ReadyPlanet.com


ความพอใจ,กามฉันทะ,กามราคะ


วันนี้โยมสงสัยเกี่ยวกับ

 
1-ความพอใจไม่พอใจ -ที่ต้องอุเบกขา
2-กามฉันทะ-อยู่ในนิวรณ์ที่มีทุจริต3-ที่ต้องใช้ศีลคุม
3-กามราคะ-ที่ต้องแค่รู้หรือรู้ทัน, หรือละอุปปทาน, หรือละกามวิตก เป็นต้น
 
ทั้งสามข้อมันมีความหมายใกล้เคียงโยมปฏิบัติเพื่อนิพพาน โยมอยากทราบขอบเขตของทั้ง3ข้อมันอยู่ตรงไหนคะ
 
ถ้าอยู่ตรงความพอใจไม่พอใจ โยมจำเป็นต้องอุเบกขาให้ได้ทุกสิ่งทุกอย่างที่โยมชอบและไม่ชอบให้เป็นปกติหรือปล่าวคะ
 
ความพอใจมันอยู่ในสังโยชน์ 10หรือปล่าวคะ
 
ในสิ่งของที่เราอยากได้มาเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ ไม่ได้เพื่อความเพลิดเพลิน ตัวนี้มันเป็นกามราคะไหมคะ
 
แล้วต้องละกามราคะให้ได้ทุกตัวหรือปล่าวคะขอบเขตของกามราคะอยู่ตรงไหนคะ
 
ทำอย่างไรจะละกามราคะให้ได้คะ
 
นิพพานคือสภาวะที่ปราศจากกิเลส โลภะ โทษะ โมหะ 
สำหรับทั้งสามตัวนี้ต้องไม่มีทุกๆโลภะโทษะโมหะทั้งหมดเหรอคะ
-หรือว่าโลภะ โทษะ โมหะในขอบเขตของศีล 
-หรือว่าโลภะในขอบเขตกามราคะ โทษะอยู่ที่ความพยาบาทเบียดเบียน โมหะที่อยู่ในสังโยชน์
ขอบเขตของกิเลสโลภะ โทษะ โมหะมันแค่ไหนคะ
 
กราบขอบพระคุณหลวงพ่อล่วงหน้าเป็นอย่างสูงเจ้าคะ
 
จิราภรณ์


ผู้ตั้งกระทู้ จิราภรณ์ :: วันที่ลงประกาศ 2024-03-30 21:32:11


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (4539684)

 อุเบกขา ต้องเจริญพรหมวิหาร ๔ ไปตามลำดับ คือ เจริญ เมตตา กรุณา มุทิตา ถ้าช่วยเหลืออะไรไม่ได้ ทำอะไรไม่ได้แล้ว ก็ปล่อยวาง เป็น อุเบกขา ส่วนอุเบกขาแท้ ก็ต้องดับสังโยชน์ ๑๐ ได้เป็นการปล่อยวางตามธรรมชาติของจิตบริสุทธิ์

ความพอใจ ไม่พอใจ เป็นเรื่องของความโลภ กับความโกรธ ความหลง ต้องอาศัยศีล ๕ เป็นกำแพงกั้นไว้ ไม่ให้แสดงออกมาทางกายวาจา ถ้าไม่ทำให้ศีลขาดถือว่า พอดี ถ้าทำราคะ โทสะ โมหะ ให้อยู่ในกรอบของศีลได้ คือ ยอมตายก็ไม่ยอมทำศีลขาด ฝึกจนมีสติปัญญาแน่วแน่ ก็สามารถดับสังโยขน์ ๓ ได้

ส่วนราคะ ปฏิฆะ ในสังโยชน์ข้อ ๔,๕ ต้องเจริญสมาธิได้เต็มภูมิ และอบรมปัญญาจนสามารถพิจารณากายให้เห็นเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จนปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นในร่างกายได้ ก็สามารถดับสังโยชน์ ๕ ได้ เป็นเหตุให้ได้บรรลุพระอนาคามีผล

กามราคะ มีหลายระดับ คือ ความยินดีในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสนิ่มนวล จัดเป็นกามราคะอย่างหยาบ ความกำหนัดเมื่อจิตคิดปรุงรูปสวย ๆ งาม ๆ อยู่ในใจจัดเป็นกามราคะอย่างละเอียด จะดับได้ก็ต่อเมื่อดับสังโยชน์ ๕ ได้เท่านั้น

ส่วนโมหะ นั้น คือ ตัว อวิชชา ถ้าดับสังโยชน์ ๑๐ ได้ ก็ดับอวิชชาได้ จำเป็นต้องอบรมปัญญาถึงขั้นมหาสติมหาปัญญา และต้องดับสังโยชน์ ๕ ให้ได้ก่อน จึงเป็นหน้าที่ของพระอนาคามีที่จะสามารถทำลายมันได้ อย่ามัวแต่สงสัยอยู่เลย ตั้งใจเจริญศีล สมาธิ อบรมปัญญาไปจนเต็มภูมิเท่านั้น เดี๋ยวจิตมันจะทำงานเอง ไม่ใช่จะละได้ด้วยความอยาก หรือจินตนาการคิดนึกเอาเอง

ผู้แสดงความคิดเห็น พระวิทยา กิจฺจวิชฺโช วันที่ตอบ 2024-04-05 00:03:33


ความคิดเห็นที่ 2 (4539690)

 กราบขอบพนะคุณหลวงพ่อเป็นอย่างสูงด้วยคะ

จิราภรณ์

ผู้แสดงความคิดเห็น จิราภรณ์ วันที่ตอบ 2024-04-05 03:13:11



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล