ReadyPlanet.com


อารมณ์3อย่าง


สังเกตตัวเอง ขอแบ่งอารมณ์ที่ปรากฎบ่อยๆของตัวเองออกเป็น 3 อารมณ์ คือ

1 เมื่อรู้คำตอบ หรือมีสิ่งที่ให้ใจยึดเกาะ 

ผลก็คือ ทันทีที่รู้คำตอบ ก็จะดีใจ มีความสุข (ต่อจากนั้นก็นึกถึงเหตุที่ทำให้นึกได้) และเมื่อได้คำตอบจะนึกถึงหรือทำสิ่งนั้นบ่อยๆหรือบ่อยมาก เท่าที่ทำได้ คล้ายกับคนที่ติดสุขจากสมาธิ เช่น เมื่อวานซืน ทันทีที่ได้คำตอบ แม้ว่าจะไม่ว่างเพราะต้องนั่งรถ ไปห้างซื้อของ หรือตอนอาบน้ำ ก็จะนึกอยู่แทบจะตลอดเวลาไม่พักผ่อน หรือแม้แต่หลับอยู่ก็มีฝัน เป็นต้น

2 มีคำตอบให้เลือกมากกว่า1หรือจะว่ารู้หรือไม่รู้ก็ได้

ผลก็คือ กังวล ลังเล เป็นทุกข์ไม่รู้จะเลือกคำตอบไหน เหมือนมีทาง2แพร่งให้เลือกเดิน และจะพยายามเลือกอยู่อย่างนั้นบ่อยแทบตลอดเวลา(เหมือนข้อ1)จนกว่าจะได้จึงจะหายกังวลเมื่อเลือกคำตอบได้แล้วก็จะเป็นเหมือนข้อ 1

3 ไม่รู้คำตอบเลย ไม่มีอะไรให้ใจยึดเกาะ

ผลก็คือ เมื่อไม่รู้คำตอบ ก็จะเครียด เป็นทุกข์ และเมื่อไม่ได้คำตอบก็จะพยายามคิดหาคำตอบหรือพยายามหาคำตอบจนกว่าจะได้ โดยจะพยายามหาคำตอบบ่อยมากหรือแทบตลอดเวลา(เหมือนข้อ1) จิตใจก็เป็นทุกข์อยู่แทบตลอดเวลาจนกว่าจะได้คำตอบ

 

คำถามมีดังนี้ค่ะ

๑ อาการในข้อที่1เรียกว่าอย่างไร แล้วแก้อย่างไรคะ

๒ อาการในข้อที่2 เรียกว่าอะไร แล้วแก้ไขอย่างไรคะ

๓ อาการข้อที่3 เรียกว่าอะไร แล้วแก้อย่างไรคะ

 

ขอบคุณค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ ณิชมน กีรติกุลโรจน์ :: วันที่ลงประกาศ 2020-03-13 10:57:44


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (4193754)

 แล้วอารมณ์ทั้งสามอย่างนี้เกิดจากอะไรคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ณิชมน วันที่ตอบ 2020-03-13 11:17:24


ความคิดเห็นที่ 2 (4193860)

๑. เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นในชีวิต ทุกคนก็ต้องมองหาทางออกของปัญหา บางคนก็ออกทางผิดทำให้ปัญหาแก้ยาก และซับซ้อนยิ่งขึ้น บางคนก็ออกทางถูกก็แก้ปัญหาให้สำเร็จลุล่วงไปได้ ผู้แก้ปัญหาผิดทางก็ทุกข์ใจเป็นธรรมดา เพราะไม่ประสบผลสำเร็จในชีวิต ส่วนคนที่แก้ปัญหาถูก ก็ดีใจ และก็คิดการต่อไปข้างหน้า ว่า จะได้อะไร จิตใจก็คาดหวังในสิ่งที่ตนพอใจชอบใจ ก็เป็นธรรมดา

ให้พิจารณาว่า ทุกสิ่งทุกอย่างมันไม่เที่ยง มันล้วนมีเหตุปัจจัยพาให้เกิด จะแก้ปัญหาผิดหรือถูก ก็ทำใจให้เป็นกลาง ๆ ไม่ต้องยินดี ไม่ต้องยินร้าย แม้แก้ปัญหาผิดพลาด ก็ยอมรับว่าผิด ค่อย ๆ หาวิธีที่ถูกต้องต่อไป หรือแม้แก้ปัญหาได้ถูก ก็ไม่ควรปล่อยใจให้ยินดีไปกับมัน เพราะวันหนึ่งมันก็อาจผิดได้ ไม่มีใครจะถูกทุกครั้งไป และก็ไม่มีใครจะผิดทุกครั้งไป

ถ้าทำผิดก็ให้รู้ว่าผิด ไม่ต้องเสียอกเสียใจให้มากไปจนเสียการเสียงาน หาทางแก้ไขข้อผิดพลาดนั้น ๆ

ถ้าทำถูกก็ให้รู้ว่าถูก ไม่ต้องดีอกดีใจจนเกินงาม พยายามทำเหตุที่ทำแล้วได้ผลดีให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป อย่าให้จิตไปติดในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นดีใจ หรือเสียใจ ก็ไม่เอาทั้งสองเงื่อน ทำใจให้เป็นอุเบกขา เป็นกลางวางเฉย ในท่ามกลางอารมณ์สุขและทุกข์ทั้งปวง สุขทุกข์ปรากฏก็ทำใจให้เป็นเพียงสักแต่ว่ารู้แล้วก็ปล่อยให้มันผ่านไป รู้ว่าดี รู้ว่าชั่ว แล้วก็วางไว้ตามความเป็นจริง ไม่เอาใจเข้าไปยึดถือเอาไว้

หากมีคำตอบมากกว่าหนึ่ง ก็ควรพิจารณาเลือกคำตอบที่ดีที่สุดที่จะเป็นไปได้ อีกทั้งส่งผลเสียหายน้อยที่สุดด้วย ให้พิจารณาคำตอบด้วยเหตุผลที่เป็นประโยชน์ และเป็นไปได้ ไม่เอาตามความอยากที่ตนเองชอบใจ

ถ้าไม่รู้คำตอบเลย ก็ต้องศึกษาค้นคว้าเรื่องดังกล่าว สอบถามจากผู้รู้ในเรื่องนั้น ๆ หาเหตุผล และวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง ถ้าแก็ไม่ได้ ก็ต้องศึกษาจากผู้รู้เป็นธรรมดา ไม่หยิ่งทะนง และถือตัวว่า ตนเองฉลาดกว่าผู้อื่น

ผู้แสดงความคิดเห็น พระวิทยา วันที่ตอบ 2020-03-14 01:22:29



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล