ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
ชมคลิปวีดีโอน่าสนใจ
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 15 คน
dot
dot

dot


ฟัง F.M. 103.25 MHz.
ชมทีวีช่องหลวงตา
ฟังวิทยุออนไลน์ วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน
ชมคลิปวีดีโอน่าสนใจ
เข้าชม face book วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน


๑๙๒. เหตุ ๙ มีอะไรบ้าง?

                                     ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก
 


๑๙๒. เหตุ ๙ มีอะไรบ้าง ?

              เหตุ ๙ คือเหตุที่เป็นกุศล (ฝ่ายดี) ๓ ; เหตุที่เป็นอกุศล (ฝ่ายชั่ว) ๓ ; เหตุที่เป็นอัพยากฤต (ไม่ชี้ลงไปว่าดีหรือชั่ว) ๓ คือ

        ก. เหตุทื่เป็นกุศล (ฝ่ายดี) ๓
              ๑. อโลภะ ความไม่โลภ
              ๒. อโทสะ ความไม่คิดประทุษร้าย
              ๓. อโมหะ ความไม่หลง

        ข. เหตุที่เป็นอกุศล (ฝ่ายชั่ว) ๓ 
              ๑. โลภะ ความโลภ
              ๒. โทสะ ความคิดประทุษร้าย
              ๓. โมหะ ความหลง

        ค. เหตุที่เป็นอัพยากฤต (ไม่ชี้ลงไปว่าดีหรือชั่ว) ๓      

             ๑. อโลภะ
             ๒. อโทสะ                       } ซึ่งเกิดจากวิบากคือผลของกุศลธรม 
             ๓. อโมหะ                          หรือซึ่งเกิดในอัพยากฤตธรรมที่เป็นกิริยา 

              นี้เรียกว่าเหตุ ๙.

วิภังค์ อภิธัมมปิฎก ๓๕/๕๔๓
 

 

๑๙๓. อาหาร ๔ มีอะไรบ้าง ?   

              อาหาร ๔ คือ

              ๑. อาหารเป็นคำ ๆ (กวฬิงการาหาร อาหารที่รับประทานทั่วไป)
              ๒. อาหารคือผัสสะ (ผัสสาหาร อาหารคือการถูกต้องทางตา หู เป็นต้น เช่น อาหารตา อาหารหู ฯลฯ)
              ๓. อาหารคือความจงใจ (มโนสัญเจตนาหาร ความจงใจทำกรรมดีกรรมชั่ว ย่อมเป็นอาหารหล่อเลี้ยงให้เวียนว่ายตายเกิด)
              ๔. อาหารคือวิญญาณ (วิญญาณาหาร หมายถึงความรู้อารมณ์ว่า เห็นรูป ฟังเสียง เป็นต้น)
              นี้เรียกว่าอาหาร ๔.

วิภังค์ อภิธัมมปิฎก ๓๕/๕๔๓

 

 

 

๑๙๔. ผัสสะ (ความถูกต้อง) ๗ มีอะไรบ้าง ?   

               ผัสสะ(๑) (ความถูกต้อง) ๗ คือ

              ๑. ความถูกต้องทางตา (จักขุสัมผัส)

              ๒. ความถูกต้องทางหู (โสตสัมผัส)

              ๓. ความถูกต้องทางจมูก (ฆานสัมผัส)

              ๔. ความถูกต้องทางลิ้น (ชิวหาสัมผัส)

              ๕. ความถูกต้องทางกาย (กายสัมผัส)

              ๖. ความถูกต้องทางธาตุคือใจ (มโนธาตุสัมผัส)

              ๗. ความถูกต้องทางธาตุคือความรู้ทางใจ (มโนวิญญาณธาตุสัมผัส)

              นี้เรียกว่าผัสสะ ๗.

วิภังค์ อภิธัมมปิฎก ๓๕/๕๔๓

 

 

๑๙๕. เวทนา (ความรู้สึกสุขทุกข์หรือเฉย ๆ) ๗ มีอะไรบ้าง ?      

              ๑. ความรู้สึกสุขทุกข์หรือเฉย ๆ อันเกิดจากสัมผัสทางตา (จักขุสัมผัสสชา เวทนา)
              ๒. ความรู้สึกสุขทุกข์หรือเฉย ๆ อันเกิดจากสัมผัสทางหู (โสตสัมผัสสชา เวทนา)
              ๓. ความรู้สึกสุขทุกข์หรือเฉย ๆ อันเกิดจากสัมผัสทางจมูก (ฆานสัมผัสสชา เวทนา)
              ๔. ความรู้สึกสุขทุกข์หรือเฉย ๆ อันเกิดจากสัมผัสทางลิ้น (ชิวหาสัมผัสสชา เวทนา)
              ๕. ความรู้สึกสุขทุกข์หรือเฉย ๆ อันเกิดจากสัมผัสทางกาย (กายสัมผัสสชา เวทนา)
              ๖. ความรู้สึกสุขทกุข์หรือเฉย ๆ อันเกิดจากสัมผัสทางธาตุคือใจ (มโนธาตุสัมผัสสชา เวทนา)
              ๗. ความรู้สึกสุขทุกข์หรือเฉย ๆ อันเกิดจากสัมผัสทางธาตุคือความรู้ทางใจ (มโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชา เวทนา)

              นี้เรียกว่าเรียกว่า เวทนา ๗.

วิภังค์ อภิธัมมปิฎก ๓๕/๕๔๓


 

๑๙๖. สัญญา (ความจำ) ๗ มีอะไรบ้าง ?   

              สัญญา (ความจำ) ๗ คือ 

              ๑. ความจำอันเกิดจากสัมผัสทางตา (จักขุสัมผัสสชา สัญญา)
              ๒. ความจำอันเกิดจากสัมผัสทางหู (โสตสัมผัสสชา สัญญา)
              ๓. ความจำอันเกิดจากสัมผัสทางจมูก (ฆานสัมผัสสชา สัญญา)
              ๔. ความจำอันเกิดจากสัมผัสทางลิ้น (ชิวหาสัมผัสสชา สัญญา)
              ๕. ความจำอันเกิดจากสัมผัสทางกาย (กายสัมผัสสชา สัญญา)
              ๖. ความจำอันเกิดจากสัมผัสทางธาตุคือใจ (มโนธาตุสัมผัสสชา สัญญา)
              ๗. ความจำอันเกิดจากสัมผัสทางธาตุรู้ทางใจ (มโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชา สัญญา)

              นี้เรียกว่าสัญญา ๗.

วิภังค์ อภิธัมมปิฎก ๓๕/๕๔๔

 

 

๑๙๗. เจตนา (ความจงใจ) ๗ มีอะไรบ้าง ?        

              เจตนา (ความจงใจ) ๗ คือ 

              ๑. ความจงใจอันเกิดจากสัมผัสทางตา (จักขุสัมผัสสชา เจตนา)
              ๒. ความจงใจอันเกิดจากสัมผัสทางหู (โสตสัมผัสสชา เจตนา)
              ๓. ความจงใจอันเกิดจากสัมผัสทางจมูก (ฆานสัมผัสสชา เจตนา)
              ๔. ความจงใจอันเกิดจากสัมผัสทางลิ้น (ชิวหาสัมผัสสชา เจตนา)
              ๕. ความจงใจอันเกิดจากสัมผัสทางกาย (กายสัมผัสสชา เจตนา)
              ๖. ความจงใจอันเกิดจากสัมผัสทางธาตุคือใจ (มโนธาตุสัมผัสสชา เจตนา)
              ๗. ความจงใจอันเกิดจากสัมผัสทางธาตุรู้ทางใจ (มโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชา เจตนา) 

              นี้เรียกว่าเจตนา ๗.

วิภังค์ อภิธัมมปิฎก ๓๕/๕๔๔

 

 

๑๙๘. จิต ๗ มีอะไรบ้าง ?       

             จิต ๗ คือ

              ๑. ความรู้อารมณ์ทางตา (จักขุวิญญาณ)
              ๒. ความรู้อารมณ์ทางหู (โสตวิญญาณ)
              ๓. ความรู้อารมณ์ทางจมูก (ฆานวิญญาณ)
              ๔. ความรู้อารมณ์ทางลิ้น (ชิวหาวิญญาณ)
              ๕. ความรู้อารมณ์ทางกาย (กายวิญญาณ)
              ๖. ธาตุคือใจ (มโนธาตุ) 

              นี้เรียกว่าจิต ๗.

วิภังค์ อภิธัมมปิฎก ๓๕/๕๔๔

 

              (หมายเหตุ : การแบ่งจำนวนหรือหัวข้อธรรมะที่นำมาแปลนี้ เป็นวิธีจัดจำนวนโดยนัยหนึ่งของอภิธัมมปิฎก ในที่อื่นอาจะแบ่งหรือจัดจำนวนแตกต่างออกไปตามความประสงค์ในการแสดงธรรมให้เหมาะสมแก่โอกาสที่ต้องการ)

 

-----------------------------------------------------------------

 

๑. พึงสังเกตว่า ผัสสะ หรือสัมผัส ใช้แทนกันได้ 



ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด




ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฏก

๑.อะไรเป็นแก่นสารในพระพุทธศาสนา
๒. เกาะชายสังฆาฏิพระพุทธเจ้ายังไม่ชื่อว่าอยู่ใกล้
๑๖. ธรรมที่เป็นไปในส่วนแห่งความรู้ (วิชชาภาคิยะ)
๒๖. โทษทั้งหลายมีมิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่ง
๓๓. ภิกษุที่ภิกษุด้วยกันไม่พึงไหว้ ๕ ประเภท article
๓๘. คุณสมบัติของภิกษุผู้ควรเป็นอุปัชฌายะ ๖ อย่าง
๔๗. ฐานะ ๕ ที่ควรพิจารณาเนืองๆ
๕๓. ลักษณะ ๕ ของวาจาสุภาษิต
๗๓. สิ่งที่ขอร้องหรือปรารถนาให้เป็นไปอย่างใจไม่ได้
๗๖. พระพุทธเจ้าไม่ทรงสรรเสริญความหยุดอยู่ในกุศลธรรม
๗๙. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นอะไร?
๘๓. ประวัติความเป็นมาของนางภิกษุณี
๘๔. ศีลวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ
๑๐๐. กำลัง ๗ ประการ
๑๑๒. พระพุทธเจ้าทรงพยาบาลภิกษุอาพาธ
๑๑๗. ต้องเป็นผู้รู้ ผู้เห็น จึงสิ้นอาสวะได้
๑๑๘. ภิกษุผู้ยินดีในความไม่ประมาท
๑๒๖. ไตรลักษณ์มีอยู่แล้วโดยปกติ
๑๓๘. การรักษาสาธารณสมบัติ
๑๕๒. เวียนว่ายตายเกิด
๑๖๕. ประวัติสุปพุทธะผู้เป็นโรคเรื้อน
๑๖๖. ถ้ากลัวทุกข์ก็อย่าทำความชั่ว
๑๗๐. เสนาสนวัตร
๑๗๔. เข้ากันได้โดยธาตุ
๑๘๐. กายไม่หวั่นไหว จิตไม่หวั่นไหว
๑๘๖. คำถามคำตอบเรื่องแจกหัวข้อธรรม (ขันธ์๕, อายตนะ๑๒, ธาตุ๑๘, สัจจะ๔, อินทรีย์๒๒)
๑๙๙. ปฏิบัติได้แค่ไหน อะไรสงบระงับ?
๒๐๖. ความทุกข์โดยเฉพาะของสตรี
๒๑๐. สุราเป็นเหตุให้ละเมิดศีลข้ออื่นๆ
๒๑๓. การบัญญัติความสุขในพระพุทธศาสนา
๒๑๖. คว่ำหน้ากิน แหงนหน้ากิน เป็นต้น
๒๒๐. การทำตนให้ชุ่มด้วยความสุข



แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล