช.ไม่ได้รับการแต่งตั้งโดยชอบ จึงไม่มีอำนาจเข้าดำเนินการแทน คตส. นั้น ข้อนี้เห็นว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช.ซึ่งมีวาระการดำรงตำแหน่งอยู่นี้ เป็นคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งตามประกาศ คปค.ฉบับที่ 19 ซึ่งตามประกาศดังกล่าว ในข้อ 1 กำหนดให้ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มีผลใช้บังคับต่อไป โดยให้งดการบังคับใช้บทบัญญัติที่เกี่ยวกับการสรรหา ดังนั้นคณะกรรมการ ป.ป.ช.ซึ่งมิได้มาจากการสรรหาตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 7 จึงไม่จำต้องดำเนินการให้ประธานวุฒิสภาเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งประธานกรรมการ และกรรมการแต่ประการใด และถือว่าเป็นคณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว เมื่อระยะเวลาตามประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 ข้อ 11 และ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 30 เรื่องการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2549 - 2550 สิ้นสุดลง คตส.ไม่อาจใช้อำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ตามประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 ข้อ 5 อีกต่อไป จึงเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ที่จะดำเนินคดีแทน คตส. และถือว่าสำนวนการสอบสวน และผลการตรวจสอบที่ คตส.ได้ดำเนินการไปแล้ว เป็นการดำเนินการโดยชอบด้วยกฎหมายของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ด้วย ตามประกาศดังกล่าว ดังนั้นคณะกรรมการ ป.ป.ช.จึงมีอำนาจดำเนินการแทน คตส.ได้ การดำเนินการของ คตส. และคณะกรรมการ ป.ป.ช.จึงชอบแล้ว นอกจากนี้ ที่ผู้ถูกกล่าวหาต่อสู้ว่า ผู้ร้องยังไม่มีอำนาจยื่นคำร้อง เนื่องจากอัยการสูงสุดเห็นว่าเรื่องที่ส่งมายังมีข้อไม่สมบูรณ์นั้น เห็นว่า ตามประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 ข้อ 9 ระบุว่า กรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบมีมติว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองผู้ใดทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือทุจริตต่อหน้าที่ ให้ส่งรายงานเอกสาร พร้อมทั้งความเห็นไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินการตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 โดยให้ถือว่ามติของคณะกรรมการของคณะกรรมการตรวจสอบ เป็นมติของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในกรณีที่อัยการสูงสุดมีความเห็นแตกต่าง แต่คณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นยืนยันตามความเห็นเดิม ให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจดำเนินการให้มีการยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิจารณา หรือศาลที่มีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ปัญหาต่อไปมีว่า คำร้องเคลือบคลุมหรือไม่ ตามคำร้องบรรยายว่า ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 ยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริงในหุ้นบริษัท ชินคอร์ป จำนวน 1,419,490,150 หุ้น คิดเป็นกว่าร้อยละ 48 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดที่จำหน่ายได้ระหว่างที่ผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตลอดมา โดยมีผู้คัดค้านที่ 2 - 5 และบริษัท แอมเพิลริช เป็นผู้ถือหุ้นแทน และผู้ถูกกล่าวหาได้ปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่สั่งการ มอบนโยบายในการออก พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.25527 ฉบับที่ 4 พ.ศ.2546 พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 พ.ศ.2546 ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องลดอัตราและยกเว้นภาษีสรรพสามิต ฉบับที่ 68 ลงวันที่ 28 มกราคม 2546 และออกมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2546 กรณีที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากกิจการโทรคมนาคม โดยให้นำภาษีสรรพสามิตหักออกจากค่าสัมปทาน สั่งการอนุมัติให้รัฐบาลสหภาพพม่า กู้เงินจากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เพื่อนำไปซื้อสินค้าและบริการของบริษัท ไทยคม รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐ และหน่วยงานของรัฐภายใต้การบังคับบัญชา หรือกำกับดูแลของผู้ถูกกล่าวหา ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 กระทำการแก้ไขสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ลงวันที่ 27 มีนาคม 2533 ครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2544 ปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบใช้บัตรจ่ายเงินล่วงหน้า กระทำการแก้ไขสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ฉบับ.. ลงวันที่ 27 มีนาคม 2533 ครั้งที่ 7 ลงวันที่ 20 กันยายน 2545 เพื่ออนุญาตให้ใช้เครือข่ายร่วม และให้หักค่าใช้จ่ายจากรายรับ และกรณีการปรับลดอัตราค่าใช้จ่ายเครือข่ายร่วม ละเว้นอนุมัติ ส่งเสริม สนับสนุนธุรกิจดาวเทียม ตามสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศโดยมิชอบหลายกรณี ทั้งนี้เป็นการกระทำที่เป็นการเอื้อประโยชน์แก่บริษัท ชินคอร์ป และบริษัทในเครือ โดยที่บริษัท ชินคอร์ป ประกอบธุรกิจในกิจการโทรคมนาคม ตามสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ฉบับ.. ลงวันที่ 11 กันยายน 2534 จากกระทรวงคมนาคมในขณะนั้น ซึ่งตามสัญญาดังกล่าว ข้อ 1. ระบุว่ากระทรวงคมนาคมตกลงให้บริษัท ชินคอร์ป เป็นผู้ดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศโดยมีสิทธิ์ในการบริหารกิจการ และการให้บริการวงจรดาวเทียมเพื่อการสื่อภายในประเทศ และมีสิทธิ์เก็บค่าใช้วงจรดาวเทียมจากผู้ใช้ สิทธิ์ในการประกอบกิจการโทรคมนาคมเป็นของบริษัท ชินคอร์ป โดยในการแก้ไขสัญญาดังกล่าว จำนวน 5 ครั้ง เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2535 วันที่ 3 มีนาคม 2536 วันที่ 30 มกราคม 2541 วันที่ 20 กันยายน 2543 และวันที่ 27 ตุลาคม 2547 บริษัท ชินคอร์ป เป็นผู้ลงนามเป็นคู่สัญญาตาม พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 มาตรา 8 วรรค 3 (1) บัญญัติว่า ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม ต้องมิใช่เป็นคนต่างด้าว และต้องมีสัดส่วนการถือหุ้นของบุคคลผู้มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของทุนจดทะเบียนทั้งหมดในนิติบุคคลนั้น รวมทั้งต้องมีกรรมการไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนกรรมการทั้งหมด นอกจากนี้ ผู้มีอำนาจกระทำการผูกพันนิติบุคคลนั้น ยังต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย ซึ่งหมายถึงบุคคลต่างด้าวจะเป็นผู้ถือหุ้นในนิติบุคคลดังกล่าวได้ไม่เกินร้อยละ 25 ดังนั้นหุ้นบริษัท ชินคอร์ป จำนวน 1,419,490,150 หุ้น คิดเป็นจำนวนกว่าร้อยละ 48 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ที่จำหน่ายได้ ที่ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 ยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง โดยใช้ชื่อผู้คัดค้านที่ 2-5 และบริษัท แอมเพิลริช เป็นผู้ถือหุ้นแทน ย่อมไม่สามารถขายให้กับบุคคลต่างด้าวได้ เนื่องจากจะมีผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลต่างด้าวเกินกว่าร้อยละ 25 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดที่จำหน่ายได้ แต่ในระหว่างที่ผู้ถูกกล่าวหาเป็นหัวหน้ารัฐบาล ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้เสนอกฎหมายแก้ไข พ.ร.บ.ดังกล่าว จนผ่านการเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา และออกเป็น พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม ฉบับที่ 2 พ.ศ.2549 ซึ่งแก้ไข(1) มาตรา 8 วรรค 3 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ดังกล่าว เป็นว่า ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมต้องมิใช่เป็นคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว โดยไม่มีบทบัญญัติให้ต้องมีกรรมการไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนกรรมการทั้งหมด และผู้มีอำนาจกระทำการผูกพันนิติบุคคลนั้น ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทยแต่อย่างใด เป็นผลให้บริษัท ชินคอร์ป ซึ่งประกอบธุรกิจในกิจการโทรคมนาคม สามารถมีผู้ถือหุ้นที่เป็นบุคคลต่างด้าวได้ถึงไม่เกินร้อยละ 50 และ พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม ฉบับที่ 2 พ.ศ.2549 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันศุกร์ที่ 20 มกราคม 2549 มีผลใช้บังคับในวันเสาร์ที่ 21 มกราคม 2549 ปรากฏว่า ในวันที่ 23 มกราคา 2549 ได้มีการขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ป จำนวน 1,419,490,150 หุ้น ที่ผู้ถูกกล่วหาและผู้คัดค้านที่ 1 ยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริงให้แก่กลุ่มเทมาเส็ก ของประเทศสิงคโปร์ โดยมีบริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้ง จำกัด และบริษัท แอสเพน โฮลดิ้งส์ จำกัด ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างด้าว เป็นผู้ซื้อ เป็นจำนวนเงินสุทธิหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว รวม 69,742,880,932 บาท 5 สตางค์ และตั้งแต่ปี 2546 - 2548 บริษัท ชินคอร์ป ได้จ่ายเงินปันผลตามหุ้นจำนวนดังกล่าว รวม 6,898,722,129 บาท รวมเป็นเงินที่ได้รับเนื่องจากหุ้นดังกล่าว ทั้งหมด 76,641,403,061 บาท 5 สตางค์ ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ได้มาเนื่องจากการกระทำที่เป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม และเป็นกรณีที่ได้ทรัพย์สินมาโดยไม่สมควร สืบเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ อันเป็นการร่ำรวยผิดปกติ ขอให้ยึดเงินที่ได้จากการขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ดังกล่าว หลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว รวม 69,742,880,932 บาท 5 สตางค์ และเงินปันผล จำนวน 6,898,722,129 บาท รวมเป็นเงินที่ได้รับเนื่องจากหุ้นดังกล่าว ทั้งสิ้น 76,621,603,061 บาท 5 สตางค์ พร้อมดอกผลให้ตกเป็นของแผ่นดิน เห็นว่าคำร้องของผู้ร้องได้แสดงโดยแจ้งชัด ซึ่งพฤติการณ์ของผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 ถือครองหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ผ่านบุคคลซึ่งเป็นญาติพี่น้อง และนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้น กับมาตรการต่างๆ ที่ได้กระทำ อันเป็นการเอื้อประโยชน์แก่บริษัทดังกล่าว ส่งผลให้หุ้นบริษัท ชินคอร์ป ที่ถูกกล่าวหาถือครองอยู่ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นมาก ทั้งได้ระบุจำนวนเงินที่ได้จากการขายหุ้น รวมทั้งเงินปันผล ซึ่งเป็นรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ขอให้ตกเป็นของแผ่นดิน พร้อมกับแนบเอกสารแสดงรายละเอียดยอดเงินที่อายัด ชื่อผู้ครอบครอง หรือมีชื่อเป็นเจ้าของ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำร้องโดยครบถ้วน ชอบด้วย พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 มาตรา 18 วรรค 2 และข้อกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2543 ข้อ 23 แล้ว และคดีนี้ผู้ร้องขอให้ศาลสั่งให้เงินทั้งจำนวน จากการขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ป และเงินปันผลพร้อมดอกผลของผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 ตกเป็นของแผ่นดิน ผู้ร้องจึงไม่จำต้องบรรยายคำร้อง โดยแยกทรัพย์สินที่มีอยู่ก่อนการดำรงตำแหน่งทางการเมือง ของผู้ถูกกล่าวหาว่ามีอยู่เท่าใด ส่วนเงินที่ได้จากการขายหุ้น เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหา มีการเพิ่มขึ้นผิดปกติอย่างไร และผู้ถูกกล่าวหาได้สั่งการหรือมอบหมายให้ผู้ใดกระทำการใดอันเป็นการเอื้อประโยชน์แก่บริษัท ชินคอร์ป เพราะเป็นรายละเอียดที่จะต้องทำการไต่สวน เพื่อให้ปรากฏในการพิจารณาของศาล ปัญหาวินิจฉัยต่อไป มีว่า ผู้ถูกกล่าวหากับผู้คัดค้านที่ 1 ถือหุ้นบริษัท ชินคอร์ป จำนวน 1,419,490,150 หุ้น โดยให้ผู้คัดค้านที่ 2-5 และบริษัท แอมเพิลริช ถือแทนตามคำร้องหรือไม่ ในปัญหาดังกล่าว นายวิโรจน์ เลาหะพันธุ์ ในฐานะกรรมการตรวจสอบ คตส. และประธานอนุกรรมการตรวจสอบการซื้อขาย และโอนหุ้นบริษัท ชินคอร์ป เบิกความประกอบบันทึกข้อความเรื่อง ข้อมูลและประเด็นเรื่องการถือครองหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ของผู้ถูกกล่าวหากับพวก และรายงานการไต่สวนว่า ตามบัญชีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท ชินคอร์ป ณ วันที่ 10 เมษายน 2541 ปรากฏ การถือหุ้นของผู้ถูกล่าวหากับพวก ในราคาพาร์หุ้นละ 10 บาท ดังนี้ผู้ถูกกล่าวหาถือหุ้น 32,920,000 หุ้น ผู้คัดค้านที่ 1 จำนวน 34,650,000 หุ้น และผู้คัดค้านที่ 5 จำนวน 6,847,395 หุ้น เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2542 บริษัท ชินคอร์ป มีมติให้เปลี่ยนแปลงทุนชำระแล้ว ของบริษัท ด้วยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจากหุ้นที่ยังไม่ได้จัดสรรเสนอขายแห่ผู้ถือหุ้นเดิม ในอัตราส่วน 1 หุ้นเดิมต่อ 1หุ้นสามัญเพิ่มทุน ในราคาหุ้นละ 15 บาท วันที่ 16 มีนาคม 2542 ผู้คัดค้านที่ 1 ถอนเงินจากบัญชีออมทรัพย์ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด สาขารัชโยธิน เพื่อซื้อเช็กธนาคาร 3 ฉบับ นำไปซื้อหุ้นเพิ่มทุน ในนามผู้คัดค้านที่ 1 จำนวน 34,650,000 หุ้น เป็นเงิน 519,750,000 บาท ในนามผู้ถูกกล่าวหา จำนวน 32,920,000 หุ้น เป็นเงิน 493,800,000 บาท และในนามผู้คัดค้านที่ 5 จำนวน 6,809,015 หุ้น เป็นเงิน 102,135,225 บาท ผู้คัดค้านที่ 5 ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน ลงวันที่ 16 มีนาคม 2542 สัญญาจะจ่ายเงิน 102,135,225 บาทให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 เมื่อทวงถามโดยไม่มีดอกเบี้ย หลังจากมีการเพิ่มทุนแล้ว ผู้ถูกกล่าวหาถือหุ้น 65,840,000 หุ้น ผู้คัดค้านที่ 1 ถือหุ้น 69,300,000 หุ้น และผู้คัดค้านที่ 5 ถือหุ้น 43,618,030 หุ้น วันที่ 11 มิถุนายน 2542 ผู้ถูกกล่าวหาโอนขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 32,920,000 หุ้น ให้แก่บริษัท แอมเพิลริช ราคาหุ้นละ 10 บาท โดยผู้คัดค้านที่ 1 สั่งจ่ายเช็กธนาคารไทยพาณิชย์ สาขารัชโยธิน ลงวันที่ 10 มิถุนายน 2542 จ่ายบริษัทหลักทรัพย์แอสเซทพลัส จำกัด จำนวน 330,961,220 บาท เพื่อชำระค่าหุ้น และบริษัทหลักทรัพย์แอสเซทพลัส จำกัด สั่งจ่ายเช็กธนาคารกสิกรไทย สาขาถนนรัชดาภิเษก ลงวันที่ 16 มิถุนายน 2542 จำนวน 327,438,780 บาท เป็นค่าขายหุ้นให้แก่ผู้ถูกกล่าวหา แล้วเช็กฉบับดังกล่าวได้นำเข้าเรียกเก็บเงินเข้าบัญชีผู้คัดค้านที่ 1 ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขารัชโยธิน ต่อมาผู้ถูกกล่าวหา ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 5 รายงานต่อสำนักงาน ก.ล.ต.ตามแบบ 246-2 ว่า เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2543 ผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 ขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ให้แก่ผู้ซื้อโดยตรง ในราคาหุ้นละ 10 บาท โดยผู้ถูกกล่าวหาขายให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 จำนวน 30,920,000 หุ้น และขายให้กับผู้คัดค้านที่ 4 จำนวน 2,000,000 หุ้น ผู้คัดค้านที่ 1 ขายให้กับผู้คัดค้านที่ 2 42,475,000 หุ้น และขายให้แก่ผู้คัดค้านที่ 5 26,825,000 หุ้น ผู้คัดค้านที่ 2 ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน ลงวันที่ 1 กันยายน 2543 สัญญาจะจ่ายเงิน 309,200,000 บาท ให้แก่ผู้ถูกกล่าวหา และสัญญาจะจ่ายเงิน 424,750,000 บาท ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 เมื่อทวงถามโดยไม่มีดอกเบี้ย ผู้คัดค้านที่ 4 ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน ลงวันที่ 1 กันยายน 2543 สัญญาจะจ่ายเงิน 20,000,000 บาท ให้แก่ผู้ถูกกล่าวหาเมื่อทวงถาม โดยไม่มีดอกเบี้ย ผู้คัดค้านที่ 5 ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน ลงวันที่ 1 กันยายน 2543 สัญญาจะจ่ายเงิน 268,250,000 บาท ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 เมื่อทวงถามโดยไม่มีดอกเบี้ย เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2544 บริษัท ชินคอร์ป ยื่นคำขอจดทะเบียนเปลี่ยนมูลค่าหุ้นที่ได้ตราไว้ หุ้นละ 10 บาท พาร์ 1 บาท เป็นผลให้ผู้ถือหุ้นเดิมมีจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่า คือผู้คัดค้านที่ 2 ถือหุ้น 733,950,220 หุ้น ผู้คัดค้านที่ 5 ถือหุ้น 404,430,300 หุ้น บริษัท แอมเพิลริช ถือหุ้น 329,200,000 หุ้น และผู้คัดค้านที่ 4 ถือหุ้น 20 ล้านหุ้น ต่อมาผู้คัดค้านที่ 2 และ ที่ 3 รายงานต่อสำนักงาน ก.ล.ต. ว่าผู้คัดค้านที่ 2 ได้ขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ซื้อโดยตรง ในราคาหุ้นละ 1 บาท โดยขายเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2545 จำนวน 367,000,000 หุ้น และเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2546 จำนวน 73,000,000 หุ้น ผู้คัดค้านที่ 2 คงเหลือหุ้น 293,950,220 หุ้น ผู้คัดค้านที่ 3 ถือหุ้นรวม 440,000,000 หุ้น และเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2549 ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 ในฐานะกรรมการบริษัท แอมเพิลริช ได้ขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ที่บริษัท แอมเพิลริช ถืออยู่ทั้งหมด 329,200,000 หุ้น ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 และ 3 คนละ 164,600,000 หุ้น เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2549 หุ้นบริษัท ชินคอร์ป ทั้งหมดที่มีชื่อผู้คัดค้านที่ 2-5 ถืออยู่ทั้งหมด ได้ขายให้แก่บริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้ง จำกัด และบริษัท แอสเพน โฮลดิ้งส์ จำกัด รวม 1,487,740,120 หุ้น ในราคาหุ้นละ 49.25 บาท โดยรายการเฉพาะหุ้นที่ได้รับโอนมาจากผู้ถูกกล่าวหา ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ซื้อหุ้นเพิ่มทุนโดยใช้เงินของผู้คัดค้านที่ 1 และที่รับโอนจากบริษัท แอมเพิลริช อยู่ในชื่อผู้คัดค้านที่ 2 จำนวน 458,550,000 หุ้น ผู้คัดค้านที่ 3 จำนวน 604,600,000 หุ้น ผู้คัดค้านที่ 4 จำนวน 20,000,000 หุ้น และผู้คัดค้านที่ 5 จำนวน 336,340,150 หุ้น รวม 1,419,490,150 หุ้น เมื่อหักค่านายหน้าร้อยละ 0.25 และภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 แล้ว คงเหลือค่าหุ้นสุทธิ 69,722,880,932 บาท 5 สตางค์ และหุ้นบริษัท ชินคอร์ป จำนวน 1,419,490,150 หุ้นดังกล่าว ได้รับเงินปันผลระหว่างปี 2546 - 2548 รวม 6 ครั้ง เป็นเงิน 6,898,722,129 บาท คณะอนุกรรมการไต่สวนได้รวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับข้อหาดังกล่าวว่า ผู้ถูกกล่าวหาคงถือหุ้นไว้ ซึ่งหุ้นบริษัท ชินคอร์ป รวมทั้งบัญชีธนาคารที่เกี่ยวข้อง เอกสารจากสำนักงาน ก.ล.ต. และรายงานประจำปี 2543 - 2549 ของบริษัท ชินคอร์ป กับการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาของผู้กล่าวหาแล้ว สรุปความเห็นว่า เมื่อครั้งผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีใน 2 วาระ ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 ยังถือหุ้นไว้ ซึ่งในบริษัท ชินคอร์ป โดยใช้ชื่อผู้คัดค้านที่ 2-5 และบริษัท แอมเพิลริช เป็นผู้ถือหุ้นแทน ต่อมาวันที่ 23 มกราคม 2549 ผู้ถูกกล่าวหาได้รวบรวมหุ้นดังกล่าวทั้งหมด 1,419,490,150 หุ้น ขายให้กลุ่มเทมาเส็ก ที่ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1-5 ยื่นคำคัดค้านว่า ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 ได้โอนหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 4 และ ที่ 5 จนหมดสิ้นแล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2543 โดยได้รับชำระเงินค่าหุ้นตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ครบถ้วนแล้ว ผู้ถูกกล่าวหาได้ขายหุ้นบริษัท แอมเพิลริช ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2543 โดยได้รับชำระค่าหุ้นเรียบร้อยแล้ว ผู้คัดค้านที่ 2 ได้ขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 โดยผู้คัดค้านที่ 3 ได้สั่งจ่ายเช็กชำระค่าหุ้นให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 ครบถ้วนแล้ว ผู้คัดค้านที่ 5 ได้กู้ยืมเงินจากผู้คัดค้านที่ 1 ไปซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัท ชินคอร์ป โดยได้ชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินครบถ้วนแล้ว และผู้ถูกกล่าวหา ยื่นคำแถลงการณ์ปิดคดีว่า คตส.ไม่ยอมรับความมีจริงของเอกสารตามกฎหมาย แม้แต่เอกสารที่รายงานต่อสำนักงาน ก.ล.ต.นั้น ปรากฏว่าการขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ที่มีการรายงานต่อสำนักงาน ก.ล.ต.ในคดีนี้ เป็นการรายงานตามแบบ 246-2 ตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มาตรา 246 วรรค 1 ซึ่งบัญญัติว่า บุคคลใดได้มาหรือจำหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการใด ในลักษณะที่ทำให้ตนหรือบุคคลอื่นเป็นผู้ถือหลักทรัพย์ในกิจการนั้นเพิ่มขึ้นหรือลดลง เมื่อรวมกันแล้วมีจำนวนทุกร้อยละ 5 ของจำนวนหลักทรัพย์ที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกิจการนั้น ไม่ว่าจะมีการลงทะเบียนโอนหลักทรัพย์หรือไม่ และไม่ว่าการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของหลักทรัพย์นั้น จะมีจำนวนเท่าใดในแต่ละครั้ง บุคคลนั้นต้องรายงานถึงจำนวนหลักทรัพย์ในทุกร้อยละ 5 ดังกล่าว ต่อสำนักคณะกรรมการ ก.ล.ต.ทุกครั้งที่ได้มา หรือจำหน่ายหลักทรัพย์" การรายงานตามแบบ 246-2 จึงไม่ใช่หลักฐานแสดงการโอนกรรมสิทธิ์ในหุ้น จำนวนที่รายงาน ดังนั้นในปัญหาว่าผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 มีพฤติการณ์คงถือไว้ซึ่งหุ้นบริษัทชินคอร์ปหรือไม่ ต้องวินิจฉัยจากพฤติการณ์ระหว่างผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 กับผู้คัดค้านที่ 2 ถึงที่ 5 ตั้งแต่มีการซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทชินคอร์ป การโอนหุ้นระหว่างกัน และการถือครองหุ้นตั้งแต่มีการโอนจนขายหุ้นให้แก่กองทุนเทมาเส็ก เป็นสำคัญ | |
ผู้แสดงความคิดเห็น ทีมงาน (support-at-doisaengdham-dot-org)วันที่ตอบ 2012-07-17 11:07:46 |
ความคิดเห็นที่ 3 (1509454) | |
“คำต่อคำ” พิพากษายึดทรัพย์เงินปล้นชาติ 46,373 ล้าน! (ตอน 4) ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 ได้โอนให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งขณะนั้นเป็นบุตรคนเดียวที่บรรลุนิติภาวะแล้ว ในราคาพาร์ 10 บาท จำนวน 30,900,000 หุ้น และ 42,475,000 หุ้น ตามลำดับ โดยผู้คัดค้านที่ 2 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินเมื่อทวงถาม โดยไม่มีดอกเบี้ยให้ ผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งรับโอนหุ้นไว้รวม 73,395,000 หุ้น ได้รายงานตามแบบ 246-2 ต่อสำนักงาน ก.ล.ต.เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2543 และรายงานแก้ไขเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2543 ว่า จำนวนหุ้นที่รับโอนดังกล่าวคิดเป็นร้อยละ 24.99 ของจำนวนหลักทรัพย์ที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด ต่อมาวันที่ 9 กันยายน 2545 หลังจากที่บริษัทชินคอร์ปเปลี่ยนมูลค่าหุ้น เป็นพาร์ 1 บาท ทำให้ผู้ถือหุ้นมีจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้น 10 เท่า และผู้คัดค้านที่ 3 บรรลุนิติภาวะแล้ว ผู้คัดค้านที่ 2 ได้โอนหุ้นบริษัทชินคอร์ป จำนวน 367 ล้านหุ้น ในราคาพาร์ 1 บาท ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 โดยผู้คัดค้านที่ 3 ใช้เงินที่อ้างว่าได้รับในโอกาสวันเกิดจากผู้คัดค้านที่ 1 ชำระให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 ส่วนข้อต่อสู้ของผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 3 ว่า คตส.ดำเนินการ 2 มาตรฐาน นอกจากให้กรมสรรพากรเรียกเก็บภาษีจากผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 แล้ว กลับกล่าวหาว่าผู้ถูกกล่าวหายังคงถือหุ้นบริษัทชินคอร์ป ในหุ้นจำนวนเดียวกัน เป็นคดีนี้อีก เห็นว่าการให้เรียกเก็บภาษีอากรจากผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 ที่ซื้อหุ้นบริษัทชินคอร์ป จากบริษัทแอมเพิลริช เป็นการดำเนินกานรตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร อันเป็นกฎหมายพิเศษที่กำหนดให้ผู้มีเงินได้พึงประเมินมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนด สำหรับบริษัทวินมาร์คนั้น คดีนี้ผู้ร้องบรรยายคำร้องว่า หุ้นบริษัทชินคอร์ป ซึ่งผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้าน ใช้ชื่อผู้อื่นถือไว้แทน มีจำนวน 1,419,490,150 หุ้น แยกเป็นหุ้นที่ผู้คัดค้านที่ 2 รับโอนจากผู้ถูกกล่าวหา ผู้คัดค้านที่ 1 และบริษัทแอมเพิลริช รวม 458,550,000 หุ้น หุ้นที่ผู้คัดค้านที่ 3 รับโอนจากผู้คัดค้านที่ 2 และบริษัทแอมเพิลริช รวม 604,600,000 หุ้น หุ้นที่ผู้คัดค้านที่ 2 รับโอนจากผู้ถูกกล่าวหาจำนวน 20 ล้านหุ้น และหุ้นที่ผู้คัดค้านที่ 5 ซื้อหุ้นเพิ่มทุน โดยโอนเงินจากบัญชีเงินฝากของผู้คัดค้านที่ 1 กับหุ้นที่รับโอนจากผู้คัดค้านที่ 1 รวม 336,340,150 หุ้น กับมีคำขอให้ริบเงินที่ได้จากการขายหุ้น และเงินปันผลตามหุ้น จำนวน 1,449,490,150 หุ้น ดังกล่าว สรุปการโอนหุ้นบริษัทชินคอร์ป หมาย ค 144 ปรากฏว่า หลังจากบริษัทชินคอร์ปเพิ่มทุนในปี 2542 และก่อนโอนหุ้นบริษัทชินคอร์ปไปยังบริษัทแอมเพิลริช ผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 นั้น ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 ถือหุ้นจำนวน 65,840,000 หุ้น (ร้อยละ 25) และ 69,300,000 หุ้น (ร้อยละ 23.75) ตามลำดับ รวมกันเป็นสัดส่วนของหุ้นที่มีสิทธิ์ออกเสียง ร้อยละ 48.75 เมื่อรวมกับหุ้นจำนวน 6,809,015 หุ้น ซึ่งผู้คัดค้านที่ 5 ใช้เงินจากบัญชีธนาคารของผู้คัดค้านที่ 1 ซื้อหุ้นเพิ่มทุนด้วยแล้ว ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 มีสิทธิ์ออกเสียงรวมกันทั้งทางตรงและทางอ้อม เกินกว่ากึ่งหนึ่งของหุ้นที่มีสิทธิ์ออกเสียง ถือว่าเป็นผู้มีอำนาจในการควบคุมนโยบาย และการดำเนินงานของบริษัทชินคอร์ป รวมทั้งอำนาจในการแต่งตั้ง และกำหนดอำนาจหน้าที่ของกรรมการ ตามรายงานประจำปี 2543 ของบริษัทชินคอร์ป ปรากฏว่าคณะกรรมการของบริษัท มีกรรมการ 8 คน ประกอบด้วย ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ 6 คน ผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 มิได้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงใดว่าได้ร่วมบริหารจัดการบริษัทชินคอร์ป ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ในหุ้นจำนวนมาก การที่ผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 มอบฉันทะให้บุคคลอื่นเข้าร่วมประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี ของบริษัทชินคอร์ป ประจำปี 2545 ปีละครั้ง ตามเอกสารหมาย ค 28 ไม่เป็นข้อสนับสนุนว่าผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 ถือหุ้นบริษัทชินคอร์ป ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ ข้อเท็จจริงได้ความว่า เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2545 ผู้ถูกกล่าวหา กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กับผู้บริหารระดับสูงของ ทศท.และ กสท. ได้ประชุมหารือร่วมกับ โดยมีแนวคิดที่จะแปรสภาพ ทศท.และ กสท.เป็นบริษัทโทรคมนาคมจำกัด บริษัทบริหารสัญญาร่วมการงานจำกัด บริษัทไปรษณีย์ จำกัด และกำหนดให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นทั้ง 3 บริษัทดังกล่าว รวมทั้งหาแนวทางในการนำภาษีสรรพสามิตมาใช้กับธุรกิจโทรคมนาคมด้วย ส่งผลให้กระทรวงคมนาคมมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารกิจการร่วมค้าขึ้นเพื่อพิจารณาทรัพย์สิน หนี้สิน และภาระผูกพัน ที่ ทศท.และ กสท.มีอยู่ทั้งหมด ในวันนั้นเอง กระทรวงคมนาคมได้ว่าบริษัท 3 บริษัทศึกษาแนวทางในการแปรรูป ทศท.และ กสท.เพื่อเสนอความเห็นต่อกระทรวงคมนาคม ในระยะนั้นเอง คณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจได้ประชุมและมีมติครั้งที่ 1/2541 ตั้งอนุกรรมการขึ้นมาศึกษาเรื่องนี้ด้วย แต่ปรากฏว่าความเห็นของบริษัทที่ปรึกษาทั้ง 3 บริษัท กับความเห็นของคณะอนุกรรมการชุดดังกล่าวแตกต่างกันบางส่วน คณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจจึงมีมติให้ว่าจ้างทีดีอาร์ไอ ศึกษาและเสนอความเห็นต่อกระทรวงการคลัง พยาน กับนายฉลองภพ สุสังกรกาญจน์ และนักวิชาการอีก 10 กว่าคน ได้ร่วมกันศึกษาอยู่หลายเดือนแล้ว มีความเห็นว่า การแปรหรือไม่แปรสัญญาสัมปทาน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า การแก้ไขสัญญาสัมปทาน ต้องเป็นไปตามความสมัครใจของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ที่แต่ละฝ่ายจะได้รับจากการแปร หรือไม่แปร สัญญาสัมปทานว่าแตกต่างกันหรือไม่ เพราะไม่มีเหตุผลที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะได้รับประโยชน์เพิ่มมากขึ้นจากการแปรสัญญาสัมปทาน ตรงกันข้าม การที่คณะรัฐมนตรีมีมติเช่นนี้ ย่อมส่งผลให้ ทศท ซึ่งทำสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่กับบริษัทเอไอเอส อ่อนแอลง เพราะนอกจาก ทศท.จะได้รับค่าสัมปทานจากบริษัทเอไอเอสน้อยลงกว่าเดิม เนื่องจากต้องหักค่าสัมปทานบางส่วนไปชดเชยค่าภาษีสรรพสามิตที่บริษัทเอไอเอสเสียไปแล้ว หาก ทศท.ไปขอรับใบอนุญาตจาก กทช.เป็นผู้รับสัมปทาน ที่ถือใบอนุญาต ทศท.ก็ต้องเสียภาษีสรรพสามิตตามประกาศกระทรวงการคลังฉบับนั้นด้วย ทั้งที่ตามสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระหว่าง ทศท.กับเอไอเอส ตามเอกสารหมาย ร 264 ให้สิทธิพิเศษแก่บริษัทเอไอเอส หลายประการ ทั้งในเรื่องการใช้ทรัพย์สินและอุปกรณ์ ซึ่งเป็นของ ทศท.ได้ตลอดระยะเวลาในสัญญา รวมไปถึงการประกอบธุรกิจในลักษณะที่ผูกขาดแต่ผู้เดียวด้วย ทั้งนี้ นายสิทธิชัย โภไคยอุดม ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ภายหลังการปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข เบิกความว่า พยานคิดคำนวณแล้ว ปรากฏว่าภาษีสรรพสามิตขาดหายไปรวมเป็นเงินถึง 60,000 ล้านบาทเศษ เมื่อผู้ถูกกล่าวหาเป็นนายกรัฐมนตรีที่เข้าร่วมประชุมกับคณะรัฐมนตรี และมีมติดังกล่าว ทั้งที่ผู้ถูกกล่าวหากับผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัทชินคอร์ป ซึ่งถือหุ้นอยู่ในบริษัทเอไอเอสถึงร้อยละ 42.90 องค์คณะผู้พิพากษาจึงมีมติด้วยเสียงข้างมากว่า ต่อมา วันที่ 22 มกราคม 2544 บริษัท เอไอเอส มีหนังสือขอให้ ทสท.พิจารณาปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้ในส่วนของบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพรีเพด ให้แก่บริษัท เอไอเอส เมื่อ ทสท.พิจารณาแล้วได้อนุมัติให้ลดอัตราส่วนแบ่งรายได้ในส่วนบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพรีเพด เป็นอัตราร้อยละ 20 ของมูลค่าของราคาหน้าบัตรคงที่ตลอดอายุสัญญา และได้มีการทำบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญา อนุญาตให้ดำเนินกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2544 ทสท.ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานกำกับดูแลการดำเนินงานตามสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยคณะกรรมการประสานงานที่ปฏิบัติหน้าที่ในช่วงดำเนินการปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพรีเพดตามข้อกล่าวหา เป็นคณะกรรมการประสานงานที่ได้รับแต่งตั้งตามคำสั่งที่ 24/2541 ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2541 คำสั่งที่ 11/2544 ลงวันที่ 28 มิถุนายน 2544 แต่การดำเนินการปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพรีเพด และการแก้ไขสัญญาโดยทำเป็นบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาในกรณีนี้ ไม่ได้เสนอให้คณะกรรมการประสานงานดังกล่าวพิจารณาเพื่อให้ความเห็นชอบเสียก่อน จึงมีข้อจะต้องวินิจฉัยว่า การอนุมัติให้ปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่พรีเพด ให้แก่บริษัท เอไอเอส เป็นการดำเนินการไปโดยชอบหรือไม่ หรือเป็นการเอื้อประโยชน์แก่บริษัท เอไอเอส ตามที่ถูกกล่าวหาหรือไม่ ซึ่งในเรื่องนี้ปรากฏถึงความเป็นมาว่า การดำเนินการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ นอกจากบริษัท เอไอเอสแล้ว ยังมีผู้ให้บริการที่ได้รับสัญญาให้ดำเนินการในทำนองเดียวกันนี้อีก คือ บริษัท แทค ซึ่งเป็นผู้ให้บริการรายหนึ่ง โดยบริษัท แทค ได้รับสัญยาให้ดำเนินการบริการวิทยุโทรคมนาคม จาก กสท. เป๊นเวลา 27 ปี นับแต่วันที่ 16 กันยายน 2534 อันเป็นวันแรกที่เปิดให้บริการ บริษัท แทค ต้องจ่ายเงินผลประโยชน์ตอบแทนแก่ กสท.เป็นรายปี คิดเป็นอัตราร้อยละของรายได้จากการให้บริการก่อนหักค่าใช้จ่าย ค่าภาษี และค่าธรรมเนียมต่างๆ ในอัตราก้าวหน้า โดยปีที่ 1-4 เป็นร้อยละ 12 ปีที่ 5 ร้อยละ 15 ปีที่ 6-15 ร้อยละ 20 ปีที่ 16-20 ร้อยละ 25 และปีที่ 21-27 ร้อยละ 30 ทั้งนี้เงินผลประโยชน์ตอบแทนในแต่ละปีดังกล่าวต้องไม่ต่ำกว่าจำนวนขั้นต่ำที่กำหนดในสัญญา แต่การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในส่วนของบริษัท แทค มีข้อขัดข้องเนื่องจาก กสท.ไม่มีหมายเลขโทรศัพท์จึงต้องขอใช่หมายเลขโทรศัพท์จาก ทสท. ซึ่งการให้บริการโดยบริษัท แทค ผ่านเข้าไปยังเครือข่ายโทรคมนาคมของ ทสท.นั้น บริษัท แทค ต้องจ่ายค่าเชื่อมโยงโครงข่ายให้แก่ ทสท.เจ้าของโครงข่าย ในอัตรา 200 บาทต่อเดือนต่อ 1 ลูกค้า การให้บริการของบริษัท แทค ในระยะเริ่มแรก เป็นการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบโพสต์เพด ต่อมาได้เปิดบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่พรีเพด เช่นเดียวกับของเอไอเอส โดยใช้ชื่อทางการค้าว่า พร้อมพ์ ซึ่งบริษัท แทค ยังคงจ่ายเงินผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่ กสท. และยังต้องจ่ายเงินค่าเชื่อมโยงโครงข่ายให้แก่ ทสท.ตามจำนวนและอัตราที่กำหนดในสัญญา บริษัท แทค ได้ขอลดค่าเชื่อมโยงโครงข่ายสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพรีเพด ไปยัง ทสท.เจ้าของโครงข่าย เพราะเห็นว่า การกำหนดค่าเชื่อมโยงโครงข่ายสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพรีเพดในอัตราเดียวกับแบบโพสต์เพดนั้นไม่เหมาะสม ซึ่งในเวลาต่อมาได้รับการพิจารณาปรับลดค่าเชื่อมโยงโครงข่าย ให้เหลือเพียงอัตราร้อยละ 18 ของราคาหน้าบัตรจ่ายเงินล่วงหน้า การที่ ทสท.ปรับลดอัตราเชื่อมโยงโครงข่ายสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบใช้บัตรจ่ายเงินล่วงหน้า ให้แก่บริษัท แทค ในครั้งนี้ เป็นเหตุให้บริษัท เอไอเอส ยกขึ้นเป็นข้ออ้างในการขอให้ ทสท.ปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้ส่วนของบริการที่ใช้ชื่อว่า วันทูคอล เห็นว่าการที่บริษัท เอไอเอส ดำเนินกิจการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ตามสัญญาที่ทำกับ ทสท.นั้น สิทธิและหน้าที่ระหว่างบริษัท เอไอเอส กับ ทสท.ซึ่งเป็นคู่สัญญา จะมีอยู่ต่อกันอย่างไรย่อมเป็นไปตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในสัญญา ซึ่งรวมถึงการจ่ายเงินผลประโยชน์ตอบแทนที่กำหนดไว้ในข้อ 30 ซึ่งได้ความในเรื่อง ที่บริษัท เอไอเอส ขอให้ ทสท.พิจารณาปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้กรณีนี้ว่า การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของบริษัท เอไอเอส และบริษัท แทค มีข้อแตกต่างกันในด้านองค์ประกอบ และความพร้อมของระบบที่ตนเป็นผู้ให้บริการ เพราะ กสท.ซึ่งเป็นคู่สัญญากับบริษัท แทค ไม่มีหมายเลขโทรศัพท์ที่จะให้บริษัท แทค นำไปให้บริการแก่ลูกค้า จนต้องไปขอใช้หมายเลขโทรศัพท์โดยจ่ายเงินค่าเชื่อมโยงโครงข่ายให้แก่ ทสท. ซึ่งเป็นเจ้าของโครงข่าย ทั้งการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบโพสต์เพด และพรีเพด ยังมีวิธีการจ่ายค่าใช้บริการที่แตกต่างกัน โดยผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบโพสต์เพด ต้องจ่ายค่าหมายเลขรายเดือน และจ่ายค่าใช้บริการอีกส่วนหนึ่งต่างหาก แต่เป็นการเรียกเก็บหลังจากการใช้บริการแล้ว ส่วนแบบพรีเพดนั้น ผู้ที่ใช้บริการจะจ่ายเฉพาะค่าใช้บริการ และต้องจ่ายโดยซื้อบัตรจ่ายเงินล่วงหน้า จึงจะสามารถใช้บริการได้ ซึ่งบัตรจ่ายเงินล่วงหน้าจะมีราคาแตกต่างกัน รายได้จากการให้บริการแบบใช้บัตรจ่ายเงินล่วงหน้า จึงอยู่กับว่าผู้ใช้บริการจะใช้บริการด้วยการซื้อบัตรจ่ายเงินล่วงหน้าเป็นจำนวนที่มากน้อยเพียงใด ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่มีความแน่นอน ดังนั้นการที่จะให้บริษัท แทค จ่ายค่าเชื่อมโยงโครงข่ายในอัตรา 200 บาทต่อเดือนต่อ 1 ลูกค้า ในบริการแบบพรีเพด ย่อมไม่เป็นธรรมต่อบริษัท แทค เพราะหากเดือนใดมีลูกค้าใช้บริการโดยมีค่าใช้บริการต่ำกว่า 200 บาท หรือมากกว่าเพียงเล็กน้อย ซึ่งเป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ จะเป็นผลให้บริษัท แทค ขาดทุนหรือสูญเสียรายได้ การที่ ทสท.พิจารณาปรับลดค่าเชื่อมโยงโครงข่ายให้แก่บริษัท แทค จึงเป็นการดำเนินการที่ชอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริษัท เอไอเอส ไม่มีภาระที่จะต้องจ่ายค่าใช้จ่ายในส่วนนี้แก่ ทสท. เช่นเดียวกับบริษัท แทค ดังนั้น บริษัท เอไอเอส จึงไม่อาจนำเอาเหตุดังกล่าวมาเป็นข้ออ้างเพื่อขอให้ ทสท.ปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้ให้แก่บริษัท เอไอเอส หาก ทสท.ปฏิเสธไม่ปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้ให้แก่บริษัท เอไอเอส เป็นการชอบด้วยเหตุผลแล้ว นอกจากนี้ ปรากฏจากเอกสารหมาย ร 260 หน้า 1184-11281 ว่าบริษัท เอไอเอส ได้ลงทุนและเริ่มให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพรีเพด มาตั้งแต่ปี 2541 โดยในช่วงนั้น บริษัท เอไอเอส มีข้ออ้างต่อ ทสท.ว่า เป็นเพียงแต่มาตรการส่งเสริมการขายของการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งบริษัท เอไอเอส ให้บริการอยู่ เมื่อครบกำหนดเวลาที่ส่งเสริมการขาย ตามที่ ทสท.อนุมัติให้ดำเนินการแล้ว บริษัท เอไอเอส ยังขอขยายกำหนดเวลาการดำเนินการต่อไปอีก จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2544 โดยจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่ ทสท. ตามอัตราที่กำหนดในสัญญาหลักตลอดมา แสดงให้เห็นว่า ผลประกอบการในการให้บริการส่งเสริมการขายในส่วนนี้ เป็นที่พอใจของบริษัท เอไอเอส มิเช่นนั้นแล้ว บริษัท เอไอเอส คงไม่ขอขยายกำหนดเวลาในการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวเป็นเวลาต่อเนื่องกันเกินกว่า 3 ปี การที่คณะกรรมการ กสท.พิจารณาแล้ว มีมติให้ปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้เป็นแบบคงที่ ในอัตราร้อยละ 20 แล้วแก้ไขเพิ่มเติมสัญญา โดยไม่มีกำหนดให้เพิ่มอัตราส่วนแบ่งรายได้ตามระยะเวลาของสัญญา จึงไม่เป็นไปตามหลักการที่กล่าวมา ทั้งยังเป็นการเปลี่ยนแปลงข้อสัญญาในสาระสำคัญ ทำให้ ทสท.จะต้องขาดผลประโยชน์ที่ควรจะได้รับตามสัญญาหลักอยู่แล้ว แต่กลับเป็นผลให้บริษัท เอไอเอส ได้รับผลประโยชน์มากขึ้น ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2544 อันเป็นวันที่มีการแก้ไขสัญญาเพิ่มเติมสัญญาหลักในครั้งที่ 6 หากนับถึงวันที่ 30 กันยายน 2558 อันเป็นวันสิ้นสุดสัญญาหลัก เป็นเวลาเกินกว่า 14 ปี ในการมีมติในเรื่องการลดอัตราส่วนแบ่งรายได้ คณะกรรมการ ทสท.กำหนดเงื่อนไข ให้ ทสท.เจรจากับบริษัท เอไอเอส ให้ได้ข้อยุติในเรื่องการนำส่งส่วนแบ่งรายได้ให้ ทสท.เป็นรายเดือน และการนำผลประโยชน์ที่บริษัท เอไอเอส ได้รับในครั้งนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับผู้ใช้บริการ ทั้งให้กำหนดเงื่อนไขดังกล่าวไว้ในข้อตกลงต่อท้ายสัญญาที่จะจัดทำขึ้น ให้ ทสท.ติดตามผลการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบใช้บัตรจ่ายเงินล่วงหน้า ทั้งของวันทูคอล และพร้อมพ์ เพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาความเหมาะสมของการพิจารณาปรับปรุงหลักเกณฑ์เรียกเก็บส่วนแบ่งรายได้ ในโอกาสต่อไป ซึ่งเป็นไปในทำนองว่า ทสท. มุ่งถึงผลประโยชน์ของ ทสท.ที่จะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนเร็วขึ้นจากเดิมที่กำหนดตามสัญญาหลัก ข้อ 30.2 ไว้ว่า ให้ชำระผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำทุก 3 เดือน เมื่อครบรอบปีแล้วหากปรากฏว่าผลประโยชน์ตอบแทนที่คำนวณจากอัตราร้อยละของรายได้ มากกว่าจำนวนเงินขั้นต่ำที่กำหนดไว้ในสัญญา ก็ให้ชำระเพิ่มให้ครบภายใน 60 วัน นับแต่วันครบกำหนดในรอบปีนั้น และมุ่งถึงประโยชน์ของผู้ใช้บริการที่จะจ่ายค่าใช้จ่ายบริการถูกลง โดยมีพยาน ไม่ว่าจะเป็น นายอนันต์ วรธิติพงษ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการบริษัท เอไอเอส หรือที่เป็นกรรมการ ทสท. และพนักงาน ทสท. เช่น พล.ต.อ.บุญฤทธิ์ รัตนพร นายโอฬาร เพียรธรรม นายศุภชัย พิสิฐวานิช นายสุธรรม มะลิลา ให้การและเบิกความในทำนองเดียวกันว่า หลังจากได้รับการปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้แล้ว บริษัท เอไอเอส ได้ปรับลดค่าใช้บริการให้แก่ผู้ใช้บริการ มากกว่าอัตราที่กำหนดในสัญญาที่แก้ไขเพิ่มเติม และมีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้ ทสท.มีรายได้เพิ่มมากขึ้นด้วย เป็นข้อสนับสนุนให้เห็นว่า การดำเนินการในกรณีนี้เป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่าย แล้วนั้น เห็นว่า แม้จะได้ความตามนั้นก็ตาม แต่ผลของการดำเนินการทำให้ภาระต้นทุนของบริษัท เอไอเอส ลดน้อยลง ที่สำคัญก่อให้เกิดประโยชน์แก่บริษัท เอไอเอส ในด้านจำนวนผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพรีเพด ทำให้รายได้จากค่าใช้บริการที่ได้รับเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ปี 2544 - 2549 บริษัท เอไอเอส มีผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพรีเพด เพิ่มขึ้นในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก โดยจากที่มีจำนวน 297,000 ราย ในปี 2543 เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 2,288,500 รายในปีถัดมา และทวีจำนวนขึ้นเป็นลำดับ จนถึงปี 2549 มีผู้ใช้บริการถึง 17,279,100 ราย กับมีรายได้จริงสำหรับค่าใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ โดยจากที่มีรายได้ในปีสัมปทานที่ 11 ในช่วงเดือนตุลาคม 2543 ถึงกันยายน 2544 จำนวน 2,225,560,000 บาท เพิ่มเป็น 17,098,890,000 บาท ในปีสัมปทานที่ 12 ในช่วงเดือนตุลาคม 2544 ถึงเดือนกันยายน 2545 และทวีจำนวนขึ้นในแต่ละปีสัมปทาน จนกระทั่งในปีสัมปทานที่ 16 ช่วงเดือนตุลาคม 2548 ถึงกันยายน 2549 มีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 57,375,880,000 บาท แต่รายได้ในส่วนที่ให้บริการแบบโพสต์เพดกลับลดลงจากที่เคยได้รับในปีสัมปทานที่ 11 จำนวน 34,752,080,000 บาท เป็น 37,767,710,000 บาท ในปีสัมปทานที่ 12 แล้วลดลงเป็นลำดับในแต่ละปีสัมปทาน จนกระทั่งลดลงเหลือ 21,171,390,000 บาท ในปีสัมปทานที่ 16 แม้รายได้ในภาพรวมที่เพิ่มขึ้นจะเป็นผลให้ ทสท.ได้รับค่าผลประโยชน์ตอบแทนเพิ่มมากขึ้นก็ตาม แต่หากปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้จากบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบบัตรจ่ายเงินล่วงหน้า ให้เป็นจำนวนที่เหมาะสม และเป็นแบบอัตราก้าวหน้าแล้ว ผลประโยชน์ตอบแทนที่บริษัท เอไอเอส ต้องจ่ายให้แก่ ทสท.ย่อมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นจากที่เป็นอยู่ไปด้วย ส่วนการปรับลดค่าใช้บริการให้แก่ลูกค้านั้น ปรากฏว่า บริษัท เอไอเอส และบริษัท แทค ได้จัดรายการส่งเสริมการขายสำหรับบริการโทรศัพท์แบบพรีเพด ในหลายรูปแบบต่อเนื่องกันมา ในบางรูปแบบมีการปรับลดค่าใช้บริการลงเป็นจำนวนมาก เพื่อจูงใจให้มีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องของการตลาดในการแข่งขันกันทางด้านการค้า ดังนั้นการที่บริษัท เอไอเอส ปรับลดค่าใช้บริการให้แก่ลูกค้า จึงเป็นไปตามกลไกตลาด หาใช่เป็นผลจากการที่บริษัท เอไอเอส ได้รับการปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้จาก ทสท. และที่ผู้กล่าวหาอ้างว่า บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพรีเพด เป็นรูปแบบใหม่ ซึ่งไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์และการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนกันไว้ การที่กำหนดอัตราส่วนแบ่งรายได้กรณีนี้จึงเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายค่าผลประโยชน์ ไม่ใช่การปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ตามที่กำหนดในสัญญาหลักนั้น เห็นว่า การที่บริษัท เอไอเอส ดำเนินกิจการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ตามสัญญาหลักที่ทำกับ ทสท. สิทธิและหน้าที่จะมีอย่างไร ย่อมเป็นไปตามข้อกำหนดในสัญญา แม้การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพรีเพด จะไม่มีรายได้จากค่าเลขหมายรายเดือนก็ตาม แต่การกำหนดค่าใช้บริการได้รวมค่าโทรศัพท์และค่าเลขหมายรายเดือนเข้าด้วยแล้ว โทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 2 แบบคงแตกต่างกันเฉพาะวิธีการและเงื่อนไขในการจ่ายค่าใช้บริการเท่านั้น ทั้งปรากฏว่า ก่อนจะเปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพรีเพดในครั้งแรกนั้น บริษัท เอไอเอส ได้มีหนังสือชี้แจงไปยัง ทสท.ว่า มีลักษณะเป็นการส่งเสริมการขายให้แก่ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ตามปกติ โดยอำนวยความสะดวกเพิ่มเติมแก่ผู้ใช้บริการ ซึ่งเท่ากับเป็นการยอมรับว่า โทรศัพท์ทั้ง 2 แบบ เป็นการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อที่ตามสัญญาหลักที่ทำกันไว้นั่นเอง | |
ผู้แสดงความคิดเห็น ทีมงาน (support-at-doisaengdham-dot-org)วันที่ตอบ 2012-07-17 12:05:48 |
ความคิดเห็นที่ 4 (1509464) | |
“คำต่อคำ” พิพากษายึดทรัพย์เงินปล้นชาติ 46,373 ล้าน! (ตอน 5)
ข้ออ้างของบริษัท เอไอเอส ดังกล่าวนี้ เป็นการกระทำเพื่อผลประโยชน์ของบริษัท เอไอเอส เอง ซึ่งเป็นเรื่องของการแข่งขันในทางการค้าในการประกอบธุรกิจโทรคมนาคม ส่วนการกล่าวอ้างที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของผู้ใช้บริการ หรือข้อจำกัดเกี่ยวกับความถี่ที่ได้รับจาก ทศท. เป็นเรื่องที่บริษัท เอไอเอส สามารถคาดหมายได้อยู่แล้วในขณะที่เข้าทำสัญญาสัมปทานกับ ทศท. เพราะสัญญาสัมปทาน ข้อ 29.9 ระบุไว้อย่างชัดเจนแล้วว่า ทศท.จะต้องจัดหาคลื่นความถี่ย่าน 909-915 MHZ และ 950-960 MHz สำหรับระบบ NMT900 ให้กับบริษัท เอไอเอส 400 ช่วงสัญญาณ ส่วนความถี่ที่จะใช้กับระบบจีเอสเอ็ม ทศท.จะดำเนินการขอและจัดสรรให้ต่อไปเมื่อได้รับแจ้งจากบริษัท เอไอเอส ทั้งปรากฏจากรายงานการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองวาระการประชุมของคณะกรรมการบริหาร ทศท.ครั้งที่ 1/2545 วันที่ 21 สิงหาคม 2545 วาระที่ 4.12 เรื่องขออนุมัติหลักการใช้เครือข่ายร่วมกัน ในส่วนข้อพิจารณาของที่ประชุม ข้อ 2 ว่า สำหรับรายจ่ายของบริษัท เอไอเอส จากการใช้เครือข่ายของผู้ให้บริการรายอื่น ถือเป็นภาระหน้าที่ของบริษัท เอไอเอส ที่จะต้องขยายโครงข่ายให้สามารถรองรับการให้บริการ โดยบริษัท เอไอเอส จะเลือกวิธีการลงทุนโครงข่ายเพิ่มเติม หรือการใช้เครือข่ายของผู้ให้บริการรายอื่น เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า ทศท.จัดจัดสรรคลื่นความถี่ให้กับบริษัท เอไอเอส จนเต็มความสามารถของ ทศท. เท่าที่ ทศท.ได้รับมาจากกรมไปรษณีย์โทรเลข ย่อมเป็นการปฏิบัติไปโดยถูกต้องสมบูรณ์ตามสัญญาสัมปทานแล้ว เนื่องจากคลื่นความถี่ดังกล่าวมิได้อยู่ภายใต้อำนาจการบริหารจัดการของ ทศท.โดยตรง แต่ได้รับมาจากกรมไปรษณีย์โทรเลข อีกทอดหนึ่ง และข้อสัญญาสัมปทานไม่มีสภาพบังคับไว้แต่อย่างใด้ว่า ทศท.จะต้องรับผิดชอบจ่ายค่าใช้จ่ายในเรื่องใดๆ หากไม่สามารถจัดสรรคลื่นความถี่ให้เป็นที่พอเพียงกับการให้บริการแก่ลูกค้าของบริษัท เอไอเอส เพราะการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่มีการแข่งขันสูงและต่อเนื่อง ย่อมมีความไม่แน่นอนจากสภาพการแข่งขันทางการตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ตลอดเวลา และบริษัทผู้ให้บริการมักจะมีรายการส่งเสริมการขายในรูปแบบที่ต่างกันไป โดยมักจะใช้วิธีการของให้คู่สัมปทานอนุมัติให้ทดลองให้บริการไปก่อนแล้วจึงเจรจากับผู้ให้สัมปทานต่อเนื่องกันไป ซึ่งส่วนใหญ่การเจรจามักประสบความสำเร็จตามที่ผู้รับสัมปทานร้องขอ อันเป็นการปฏิบัติไปตามเจตนารมณ์ของคู่สัญญา ฝ่ายที่รับสัมปทานไปแล้วแต่มักไม่ตรงตามข้อสัญญาดังที่สำนักงานอัยการสูงสุดเคยพิจารณาแจ้งไว้ ซึ่งปรากกฏอยู่ในรายงานการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองวาระการประชุมของคณะกรรมการ ทศท.ครั้งที่ 3/2545 ลงวันที่ 28 สิงหาคม 2545 ดังนั้นการที่ บริษัท เอไอเอส เลือกการขยายเครือข่ายการให้บริการ เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของผู้ใช้บริการ ด้วยวิธีการใช้เครือข่ายร่วมกับบริษัท ดีพีซี ซึ่งถือได้ว่า เป็นบริษัทเดียวกับบริษัท เอไอเอส แทนที่จะลงทุนสร้างโครงข่ายเพิ่มเติม ซึ่งเป็นการประหยัดเงินลงทุนการสร้างโครงข่าย และเป็นค่าใช้จ่ายจากการใช้เครือข่ายร่วมของบริษัทตนเอง บริษัท เอไอเอส ไม่อาจที่จะกล่าวอ้างในเรื่องจำนวนความถี่ที่ได้รับการจัดสรรจาก ทศท.ได้ ทั้งไม่อาจปัดให้เป็นความรับผิดชอบของ ทศท.ที่จะต้องจัดหาความถี่มาให้เพียงพอแก่การให้บริการของบริษัท เอไอเอส ทั้งบริษัท เอไอเอส มีพันธะที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาสัมปทานเอกสารหมาย ร 264 ข้อ 9 ข้อ 16 และ ข้อ 30 เมื่อสัญญาสัมปทานข้อ 9 กำหนดว่า บริษัท เอไอเอส ต้องเป็นผู้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์แห่งสัญญา และรับผิดชอบเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ และค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องและอุปกรณ์ทั้งหมด ข้อ 16 กำหนดว่า ต้องจัดหาอุปกรณ์เซลูล่า 900 เพื่อให้เปิดบริการได้ ตามประมาณการลงทุนแผนการติดตั้งและสามารถบริการได้เพียงพอกับความต้องการของผู้ใช้บริการ และต้องให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และข้อ 30 กำหนดว่าต้องจ่ายเงินผลประโยชน์ตอบแทนให้ ทศท.เป็นรายปีตามหลักประกันขั้นต่ำ หรืออัตราร้อยละของรายได้ หรือผลประโยชน์อื่นใดที่บริษัท เอไอเอส พึงได้รับในรอบปีก่อนหักค่าใช้จ่ายและค่าภาษีใดๆ ทั้งสิ้น จำนวนไหนมากกว่าให้ถือเอาจำนวนนั้น บริษัท เอไอเอสจึงต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเอง การแก้ไขสัญญาเพื่อปัดความรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายที่ตนเองต้องรับผิดชอบ จึงขัดต่อสัญญาหลัก และถือว่ารายได้ที่เกิดขึ้นจากการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการโดยผ่านการใช้เครือข่ายร่วม เป็นรายได้ และผลประโยชน์ที่บริษัท เอไอเอส พึงได้รับในรอบปีที่จะต้องจ่ายเงินผลประโยชน์ตอบแทนให้ ทศท.ตามสัญญาหลักข้อ 30 มิใช่เป็นรายได้พิเศษนอกสัญญาดังที่บริษัท เอไอเอส กล่าวอ้าง อย่างไรก็ตาม การไม่ปฏิบัติตามสัญญาหลัก ด้วยการนำค่าใช้จ่าย ค่าเครือข่ายร่วม ซึ่งบริษัท เอไอเอส จะต้องรับผิดชอบตามสัญญา มาหักออกจากส่วนแบ่งรายได้ ย่อมเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ ทศท. ที่ไม่ได้รับส่วนแบ่งรายได้จากการใช้บริการของลูกค้าเท่าจำนวนครั้งต่อนาทีที่มีการใช้บริการเครือข่ายร่วมกับเครือข่ายอื่น นับจากวันที่สัญญาแก้ไขมีผลบังคับ เดือนตุลาคม 2545 ถึงเดือนเมษายน 2551 ปรากฏจากรายงานการตรวจสอบว่า บริษัท เอไอเอส ใช้เครือข่ายร่วม 13,283,420,483 นาที คิดเป็นเงิน 6,960,359,401 บาท เงินจำนวนดังกล่าวเป็นประโยชน์ที่บริษัท เอไอเอส ได้รับจากการแก้ไขสัญญาที่ไม่ชอบด้วยสัญญาหลัก ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ขณะที่ผู้ถูกกล่าวหายังคงเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่แท้จริงอยู่ในบริษัท ชินคอร์ป และในระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่บังคับบัญชาหรือกำกับดูแลหน่วยงานของรัฐตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 กรณีการละเว้นอนุมัติ ส่งเสริม สนับสนุนกิจการดาวเทียม ตามสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศโดยมิชอบหลายกรณี เพื่อเอื้อประโยชน์แก่บริษัท ชินคอร์ป และกิจการของครอบครังของผู้ถูกกล่าวหา ในข้อนี้มีข้อที่จะต้องพิจารณาตามข้อกล่าวหาของคณะกรรมการตรวจสอบ และตามคำร้องของผู้ร้องอยู่ 3 กรณีด้วยกัน กล่าวคือ กรณีอนุมัติดาวเทียมไอพีสตาร์ กรณีอนุมัติให้แก้ไขสัญญาสัมปทาน ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2547 เรื่องการลดสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท ชินคอร์ป ในบริษัท ไทยคม จากที่ต้องถือครองหุ้นไม่น้อยกว่าอัตราร้อยละ 51 เป็นไม่น้อยกว่าอัตราร้อยละ 40 และกรณีอนุมัติให้ใช้เงินค่าสินไหมทดแทนจากการที่ดาวเทียมไทยคม 3 เกิดความเสียหาย จำนวน 6.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไปเช่าช่องสัญญาณต่างประเทศ 5.1.4 จัดส่งดาวเทียมสำรองตาม 5.1.1 ขึ้นอยู่ในตำแหน่งวงโคจรอินออบิดแบล็คอัพ(***) หลังจากดาวเทียมดวงแรกเริ่มให้บริการแล้วไม่เกิน 12 เดือน ข้อ 6 คุณสมบัติของดาวเทียม รายละเอียดคุณสมบัติเฉพาะดาวเทียมแซทเทิลไลท์เทคนิเชียน ทุกดวงที่บริษัทสร้างและจัดส่งตามสัญญานี้จะต้องได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงก่อน และอุปกรณ์ทั้งหมดของดาวเทียม จะต้องเป็นอุปกรณ์ที่ยอมรับแล้วว่าสามารถปฏิบัติงานได้อย่างดี ทั้งนี้คุณสมบัติการใช้งานของดาวเทียมหลักและดาวเทียมสำรอง ตั้งแต่ดวงที่ 2 เป็นต้นไป จะต้องมีคุณสมบัติการใช้งานไม่ด้อยกว่าคุณสมบัติการใช้งานของดาวเทียมหลักและดาวเทียมสำรองดวงที่ 1 ตามที่กำหนดในข้อ 7 แต่จำนวนวงจรดาวเทียมชนิดย่านความถี่ซีแบนด์ หรือ เคยูแบนด์ ตามข้อ 7.1.1 ให้เป็นไปตามที่กระทรวงและบริษัทจะตกลงกัน และบริษัทรับรองว่า ดาวเทียมหลักและดาวเทียมสำรองของบริษัททุกดวงจะไม่ทำอินครายออร์บิต เว้นแต่ดาวเทียมหลักและดาวเทียมสำรอง ซึ่งมิใช่เป็นดาวเทียมหลักสำรองแล้วแต่ยังสามารถให้บริการวงจรดาวเทียม ....(สัญญาณหาย)....เพื่อใช้งานต่อเนื่อง นอกจากข้อกฎหมายดังกล่าวแล้ว ในส่วนของข้อเท็จจริงสำหรับกรณีการอนุมัติดาวเทียมไอพีสตาร์ ซึ่งตามสัญญาสัมปทานกำหนดให้ส่งดาวเทียมสำรองขึ้นสู่อวกาศ เพื่อให้เป็นดาวเทียมสำรองของดาวเทียมไทยคม 3 นั้น ในการจัดส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศ ที่บริษัทผู้รับสัมปทานได้จัดสร้างและจัดส่งโดยโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่กระทรวงคมนาคม ตามสัญญาสัมปทาน ปรากฏว่า วันที่ 17 ธันวาคม 2536 ได้จัดส่งดาวเทียมหลัก คือดาวเทียมไทยคม 1 วันที่ 7 ตุลาคม 2537 ได้จัดส่งดาวเทียมสำรอง คือดาวเทียมไทยคม 2 และวันที่ 16 เมษายน 2540 ได้จัดส่งดาวเทียมหลัก คือดาวเทียมไทยคม 3 ปรากฏตามเอกสาร หมาย ร 442 และกระทรวงคมนาคม ซึ่งดูแลโครงการดาวเทียมอยู่ในขณะนั้น ได้อนุมัติให้มีการจัดสร้างดาวเทียมสำรองของดาวเทียมไทยคม 3 ที่จะจัดส่งขึ้นสู่อวกาศต่อไป คือดาวเทียมไทยคม 4 แต่เมื่อถึงกำหนดที่จะต้องจัดส่งขึ้นสู่อวกาศนั้น บริษัทผู้รับสัมปทานได้ขอเลื่อนกำหนดหลายครั้ง ซึ่งต่อมาบริษัทผู้รับสัมปทานก็ได้ขอแก้กำหนดทางด้านเทคนิค โดยขอเปลี่ยนคุณสมบัติของดาวเทียมสำรอง คือดาวเทียมไทยคม 4 เป็นดาวเทียมไอพีสตาร์ ซึ่งเมื่อได้รับอนุมัติแล้ว ก็ได้มีการจัดส่งดาวเทียมดวงนี้ขึ้นสู่อวกาศในวงโคจร เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2548 รายละเอียดปรากฏตามเอกสารหมาย ร 442 ร 443 ร 510 ร 519 ร 521 ร 522 และ ร 518 สำหรับการที่บริษัทผู้รับสัมปทานได้ร้องขอเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติดาวเทียมไทยคม 4 เป็นดาวเทียมไอพีสตาร์นั้น ก็ได้ร้องขอโดยให้เป็นดาวเทียมสำรองเช่นเดิม ปรากฏตามหนังสือที่ ชช (ส) 010 ลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2545 แต่ดาวเทียมไอพีสตาร์มีรายละเอียดทางเทคนิคที่ไม่เหมือนกับดาวเทียมไทยคม 3 กระทรวงคมนาคมจึงมอบหมายให้กรมไปรษณีย์โทรเลข ศึกษาข้อมูลทางเทคนิคของดาวเทียมไอพีสตาร์ กรมไปรษณีย์โทรเลขเห็นว่าดาวเทียมไอพีสตาร์เป็นดาวเทียมหลักดวงใหม่ ซึ่งไม่ใช่ดาวเทียมสำรองที่จะจัดสร้างแทนดาวเทียมไทยคม 4 แต่อย่างใด ปรากฏตามหนังสือที่ กค 0704 (ปว/14221) ลงวันที่ 29 สิงหาคม 2545 เอกสารหมาย ร 514 และเมื่อนำผลการศึกษาดังกล่าวเข้าสู่ทีประชุมคณะกรรมการประสานงานโครงการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ที่แต่งตั้งขึ้นตามสัญญาสัมปทานในคราวพิจารณาโครงการดาวเทียม ไอพีสตาร์ครั้งที่ 1/2545 ลงวันที่ 29 สิงหาคม/2545 ต่อมาวันที่ 11 มีนาคม 2547 บริษัทผู้รับสัมปทานได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนสำหรับโครงการดาวเทียมไอพีสตาร์ ดังนั้นจากข้อเสนอของผู้ถูกกล่าวหาเอง ก่อนที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในฐานะตัวแทนบริษัทชินคอร์ป ที่ยื่นแข่งขันเพื่อเข้ารับสัมปทาน รวมทั้งเจรจาต่อรองเพื่อให้ได้รับสัมปทานด้วยวาจาและทำหนังสือยืนยันอย่างเป็นทางการว่าจะลงทุนเพิ่มขึ้นตลอดอายุสัญญา และจะส่งดาวเทียมสำรองขึ้นสู่วงโคจร เพื่อเป็นการสำรองดาวเทียมดวงหลัก และมีระยะเวลาห่างจากดวงแรกไม่เกิน 12 เดือน อยู่คู่กันเพื่อให้ใช้งานได้โดยต่อเนื่อง จึงได้ระบุระบบดาวเทียมสำรองไว้ในสัญญาสัมปทาน ข้อที่ 5.1.4 ข้อ 6 และข้อ 7 ดาวเทียมไทยคม 3 ซึ่งเป็นดาวเทียมหลัก มีช่องสัญญาณย่านความถี่ซีแบนด์ จำนวน 25 ทรานส์พอนเดอร์ และเคยูแบนด์ 14 ทรานส์พอนเดอร์ โดยเฉพาะข้อ 27 ได้ระบุให้กระทรวงคมนาคม หรือส่วนราชการ หรือหน่วยงานที่กระทรวงเห็นชอบ ใช้วงจรดาวเทียมหลักและดาวเทียมสำรองเฉพาะแต่ในย่านความถี่ซีแบนด์จำนวน 1 วงจรดาวเทียม ได้ตลอดอายุสัญญาโดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทนใดๆ แต่ปรากฏว่าดาวเทียมไอพีสตาร์มีคุณสมบัติทางเทคนิค พัฒนาขึ้นเป็นการเฉพาะครั้งแรกของโลก ตามที่จดสิทธิบัตรไว้ โดยใช้ย่านความถี่เคยูแบนด์ รับและส่งข้อมูลให้ลูกค้าในลักษณะสปอตบีม 84 บีม เชพบีม 3 บีม และบรอดคาสต์บีม 7 บีม และใช้ย่านความถี่เคเอแบนด์ในการสื่อสารรับส่งข้อมูลจากสถานีภาคพื้นดิน กับดาวเทียมบนอวกาศในการเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต ทั้งนี้ ไม่มีย่านความถี่ซีแบนด์ที่จะให้กระทรวงคมนาคมใช้จำนวน 1 วงจรดาวเทียมได้ตลอดอายุสัญญา โดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทน ทำให้บริษัทผู้รับสัมปทาน คือบริษัทชินคอร์ป และบริษัทไทยคม ไม่ต้องปฏิบัติตามสัญญาสัมปทาน โดยไม่มีภาระที่จะต้องใช้เงินทุน หรือระดมทุน โดยการกู้ยืมเงินเพื่อเพิ่มทุน เพื่อนำเงินมาลงทุนในการส่งดาวเทียมไทยคม 4 เป็นมูลค่าถึง 4,000 ล้านบาท เมื่อเทียบกับค่าก่อสร้างดาวเทียมไทยคม 3 ตามเอกสารการยื่นขอส่งเสริมการลงทุน และในทางกลับกัน ภาครัฐก็ต้องเสียหายจากการที่ไม่ได้รับมอบทรัพย์สินตามสัญญาสัมปทาน คือดาวเทียมไทยคม 4 มูลค่า 4,000 ล้านบาท เช่นกัน ในส่วนการอนุมัติแก้ไขสัญญาสัมปทานครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2547 โดยมีการลดสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทชินคอร์ป ที่ต้องถือในบริษัทไทยคม จากที่บริษัมชินคอร์ปต้องมีสัดส่วนการถือครองหุ้นในบริษัทไทยคมเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าอัตราร้อยละ 51 เป็นไม่น้อยกว่า ร้อยละ 40 นั้น ในเบื้องต้นเห็นว่าตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ครั้งที่ 1 ข้อ 1 ระบุว่า บริษัทชินคอร์ป ตกลงที่จะดำเนินการให้บริษัทใหม่ (บริษัทไทยคม) ลงทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท และบริษัทจะต้องถือหุ้นในบริษัทใหม่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ตลอดอายุสัญญาของสัญญาหลัก การขออนุมัติแก้ไขสัญญาเพื่อลดสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทชินคอร์ป ที่ต้องถือในบริษัทไทยคม จึงเป็นกรณีที่บริษัทชินคอร์ปต้องดำเนินการขออนุมัติเอง การที่บริษัทไทยคมยื่นหนังสือต่อกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ขออนุมัติลดสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทชินคอร์ป ในบริษัทไทยคม และนำส่งข้อมูลด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบริษัทชิคอร์ป ประสงค์จะลดสัดส่วนการถือหุ้น จนต่อมารัฐมนตรีว่การกระทรวงเทคโนโบยีสารสนเทศและการสื่อสารให้แก้ไขสัญญาแล้ว บริษัทชินคอร์ปซึ่งได้รับประโยชน์จากการอนุมัติให้แก้ไขสัญญา ได้เข้าทำการสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญา ดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ครั้งที่ 5 ที่ยอมให้บริษัทชินคอร์ปถือหุ้นในบริษัทไทยคมไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด เท่ากับบริษัทชินคอร์ปเปิดโอกาสให้บริษัทไทยคมเป็นตัวแทนการที่บริษัทไทยคมขออนุมัติลดสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทชินคอร์ปในบริษัทไทยคม จึงเป็นการกระทำในนามของบริษัทชินคอร์ป ซึ่งเป็นตัวการ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ทำหนังสือถึงสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาในเรื่อดังกล่าว แต่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ส่งเรื่องคืน โดยแจ้งว่า ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ของเรื่องที่จะต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา ปรากฏตามเอกสารหมาย ร 530 ประกอบกับคณะรัฐมนตรีมีนโยบายที่จะลดเรื่องที่จะเสนอ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้มีหนังสือหารือกรณีการส่งเรื่องคืนของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักงานอัยการสูงสุดได้ตอบหนังสือหารือกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยสำนักงานอัยการสูงสุดเห็นว่าเมือสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีมีความเห็นว่าเรื่องนี้ไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะเสนอคณะรัฐมนตรีดังข้อเสนอแนะของสำนักงานอัยการสูงสุด ดังจะเห็นได้ว่า ในวันที่ 7 มกราคม 2547 และวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2547 บริษัทไทยคมได้ทำการเพิ่มทุน แต่บริษัทชินคอร์ปไม่ต้องซื้อหุ้นเพิ่มทุนเพื่อรักษาสัดส่วนการถือหุ้น 84,706,801 หุ้น เป็นเงิน 1,296,014,055 บาท แต่กลับกระจายความเสี่ยงไปให้นักลงทุนรายย่อยในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และการลดสัดส่วนการถือครองหุ้นลงประมาณร้อยละ 11 ดังกล่าว ย่อมเป็นผลให้บริษัทชินคอร์ปได้รับเงินลงทุนคืนจากการโอนขายหุ้นบริษัทชินคอร์ปจำนวนดังกล่าวออกไป ให้แก่ผู้ถือหุ้นกลุ่มอื่นด้วย ทั้งการลดสัดส่วนดังกล่าวมีผลเป็นการลดทอนความเชื่อมั่น และความมั่นใจในการดำเนินการโครงการดาวเทียมของบริษัทชินคอร์ป ในฐานะผู้ได้รับสัมปทานโดยตรงที่ต้องมีอำนาจควบคุมบริหารจัดการอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดได้ และต้องเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ในบริษัทไทยคม ซึ่งเป็นผู้บริหารโครงการดาวเทียม ตามสัญญาสัมปทาน วรรค 2 ในกรณีจัดหาทรัพย์สินทดแทนให้นำความในข้อ 15 ในเรื่องการโอนกรรมสิทธิ์ และการส่งมอบ รับมอบทรัพย์สินมาใช้บังคับในกรณีนี้ด้วย และวรรค 3 การจัดหาทรัพย์สินทดแทนดังกล่าวในวรรคแรก บริษัทต้องจัดหาทดแทนให้สามารถดำเนินการตามสัญญาได้โดยต่อเนื่อง แม้บริษัทจะพิจารณาเห็นว่าการลงทุนจัดหาทรัพย์สินทดแทนดังกล่าว ผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการดำเนินงานตามสัญญาที่เหลืออยู่ จะไม่คุ้มกับการลงทุนก็ตาม ซึ่งบริษัทอาจเสนอขอให้กระทรวงพิจารณาขยายเวลาสัญญาออกไป นอกจากข้อกฎหมายที่กล่าวถึงข้างต้นแล้ว ในส่วนข้อเท็จจริงนั้นก็ปรากฏว่า ในคราวที่บริษัทไทยคมได้ร้องขอเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของดาวเทียมไทยคม 4 เป็นดาวเทียมไอพีสตาร์ โดยร้องขอเป็นดาวเทียมสำรองเช่นเดิม และได้รับการอนุมัติเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2545 ซึ่งมีกำหนดส่งขึ้นสู่อวกาศปี 2547 นั้น ได้มีการอนุมีติแผนสำรองของดาวเทียมไทยคม 3ด้วย หากเกิดกรณีเสียหาย | |
ผู้แสดงความคิดเห็น ทีมงาน (support-at-doisaengdham-dot-org)วันที่ตอบ 2012-07-17 12:55:42 |
ความคิดเห็นที่ 5 (1509477) | |
“คำต่อคำ” พิพากษายึดทรัพย์เงินปล้นชาติ 46,373 ล้าน! (ตอน 6 - จบ) ต่อมาบริษัทไทยคมแจ้งว่าจะได้รับเงินสินไหมทดแทนจำนวน 33,028,960 ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งจะต้องลงนามในหนังสือรีลีส แอนด์ ดิสชาร์จ เพื่อปลดภาระผูกพันให้แก่บริษัทประกันภัย และเปิดบัญชีเอสโครว์ แอคเคานต์ กับธนาคารที่ประเทศสิงคโปร์ เพื่อรับเงินค่าสินไหมทดแทนเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ข้างต้น ในทางกลับกัน ยังทำให้เกิดความเสียหายแก่ภาครัฐ เนื่องจากทรัพย์สินที่ทำประกันภัยเป็นของรัฐ ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวรัฐจะต้องเป็นผู้ควบคุมดูแลและคงไว้เป็นหลักประกันความมั่นคง หากเกิดกรณีไม่สามารถซ่อมแซมหรือจัดหาทรัพย์สินทดแทนเพื่อใช้ดำเนินการต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง โดยจะต้องสร้างดาวเทียมดวงใหม่ทดแทนตามสัญญาให้แล้วเร็จก่อน การที่บริษัทไทยคมซึ่งเป็นผู้ได้รับสัมปทานโดยตรง ได้ประโยชน์จากการที่ไม่ต้องใช้เงินทุนหรือระดมทุน หรือกู้ยืมเงินมาเพื่อลงทุนในโครงการดาวเทียมไทยคม 4 เพื่อใช้เป็นดาวเทียมสำรอง ไทยคม 3 มูลค่า 4,000 ล้านบาท จากการไม่ต้องดำเนินการ กระบวนการรับสัมปทานใหม่จากโครงการดาวเทียมไอพีสตาร์ มูลค่า 16,459,000,000 ล้านบาท ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 จากการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้จากกำไรเป็นเวลา 8 ปี มูลค่าไม่เกิน 16,459,000,000 ล้านบาท จากการไม่ตจ้องจัดสรรสร้างดาวเทียมสำรองดาวเทียมไอพีสตาร์อีก 1 ดวง จากการไม่ต้องใช้เงินทุน หรือระดมทุน หรือกู้ยืมเงิน มาเพื่อรักษาสัดส่วนที่บริษัทชินคอร์ปจะต้องถือไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ในบริษัทไทยคม โดยการแก้ไขสัญญาสัมปทานครั้งที่ 5 ให้คงเหลือสัดส่วนที่จะต้องถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 และจากการไม่ต้องซ่อมแซมหรือจัดหาดาวเทียมมาทดแทนดาวเทียมไทยคม 3 ที่เสียหาย ซึ่งเมื่อซ่อมแซมและจัดหามรดกแทนแล้ว จะต้องตกเป็นทรัพย์สินของรัฐ ตามสัญญาสัมปทาน แต่ได้นำเงินค่าสินไหมทดแทนที่กระทรวงคมนาคมได้รับจากบริษัทประกันภัย ไปใช้ในการเช่าดาวเทียมต่างประเทศ เพื่อใช้ทดแทนดาวเทียมไทยคม 3 ที่เสียหาย จำนวน 268 ล้านบาท ซึ่งบริษัทชินคอร์ป และบริษัทไทยคม ผู้ได้รับสัญญาดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศจากรัฐโดยตรง และมีภาระต้องรับผิดร่วมกันและแทนกัน จึงขอรับความช่วยเหลือจากรัฐบาลไทยในลักษณะเงินกู้แบบผ่อนปรน มูลค่า 23 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และแบบให้เปล่า มูลค่า 1,050,000 ดอลลาร์สหรับฯ ต่อมากระทรวงการคลังได้เสนอเรื่องดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา และคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2547 เห็นชอบให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ให้เงินกู้ในการซื้อเครื่องจักรและพัฒนาประเทศแก่รัฐบาลสหภาพพม่า ในวงเงิน 4,000 ล้านบาท ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ จากนั้นในวันที่ 25 มิถุนายน 2547 ตจึงมีการทำสัญญาเงินกู้ระหว่างธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กับธนาคารการค้าต่างประเทศ แห่งสหภาพพม่า โดยกระทรวงการคลัง และรัษฎากร แห่งสหภาพพม่า เป็นผู้ค้ำประกัน เห็นว่าการดำเนินการในเรื่องนี้เป็นการดำเนินการไปตามนโยบายด้านการต่างประเทศของรัฐบาลในสมัยแรก ที่ผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยผู้ถูกกล่าวหาได้มีโอกาสพบและหารือข้อราชการกับผู้นำของสหพพม่าหลายครั้ง โดยในระหว่างวันที่ 19-20 มิถุนายน 2544 ผู้ถูกกล่าวหาได้เดินทางไปเยือนสหภพพม่าอย่างเป็นการทางการ ตามคำเชิญของ พล.อ.อาวุโสตาน ฉ่วย ประธานสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ และนายกรัฐมนตรีสหภาพพม่า ซึ่งได้พบและหารือข้อราชการกับ พล.ท.ขิ่น ยุ้ต์ เลขาธิการสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ ต่อมาระหว่างวันที่ 9-10 กุมภาพันธ์ 2546 ผู้ถูกกล่าวหาได้เดินทางไปเยือนสหภาพพม่าอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งได้พบและหารือข้อราชการกับ พล.อ.อาวุโสตาน ฉ่วย และ พล.ท.ขุ่น ยุ้นต์ ว่าทั้งสองฝ่ายได้หารือและเสนอความร่วมมือกันในการพัฒนาพื้นที่ชายแดนสหภาพพม่า เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด ทั้งในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การลงทุน การตลาด และความร่วมมือทางวิชาการ ต่อมาวันที่ 6-8 ตุลาคม 2546 ผู้ถูกกล่าวหาได้พบและหารือกับนายกรัฐมนตรีสหภาพพม่า ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ที่เมืองบาหลี ประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย หลังจากการประชุมดังกล่าวแล้ว นายวิน อ่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสหภาพพม่า ได้มีหนังสือถึง นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อขอวงเงินสินเชื่อ จำนวน 3,000 ล้านบาท ในการซื้อเครื่องจักรกล การก่อสร้างและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งนายสุรเกียรติ์ และนายอภิชาติ ชินโนวรรณ อธิบดีกรมเอเชียตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ และนายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานคณะกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ในขณะนั้น ได้ให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องได้พิจารณาคำขอของรัฐบาลสหภาพพม่า ในระหว่างวันที่ 10-12 พฤศจิกายน 2546 ได้จัดให้มีการประชุมระดับผู้นำว่าด้วยยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ขึ้นที่กรุงย่างกุ้ง และที่เมืองพุกาม สหภาพพม่า ปรากฏผลการประชุมได้มีการทำปฏิญาพุกามว่าด้วยยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศไทย กัมพูชา สหภาพพม่า และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยทั้ง 4 ประเทศจะให้ความร่วมมือกันในการอำนวยความสะดวกด้านการค้า และการลงทุนด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมในภูมิภาค การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งในการให้ความช่วยเหลือแก่สหภาพพม่า ตลอดจนการให้ความร่วมมือในระหว่างประเทศ ทั้ง 4 ด้านดังกล่าวนั้น มิได้ระบุถึงการพัฒนาระบบโทรคมนาคม โดยที่รัฐบาลสหภาพพม่าร้องขอวงเงินสินเชื่อจากรัฐบาลไทยในครั้งแรก ก็ด้วยความประสงค์ที่จะใช้ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวกับการพัฒนาด้านการคมนาคม ซึ่งอยู่ในกรอบความร่วมมือที่ประเทศไทยเคยเสนอในชั้นที่ผู้ถูกกล่าวหาเดินทางไปเยือนสหภาพพม่าใน 2 ครั้งแรก และข้อตกลงร่วมกันตามปฏิญญาพุกาม ว่าด้วยยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่กล่าวมาข้างต้น นายสุรเกียรติ์ และนายอภิชาติ เบิกความประกอบเอกสารหมาย ร 569-576 ได้ความทำนองเดียวกันว่า เมื่อรัฐบาลสหภาพพม่าร้องขอวงเงินสินเชื่อเพื่อพัฒนาระบบโทรคมนาคม กรมเอเชียตะวันออกได้พิจารณาและเสนอรายงานพร้อมข้อคิดเห็นทั้งข้อดีและข้อเสียไว้ ซึ่งปรากฏในข้อเสียว่า เป็นเรื่องที่อาจจะมีข้อครหาว่า ผู้ถูกกล่าวหาซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องในการนี้ และเมื่อระหว่างวันที่ 7-8 กุมภาพันธ์ 2547 ได้มีการพบปะหารือข้อราชการแบบทวิภาคีในการประชุมรัฐมนตรี ซึ่งจัดขึ้นที่ จ.ภูเก็ต นายสุรเกียรติ์ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของไทย ยังได้แจ้งเรื่องที่อาจมีข้อครหาว่าผู้ถูกกล่าวหาซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีของไทย มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องในการนี้ ให้นายวิน อ่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสหภาพพม่าทราบ และขอให้โครงการดังกล่าวอยู่ในวงเงินสินเชื่อ 3,000 ล้านบาท ครั้นเมื่อนายสุรเกียรติ์นำเรื่องเสนอต่อผู้ถูกกล่าวหาแล้ว กลับมีการสั่งด้วยวาจาให้อนุมัติวงเงินสินเชื่อเพิ่มขึ้นอีก เป็น 4,000 ล้านบาท แม้จะปรากฏในหนังสือโต้ตอบระหว่างหน่วยงานภายในของประเทศไทยเอง และที่มีไปยังหน่วยงานของรัฐบาลสหภาพพม่า รวมทั้งที่ปรากฏในรายงานการประชุมคณะรัฐมนตรี ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบในการให้วงเงินกู้สินเชื่อแก่รัฐบาลสหภาพพม่าว่า เป็นการให้วงเงินสินเชื่อเพื่อซื้อเครื่องจักรและพัฒนาประเทศ แต่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า การดำเนินการในเรื่องนี้เป็นกรณีสืบเนื่องมาจาก การขอวงเงินสินเชื่อเพิ่มเติมเพื่อการพัฒนาระบบโทรคมนาคมตามที่รัฐบาลสหภาพพม่าร้องขอ และติดตามสอบถามความคืบหน้าเป็นระยะตลอดมา การระบุวัตถุประสงค์ของการใช้เงินสินเชื่อว่า เพื่อซื้อเครื่องจักรและพัฒนาประเทศมีลักษณะเป็นทำนองหลีกเลี่ยงที่จะใช้คำว่า เพื่อพัฒนาระบบโทรคมนาคม อันอาจทำให้เกิดข้อครหาแก่ผู้ถูกกล่าวหาตามที่กรมเอเชียตะวันออก เสนอรายงานไว้ดังกล่าว ดังนั้นการพิจารณาและอนุมัติวงเงินกู้สินเชื่อให้แก่รัฐบาลสหภาพพม่าในครั้งนี้นั้น นอกจากจะไม่เป็นไปตามกรอบความร่วมมือของทุกเรื่องดังกล่าวแล้ว ส่วนข้อที่ผู้ถูกกล่าวหาอ้างว่า บริษัทไทยคมขายสินค้าให้กับรัฐบาลสหภาพพม่าตามพันธสัญญาที่มีต่อกันมาแต่เดิม และเป็นการซื้อขายกันตามปกติ ไม่ว่าจะได้รับเงินสินเชื่อหรือไม่ รัฐบาลสหภาพพม่าจำเป็นต้องซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์ดังกล่าวเป็นประจำอยู่แล้วนั้น เห็นว่า ในการประชุมระดับผู้นำ ระหว่างวันที่ 10-12 พฤศจิกายน 2546 ผู้ถูกกล่าวหาได้อนุมัติให้ นายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชาย ร่วมเดินทางเป็นคณะ อย่างเป็นทางการไปด้วย ระหว่างการประชุมยังมีเจ้าหน้าที่ของบริษัทไทยคม จำนวน 8 คน และบริษัท เอไอเอส จำนวน 2 คน เข้าร่วมทำการสาธิตระบบโทรศัพท์เคลื่อนทีจีเอสเอ็มผ่านดาวเทียม ต่อมาทางการสหภาพพม่าได้มีหนังสือ ลงวันที่ 8 มกราคม 2547 ถึงสถานเอกอัครราชทูตไทย เสนอโครงการพัฒนาระบบโทรคมนาคมในเขตชนบท และพื้นที่ห่างไกลของกระทรวงสื่อสาร ไปรษณีย์และโทรเลข แห่งสหภาพพม่า และขอรับความช่วยเหลือจากไทย มูลค่า 24.05 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งสหภาพพม่ายังได้มีหนังสือลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2547 ขอเพิ่มวงเงินกู้สินเชื่อ จาก 3,000 ล้านบาท เป็น 5,000 ล้านบาท และมีหนังสือ ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2547 ติดตามผล รวมทั้งการขอลดดอกเบี้ย ซึ่งผู้ถูกกล่าวหา ได้สั่งการต่อนายสุรเกียรติ์ ให้แจ้งไปว่า นายกรัฐมนตรีได้สั่งการว่า ให้เพิ่มเป็น 4,000 ล้านบาท โดยจะให้การอุดหนุนชดเชยในส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยด้วย และภายหลังที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาในการประชุม เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2547 และวันที่ 8 มิถุนายน 2547 ในวันที่ 15 มีนาคม 2547 ได้มีการประชุมระหว่าง นายสุรเกียรติ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับวงเงินสินเชื่อ 4,000 ล้านบาท แก่สหภาพพม่า โดยลดอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 5.75 เป็นอัตราร้อยละ 3 ต่อปี ปลอดการชำระหนี้การจ่ายเงินต้น 2 ปี ซึ่งคณะกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มีมติอนุมัติวงเงินจำนวน 4,000 ล้านบาท แก่สหภาพพม่า ตามเงื่อนไขดังกล่าว แต่ต่อมาสหภาพพม่าได้ขอให้ปลอดการชำระหนี้การจ่ายเงินต้น เป็น 5 ปี ซึ่งผู้ถูกกล่าวหาเห็นชอบ คณะกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย จึงต้องมีมติเปลี่ยนแปลงรายละเอียดเป็นระยะเวลากู้ 12 ปี โดย 5 ปีแรกชำระเฉพาะดอกเบี้ย สำหรับ 7 ปีที่เหลือชำระเงินต้น และดอกเบี้ย โดยการที่อนุมัติวงเงินกู้สินเชื่อมูลค่า 4,000 ล้านบาท ตามเงื่อนไขดังกล่าว เป็นการให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าต้นทุน ซึ่งไม่ใช่วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งธนาคาร ตาม พ.ร.บ.ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พ.ศ.2536 การให้กู้เงินดังกล่าวจะเกิดความเสียหายแก่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย จึงต้องขอคุ้มครองความเสียหายตามมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ส่วนที่ได้ความว่า มีการใช้เงินที่ได้รับอนุมัติวงเงินสินเชื่อไปซื้อสินค้าต่างๆ จากผู้ประกอบกิจการอื่นในประเทศไทยอีกหลายรายการ ก็ไม่อาจรับฟังหักล้างข้อที่ว่า บริษัทไทยคมจะได้รับประโยชน์จากการดำเนินการในกรณีนี้ได้ และที่ผู้ถูกกล่าวหากล่าวอ้างต่อไปว่า การจะอนุมัติวงเงินสินเชื่อหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่ที่การพิจารณาและดุลพินิจของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยนั้น เห็นว่า ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พ.ศ.2536 และอยู่ภายใต้การกำกับของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จัดเป็นหน่วยงานของรัฐ ซึ่งมีหน้าที่ปฏิบัติตามนโยบายรัฐบาล ในการพิจารณาและอนุมัติวงเงินสินเชื่อให้แก่รัฐบาลสหภาพพม่าครั้งนี้ ได้ความจาก นายปกรณ์ และนายสถาพร ชินจิตร อดีตกรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ว่า เป็นการดำเนินการไปตามนโยบายของรัฐบาล และโดยการให้สินเชื่อดังกล่าวได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหาย จึงต้องขอให้กระทรวงการคลังจัดสรรเงินจากเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อชดเชยความเสียหายดังกล่าว ซึ่งเห็นได้ว่า เป็นการก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทั้งธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และงบประมาณรายจ่ายประจำปีของประเทศ โดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มิได้รับชดเชยในส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของธนาคารอีกด้วย ส่วนการจัดระเบียบราชการในกระทรวงต่างๆ มาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว กำหนดให้มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นผู้บังคับบัญชา และรับผิดชอบในการกำหนดนโยบาย เป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ของงานในกระทรวง ให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีแถลงไว้ต่อรัฐสภา หรือที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติ แต่มีข้อจำกัดว่า อำนาจดังกล่าวของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติ มาตรา 11 กล่าวคือ ต้องไม่เป็นการขัดหรือแย้ง หรือลดทอนอำนาจที่มีอยู่ของนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้บทบัญญัติมาตรา 217 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 กำหนดให้นายกรัฐมนตรี เป็นผู้ถวายคำแนะนำแก่พระมหากษัตริย์ในการให้รัฐมนตรีพ้นจากการเป็นรัฐมนตรี แสดงให้เห็นถึงอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีในการบริหารราชการแผ่นดินว่า มีขอบเขตกว้างขวางมาก โดยมีอำนาจเหนือข้าราชการฝ่ายบริหารทุกตำแหน่งในทุกกระทรวง ทบวง กรม และรัฐวิสาหกิจต่างๆ ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ทบวงต่างๆ เป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารราชการ กำกับดูแลกระทรวง ทบวง และรัฐวิสาหกิจนั้นๆ วรรค 2 กระทรวงการคลังเห็นว่า เพื่อให้องค์ประกอบของคณะกรรมการของบริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) เป็นไปด้วยความเหมาะสม จึงเห็นควรให้คณะกรรมการบริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) พ้นจากตำแหน่ง และแต่งตั้งกรรมการของบริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) ใหม่ ดังนั้น วรรค 3 โดยให้ถือความเห็นของกระทรวงการคลังดังกล่าว เป็นมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามนัย มาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 สำหรับธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.จัดตั้งธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พ.ศ.2536 โดยมาตรา 4 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รักษาการตาม พ.ร.บ.นี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตาม พ.ร.บ.นี้ มาตรา 7 ให้ธนาคารมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจ อันเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการส่งออก การนำเข้า และการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อการพัฒนาประเทศโดยการให้สินเชื่อค้ำประกัน รับประกันความเสี่ยง ให้บริการที่จำเป็นตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.นี้ มาตรา 13 ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า คณะกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ผู้อำนวยการสำนักเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร อธิบดีกรมเศรษฐกิจ รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย คนหนึ่ง ซึ่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย มอบหมายและผู้จัดการเป็นกรรมการ และกรรมการอื่นอีกไม่เกิน 5 คน ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี โดยในจำนวนนี้ต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคเอกชน อย่างน้อย 3 คน วรรค 2 ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการตามวรรค 1 คนหนึ่งเป็นประธานกรรมการด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี การให้ประธานกรรมการพ้นจากตำแหน่ง ให้รัฐมนตรีเป็นผู้สั่งด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี มาตรา 15 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 14 กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งเมื่อ(3) รัฐมนตรีให้ออกด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรี มาตรา 19 ให้ประธานกรรมการ กรรมการ ประธานกรรมการบริหาร และกรรมการบริหารได้รับประโยชน์ตอบแทนตามที่รัฐมนตรีกำหนด ดังนั้นเมื่อได้พิจารณาถึงที่มาการแต่งตั้ง และการให้คุณให้โทษ ตามบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังกล่าว ยิ่งเป็นข้อสนับสนุนทำให้เห็นได้ว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และนายกรัฐมนตรี มีความเกี่ยวข้องอยู่ด้วยทั้งสิ้น ดังนั้นนอกจากนายกรัฐมนตรีจะมีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลโดยตรงตามกฎหมายแล้ว นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล ยังมีอำนาจกำกับดูแลโดยผ่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องตามลำดับชั้น รวมทั้งผ่านคณะกรรมการคณะต่างๆ ที่รับผิดชอบกำกับดูแลหน่วยงานของรัฐนั้นๆ อยู่ด้วย ปรากฏว่าผู้ถูกกล่าวหาล้วนแต่เป็นผู้กำกับดูแลในฐานะนายกรัฐมนตรีเป็นลำดับชั้นลงไป ไม่ว่าจะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่เกี่ยวข้อง คือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และหน่วยงานของรัฐต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกรณีดังกล่าว ทั้งผู้ถูกกล่าวหา ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนอยู่ด้วย สำหรับคณะกรรมการประสานงานดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ สัญญาสัมปทานข้อ 39 ระบุให้ปลัดกระทรวงคมนาคม และผู้แทนกระทรวงคมนาคม ซึ่งเป็นข้าราชการประจำ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงคมนาคม รวม 4 คน ร่วมเป็นคณะกรรมการดังกล่าว รายละเอียดปรากฏตามเอกสารหมาย ร 449 ส่วน ทศท. และ กสท. แม้จะได้แปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด โดย ทศท.เป็นบริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) กสท. เป็นบริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) แต่ทั้ง 2 หน่วยงานนี้ยังคงมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ มีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ทั้งหมด การแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการบริษัททั้ง 2 เป็นอำนาจของกระทรวงการคลัง โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 เพียงแต่ ทศท. และกสท. อยู่ในสังกัดของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กำกับดูแลเรื่องโครงการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ในช่วงแรก ต่อมาได้โอนงานส่วนนี้ให้กระทรวงเทคโนโลนีสารสนเทศและการสื่อสาร ดูแลรับผิดชอบ ตามกฎหมายปฏิรูประบบราชการ ตามคำให้การและคำเบิกความของ นายโอฬาร เพียรธรรม ผู้จัดการผลประโยชน์ นายพิชัย อยู่คง ผู้อำนวยการสำนักเลขานุการคณะกรรมการ ทศท. นายพิพัฒน์ ปทุมวงศ์ ผู้จัดการส่วนผลประโยชน์ และนางพจนีย์ ไทยจินดา ผู้อำนวยการกองผลประโยชน์ที่ 1 ฝ่ายผลประโยชน์ ได้ความในทำนองเดียวกันว่า คณะกรรมการกลั่นกรองได้มีการพิจารณาหลักการที่บริษัท เอไอเอส เสนอต่อ ทศท. เพื่อพิจารณารวม 2 ครั้ง ในวันที่ 21 และ 28 สิงหาคม โดยวาระเพื่อพิจารณาเป็นวาระจรทั้ง 2 ครั้ง มีนายสุธรรม มะลิลา กรรมการผู้จัดการใหญ่ ทศท. เป็นผู้ที่นำเรื่องเข้าที่ประชุม ในการประชุมครั้งแรก ซึ่งไม่ได้เสนอโดยฝ่ายบริหารผลประโยชน์ดังที่เคยปฏิบัติมา และการนำเสนอปัญหาทางด้านเทคนิค เกี่ยวกับการที่บริษัท เอไอเอส ได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่ไม่พอ และ ทศท.ควรรับผิดในช่วงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการใช้เครือข่ายร่วม เกิดขึ้นจากการหารือกันระหว่างนายสุธรรมกับนายวรุฒ ซึ่งเป็นข้อเสนอต่อ ทศท.ว่า ควรอนุมัติให้บริษัท เอไอเอส หักค่าใช้จ่ายจากการใช้เครือข่ายร่วมออกจากส่วนแบ่งรายได้ก่อนที่จะนำส่งให้ ทศท.ภายหลังจากที่คณะกรรมการ ทศท.ได้อนุมัติเรื่องนี้แล้ว การดำเนินการต่อจากนั้นไม่เป็นไปตามขั้นตอนการปฏิบัติ โดยมีพฤติการณ์ของฝ่ายผู้บริหาร ทศท.ที่จะสนองตอบการร้องของบริษัท เอไอเอส อย่างรวดเร็ว ทั้งในกรณีที่ขอปรับลดส่วนแบ่งรายได้จากการให้บริการ ทั้งในกรณีที่ขอปรับลดส่วนแบ่งรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบใช้บัตรจ่ายเงินล่วงหน้า และกรณีอนุมัติให้ใช้เครือข่ายร่วม และหักค่าใช้จ่ายเครือข่ายร่วมออกจากส่วนแบ่งรายได้ก่อนที่จะนำส่งให้ ทศท. กรณีโครงการดาวเทียมสื่อสารในประเทศที่บริษัท ชินคอร์ป ขออนุมัติให้บริษัท ไทยคม ลดสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท ชินคอร์ป ก็มีพฤติการณ์ทำนองเดียวกัน โดยปรากฏว่าได้มีการเสนอรายงานและมติที่ประชุมคณะกรรมการประสานงาน ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมอนุมัติไปก่อนที่คณะกรรมการประสานงานจะได้รับรองรายงานการประชุม ทั้งไม่ได้ผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี โดยแม้จะมีการเสนอเรื่องเพื่อให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแล้วก็ตาม แต่ปรากฏจากบันทึกถ้อยคำของ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีในขณะนั้น ที่ให้ถ้อยคำต่ออนุกรรมการไต่สวนว่า ตนเห็นว่าเป็นเรื่องที่ไม่สมควร เนื่องจากสัญญาสัมปทานเรื่องดังกล่าว มีผู้ถูกกล่าวหาซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรี ได้เข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐ จึงให้ถอนเรื่องกลับคืนไป นอกจากนี้ นายพิพัฒน์ ปทุมวงศ์ ผู้จัดการส่วนผลบประโยชน์ในขณะนั้น เบิกความว่า การดำเนินการในเรื่องดังกล่าวนี้น่าจะมีการส่งสัญญาณมาจากภายนอก เนื่องจากบริษัท เอไอเอส มีข้ออ้างในเรื่องที่จะให้บริการแก่ประชาชนในราคาที่ถูกลง แต่ต่อมากลับมีการให้เหตุผลเกี่ยวกับผลประโยชน์ของบริษัท เอไอเอส และประชาชน เพื่อให้สามารถดำเนินการอนุมัติให้ตามคำร้องขอของบริษัท เอไอเอสได้ นางปรียา ด่านชัยวิจิตร ผู้อำนวยการส่วนวางแผนการเงิน เบิกความประกอบเอกสารหมาย ร 231 ว่า การดำเนินการในเรื่องนี้ค่อนข้างรวดเร็ว และมีความพยายามที่จะเสนอเรื่องให้ทันในวันที่ 12 เมษายน 2544 ที่มีการประชุมคณะกรรมการ ทศท. โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระทำอันไม่สมเหตุสมผล และไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการเอื้อประโยชน์แก่ผู้ถูกกล่าวหา ในระหว่างที่ผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมาตลอด ดังที่ได้วินิจฉัยไปข้างต้น ปัญหาต้องวินิจฉัยประการต่อไปมีว่า เงินที่ได้จากการขายหุ้น และเงินปันผล ตามคำร้องเป็นทรัพย์สินที่ต้องตกเป็นของแผ่นดินหรือไม่ เพียงใด เห็นว่าเมื่อผลของการดำเนินการทั้งหมดเป็นการเอื้อประโยชน์โดยตรงแก่บริษัท ชินคอร์ป และบริษัท เอไอเอส กลับบริษัท ไทยคม ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ ย่อมทำให้บริษัท ชินคอร์ป ได้รับประโยชน์ในรูปผลกำไรจากการประกอบการของตนเอง และเงินปันผลกำไรตามจำนวนหุ้นที่ถืออยู่ในบริษัท เอไอเอส และบริษัท ไทยคม นอกจากนี้ยังเป็นการให้ปรากฏแก่บุคคลทั่วไป ถึงความมั่นคงของกิจการอันก่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ผู้สนใจลงทุนซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทำให้มูลค่าหุ้นบริษัท ชินคอร์ป เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นเงินปันผลค่าหุ้นและเงินค่าขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ให้กับกลุ่มเทมาเส็ก ที่รับไว้ในนามผู้คัดค้านที่ 2-5 จึงเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่สมควร สืบเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือการใช้อำนาจหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหาในฐานะนายกรัฐมนตรี ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดินได้ ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 30 ประกอบ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามทุจริต พ.ศ.2542 ส่วนเงินดังกล่าวจะต้องตกเป็นของแผ่นดินเพียงใดนั้น เห็นว่า พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 4 ให้ความหมายของคำที่เกี่ยวข้องกับการร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินไว้ 2 กรณี ได้แก่คำว่า ทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ ซึ่งหมายความว่า การที่ทรัพย์สินหรือหนี้สินในบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ยื่นเมื่อพ้นจากตำแหน่ง มีการเปลี่ยนแปลงไปจากบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่ได้ยื่นไว้เมื่อเข้ารับตำแหน่ง ในลักษณะที่ทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ หรือหนี้สินลดลงผิดปกติ และคำว่า ร่ำรวยผิดปกติ ซึ่งหมายความว่า การมีทรัพย์สินมากผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมากผิดปกติ หรือมีหนี้สินลดลงมากผิดปกติ หรือได้ทรัพย์สินมาโดยไม่สมควร สืบเนื่องจากการปฏิบัติตามหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ เมื่อพิจารณาเอกสารหมาย ศ 7 แล้วปรากฏว่า การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544 อันเป็นวันที่หุ้นบริษัท ชินคอร์ป มีราคาซื้อขายเฉลี่ยหุ้นละ 213.09 บาท เมื่อคำนวณมูลค่าหุ้นหลังเปลี่ยนมูลค่าหุ้นที่จดทะเบียนไว้จากหุ้นละ 10 บาท เป็นหุ้นละ 1 บาทแล้ว เท่ากับราคาซื้อขายในวันดังกล่าวมีราคาหุ้นละ 21.309 บาท ครั้นคำนวณจากหุ้นจำนวน 1,419,490,150 หุ้น ที่ผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แล้ว คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 30,247,915,606.35 บาท อันถือเป็นทรัพย์สินที่ผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 มีอยู่แต่เดิม และไม่อาจให้ตกเป็นของแผ่นดินตามคำร้องของผู้ร้องได้ ศาลพิพากษาว่า ให้เงินที่ได้จากการขายหุ้นและเงินปันผลหุ้นของบริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จำนวน 46,373,687,454.70 บาท พร้อมดอกผล เฉพาะดอกเบี้ยที่ได้รับจากบัญชีเงินฝาก นับตั้งแต่วันฝากเงินจนถึงวันที่ธนาคารส่งเงินจำนวนดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน โดยบังคับเอาจากทรัพย์สินที่อายัดตามคำสั่งของคณะกรรมการตรวจสอบ อันได้แก่ บัญชีเงินฝากและหน่วยลงทุนดังต่อไปนี้ ตามคำสั่งคณะกรรมการตรวจสอบที่ คตส.017/2550 ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2550 ได้แก่ บัญชีเงินฝาก ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)สาขาราชวัตร บัญชีเลขที่ 146-0-63930-3 ชื่อบัญชี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร | |
ผู้แสดงความคิดเห็น ทีมงาน (support-at-doisaengdham-dot-org)วันที่ตอบ 2012-07-17 14:12:01 |
ความคิดเห็นที่ 6 (2950716) | |
อ่านคำพิพากษาของศาลแล้ว ก็ต้องยอมรับว่า ศาลท่านพิจารณาคดีนี้ อย่างรอบคอบและให้ความยุติธรรมอย่างที่สุดแล้ว จึงไม่ควรที่ฝ่ายใดๆจะมากล่าวหาว่า มีการกลั่นแกล้งได้อีก แสดงว่า ไอ้ตระกูลอุบาทว์นั่น มันโกงชาติ โกงแผ่นดินจริงๆ ขอให้กรรมที่มันก่อไว้ จงบันดาลให้พวกมันถึงซึ่งกาลพินาศฉิบหายโดยเร็วพลันเถิด | |
ผู้แสดงความคิดเห็น ผ่านมาเห็น วันที่ตอบ 2013-04-23 19:52:57 |
[1] |