ReadyPlanet.com


การฆ่าคน


 ทำไมการฆ่าคนถึงเป็นบาป เพราะว่าตัวคนของคนนั้น คนนั้นเองก็ไม่ใช่เจ้าของ เป็นแค่ก้อนธาตุ ก็เหมือนเราฟันดาบผ่านก้อนธาตุให้แยกออกจากกันเฉยๆแล้วมันก็เน่าเปื่อย เป็นอนิจจัง(ความแปรเปลี่ยน) ทุกขัง(นำไปสู่ความแตกสลาย) อนัตตา(ไม่มีตัวตน) เป็นเพียงธรรมชาติที่มีเหตุก็เกิดขึ้นเป็นธรรมดา เมื่อหมดเหตุก็ดับลงเป็นธรรมดา เปรียบเสมือนการฟันดาบผ่านสายลม (ธาตุลม) สายลมก็ไม่มีเจ้าของ สายลมก็แค่แยกก็จากกันเป็นไปตามเหตุ-ปัจจัย (ตามธรรมชาติของมัน)



ผู้ตั้งกระทู้ Haloween :: วันที่ลงประกาศ 2020-03-07 23:51:18


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (4193366)

 ขอโอกาสกระผมเคยได้ยินว่า การฆ่าที่เป็นบาปนั้นมีองค์อย่างนี้คือ สัตว์มีชีวิต1,รู้ว่าสัตว์มีชีวิต1,มีเจตนาจะฆ่า1,มีความพยายามจะฆ่า1,สัตว์นั้นตายด้วยความพยายามนั้น1ครบองค์นี้ชื่อว่าปาณาติบาต(เจตนาธรรมเป็นเหตุล้างผลาญชีวิตสัตว์มีปราณ)(องค์นี้ดูในวิกีพีเดีย)จริงทีเดียวว่ากายของมนุษย์และสัตว์นั้นประกอบหรือผสมกันขึ้นด้วยธาตุทั้งสี่ที่มีอยู่ในโลกเป็นธรรมดาของตนมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นแตกสลาย,ทนอยู่สภาพเดิมนานๆไม่ได้,ไม่เป็นไปตามอำนาจของดวงจิตผู้ถืออาศัยอยู่จะบังคับมิให้เปลี่ยนแปลงคงทนได้ เรียกว่าไตรลักษณ์ หากการฆ่าคนหรือมนุษย์นั้นย่อมสำเร็จด้วยเจตนาอันประกอยด้วยอำนาจแห่งอกุศลมีโลภะ(ราคะ) โทสะโมหะเป็นต้น การกระทำการใดๆที่ประกอบด้วยเจตนามีอำนาจแห่งอกุศลเป็นมูลหรือผลักดันแล้วเมื่อจิตมีความพยายามตามสั่งร่างกายให้ลงมือทำกรรมนั้นกรรมนั้นสำเร็จตามเจตนานั้นชื่อว่าทำกรรมชั่วแล้ว กรรมชั่วนี้แลมีวิบากคือบาปที่รับทราบขึ้นภายในจิตใจคือความทุกข์ร้อนๆต่างๆหนักเบามากน้อยตามแรงเจตนาของกรรมนั้นกรรมดีมีวิบากเป็นบุญคือความสุขใจก็ทำนองเดียวกัน ฉนั้นฆ่าคนจึงมิได้เป็นบาปเพราะทำลายธาตุแต่เป็นบาปเพราะแรงอกุศลในใจตนผู้ถูกความโง่ความขาดการยับยั้งคือความมีสติปัญญาเสียแล้วเป็นเหตุให้ทำกรรมแก่ตนเสียแล้วเป็นคนโง่คนหลงเสียแล้วเสียรู้ให้กิเลสเสียแล้วกิเลสหลอกให้ทำกรรมให้ทุกข์แก่ตนเสียแล้วเช่นนี้

กระผมเพียงแสดงความคิดเห็นเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจหากผิดพลาดประการใดขอนักปราชญ์บัณฑิตพึงติเตียนเเละชี้แนะด้วยเทอญขออภัยเจ้าของกระทู้กระผมมิได้มีเจตนาจะล่วงเกินด้วยการตอบคำถามหรือแสดงความเห็นก่อนพระอาจารย์ผู้ที่จะมาตอบปัญหาให้คุณกระผมเพียงแสดงความคิดเห็นไว้หากไม่เป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่านพึงผ่านไปเถิด

ผู้แสดงความคิดเห็น เคยสงสัยเรื่องนี้เหมือนเจ้าของกระทู้ วันที่ตอบ 2020-03-08 11:12:35


ความคิดเห็นที่ 2 (4193368)

 ขอโอกาสกระผมเคยได้ยินว่า การฆ่าที่เป็นบาปนั้นมีองค์อย่างนี้คือ สัตว์มีชีวิต1,รู้ว่าสัตว์มีชีวิต1,มีเจตนาจะฆ่า1,มีความพยายามจะฆ่า1,สัตว์นั้นตายด้วยความพยายามนั้น1ครบองค์นี้ชื่อว่าปาณาติบาต(เจตนาธรรมเป็นเหตุล้างผลาญชีวิตสัตว์มีปราณ)(องค์นี้ดูในวิกีพีเดีย)จริงทีเดียวว่ากายของมนุษย์และสัตว์นั้นประกอบหรือผสมกันขึ้นด้วยธาตุทั้งสี่ที่มีอยู่ในโลกเป็นธรรมดาของตนมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นแตกสลาย,ทนอยู่สภาพเดิมนานๆไม่ได้,ไม่เป็นไปตามอำนาจของดวงจิตผู้ถืออาศัยอยู่จะบังคับมิให้เปลี่ยนแปลงคงทนได้ เรียกว่าไตรลักษณ์ หากการฆ่าคนหรือมนุษย์นั้นย่อมสำเร็จด้วยเจตนาอันประกอยด้วยอำนาจแห่งอกุศลมีโลภะ(ราคะ) โทสะโมหะเป็นต้น การกระทำการใดๆที่ประกอบด้วยเจตนามีอำนาจแห่งอกุศลเป็นมูลหรือผลักดันแล้วเมื่อจิตมีความพยายามตามสั่งร่างกายให้ลงมือทำกรรมนั้นกรรมนั้นสำเร็จตามเจตนานั้นชื่อว่าทำกรรมชั่วแล้ว กรรมชั่วนี้แลมีวิบากคือบาปที่รับทราบขึ้นภายในจิตใจคือความทุกข์ร้อนๆต่างๆหนักเบามากน้อยตามแรงเจตนาของกรรมนั้นกรรมดีมีวิบากเป็นบุญคือความสุขใจก็ทำนองเดียวกัน ฉนั้นฆ่าคนจึงมิได้เป็นบาปเพราะทำลายธาตุแต่เป็นบาปเพราะแรงอกุศลในใจตนผู้ถูกความโง่ความขาดการยับยั้งคือความมีสติปัญญาเสียแล้วเป็นเหตุให้ทำกรรมแก่ตนเสียแล้วเป็นคนโง่คนหลงเสียแล้วเสียรู้ให้กิเลสเสียแล้วกิเลสหลอกให้ทำกรรมให้ทุกข์แก่ตนเสียแล้วเช่นนี้

กระผมเพียงแสดงความคิดเห็นเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจหากผิดพลาดประการใดขอนักปราชญ์บัณฑิตพึงติเตียนเเละชี้แนะด้วยเทอญขออภัยเจ้าของกระทู้กระผมมิได้มีเจตนาจะล่วงเกินด้วยการตอบคำถามหรือแสดงความเห็นก่อนพระอาจารย์ผู้ที่จะมาตอบปัญหาให้คุณกระผมเพียงแสดงความคิดเห็นไว้หากไม่เป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่านพึงผ่านไปเถิด

ผู้แสดงความคิดเห็น เคยสงสัยเรื่องนี้เหมือนเจ้าของกระทู้ วันที่ตอบ 2020-03-08 12:19:45


ความคิดเห็นที่ 3 (4193399)

 การฆ่าคนต้องเป็นบาป เพราะคนประกอบด้วย ๒ ส่วน คือ กายกับใจ กายเป็นส่วนธาตุสี่ ดิน น้ำ ไฟ ลม ประกอบกัน มึใจไปยึดถือเป็นเจ้าของหวงแหนอยู่ จะบอกว่า กายไม่มีเจ้าของ ก็ยังไม่ถนัดปากนัก ถ้าใจยังมีกิเลส ก็ยังยึดถือว่า กายเป็นเรา เป็นของเราอยู่ ดังนั้น ถ้าใครมาทำร้ายร่างกายเรา แค่ให้เจ็บปวดไปบ้าง ใจเราก็โกรธเขาเสียแล้ว ใจที่คิดไปทำร้ายคนอื่น เบียดเบียนคนอื่น สัตว์อื่น คือใจนั้นก็เป็นมิจฉาทิฎฐิ เท่ากับเห็นดีเห็นงามกับการเอาความทุกข์ไปยัดเยียดให้คนอื่น ถ้าเราไม่อยากให้คนอื่นมาทำร้ายเราฉันใด เราก็ไม่ควรไปทำร้ายคนอื่นฉันนั้น

มันไม่เหมือนกับสายลมที่ไม่มีเจ้าของ เพราะลมไม่มีจิตยึดถืออยู่ ส่วนคนและสัตว์ย่อมมีจิตยึดเป็นเจ้าของ ธรรมท่านจึงสอนให้มีเมตตาต่อกัน ไม่ให้ประทุษร้ายกัน ไม่ให้เบียดเบียนกัน เพราะจะทำให้กิเลสความโลภ ความโกรธ ความหลง ที่เป็นตัวบังคับครอบงำจิตอยู่ จะมีกำลังรุนแรงมากขึ้น ธรรมท่านจึงสอนให้เอา ศีล สมาธิ ปัญญา มาปฏิบัติเพื่อสำรอกปอกกิเลสให้ออกจากใจไปเรื่อย ๆ คนก็จะอยู่ร่วมกันอย่างเป็นผาสุก ไม่เบียดเบียนกัน ไม่ฆ่ากัน ไม่ลักขโมยของกัน ไม่ผิดลูกผิดเมียกัน ไม่หลอกลวงต้มตุ๋นกัน ไม่กินเหล้าเมายาให้เสียสติ 

ถ้าใจหมดสิ้นกิเลสแล้ว ใจจึงจะไม่ยึดถือเอาร่างกายมาเป็นของตนอีก ใจก็จะปล่อยวางร่างกายไว้ตามความเป็นจริง คือเห็นเป็นธาตุสี่ ดิน น้ำ ไฟ ลม รวมตัวกันชั่วคราว และจะแตกสลายไปในกาลอันควรเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องไปฆ่ากันให้เป็นบาปเกิดขึ้นที่ใจเปล่า ๆ ร่างกายเมื่อถึงเวลา มันก็ตายเองอยู่แล้ว ทำไมจึงไปคิดฆ่ากันเพื่ออะไร เพราะทุกคนไม่มีใครอยากตายก่อนเวลาอันควร

ผู้แสดงความคิดเห็น พระวิทยา วันที่ตอบ 2020-03-08 20:53:38



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล