ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
ชมคลิปวีดีโอน่าสนใจ
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 18 คน
dot
dot

dot


ฟัง F.M. 103.25 MHz.
ชมทีวีช่องหลวงตา
ฟังวิทยุออนไลน์ วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน
ชมคลิปวีดีโอน่าสนใจ
เข้าชม face book วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน


พระชาติที่ ๕ พระมโหสถ ตอน ๒

 

เรื่องรถ

      ชายคนหนึ่งขับรถม้าผ่านมาทางเทหะรัฐ ที่เรียกว่ารถก็ม้าก็เพราะมันเทียมด้วยม้า หรือเรียกง่าย ๆ ก็เพราะม้ามันลากไปจึงไปได้ เขาใช้ม้าลากเจ้ารถเก่า ๆ คันนั้นของเขามาตามทาง ซึ่งเต็มไปด้วยฝุ่นและกรวดทราย บางแห่งก็เรียบบางแห่งรถก็โคลงเคลงไปตามรูปของถนนในสมัยครั้งกระโน้น

      เขาขับผ่านมาทางศาลาของเจ้ามโหสถ ก็มีอันเกิดเรื่องขึ้น เขาเกิดกระหายน้ำ พอเห็นสระก็หยุดรถโดดลงไปที่สระเพื่อจะดื่มน้ำ พระอินทร์หรือสักกเทวราชเทพผู้ทรงอิทธิฤทธิ์ แต่กลับแพ้ยักษ์เล็ก ๆ ที่มีชื่อเสียงเรียงนามอันใด คือรณพักตรลูกทศกัณฐ์ ตอนนั้นยังไม่เก่งกล้าเท่าไหร่นัก ถึงกับโดดหนีจากรถทรง ทิ้งจักรอันทรงศักดาให้กับเจ้ารณพักตรยักษ์ตัวนั้น ซึ่งมันก็รีบตะครุบเอาจักรไปเป็นเครื่องบำเหน็จมือเลย เสด็จพ่อทศกัณฐ์เลยตั้งชื่อให้เสียใหม่ว่า  อินทรชิต  ซึ่งเเปลว่าชนะพระอินทร์

      เมื่อพูดถึงเรื่องนี้ ทำให้เรานึกไปถึงพ่อขุนรามคำแหงมหาราชของไทย ซึ่งก็ได้พระนามโดยลักษณะอย่างเดียวกันนี้ พ่อขุนรามคำแหงซึ่งเป็นมหาราชของไทยพระองค์หนึ่งผู้สร้างแบบอักษรไทยขึ้นใช้ เดิมมีพระนามมาว่าอย่างไรก็ไม่ทราบเหมือนกัน เพระหลักฐานไม่ปรากฎชัด อาจจะได้นามว่ารามก็ได้ เพราะคำว่ารามนั้นแปลได้ว่าน้อย เช่นในคำว่า วิหารใหญ่วิหารอาราม หรือคำว่าผู้ใหญ่ราม ดังนั้นเป็นต้น เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าศรรีอินทราทิตย์ ซึ่งเป็นผู้ปลดแอกของชาวไปจากขอมในเวลานั้น กับนางเสือง พระรามคำแหงเป็นองค์เล็กก็คงเรียกกันในภาษาชาวบ้านว่า เจ้าเล็ก

      เมื่ออายุได้ 19 ปี ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด ยกทัพมารบ กับพ่อขุนศรีอิทราทิตย์ ซึ่งก็ได้ยกทัพออกไปประจันหน้ากันในสมรภูมิ ซึ่งเจ้าเล็กก็ขี่ช้างเชือกหนึ่งตามออกไปดูด้วย

      ขุนสามชนได้ขับช้างตะลุยเข้ามา ไพร่พลของพ่อขุนศรีอิทรทิตย์ แตกพ่ายกระจัดกระจาย คือแตกหนีไม่เป็นกระบวนและก่อนที่พ่อขุนศรีอิทราทิตย์จะขับช้างเข้าไปเผอิญกับขุนสามชน พระรามหรือเจ้าเล็กยืนช้างอยู่เบื้องหลังพ่อ ก็ขับช้างพรวดเข้าไปผจญกับขุนสามชน ยุทธหัตถีพระหว่างเจ้าหนุ่มน้อยกับขุนสามชนก็เกิดขึ้น

      ช้างขุนสามชนตัวชื่อชนะเมืองทองเสียเชิงก็เลยต้องพ่ายแก่ช้างของพระรามคำแหง โดยเหตุที่ชนะขุนสามชนนั้นแหละ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์เลยเรียกว่า รามคำแหง ซึ่งถ้าเป็นสมัยปัจจุบันก็ว่า  “เจ้าเล็กเก่ง”  จึงได้นามว่า  “รามคำแหง”  ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา  

  พระอินทร์ซึ่งแพ้รณพักตร์นั้น ประสงค์จะแสดงภูมิปัญญาของเจ้ามโหสถให้ปรากฎ เมื่อเห็นชายเจ้าของรถลงไปกินน้ำในสระก็ขึ้บนรถ เตือนม้าให้ออกเดิน ชายเจ้าของรถได้ยินเสียงม้าเดินก็หันมาดู ชะช้าเอากันต่อหน้าต่อตาเชียวนะ แถมกลางวันแสก ๆ เสียด้วย เขารีบวิ่งขึ้นมาจากสระ พร้อมกันตะโกน
   “ขโมย ขโมย” คนที่ผ่านไปมาก็ถามเขาว่า
   “ขโมยอะไรกัน” เมื่อเจ้าของรถวิ่งตามไปถึง ก็ยึดบังเหียนม้าให้หยุดอยู่พร้อมกับถามว่า
   “เจ้าจะขโมยรถของเราไปไหน” พระอินทร์ทำหน้าตาตื่น พร้อมกับถามว่า
   “ท่านว่าอะไรนะ”
   “ท่านจะขโมยรถของข้าพเจ้าไปไหน” ชายเจ้าของรถทวนคำ
   “อะไร ท่านว่าใครขโมย นี่รถของข้าพเจ้า ๆ ยังขับมาท่านก็วิ่งมายึดรถพร้อมกับกล่าวหาว่าข้าพเจ้าเป็นขโมย ระวังท่านจะถูกหาว่าหมิ่นประมาท”

      ชายเจ้าของรถพยายามอ้างเหตุผลต่าง ๆ นานา แต่พระอินทร์ผู้เป็นขโมยสมัครเล่นก็หายินยอมไม่ แม้แต่ประชาชนที่ มุง ๆ มอง ๆ ทั้งหลายก็ตัดสินใจไม่ได้ว่าของใคร เพราะทั้งเจ้าของรถและพระอินทร์ไม่มีใครรู้จักเลย เรื่องมันก็ต้องถึงมโหสถเด็กเจ้าปัญญา

      “เรื่องนี้ต้องให้มโหสถตัดสิน” ประชาชนคนหนึ่งที่ยืนฟังเหตุการณ์กล่าวขึ้น ทั้งสองฝ่ายก็ยอมตกลงที่จะให้มโหสถเป็นผู้ตัดสิน แล้วต่างก็พากันห้อมล้อมโจทก์และจำเลยไปสู่สำนักของมโหสถ

      เมื่อไปถึงเขาก็เข้าไปบอกแก่มโหสถถึงความเป็นมาของเรื่อง มโหสถออกมาดูก็รู้ทันทีว่าใครเป็นเจ้าของรถแพระอินทร์เพราะสภาพของพระอินทร์แตกต่างจากคนธรรมดา อย่างน้อยก็ประกอบด้วยธรรม มีการเลี้ยงดูบิดามารดา ตลอดจนกระทั่งระงับความโกรธ จึงผิดแปลกจากบุคคลทั่ว ๆ ไป แต่เพื่อจะให้ปรากฎแก่ประชาชนทั่ว ๆ ไปจึงทำเป็นไม่รู้เสีย และสอบถามโจทก์จำเลย ซึ่งต่างก็อ้างว่าเป็นรถของตน ถ้าเป็นท่านล่ะจะตัดสินใจได้อย่างไร ลองดูภูมิมโหสภต่อก็แล้วกัน
   “ท่านทั้งสองมีพยานบ้างไหม?”
   “ไม่มี”
   “เพราะอะไร?”
   “เพราะข้าพเจ้าไม่ใช่คนใกล้เคียงที่นี่ ข้าพเจ้ามาจากเมืองไกล”
   “ท่านยอมให้ข้าพเจ้าตัดสินแน่ล่ะหรือ” “แน่ พวกข้าพเจ้ายอม”
   “เอ้า ถ้าเช่นนั้นท่านทั้งสองจับท้ายรถคนละข้าง แล้วตีม้าให้วิ่ง ถ้าคนไหนวิ่งตามรถไปได้คนนั้นจะชนะ”

      แล้วให้คนทั้งสองจับท้ายรถ ข้างซ้ายคนหนึ่ง ข้างขวาคนหนึ่ง แล้วเตือนให้ม้าวิ่ง ม้าก็เริ่มออกวิ่งช้า ๆ คนทั้งสองก็ยังคงจับท้ายรถวิ่งตามรถไปได้ ต่อเมื่อม้าวิ่งเร็วขึ้น ๆ ชายเจ้าของรถทนวิ่งไปไม่ไหวอ้าปากหายใจหอบด้วยความเหนื่อย ต้องปล่อยรถยืนละห้อยละเหี่ยด้วยความเสียดายที่ต้องให้รถแก่ผู่อื่น ม้าจะวิ่งได้เร็วสักเท่าไร่ พระอินทร์ก็วิ่งตามได้ทันเสมอคนทั้งปวงเฮโลกันใหญ่ ถ้ามีแข่งกีฬาทางวิ่งพระอินทร์คงกินดิบแน่ ๆ

 เพราะวิ่งทันม้าเทียมรถ มโหสถจึงให้คนไปเรียกกลับมา พระอินทร์ก็วิ่งติดรถกลับมา ส่วนชายเจ้าของรถคงได้แต่เดินโซเซมาด้วยความเหนื่อยหอบแทบจะอ้าปากพูดไม่ไหว เมื่อคนทั้งสองมาถึง มโหสถจึงชี้ท้าวสักกะพลางถามว่า
   “ท่านมาทำอะไร?”
   “ข้าพเจ้าเป็นคนเดินทาง”
   “อย่าทำไก๋หน่อยเลยน่ะ บอกข้าพเจ้าตรง ๆ ดีกว่าว่าท่านมาทำอะไร รถคันนี้มีประโยชน์อะไรกับท่าน”
   “ท่านว่าเราเป็นใคร ?”
   “ท่านเป็นพวกเทพ”
   “ทำไมท่านจึงรู้ ?”
   “ท่านสังเกตหรือเปล่า ว่าท่านน่ะวิ่งไปตั้งครึ่งค่อนโยชน์เชียวนะ ดูแม้แต่ม้าที่เทียมรถเถิดเหงื่อออกเป็นมันระยับไปทั้งตัว แต่ท่านปกติทุกอย่าง เหงื่อแม้แต่สักหยดก็ไม่มี และนัยน์ตาของท่านน่าไม่กระพริบเลย เพราะฉนั้นข้าพเจ้าแน่ใจว่าท่านเป็นพวกเทพแน่ ๆ”
   “เมื่อท่านมีข้อสังเกตอย่างนั้น ข้าพเจ้าก็ยอมรับว่าข้าพเจ้าเป็นพวกเทพ แต่ใหญ่กว่าเทพเพราะข้าพเจ้าเป็นท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่ในชั้นดาวดึงส์”
   “ท่านมาทำอะไร”
   “เพื่อจะแสดงปัญญาของท่านให้ปรากฎ เพราะเรื่องนี้ใคร ๆ ไม่สามารถจะวินิจฉัยได้ นอกจากท่านผู้เดียว ขอให้ท่านมีความสุขความเจริญเถิด ข้าพเจ้าไปล่ะ” แล้วเทพมเหศักดิ์ก็จากที่นั้นไปยังเทวโลก รถคันนั้นมโหสถก็มอบให้เจ้าของรถไป

      พวกราชบุรุษได้ส่งข้อความเหล่านี้ไปกราบทูลพระเจ้าวิเทหราช
   “ควรจะรับเข้ามาได้หรือยังท่านอาจารย์” พระเจ้าวิเทหราชทรงตรัสถามนักปราชญ์ทั้ง 4 ท่าน
   “จวนแล้วพระเจ้าค่ะ เด็กคนนี้ดูมีปัญญามากจริง ๆ แต่จะด่วนรับเข้ามาจะไม่สมศักดิ์ศรีของนักปราชญ์สักหน่อยรอดูไปก่อนพระเจ้าค่ะ อย่าให้พลาดได้เลยพระเจ้าค่ะ”
   “ เอ.. แต่มโหสถทำอะไรไม่ผิดพลาด ผิดกว่าพวกที่ดีแต่พูด แต่ไม่จัดการอะไรเลย พูด พูด อีกหน่อยเห็นจะต้องเลี้ยงแพะเสียบ้างกระมัง” ทรงตรัสเป็นเชิงบ่นกับพระองค์เองดัง ๆ แล้วก็หันไปตรัสถามเสนกะว่า
   “หรืออย่างไรท่านอาจารย์ ควรเลี้ยงแพะเสียทีดีกระมัง”
   “เลี้ยงไว้ทำอะไรหรือพระเจ้าค่ะ” เสนกะชักสงสัย
   “เลี้ยงไว้แก่รำคาญ บางทีขี้ของมันอาจจะเป็นยาบ้างกระมัง” แล้วรับสั่งต่อไปอีกว่า
   “รอไปอีกก็ดีเหมือนกัน”

 

เรื่องกระโหลกศรีษะ

      หลังจากเรื่องนั้นผ่านไปไม่นาน พระเจ้าวิเทหราชก็คิดจะทดลองเจ้ามโหสถดูอีกว่า จะเป็นคนฉลาดทรงความรู้จริงหรือไม่ จึงให้ส่งกะโหลกศรีษะไปให้ชาวบ้านทางตะวันออก พร้อมกับบังคับว่า “ถ้าาวบ้านบอกว่ากระโหลกศรีษะอันไหนเป็นหญิงเป็นและเป็นชายไม่ได้ จะต้องถูกปรับพันกหาปณะ" ซึ่งจะเทียบในสมัยนี้ก็เท่ากับ 4.000 บาท ซึ่งก็นับว่าไม่น้อยเหมือนกัน

     พอท่านเศรษฐีได้รับคำสั่งก็เรียกประชุมผู้เฒ่าผู่แก่ทันทีลองสอบถามกันดูว่ามีใครทราบบ้าง แต่ก็หาคนทราบไม่ได้ เรื่องก็ถึงมโหสถอีกนั่นแหละ เพียงแต่มองเห็นคราวแรกเท่านั้น มโหสถก็กล่าวว่า “พุทโธ่ ? นึกว่าจะเป็นปัญหายากเย็นแสนเข็ญเพียงไรที่แท้ก็ปัญหาเด็ก ๆ นั่นเอง” “ถ้าอย่างนั้นก็เป็นหน้าที่ของพ่อที่จะแก้ปัญหานั้” ท่านเศรษฐีกล่าว เหมือนกับว่ามโหสถได้เคยศึกษากายวิภาคมาหรืออย่างไรเขาหยิบกะโหลกขึ้นมากะโหลกหนึ่งพร้อมกับชี้แจง” “กะโหลกนี้เป็นศรีษะของผู้ชาย” “เพราะอะไร” “เพราะรอยประสานชองกะโหลกที่เป็นทาง ๆ หรือที่เรียกว่าแสกตรง จึงรู้ได้ว่าเป็นกะโหลกของชาย” “ส่วนผู้หญิงล่ะ” “ก็ดูโดยตรงกันข้ามน่ะสิ คือแสกในกะโหลกศรีษะของหญิงคดไม่ตรงเหมือนอย่างชาย เพราะฉนั้นท่านบิดาบอกไปได้เลยว่า กะโหลกที่มีแสกตรงเป็นกะโหลกชาย และกะโหลกที่มีแสกคดเป็นกะโหลกหญิง”

     เมื่อพระเจ้าวิเทหราชทรงสอบถามว่า เป็นความคิดของใครก็ได้รับทราบว่าเป็นของมโหสถ ก็มีพระทัยเต็มตื้นไปด้วยความปราโมทย์ แต่ยังมิได้รับเข้ามมาในพระราชสำนักเพราะท่านเสนกะยังจะต้องทดลองอีกต่อไป

 

เรื่องของงู

      คราวนี้พระเจ้าวิเทหราชส่งงูไปให้ชาวบ้านแจ้งมาว่าเป็นงูตัวผู้หรือตัวเมีย ถ้าไม่ได้ก็ต้องปรับเป็นเงินตั้ง 4.000 บาท ชาวบ้านก็ต้องหมดปัญญาตามเดิม เรื่องมันก็ต้องถึงมโหสถ

     มโหสถก็ได้แก้ปัญหานี้โดยแสดงว่า ลักษณะของงูตัวผู้หางและหัวใหญ่ นัยน์ตาใหญ่ ลวดลายที่ลำตัวติดต่อกัน ส่วนลักษณะของตัวเมียนั้นมีว่าหางงูตัวเมียเรียวและหัวก็เรียว นัยน์ตาเล็ก ลวดลายตามตัวไม่ค่อยจะติดกัน และชี้ให้ชาวบ้านเห็นว่างูที่ส่งมานั้นตัวไหนเป็นตัวผู้ และตัวไหนเป็นตัวเมีย

     ชาวบ้านก็นำเอาปัญญานี้ไปแก้ให้พระเจ้าวิเทหราชฟัง เมื่อพระเจ้าวิเทหราชทราบว่าเจ้ามโหสถเป็นคนแก้ยิ่งโสมนัสแต่ยังไม่สามารถจะรับเข้ามาพระราชสำนักได้ เพราะนักปราชญ์ที่ดีแต่พูดคือเสนกะ ยังไม่ยอมให้รับเข้ามา เพราะกลัวอะไรต่ออะไรหลายอย่าง และในที่สุดที่กลัวที่สุดก็เห็นจะกลัวมโหสถจะดีกว่านั้นเอง พระเจ้าวิเทหราช แม้จะไม่พอพระทัยนักก็จำยอมและทำการทดลองต่อไป

 

เรื่องของไก่ 

     พระเจ้าวิเทหราชทรงส่งคำไปว่า ให้ชาวบ้านแถบตะวันออกของเมืองส่งวัวตัวผู้ที่มีกายขาวทั้งตัว มีเขาที่เท้า มีโหนกที่ศรีษะ ร้องเพียง 3 เวลา ถ้าส่งมาได้ 4.000 บาท ต้องเสียตามเคย

    เรื่องนี้เป็นเรื่องอึกทึกครึกโครมกันในที่ประชุมของชาวบ้านกันมาก บางคนถึงกับว่า “ออกจะไม่ยุติธรรมสักหน่อย ที่พวกชาวบ้านเราถูกกะเกณฑ์ให้ทำอย่างโน้นอย่างนี้ ถ้าไม่ได้ก็ถูกปรับไหม ถ้าเราไม่มีเจ้ามโหสถอยู่แล้ว ป่านนี้เราคงเหลือแต่กางแกงในแล้วก็ได้ อีกคนก็ค้านว่า
   “คนไม่ใช่อย่างนั้นหรอกน่า เพราะพ่อมโหสถมาอยู่ที่บ้านนี้น่ะสิจึงทำให้เรามีภาระอย่างนี้ และเจ้ามโหสถก็แก้ได้ทุกครั้งเสียด้วย ถ้าไม่มีอย่าว่าแต่กางแกงในเลยน่ะ ไม่เหลือเลย จะเหลือก้แต่ตัวในชุดวันเกิดเท่านั้น เราน่ะมันช้างเท้าหลังเขาสั่งอะไรก็ทำไปก็แล้วกัน"
   “ลองไปถามไปถามเจ้ามโหสถก่อนเห็นจะดีเป็นแน่” “เออดี” ทุกคนรีบรับคำ เมื่อเศรษฐีไปถามมโหสถ ๆ ก็พูดว่า “วัวเวออะไรพ่อท่าน ไม่ใช่วัวหรอก” “ถ้างั้นเป็นอะไรล่ะ”
   “พ่อก็ พระเจ้าแผ่นดินท่านให้พวกบ้านเราส่งไก่ขาวให้พระองค์ เพราะอะไรพ่อท่านลองคิดดูก็ได้ว่าวัวตัวไหนล่ะจะมีเขาที่เท้า ถ้ามันมีจริงเห็นจะเป็นวัวที่เขาเอาไปออกงานวัดเป็นแน่” “แล้วทำไมเจ้าจึงว่าเป็นไก่ล่ะ"
  “ก็คือว่า ไก่น่ะชื่อว่ามีเขาที่เท้า เพราะมีเดือยที่เท้าทั้งสอง มีโหนกที่ศรีษะ ก็คือหงอนไก่นั้นเอง ร้องไม่ล่วง ๓ เวลา พ่อท่านลองคิดดูไก่ที่ดีจะขยันเป็นยามเป็นเวลาเท่านั้น และไก่ก็ขันเพียง ๓ เวลาเท่านั้น ฉันคิดว่าพระเจ้าแผ่นดินไม่ได้ประสงค์วัวหรอก แต่ประสงค์ไก่ขาวต่างหาก” “เออ.. เข้าใจอย่างนี้พ่อก็โล่งใจ”

     ท่านเศรษฐีจึงได้ส่งไก่ขาวไปถวายพระเจ้าแผ่นดินทำให้ชาวบ้านไม่ต้องเสียค่าปรับไปได้อีกครั้งหนึ่ง

     พระเจ้าวิเทหราชก็ตรัสถามชาวบ้านที่นำไป ถามว่าใครเป็นคนตอบปัญหานี้ ก็ได้รับคำตอบว่าเป็นความคิดของมโหสถซึ่งพระองค์ตรัสถามก็ได้รับคำคัดค้านจากเสนกะจอมปราชญ์ผู่ยิ่งใหญ่ตามเคย พระองค์ก็ต้องคล้อยตาม
   “รอดูไปก่อนพระเจ้าค่ะ ช้าเป็นนานก็เป็นกิจพระเจ้าค่ะ เราจะได้คนดีก็เพราะเขามีความอดทนพระเจ้าค่ะ”

 

เรื่องแก้วมณี

      หลังจากที่ได้สั่งให้ส่งโคที่มีรูปร่างวิปริตผิดพิกลมาราชสำนัก ตราบจนกระทั่งมโหสถได้ส่งไก่ขาวมาให้แล้ว พระเจ้าวิเทหราชก็คิดจะส่งอะไรไปทดลองปัญญามโหสถอีก ในราชสำนักมีแก้วมณีอยู่ดวงหนึ่งข้างในคดถึง ๘ แห่ง และเชือกที่ร้อยแก้วมณีนั้นนานเข้าก็เก่าและขาดออกไป เลยใช้อะไรไม่ได้ต้องเก็บไว้เฉย ๆ “เออ.. จะเข้าที ส่งไปลองปัญญาเจ้ามโหสถดูที ถ้าแก้ได้ก็จะได้ประโยชน์ด้วย”

     เมื่อทรงดำริเช่นนั้นแล้ว พระเจ้าวิเทหราชก็จัดแจงส่งแก้วมณีดวงนั้นไปยังเศรษฐีผู้เป็นบิดาของเจ้ามโหสถ พร้อมกับคำสั่งว่า “ถ้าชาวบ้านตะวันออกร้อยแก้วมณีนี้ไม่ได้ จะต้องถูกปรับ 4.000 บาท และจะถูกลงโทษอย่างอื่นด้วย” คำสั่งนี้ไปถึงปาจีนวยมัชณคาม ชาวบ้านก็บ่นกันพึม
   “รายการซวยมาอีกแล้ว นี่ถ้าบ้านเราไม่มีมโหสถ พวกเรามิต้องขายตัว แล้วเอาไปให้เป็นค่าปรับของพระเจ้าแผ่นดินแล้วหรือ” "เราจะต้องกังวลอะไรล่ะ พอมีปัญหามาเจ้ามโหสถก็แก้ไปส่ง เราไม่เห็นจะต้องเดือดร้อนอะไร ยังแถมได้ชื่อเสียงด้วยว่า ชาวบ้านเราแก้ปัญหาเหล่านี้ได้”
   “จริงของเกลอแฮะ เจ้ามโหสถเกิดมาสร้างประโยชน์ให้บ้านเรา และชาวบ้านทั้งหมดมีชื่อเสียงเลื่องลือไปตลอดวิเทหรัฐ” เมื่อแก้วมณีได้ถูกส่งมาแล้ว ผู้เฒ่าผู้แก่ประจำหมู่บ้านพิจารณาดูแล้วก็สั่นหัว
   “ใครจะไปร้อยได้ แก้วอะไรมีคดตั้งเยอะแยะ จะเอาด้ายอะไรร้อยเข้าไปได้ ยังมีด้ายเก่าขาดอยู่ข้างในอีก แล้วใครจะเอาออกได้ เรื่องนี้สงสัยว่าเจ้ามโหสถจะทำได้หรือไม่ พวกเราน่ะเห็นทีจะไม่มีปัญญาทำล่ะ” “คราวนี้เห็นทีจะต้องเสียเงินค่าปรับให้แก่พระเจ้าแผ่นดินเสียกระมัง”
   “ไปเรียกเจ้ามโหสถมาถามดูดีกว่า พวกเราน่ะมันแก่จนปัญญาก็เก่าตามไปด้วย ไม่ได้ความสักอย่าง” เศรษฐีก็ให้คนไปตามเจ้ามโหสถมาจากสนามเด็กเล่นพร้อมกับส่งแก้วมณีให้ดูแล้วถามว่า “พ่อก็เอาด้ายเก่าออก แล้วร้อยด้ายใหม่เข้าไปใหม่” “พวกพ่อเฒ่าว่ายังไงบ้างล่ะ ?” เจ้ามโหสถถาม “อย่าถามคนแก่เลยพ่อคุณ ปัญญามันเหี่ยวตามสังขารร่างกายไปนานแล้ว”
   “พ่อพิจารณาให้ดี จะได้ประดับสติปัญญาคนแก่บ้าง” มโหสถพลิกแก้วไป ๆ มา ๆ พร้อมกับกล่าวว่า “ท่านพ่อให้ใครไปเอาน้ำผึ้งมาสักหน่อย” “จะเอามาแช่หรือดองแก้วหรือ ? คนแก่คนหนึ่งถาม “เอามาก็แล้วกัน แล้วพ่อลุงจงคอยดูว่าหลานน่ะจะเอาด้ายเก่าออกได้หรือไม่”

     เมื่อคนเอาน้ำผึ้งมาให้แล้ว เจ้ามโหสถก็หยดลงไปในรูแก้วมณี น้ำผึ้งค่อย ๆ ไหลเข้าไปตามคดจนเปียกชุ่มด้ายที่อยู่ข้างใน แล้วเจ้ามโหสถก็เอาไปวางที่ปากรูมด พักเดียวเท่านั้นเจ้ามดทั้งหลายก็กรูเกรียวกันเข้ามากินน้ำผึ้งพร้อมกับฉุดลากเอาด้ายออกมาด้วย ผู้เฒ่าผู้แก่ที่ได้เห็น ถึงกับจุ๊ปาก
   “ชะ ๆ ปัญญาเจ้าเด็กน้อยนี่มันดีจริง... เป็นเราก็ส่ง 4.000 บาท ไปแทนแน่ ๆ “ “เป็นไงพ่อลุงทั้งหลายเห็นแล้วหรือยัง พอจะทำได้ไหม” “พ่อทำให้เห็นเป็นตัวอย่างแล้ว คนแก่ทำได้ ว่าแต่ด้ายใหม่เถอะ จะร้อยเข้าไปได้อย่างไร”

     มโหสถจึงเอาด้ายใหม่มาทาทางปลายด้ายด้วยน้ำผึ้งแล้วใส่เข้าไปในรู ซึ่งก็เข้าไปได้เพียงนิดเดียวก็คดแล้วให้เอาน้ำผึ้งใส่เข้าไปอีกทาง แล้วเอาไปวางที่ปากรูมดล่อให้มดออกมากินน้ำผึ้ง มดก็ไปกินน้ำผึ้ง พร้อมกับไปลากเอาด้ายนั้นออกมาอีกทางหนึ่งได้

     เจ้ามโหสถจึงบอกกับท่านเศรษฐีว่าสำเร็จแล้ว และให้คนนำไปถวายพระเจ้าวิเทหราช เมื่อพระเจ้าวิเทหราชได้ทอดพระเนตรเห็น แทบไม่เชื่อว่าชาวบ้านจะทำได้ เพราะช่างหลวงทั้งปวงก็จนปัญญา ไม่สามารถจะร้อยได้ จนต้องทิ้งไว้เฉย ๆ โดยไม่มีประโยชน์ ที่ส่งไปก็เพื่อทดลองปัญญาเจ้ามโหสถเท่านั้น แต่ผลที่ได้เอกอุยิ่งนัก

     จึงสอบถามชาวบ้านทำอย่างไรกันจึงร้อยได้ ชาวบ้านได้กราบทูลให้ทรงทราบทุกประการ ทรงทราบว่าเป็นปัญญาของเจ้ามโหสถ ก็เต็มตื้นไปด้วยความปราโมทย์ยิ่งนัก อยากจะรับเข้ามาในราชสำนัก แต่ขัดด้วยท่านอาจารย์ทั้ง ๔ ยังไม่ยินยอม เกรงจะเกิดเป็นเรื่องอันตรายแก่เจ้ามโหสถ จึงคิดจะต้องให้นักปราชญ์ทั้ง ๔ ยินยอมให้จงได้ พระองค์จึงตรัสกับอาจารย์ทั้ง ๔ อย่างยิ้ม ๆ ว่า
   “เป็นอย่างไรท่านอาจารย์ ควรจะรอต่อไปอีกไหม” “ควรรอต่อไปพระเจ้าค่ะ”

 

เรื่องวัวออกลูก

      เมื่อทรงรออยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง พระองค์ก็จัดให้เอาวัวตัวที่มีรูปร่างอ้วนท้วน เอาอาหารและน้ำกรอกปากโคเข้าไปจนพุงกางคล้าย ๆ กับแม่วัวมีท้อง และให้อาบน้ำให้ชำระกายทาขมิ้นเป็นอย่างดี แล้วส่งไปให้ชาวบ้านทิศตะวันออกตามเคย
  “ถ้าชาวบ้านทำให้วัวตัวนี้ออกลูกไม่ได้ จะต้องถูกปรับเป็นเงิน 4.000 บาท ชาวบ้านพอได้เห็นก็หัวเราะด้วยความขบขัน
   “โลกจะแตก” บางคนว่า
   “ก็มันเป็นวัวตัวผู้จะให้มันออกลูกได้ยังไงกันนะ ถ้าขืนออกเป็นอันว่าหมาต้องมีขา เต่าต้องมีหนวดแน่ ๆ” บางคนก็ว่า
   “พิจารณาดูให้ดีนะเกลอ อาจจะมีอะไรแฝงอยู่ก็ได้ ถ้ามิเช่นนั้นพระเจ้าแผ่นดินท่านไม่ส่งมาให้พวกเราจัดการหรอก”
   “อกอีแป้นจะพัง” หญิงบางคนว่า
   “บางทีเรื่องนี้อาจจะมีคนไม่ค่อยเต็มเต็งอยู่ในวังก็ได้นะ อาจจะแนะนำบ้า ๆ บอ ๆ ก็ได้”
   “อย่าไปคิดอย่างนั้นสิ การที่ทำสิ่งเหลือวิสัยนั้นพระเจ้าอยู่หัวท่านไม่ทำแน่ คงจะมีอะไรบางอย่างที่พวกเราไม่รู้ แต่มโหสถของพวกเรารู้ก็เป็นได้ เรื่องนี้ต้องให้มโหสถจัดการจึงจะแน่”

     ท่านเศรษฐีจึงให้คนไปตามมโหสถมา แล้งจึงชี้แจงคำสั่งให้ฟัง มโหสถพิจารณาวัวแล้วก็หัวเราะ แล้วว่า
   “เรื่องนี้เป็นธุระที่ข้าพเจ้าจะจัดการให้เรียบร้อย แต่ต้องการคนกล้าสักหน่อย พ่อท่านลองหาตัวคนดูทีหรือว่าจะมีใครกล้าหาญพอจะตอบโต้กับพระเจ้าแผ่นดินได้” ท่านเศรษฐีก็ได้จัดหาคนตามที่ต้องการ แล้วก็นำเข้ามา ให้มโหสถ
   “ท่านกล้าหาญพอจะโต้ตอบกับพระราชา โดยไม่ประหม่าครั่นคร้ามได้หรือไม่”
   “ได้พ่อมโหสถ ข้าพอทำได้” มโหสถจึงแนะนำว่า
   “ท่านไม่ต้องกลัวหรือประหม่าอะไรทั้งหมด ท่านต้องนึกเสมอว่าท่านเป็นตัวแทนของชาวบ้านเรา เป็นตัวแทนข้าพเจ้าซึ่งต้องรักษาชื่อเสียงให้ดีด้วย แล้วปล่อยผมให้รุงรัง เดินร้องไห้คร่ำครวญเรื่อยไป ใครถามอย่าตอบ จะตอบก็เฉพาะพระเจ้าแผ่นดินเท่านั้น” แล้วก็ส่งไป

     ชายผู้นั้นพร้อมกับพรรคพวก 3 – 4 คน พอเป็นเพื่อนเดินทาง ก็ทำตามคำแนะนำของเจ้ามโหสถ แม้อำมาตย์ข้าราชบริพารถามอย่างไรเขาก็ไม่ตอบ คงร้องไห้คร่ำครวญเรื่อยไป จนกระทั่งถึงพระเจ้าแผ่นดิน
   “ขอได้โปรดเป็นที่พึ่งด้วยเถิดพระเจ้าค่ะ” ชายผู้นั้นกราบทูลขึ้น “เรื่องอะไรวะ ใครข่มแหงให้เดือดร้อน หรือมีอะไรก็บอกมา เราจะจัดการให้” “มิได้พระเจ้าค่ะ ไม่มีใครทำให้เดือดร้อนหรอกพระเจ้าค่ะ แต่เรื่องเดือดร้อนเกิดขึ้นภายในเรือนของกระหม่อมฉันเองพระเจ้าค่ะ” “มีอะไรล่ะ”
   “คือว่าท่านบิดาของกระหม่อมฉันเจ็บท้องมาได้ 7 วันแล้วพระเจ้าค่ะ แต่ลูกไม่ออกมา หมอหมดปัญญาพระเจ้าค่ะ กระหม่อมฉันจึงต้องมาขอพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อม ช่วยให้ท่านบิดาของกระหม่อมฉันได้คลอดโดยสวัสดิภาพหน่อยเถิดพระเจ้าค่ะ”

     พระเจ้าวิเทหราชทรงพระสรวลลั่นไปทั่วพระโรงพร้อมทั้งหมู่อำมาตย์ราชบริพารซึ่งอดกลั้นไว้ไม่ได้ ก็พลอยหัวเราะออกไปด้วย “ฮ่ะ ฮ่ะ เจ้านี่มีสติดีอยู่หรือเปล่าวะ ดูท่าทางจะต้องส่งไปให้หมอเขาพิจารณาเสียแล้ว” แล้วก็ทรงสรวลต่อไปอีก “ได้พระเจ้าค่ะ กระหม่อมฉันปกติดีทุกอย่าง แต่ได้โปรดเถิดพระเจ้าค่ะ บิดากระหม่อมทนทุกข์มาได้หลายวันแล้ว” “ก็ผู้ชายมันจะออกลูกได้ยังไงวะ ขืนออกโลกมันก็จะแตกเท่านั้นเอง” แล้วก็ทรงพระสรวลต่อไปอีก
   “ได้โปรดพระเจ้าค่ะ ถ้าท่านบิดาของกระหม่อมฉันเป็นผู้ชายออกลูกไม่ได้ แล้วโคตัวที่พระองค์ส่งไปบังคับให้ชาวบ้านทิศตะวันออกให้ออกลูกให้ได้ ถ้าไม่ได้ก็จะปรับนั้น จะออกได้อย่างไรพระเจ้าค่ะ” เงียบเสียงทรงพระสรวลทันที พร้อมกันตรัสถามว่า “ว่าไงนะ ว่าใหม่อีกที” ชายผู้นั้นก็ย้ำคำเดิม “เจ้ามาจากบ้านมโหสถรึ” “สำคัญ สำคัญ ข้าลืมไปว่าได้ส่งปัญหาข้อหนึ่งไปให้มโหสถคิด กลับถูกมันซ้อนปัญหาเข้าให้” “เจ้าได้ความคิดนี่มาจากใคร” “จากมโหสถพระเจ้าค่ะ”

     “เอาล่ะ เจ้ากลับไปได้แล้ว ส่งวัวคืนมา แล้วบอกท่านเศรษฐีว่าข้าพอใจแล้ว” พร้อมกับพระราชทานรางวัลให้ชายคนนั้นพร้อมกับพรรคพวก แล้วก็ส่งกลับไป เสร็จแล้วทรงหันไปถามนักปราชญ์ทั้งสี่ซึ่งหมอบเฝ้าอยู่ไม่ห่าง แต่ไม่ถามกลับตรัสเสียเองว่า
   “รอไปก่อน ทดลองดูอีกก่อน” พวกอำมาตย์ข้าราชบริพารยิ้ม ๆ ไปตาม ๆ กัน แต่นักปราชญ์ทั้งสี่ทำหน้าพิกล

 

 

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: sawanbanna




พระเจ้าสิบชาติ

พระชาติที่ ๑ พระเตมีย์
พระชาติที่ ๒ พระมหาชนก
พระชาติที่ ๓ พระสุวรรณสาม
พระชาติที่ ๔ พระเนมีราช
พระชาติที่ ๕ พระมโหสถ ตอน ๑
พระชาติที่ ๕ พระมโหสถ ตอน ๓
พระชาติที่ ๕ พระมโหสถ ตอน ๔
พระชาติที่ ๕ พระมโหสถ ตอน ๕
พระชาติที่ ๕ พระมโหสถ ตอน ๖
พระชาติที่ ๖ พระภูริทัต
พระชาติที่ ๗ พระจันทรกุมาร
พระชาติที่ ๘ พระพรหมนารท
พระชาติที่ ๙ พระวิธูร
พระชาติที่ ๑๐ พระเวสสันดร ตอน ๑
พระชาติที่ ๑๐ พระเวสสันดร ตอน ๒