ReadyPlanet.com


ขอคำชี้แนะการปฏิบัติเจ้าค่ะ


 กราบนมัสการพระคุณเจ้า  ขอความเมตตาชี้แนะการปฏิบัติเจ้าค่ะ  

โยมปฏิบัติตามแนวสติปฏิฐาน4  เมื่อปี60พระอาจารย์ที่สอบอารมณ์กรรมฐานท่านได้ให้การบ้านให้โยมดูพอใจไม่พอใจ ตอนแรกโยมนั่งดูเฉพาตอนนั่งสมาธิภาวนา หลังๆจิตมันนิ่ง ๆ ไม่มีอะไรมากระทบ ดูไม่ออก เลยมาหัดดูในชีวิตประจำวัน ตามดูไปเรื่อยเท่าที่จะตามทัน  ช่วงนี้ จะเห็นความคิดตัวเอง  คอยตามดูอยู่  มีความรู้สึกเหมือนจิตทำงานตลอดเวลาทั้งวันทั้งคืน ตอนตื่นนอนตอนเช้า จิตตื่นมาพร้อมกับความคิด   พยายามประคองสติตามดู แต่บางครั้งหลุดเข้าไปติดความคิด ของตัวเอง นานมากกว่าจะรู้สึกตัว กลับมาอยุ่กับปัจจุบันได้  โยมพยายามใช้พุทโธพร้อมกับดูกายเคลื่อนไหว ไม่รู้ว่าทำถูกต้องหรือไม่ จาการทำสามารถประคองจิตได้ มีความสงบพอประมาณ  เวลาจิตไม่สงบก็ตามรู้อยู่ บางครั้งเห็นจิตตนเองหดหู่เศร้าหมอง   ดยมมีความกังวลใจเหมือนกลัวหลงติดอยู่ข้างในความคิดหลุดการรับรุ้ปัจจุบันไป ขอความเมตตาพระคุณเจ้าช่วยชี้แนะด้วยเจ้าค่ะ  

                                     กราบนมัสการเจ้าค่ะ 



ผู้ตั้งกระทู้ อัจฉรวรรณ์ กันมงคล :: วันที่ลงประกาศ 2022-07-19 19:40:08


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (4362753)

 ถ้าอยากฝึกจิตให้มีสติมากขึ้น ต้องบังคับจิตให้หยุดคิดปรุงแต่งเรื่องทางโลกทั้งปวง แล้วหันมากำหนดจิตให้อยู่กับอารมณ์กรรมฐาน เช่น พุทโธ เป็นต้น บังคับจิตอยู่กับอารมณ์กรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยกำหนดคำบริกรรมพุทโธให้ได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน ทำได้ทุกอิริยาบถ

ถ้าจิตหยุดอยู่กับพุทโธได้นานเท่าไหร่ ก็เท่ากับ เรามีสติอยู่เท่านั้น ถ้าเมื่อไรจิตเผลอจากพุทโธไปคิดเรื่องอื่น นั่นคือ จิตไม่มีสติแล้ว การไปตามรู้ความคิดนั้น ถ้าสติยังไม่แก่กล้า โดยมากมักจะหลงไปกับความคิดเป็นส่วนใหญ่ ถ้าสติแก่กล้าแล้ว ไม่มีการตามรู้ความคิด แต่สติจะเป็นตัวพาจิตให้คิดไปในทางปัญญาวิปัสสนา ไม่ใช่คิดแบบโลก ๆ คือคิดเพลินไปกับเรื่องราวต่าง ๆ

พวกที่สอนให้ตามรู้ความคิด คือพวกที่ภาวนายังไม่เป็น ต้องหยุดคิดให้ได้เสียก่อน สติจึงจะมีกำลังแก่กล้าขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อสติแก่กล้าแล้ว จิตคิดอะไรก็จะรู้ทันที ถ้าจิตจะคิดอะไรที่ไม่ดี ก็จะถูกสติขัดขวางทำลาย ทำให้คิดไม่ดีไม่ได้ จิตก็จะถูกสติบังคับให้คิดไปในทางเสริมสร้างปัญญา เรียกว่า เดินวิปัสสนา ฝึกพิจารณา กาย ให้เห็นเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

การที่จิตจะพิจารณาสิ่งเหล่านี้ได้ จิตต้องมีสติแก่กล้าในระดับหนึ่ง อย่างน้อยก็ต้องฝึกสติจนสามารถหยูดจิตอยู่กับพุทโธได้เป็นเวลานาน ๆ จิตจึงสงบนิ่งไม่ไปคิดเรื่องโลกภายนอกให้เกิดอารมณ์ยินดียินร้ายขึ้นมาเป็นเหตุก่อกวนจิตให้คิดฟุ้งซ่านไปเรื่อย ๆ เมื่อมีสติบังคับจิตได้ จึงจะฝึกปัญญาให้เกิดขึ้นได้ต่อไป

ฉะนั้น ด่านแรกของนักปฏิบัติคือ ต้องหยุดจิตให้อยู่กับพุทโธให้ได้ก่อน

ผู้แสดงความคิดเห็น พระวิทยา กิจฺจวิชฺโช วันที่ตอบ 2022-07-20 00:51:44


ความคิดเห็นที่ 2 (4362754)

 กราบขอบพระคุณเจ้าค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น อัจฉรวรรณ์ กันมงคล (autch0811-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2022-07-20 06:39:25



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล